Green FinTech เทคโนโลยี การเงิน สิ่งแวดล้อม

5 ก.ย. 65 12:00 น. / ดู 7,431 ครั้ง / 3 ความเห็น / 0 ชอบจัง / แชร์


"Green FinTech" เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีด้านการเงินใหม่ๆ ที่เข้ามาช่วยส่งเสริมโครงการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีรากฐานมาจาก "Green Finance" หรือ การเงินสีเขียว คือภาคการเงินที่มีความยั่งยืน และส่งเสริมให้เข้าสู่กิจกรรมหรือการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ต้องประกอบด้วย 4 ปัจจัยดังนี้
1.มาตรฐาน (Standard) กิจกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมคืออะไร โดยมีคำจำกัดความที่ชัดเจน เช่น พันธบัตรสีเขียว กองทุนสีเขียว เพื่อการจัดสรรให้เป็นไปอย่างถูกต้อง
2.การเปิดเผยข้อมูล (Disclosure) มีการเปิดเผยวัตถุประสงค์ของการลงทุน และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับโดยกิจกรรมหรือโครงการนั้นๆ ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไร เช่น ลดน้ำเสีย ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไปได้เท่าไร
3.แรงจูงใจ (Incentive) รัฐบาลจะต้องสร้างแรงจูงใจเพิ่มเพื่อให้เอกชนมีส่วนร่วมมากยิ่งขึ้น เช่น การอุดหนุนดอกเบี้ย ฯลฯ
4.การพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ตอบโจทย์ (Sweet Product) เช่น การต้องการสินเชื่อระยะสั้นเป็นเงินหมุนเวียนจากธนาคาร เป็นต้น


ปัจจุบันแนวคิด Green FinTech ได้ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายในนานาประเทศ เช่น ระบบ Ant Forest ที่ร่วมกับ Alipay ของประเทศจีน ซึ่งสามารถบันทึกกิจวัตรประจำวันที่อาจส่งผลต่อมลพิษได้ ไม่ว่าจะเป็นลดการใช้กระดาษจากบิล การปั่นจักรยาน ฯลฯ มาแลกเป็น Green Points เพื่อนำไปใช้ปลูกต้นไม้ได้จริงในป่าชุมชน
-ประเทศสิงคโปร์ เมืองที่เต็มไปด้วยพื้นที่สีเขียว มีแพลตฟอร์ม Greenprint Marketplace ที่ทำหน้าที่เชื่อมโยงภาคการเงิน การธนาคาร กับนักลงทุน บริษัทที่มุ่งพัฒนาธุรกิจสีเขียวเพื่อให้เกิดการลงทุนอย่างยั่งยืนและมั่นคง
-ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เป็นผู้นำและศูนย์กลางของ "Green FinTech" มุ่งเน้นในเรื่องของการสร้าง StartUp ใหม่ๆ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนสำหรับธุรกิจสีเขียว ส่งเสริมการเข้าถึงลูกค้า รวมถึงวางแผนดึงดูดผู้ประกอบการ ธุรกิจ นักวิชาการการอีกด้วย


สำหรับประเทศไทย เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2565 นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และทีมงาน พร้อมกับนางซีมอเน็ตตา ซอมมารูกา (Mrs. Simonetta Sommaruga) มนตรีแห่งสมาพันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสิ่งแวดล้อม คมนาคม พลังงานและสารสนเทศ สมาพันธรัฐสวิส ร่วมลงนามในข้อตกลงการดำเนินงานภายใต้ความตกลงปารีสระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสมาพันธรัฐสวิส Implementing Agreement On Climate Protection ภายใต้ข้อตกลงปารีส (Paris Agreement) ณ กรุงเบิร์น สมาพันธรัฐสวิส โดยเป็นความร่วมมือเรื่องการซื้อขายคาร์บอนเครดิต การสนับสนุนเรื่องเงินทุน และเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจสีเขียว
ปัจจุบันการเติบโตของเศรษฐกิจสีเขียวได้แผ่คลุมไปทั่วโลก โดยเฉพาะมูลค่าของตราสารหนี้สีเขียวหรือตราสารหนี้เพื่อสิ่งแวดล้อม (Green Bond) กำลังจะพุ่งสูงถึง 2.36 ล้านล้านเหรียญฯ หรือราว 84 ล้านล้านบาทในปี 2566 การลงนามร่วมกันในครั้งนี้เป็นโอกาสสำคัญที่ประเทศไทยจะได้เรียนรู้และพัฒนาไปสู่การเป็นผู้นำเศรษฐกิจสีเขียว รวมไปถึงการตั้งเป้าหมายในการเป็น 1 ในประเทศที่มีความก้าว** "Green FinTech" ของภูมิภาคเอเชีย เพื่อดึงดูดเงินลงทุนจากทั่วทุกมุมโลกมาพัฒนาประเทศไทยได้อย่างยั่งยืน
แก้ไขล่าสุด 5 ก.ย. 65 12:06 | เลขไอพี : ไม่แสดง | ตั้งกระทู้โดย MacOS

อ่านต่อ คุณอาจจะสนใจเนื้อหาเหล่านี้ (ความคิดเห็นกระทู้ อยู่ด้านล่าง)

ความคิดเห็น

#1 | Yvonne | 6 ก.ย. 65 23:47 น.

ไอพี: ไม่แสดง | โดย Windows 10

#2 | asider | 7 ก.ย. 65 13:42 น.

good

ไอพี: ไม่แสดง | โดย Windows 10

แสดงความคิดเห็น

จะต้องเป็นสมาชิกจึงจะแสดงความคิดเห็นได้
เป็นสมาชิกอยู่แล้ว ลงชื่อเข้าใช้ระบบ
ยังไม่ได้เป็นสมาชิก สมัครสมาชิกใหม่
หรือจะลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google หรือ Facebook ก็ได้
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Facebook
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google