มุมมองผลกระทบจากโควิดกลายพันธ์ โอมิครอน และการคาดหวังที่มากเกินไป

3 ม.ค. 65 11:59 น. / ดู 1,992 ครั้ง / 2 ความเห็น / 0 ชอบจัง / แชร์
เป็นคำเตือนให้ ชนชั้นกลาง ในไทย ได้เตรียมรับมือ จากการฉายภาพให้เห็นของ "ผศ.ดร.สันติ ชัยศรีสวัสดิ์สุข" ศูนย์ศึกษาพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ มองว่า หากโควิดสายพันธุ์ โอมิครอน ระบาดในไทยจะเกิดผลกระทบแน่นอนต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ และการคาดหวังกับการท่องเที่ยวมากเกินไป ซึ่งต่อให้ไม่มีประเด็นโควิดสายพันธุ์นี้ ยังมองไม่เห็นจะมีนักท่องเที่ยวเข้ามาจำนวนมากอย่างที่คาดหวังเดือนละ 1 แสนกว่าคน หรือ 10 เดือน มีนักท่องเที่ยว 1.5 ล้านคน เพราะคนที่เดินทางเข้ามาไม่ใช่นักท่องเที่ยว แต่เป็นตัวเลขของคนเดินทางเข้ามาเท่านั้น
จาก : ข่าวไทยรัฐออนไลน์ https://www.thairath.co.th/scoop/theissue/2254586


ผศ.ดร.สันติ ชัยศรีสวัสดิ์สุข


"โอมิครอน ยิ่งทำให้เกิดการระแวงในการเดินทาง ถามว่ามีอิมแพ็กหรือไม่ ก็มี เพราะยิ่งสร้างความกังวล และถามว่าจะระบาดรุนแรงหรือไม่ ก็อาจจะไม่ใช่ หรือหากระบาดจริงๆ จะใช้มาตรการแบบเดิมไม่ได้แล้ว และฟังจากรัฐมนตรีคลัง การที่เศรษฐกิจโตก็เกิดจากเงินของรัฐเข้ามาในระบบเป็นล้านๆ มีแนวโน้มต้องใช้เงินเพิ่มขึ้น ส่วนการขยายเพดานหนี้จาก 30% เป็น 35% ในงบประมาณรายปี ไปจ่ายประกันรายได้ชาวนา ก็เป็นการประกันราคาไม่ต่างจากจำนำข้าว เป็นการผลาญเงินเหมือนกัน แม้ตอนนี้สถานะภาพเงินในระบบยังเพียงพออยู่ แต่ไม่ทราบว่าจะนานแค่ไหน"

ในกรณีเลวร้ายหากโอมิครอน เข้ามาในไทย จะทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวช้าไปอีก และช้ากว่าคนอื่น อย่างขณะนี้เวียดนามไปไกลกว่าไทย และการฟื้นตัวช้าของไทยมีนัยมาก นั่นหมายถึงจะมีคนจนเพิ่มมากขึ้น จากเดิม 4 ล้านคน ขยับมาเป็น 9.6 ล้านคน ตามตัวเลขของธนาคารโลก หากคุมโอมิครอนไม่ได้ ซึ่งไม่ใช่เฉพาะไทย จะทำให้เปิดประเทศไม่ได้ 100% และคนไม่อยู่ในอารมณ์ในการท่องเที่ยว

เมื่อคนกังวลไม่เดินทางยิ่งทำให้ไทยรับผลกระทบ เพราะรอแต่ให้คนเดินทางเข้ามา เมื่อคนไม่เข้ามาจะทำให้คนจนเพิ่มมากขึ้น และรัฐจะทนไหวหรือไม่ ในการแจกเงินต่อไป ทั้งโครงการคนละครึ่ง หรือเราเที่ยวด้วยกัน ต้องใช้เงินเพิ่มเติมลงไปอีก และจากที่กู้ไป 5 แสนล้าน ไม่ได้รวมอยู่ในนี้ เพราะต้องไปช่วยเอสเอ็มอี แต่หากเจอปัญหาไปต่อไม่ไหว กลายเป็นว่าเติมเงินเท่าไรก็ไม่พอ



ที่ผ่านมาเป็นปัญหาในเชิงนโยบายที่ไทยไม่เคยทำอย่างจริงจัง ไม่มีการพัฒนาอุตสาหกรรมใหม่ เพื่อสร้างงาน โดยเฉพาะรถยนต์ไฟฟ้า ทั้งๆ ที่มีการเติบโต 2 หลักในหลายประเทศ ยกตัวอย่างจีน เศรษฐกิจฟื้นได้เพราะรถยนต์ไฟฟ้า รวมถึงเวียดนาม แต่ไทยขายแต่รถยนต์สันดาป และไปเพิ่มภาษีรถยนต์ไฮบริด ในขณะที่น้ำมันราคาแพงมากขึ้น แทนที่จะส่งเสริมและแก้กฎหมายเอื้อให้คนหันมาใช้รถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น

เพราะฉะนั้นแล้วการคาดการณ์จีดีพีปีหน้า จะโต 4% จะไม่มีทางเกิดขึ้น หรืออย่างแบงก์ชาติประเมินไว้ที่ 3% และหากไทยไม่เปลี่ยนแปลงอะไร ก็จะเห็นจีดีพีโต 3% เท่านี้ตลอดไป 20 ปี ทั้งๆ ที่โควิดเป็นตัวผลักดันให้ต้องทำอะไร แต่ไทยไม่ขยับในทิศทางที่จะพัฒนาขึ้น รอแต่การท่องเที่ยว ซึ่งต่อให้การท่องเที่ยวกลับมา ก็จะไม่เหมือนเดิมมีตัวเลขนักท่องเที่ยวปีละ 38-40 ล้านคน

"เพราะธุรกิจท่องเที่ยวไม่ปรับเปลี่ยน เมื่อไม่มีนักท่องเที่ยวไปเมืองหลักเลย แล้วเมืองรองจะไปอย่างไร และกิจการที่ป้องกันความสุ่มเสี่ยง แทบไม่มี จากนโยบายแบบผิวๆ ไม่เป็นชิ้นเป็นอัน หากโอมิครอนระบาด คิดว่าจีดีพีปีหน้า โตไม่ถึง 1.5% โดยเฉพาะครึ่งปีหลังน่ากลัวมาก เพราะไตรมาส 1-2 ยังพอมีโมเมนตัม"

https://www.thairath.co.th/scoop/theissue/2254586

#ผลกระทบจากโควิดกลายพันธ์
#ชนชั้นกลาง
#โอไมครอน
#เที่ยวเมืองรอง
#เที่ยวเมืองหลัก
#ธุรกิจท่องเที่ยว
เลขไอพี : ไม่แสดง | ตั้งกระทู้โดย Windows 10

อ่านต่อ คุณอาจจะสนใจเนื้อหาเหล่านี้ (ความคิดเห็นกระทู้ อยู่ด้านล่าง)

ความคิดเห็น

#1 | sz444161 | 3 ม.ค. 65 14:12 น.

8o

ไอพี: ไม่แสดง | โดย Windows 10

#2 | Yvonne | 3 ม.ค. 65 23:55 น.

ไอพี: ไม่แสดง | โดย Windows 10

แสดงความคิดเห็น

จะต้องเป็นสมาชิกจึงจะแสดงความคิดเห็นได้
เป็นสมาชิกอยู่แล้ว ลงชื่อเข้าใช้ระบบ
ยังไม่ได้เป็นสมาชิก สมัครสมาชิกใหม่
หรือจะลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google หรือ Facebook ก็ได้
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Facebook
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google