ช่วยด้วยยยยยยยยย !! ด่วน

11 ก.ค. 54 16:58 น. / ดู 2,259 ครั้ง / 5 ความเห็น / 0 ชอบจัง / แชร์
ช่วยด้วยค่า ใครก็ได้ช่วยหาข้อมูลเเล้วมาโพสให้หน่อยนะคะ
พวก- อารยธรรม ,ภูมิประเทศ ภูมิอากาศ
ของ 3 ทวีปนี้ค่ะ 1.อเมริกาใต้
        2.แอฟริกา
        3.ออสเตรเลีย-โอเชียเนีย


คอมจขกท.ไม่ได้เสียหรืออะไรนะคะ เเต่ไม่มีเวลาทำจริงๆ 
พรุ่งนี้จขกท.สอบยังอ่านหนังสือไม่ครบ+ไม่เข้าใจเลข

งานอันนี้ต้องทำส่งพรุ่งนี้ เเต่จขกท.ไม่มีเวลาจะทำเเล้ว ช่วยหน่อยค่ะ


ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ.



.... กระทู้นี้ย้ายมาจากห้องเบ็ดเตล็ด ...
แก้ไขล่าสุด 11 ก.ค. 54 17:07 | เลขไอพี : ไม่แสดง

อ่านต่อ คุณอาจจะสนใจเนื้อหาเหล่านี้ (ความคิดเห็นกระทู้ อยู่ด้านล่าง)

ความคิดเห็น

#1 | TheHenThatWentMoo | 11 ก.ค. 54 17:11 น.

ลักษณะภูมิอากาศ  ทวีปแอฟริกา
        ปัจจัยที่ควบคุมลักษณะภูมิอากาศของทวีปแอฟริกาให้มีลักษณะแตกต่างกันตามภูมิภาคต่างๆ ดังนี้
        1. ที่ตั้ง แอฟริกาตั้งอยู่ระหว่างละติจูด 37 องศาเหนือ-35 องศาใต้ โดยมีเส้นศูนย์สูตรลากผ่านตอนกลางของทวีป ทำให้เนื้อที่ประมาณ 3ใน 4 ส่วนของทวีปอยู่ในเขตร้อน และมีพื้นที่เพียง 1 ใน 4 ที่อยู่ในเขตอบอุ่น
        2. ลักษณะภูมิประเทศ เนื้อที่ประมาณ 2 ใน 3 เป็นที่ราบสูง และยังเป็นทวีปที่มีรูปร่างไม่ค่อยเว้าแหว่ง จึงมีอ่าวและคาบสมุทรน้อยมาก ประกอบกับตอนกลางของทวีปตั้งอยู่ในเขตศูนย์สูตร เป็นเขตลมสงบที่มีทิศทางการพัดของลมไม่แน่ชัด แอฟริกาจึงได้รับอิทธิพลความชื้นและมวลอากาศจากทะเลน้อยมาก แม้จะมีแนวเทือกเขาทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือ ตะวันออก และตะวันออกเฉียงใต้ก็ไม่มีผลต่อความชื้นภายในทวีปมากนัก
        3. กระแสน้ำ ทางภาคเหนือด้านชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก มีกระแสน้ำเย็นกรีนแลนด์ไหลมาพบกับกระแสน้ำอุ่นกัลฟ์สตรีมบริเวณชายฝั่งตะวันออกของทวีปอเมริกาเหนือและจมลง แล้วมาโผล่ขึ้นแถบชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของแอฟริกา บริเวณชายฝั่งของประเทศโมร็อกโก และดินแดนสะฮาราตะวันตก เรียกว่า กระแสน้ำเย็นคานารี  ส่วนชายฝั่งตะวันตกเฉียงใต้ บริเวณประเทศสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ และนามิเบีย มีกระแสน้ำเย็นเบงเก-ลาไหลผ่าน
        ดังนั้น การที่ทวีปแอฟริกาตั้งอยู่ในเขตร้อนแต่มีกระแสน้ำเย็นไหลผ่านชายฝั่ง ย่อมทำให้ดินแดนที่ตั้งอยู่ชายฝั่งเหล่านั้นมีอากาศไม่ร้อนมากนัก

