Camera Trap เทคโลยีดักจับภาพสัตว์ป่าสุดล้ำ

25 ต.ค. 65 08:59 น. / ดู 16,833 ครั้ง / 5 ความเห็น / 0 ชอบจัง / แชร์
บ่อยครั้งที่เรามักได้รับข่าวเกี่ยวกับสัตว์ป่า ทั้งการลักลอบล่าสัตว์ ซื้อขายสัตว์ป่า ทำร้ายทารุณกรรม ฯลฯ รวมถึงพันธุ์ไม้ต่างๆ ที่มีมูลค่าสูงก็ถูกลักลอบเช่นกัน ทำให้เราต้องพัฒนาระบบลาดตระเวนให้ทันสมัยและการทำงานของเจ้าหน้าที่ที่จะต้องเข้มข้นขึ้น เพื่อป้องกันไม่ให้สัตว์ป่า พันธุ์พืช ถูกทำลายและอาจเกิดการสูญพันธุ์ได้ในที่สุด "ระบบลาดตระเวนเชิงคุณภาพ (Smart Patrol System)" จึงถูกนำมาใช้เพื่อให้เจ้าหน้าที่ได้มีข้อมูลและเทคโนโลยีดูแลทรัพยากรข้างต้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถวางแผนการอนุรักษ์และแก้ไขปัญหาในพื้นที่ได้ง่ายยิ่งขึ้น อีกทั้งยังสามารถวางแผนป้องกันและปราบปรามได้อย่างรวดเร็ว และทราบการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ เช่น รอยก่อกองไฟ รอยเท้าสัตว์ป่า ผ่านกล้องดักถ่ายอัตโนมัตินั่นเอง


เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งเป็นหนึ่งในสถานที่ ที่นำกล้องดักถ่ายอัตโนมัติ (Camera Trap) มาใช้เพื่อการศึกษาทางด้านสัตว์ป่าเพื่อการอนุรักษ์ โดยเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2565 ที่ผ่านมา นายเพิ่มศักดิ์ กนิษฐชาติ​ หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วย​ เผย​ว่า​ เขตรักษา​พันธุ์​สัตว์ป่า​ห้วย​ขาแข้ง​ เปิดภาพจากกล้องดักถ่ายภาพอัตโนมัติ​ (Camera Trap) พบสัตว์ป่าหลากหลายชนิด เช่น  เสือโคร่ง เสือดำ กระทิง กวางป่า ควายป่า นกยูง หมาไม้ และสัตว์ป่าคุ้มครองอย่างสมเสร็จ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ และระบบนิเวศ​ในป่าห้วยขาแข้ง​ และผลมาจากในพื้นที่เจ้าหน้าที่มีการลาดตระเวนเชิงคุณภาพเพื่อป้องกันภัยคุกคามมาอย่างต่อเนื่อง โดยกล้องดักถ่ายภาพอัตโนมัติตัวนี้ มีคุณสมบัติและถูกนำมาประโยชน์ดังต่อไปนี้
-นำมาใช้ในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสัตว์ป่ากับถิ่นที่อาศัยหรือปัจจัยแวดล้อม หาความชุกชุมสัมพัทธ์และการกระจายของสัตว์ป่าในพื้นที่ศึกษา บอกถึงปัจจัยคุกคามหรือกิจกรรมมนุษย์ในพื้นที่ เก็บข้อมูลเกี่ยวกับสัตว์ป่า
-ช่วยสำรวจชนิดของสัตว์ป่าในพื้นที่

-สามารถติดตามศึกษาสัตว์ป่าที่มีเวลาหากินในเวลากลางคืน สัตว์ป่าที่เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม นก สัตว์เลื้อยคลาน รวมถึงสัตว์ที่สามารถพบเห็นตัวได้ยาก


-ศึกษาช่วงเวลาการทำกิจกรรมในรอบวันของสัตว์ป่าในแต่ละชนิดได้

-นำภาพที่ได้มาประเมินประชากรหรือความหนาแน่นของสัตว์ป่าบางชนิด เช่น เสือโคร่ง ที่สถานีวิจัยสัตว์ป่าเขานางรำ ที่ศึกษาและติดตามประชากรด้วยกล้องชนิดนี้ตั้งแต่ พ.ศ.2547 จนปัจจุบัน 
-ราคามิตรภาพ สามารถจับต้องได้
จากการที่ตั้งกล้องดักถ่ายอัตโนมัติไว้อย่างต่อเนื่อง ทำให้เจ้าหน้าที่สามารถติดตามสถานการณ์ในพื้นที่นั้นๆไปในตัว ว่าปรากฏสัตว์ป่าชนิดใดหรือไม่ปรากฏชนิดใด ประเภทไหนที่ห่างหายออกจากพื้นที่ หรือมีการเพิ่มเติมชนิดใหม่เข้ามา เรียกได้ว่าเห็นความเปลี่ยนแปลงในทุกๆช่วงอย่างสม่ำเสมอ ทำให้เจ้าหน้าที่ได้มีข้อมูลและนำไปคิดวางแผน และดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปได้อย่างเหมาะสม ยกให้เป็นเทคโนโลยีสุดล้ำชนิดหนึ่งของไทยเลย .
เลขไอพี : ไม่แสดง | ตั้งกระทู้โดย MacOS

อ่านต่อ คุณอาจจะสนใจเนื้อหาเหล่านี้ (ความคิดเห็นกระทู้ อยู่ด้านล่าง)

ความคิดเห็น

#1 | babala | 26 ต.ค. 65 15:50 น.

8o   

ไอพี: ไม่แสดง | โดย Windows 10

#2 | sz455188 | 31 ต.ค. 65 10:32 น.

ไอพี: ไม่แสดง | โดย MacOS

#3 | Yvonne | 10 พ.ย. 65 00:10 น.

ไอพี: ไม่แสดง | โดย Windows 10

#4 | sz382025 | 27 พ.ย. 65 23:39 น.

It so good.

ไอพี: ไม่แสดง | โดย Windows 10

แสดงความคิดเห็น

จะต้องเป็นสมาชิกจึงจะแสดงความคิดเห็นได้
เป็นสมาชิกอยู่แล้ว ลงชื่อเข้าใช้ระบบ
ยังไม่ได้เป็นสมาชิก สมัครสมาชิกใหม่
หรือจะลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google หรือ Facebook ก็ได้
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Facebook
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google