การเยียวยาผู้ประกอบการในสนามบิน อีกหนึ่งทางรอด

23 ต.ค. 65 16:07 น. / ดู 1,250 ครั้ง / 3 ความเห็น / 0 ชอบจัง / แชร์
เรทกระทู้
ในวันที่ยอดไม่เข้าเป้า การเยียวยาผู้ประกอบการในสนามบินจำเป็นหรือไม่
« เมื่อ: วันนี้ 16:04 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ  แก้ไขข้อความแก้ไข  ลบข้อความลบทิ้ง
  Send E-mail
แบ่งปันกระทู้นี้ให้เพื่อนคุณอ่านไหมคะ?
ปิด
ปิด


ก่อนที่เราจะไปประเด็นว่าการที่ ทอท. เยียวยาดิวตี้ฟรี รวมถึงผู้ประกอบการในสนามบินนั้นมันผิด พรบ.การเงินการคลังหรือไม่ เราอาจจะต้องกลับไปพิจารณาถึงที่มาที่ไปของการเยียวยาในครั้งนี้ดีกว่า

เท่าที่ติดตามประเด็นนี้มาการที่ ทอท. ออกมาเยียวยา ก็เหมือนกับเป็นตัวแทนของภาครัฐ ที่ออกมาช่วยเหลือผู้ประกอบการภายในสนามบิน ไม่ว่าจะเป็นผู้เช่าพื้นที่เชิงพาณิชย์ (เช่าขายของ ขายอาหาร) หรือผู้ที่ประมูลสัมปทานดิวตี้ฟรีมาก็ดี ที่พวกเขาได้รับผลกระทบจากการปิดประเทศของไทยเป็นระยะเวลาก็ 2 ปี เพิ่งจะมาเปิดประเทศ เดือนกรกฏาคมผ่านมา
และเนื่องจากนโยบายการปิดประเทศทำให้ไม่มีผู้โดยสารเข้ามาใช้บริการสนามบิน ธุรกิจในสนามบินไม่สามารถดำเนินงานได้อย่างปกติ และถ้า ทอท. ไม่ได้ช่วยเหลือ สิ่งที่จะตามมาก็คือ "สนามบินร้าง" เพราะร้านต่างๆ ก็อาจจะต้องถอนตัวกันหมด



ขอบคุณภาพจาก https://www.thansettakij.com/business/512831
จากนั้น ทอท.เองก็ต้องขาดรายได้ ทอท.เล็งเห็นแล้วว่า ควรที่จะรักษาพวกเขาเหล่านั้นไว้ เพื่อให้ทุกฝ่ายยังสามารถดำเนินธุรกิจไปได้ ไว้ประเทศกลับมาเปิดให้เดินทางได้อย่างเต็มที่เมื่อไหร่ จะได้ไม่ต้องมาเสียเวลาประมูล หรือทำสัญญากันใหม่อีก
และอีกส่วนหนึ่งที่เป็นประเด็นกันมาอย่างยาวนานคือสัญญาสัมปทานของดิวตี้ฟรี

ในกรณีนี้ จขกท. เข้าใจ ทอท. อย่างยิ่ง เพราะถ้ามีการยกเลิกสัญญา ทอท.ก็เสียผลประโยชน์เหมือนกัน
เพราะก่อนที่จะมีโควิด ได้มีการประมูลดิวตี้ฟรีกันมาโดยผู้ที่ชนะ คือผู้ที่บอกว่าจะให้ผลประโยชน์ตอบแทนกับ ทอท. ด้วยตัวเลขที่สูงที่สุด และมากขึ้นกว่าเดิม แต่ในรายละเอียดการประมูลนั้น ทาง ทอท.เอง ก็ได้มีการประมาณการผู้โดยสารที่จะเข้ามาใช้บริการในสนามบิน
ถ้า ทอท. ไม่ได้มีตัวเลขสัญญานี้ไม่งั้นผู้ประมูลคงไม่สามารถที่จะประเมินการจ่ายผลตอบแทนสัมปทานได้หรอก
ในเมื่อเกิดเคสการระบาดโควิด ที่ทุกฝ่ายไม่เคยเจอมาก่อน ปิดประเทศจนตัวเลขผู้ใช้บริการสนามบินก็ลดลง นักท่องเที่ยวต่างชาติแทบจะไม่ต้องพูดถึง มีจำนวนเป็น 0 กินเวลาเป็นขวบปี คนที่ทำธุรกิจในนั้นจะไปหารายได้จากไหน
แล้วยังจะให้ยึดการจ่ายผลประโยชน์เหมือนเดิม จนผู้ที่ชนะประมูลไม่สามารถจ่ายอัตราเท่าเดิมได้ เท่ากับว่าต้องออกไป
ทอท. ต้องเดินหน้าทำสัญญาใหม่ ในสภาวการณ์เช่นนี้การทำประมูลใหม่ ใครจะอยากเข้ามาประมูลเพื่อลงทุน ถ้ามีคนเข้ามาประมูล ผลตอบแทนที่สัญญาว่าจะให้ ก็คงไม่ได้เยอะเท่ากับเจ้าเดิม