. ลักษณะภูมิประเทศ
        ทวีปแอฟริกาเป็นทวีปที่ไม่ค่อยมีคาบสมุทร อ่าวและทะเล เนื้อที่ประมาณ 2 ใน 3 ของทวีปเป็นที่ราบสูง ส่วนลักษณะพื้นที่เป็นที่ราบมีอยู่น้อยมาก ซึ่งส่วนใหญ่ได้แก่ ดินแดนบริเวณชายขอบของทวีปเท่านั้น ลักษณะภูมิประเทศแบ่งออกเป็น 4 เขต
        1. เขตที่ราบสูงและเทือกเขาทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือ เขตที่ราบสูงและเทือกเขานี้อยู่ในเขตประเทศโมร็อกโก แอลจีเรียและตูนิเซีย คือ เทือกเขาแอตลาส มียอดเขาสูงสุด ชื่อว่า ยอดเขาทูบคาล (4,167 เมตร) อยู่ในเขตประเทศโมร็อกโก ในเขตเทือกเขาแอตลาสประกอบด้วยเทือกเขาต่างๆ คือ
        - เทือกเขาแกรนด์แอตลาสในประเทศโมร็อกโกเป็นแกน
        - เทือกเขาแอนดิแอตลาสเป็นแนวขนานทางตอนใต้
        - เทือกเขาเทลล์แอตลาสเป็นแนวขนานด้านนอกบริเวณชายฝั่งในเขตประเทศโมร็อกโก แอลจีเรียและตูนิเซีย
        - เทือกเขาสะฮาราแอตลาสอยู่ทางใต้สุด
        2.เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำ แอฟริกามีที่ราบลุ่มแม่น้ำขนาดใหญ่ 4 เขต คือ
        1) ที่ราบลุ่มแม่น้ำไนล์ เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำที่มีบริเวณแคบๆ ส่วนอยู่ในเขตประเทศซูดานและอียิปต์ แม่น้ำไนล์เป็นแม่น้ำในเขตที่ราบสูง มีความยาวที่สุดในแอฟริกา และยาวที่สุดในโลก คือ 6,695 กิโลเมตร เกิดจากที่สูงและภูเขาทางตะวันออกของทวีป ไหลผ่านที่ราบสูงและทะเลทรายสู่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางเหนือ
        2) ที่ราบลุ่มแม่น้ำไนเจอร์ อยู่ในเขตประเทศมาลี ไนเจอร์ และไนจีเรีย แม่น้ำไนเจอร์เกิดจากภูเขาและที่สูงทางตะวันตกเป็นแม่น้ำที่ไหลผ่านที่ราบลุ่มอันกว้างขวาง บางตอนมีลักษณะเป็นที่ราบต่ำ มีน้ำแช่ขังเป็นที่ชื้นแฉะ  ใช้เพาะปลูกไม่ได้ มีความยาวเป็นลำดับที่ 3 ของทวีปแอฟริกา
        3) ที่ราบลุ่มแม่น้ำคองโก อยู่ทางตอนกลางทวีปในเขตประเทศคองโก และซาอีร์ เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำกว้างขวางมากรองจากที่ราบลุ่มแม่น้ำแอมะซอนในทวีปอเมริกาใต้ แม่น้ำคองโกมีต้นกำเนิดจากเทือกเขาด้านตะวันออกและที่ราบสูงภาคเหนือ มีความยาวเป็นลำดับที่ 2 ของทวีปแอฟริกา และยาวเป็นลำดับที่ 7 ของโลก ไหลผ่านทะเลสาบ  ที่ลุ่ม ที่ราบสูงหลายแห่ง จึงมีเกาะแก่งและน้ำตกมากมาย
        4) ที่ราบลุ่มแม่น้ำแซมเบซี อยู่ในเขตประเทศแองโกลาและแซมเบีย บอตาสวานา ซิมบับเว เป็นแม่น้ำทางภาคใต้มีความยาวเป็นลำดับที่ 4 ของทวีป ไหลลงสู่มหาสมุทรอินเดียที่ประเทศโมซัมบิก เป็นแม่น้ำที่ไหลผ่านที่ราบสูงและไหลเชี่ยวมาก ที่ราบลุ่มแม่น้ำนี้จึงมีเป็นบริเวณแคบๆ  แม่น้ำในทวีปแอฟริกา มักมีแก่งน้ำตก (Cataract) และน้ำตกขนาดใหญ่ กั้นขวางลำน้ำอยู่เป็นตอนๆ เนื่องจากไหลผ่านบริเวณที่ราบสูง ทำให้เกิดการกัดเซาะได้รวดเร็ว เช่นแเม่น้ำไนล์ มีแก่งน้ำตกกั้นขวางลำน้ำทางตอนใต้ของประเทศอียิปต์ กับทางตอนเหนือของซูดาน รวม 6 แห่ง และแม่น้ำคองโกมีแก่งน้ำตกกั้นขวางลำน้ำ 7 แห่ง น้ำตกขนาด  ใหญ่ที่มีชื่อเสียง ได้แก่ น้ำตกโบโยมา (น้ำตกสแตนลีย์) ในแม่น้ำคองโก และน้ำตกวิกตอเรียในแม่น้ำแซมเบซี