ทอท. คงเล็งเห็นแล้วแหละ ว่าต้องมีการเยียวยา อย่างน้อยก็ให้พ้นวิกฤตไปในช่วง 2-3 ปีนี้ก่อน ทุกเจ้ายังอยู่กับ ทอท. เหมือนเดิม เมื่อทุกอย่างคลี่คลายลง สามารถเปิดประเทศมีผู้โดยสารกลับมาใช้บริการได้อย่างเดิม ก็เท่ากับว่า ทอท. ก็มีโอกาสที่จะกลับมารับผลตอบแทนในสัญญาเดิม อย่างที่ไม่เคยมีผู้ประมูลจากเจ้าไหนให้มาก่อน



ขอบคุณภาพจาก https://mgronline.com/business/detail/9620000026056

เหตุการณ์โควิดนี่มันสุดวิสัยจริงๆ แต่ด้วยความที่ ทอท. เป็นรัฐวิสาหกิจ ก็ตกเป็นเป้านิ่งใหญ่ให้ใครต่อใครตั้งคำถามได้อยู่แล้ว
ว่าการกระทำแบบนี้เป็นการเอื้อผลประโยชน์หรือไม่?
การที่เยียวยาแบบนี้มันผิดต่อ พรบ. การเงินฯ หรือไม่?
สำหรับข้อคำถามต่างๆ ทาง ทอท. ได้ออกมาชี้แจงแล้ว สามารถอ่านรายละเอียดตามด้ามลิงค์ด้านล่างนี้เลย https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/51258
สำหรับประเด็นนี้ จขกท. ก็ต้องยอมรับว่ากลุ่มคนที่ออกมาตั้งคำถามพวกนี้ก็ไม่พ้นเกมการเมือง ที่เอาไว้ใช้โจมตีรัฐบาล ซึ่งก็เป็นอีก 1 ในหลายๆ ประเด็นที่ถูกหยิบยกขึ้นมาพูดถึง ทั้งนี้ทั้งนั้นมันก็ขึ้นอยู่กับการตีความด้วย
ว่าตีความแบบไหนถึงจะเข้าข่ายผิด หรือไม่ผิด
จขกท. จึงอยากที่จะนำเสนอ อีกมุมหนึ่งเพื่อให้เห็นว่าประเด็นนี้มันมีที่มาที่ไปอย่างไร เพื่อเอาให้ทุกท่านได้ลองอ่านและรวบรวมข้อมูลไปพิจารณากันครับ
เลขไอพี : ไม่แสดง | ตั้งกระทู้โดย MacOS

อ่านต่อ คุณอาจจะสนใจเนื้อหาเหล่านี้ (ความคิดเห็นกระทู้ อยู่ด้านล่าง)

ความคิดเห็น

#1 | sz464696 | 23 ต.ค. 65 16:09 น.

ไอพี: ไม่แสดง | โดย MacOS

#2 | sz453987 | 23 ต.ค. 65 16:28 น.

ไอพี: ไม่แสดง | โดย Windows 10

#3 | sz464696 | 24 ต.ค. 65 02:57 น.

ไอพี: ไม่แสดง | โดย MacOS

แสดงความคิดเห็น

จะต้องเป็นสมาชิกจึงจะแสดงความคิดเห็นได้
เป็นสมาชิกอยู่แล้ว ลงชื่อเข้าใช้ระบบ
ยังไม่ได้เป็นสมาชิก สมัครสมาชิกใหม่
หรือจะลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google หรือ Facebook ก็ได้
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Facebook
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google