        3. เขตที่ราบสูงและภูเขาสูง เป็นเขตที่สูงมีอยู่ 2 บริเวณ คือ
        1) เขตที่ราบสูงและภูเขาทางภาคตะวันออก เป็นเขตที่มีความสูงมาก ลักษณะพื้นที่โดยทั่วไปเป็นที่ราบสูง ได้แก่ ที่ราบสูงเอธิโอเปีย และที่ราบสูงแอฟริกาตะวันออก นอกจากนี้ยังอุดมด้วยภูเขาไฟทั้งที่ยังคุกรุ่นอยู่และดับแล้ว ในเขตนี้มีภูเขาที่มียอดสูงเกินกว่า 3,000 เมตรหลายยอด เช่น ยอดเขาคิลิมานจาโร เป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในแอฟริกา อยู่ในเขตประเทศแทนซาเนีย (5,870 เมตร)  เขตที่สูงทางภาคตะวันออกนี้มีทะเลสาบกระจัดกระจายอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น ทะเลสาบวิกตอเรีย  (เป็นทะเลสาบน้ำจืดที่ใหญ่เป็นลำดับที่ 2 ขอโลก รองจากทะเลสาบสุพีเรีย ทะเลสาบแทนแกนยิกา เป็นทะเลสาบที่มีน้ำลึกมากเป็นอันดับ 2 ของโลก (1,470 ม.) รองจากทะเลสาบไบคาล (1,617 ม.) ทะเลสาบมาลาวีหรือทะเลสาบนยาซา ฯลฯ
        2) เขตภูเขาและที่ราบสูงภาคใต้ ประกอบด้วยที่ราบสูงกว้างเกือบ 1,300 กิโลเมตร จากทางตะวันตกถึงตะวันออก เป็นที่ราบสูงหินแกรนิตอยู่ระหว่างแม่น้ำวาลและแม่น้ำลิมโปโป เรียกว่า เดอะแรนด์ (The Rand) หรือ วิตวอเตอร์สแรนด์ (Witwatersrand) เป็นแหล่งผลิตแร่ทองคำที่สำคัญของโลก ส่วนบริเวณที่สูงที่สุดอยู่ทางตะวันออก เป็นเทือกเขาดราเกนสเบิร์ก ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำหลายสาย ทางตอนในของเขตนี้มีลักษณะเป็นแอ่งรูปจานและทางตะวันตกเป็นเขตแห้งแล้งเป็นทะเลทราย ได้แก่ ทะเลทรายคาลาฮารีและทะเลทรายนามิบ
        4. เขตที่ราบสูงภาคตะวันตก  เป็นที่ราบกว้างใหญ่มีอาณาเขตตั้งแต่ทะเลทรายสะฮาราถึงอ่าวกินี เขตนี้เป็นที่ราบสูงหินเก่า โดยมีพื้นที่ผิวปกคลุมด้วยหิน กรวด ปูน ทราย และดินตะกอน ภูเขาที่สำคัญในเขตนี้ได้แก่ ภูเขาอะฮักการ์ทางตอนใต้ของประเทศแอลจีเรีย ภูเขาทีเบสต์ในประเทศชาด ซึ่งเป็นสภาพภูมิประเทศที่มีส่วนช่วยให้เกิดฝนตกในเขตทะเลทราย ทางใต้ของเขตนี้มีที่ราบสูงหลายแห่ง เช่น ที่ราบสูงกินี ที่ราบสูงจอส ที่ราบสูงแคเมอรูน เป็นต้น

อารยธรรม
ลักษณะทางสังคมและวัฒนธรรม
        ทางตอนเหนือของทวีปแอฟริกา บริเวณประเทศอียิปต์ปัจจุบัน เป็นแหล่งอารยธรรมลุ่มแม่น้ำที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ซึ่งเริ่มต้นเมื่อประมาณ 6,000 ปีมาแล้ว ได้แก่ อารยธรรมลุ่มแม่น้ำไนล์  สิ่งที่แสดงถึงอารยธรรมของชาวอียิปต์โบราณ ได้แก่ การชลประทาน ที่สามารถนำน้ำจากแม่น้ำไนล์มาใช้ในการเกษตร ทำให้สามารถเพระปลูกได้ปีละ2-3 ครั้ง การสร้างพีระมิด เป็นที่เก็บศพของนักปกครองและนักรบ การทำมัมมี่ ซึ่งสามารถเก็บรักษาศพมนุษย์ได้เป็นพันๆ ปี โดยไม่เน่าเปื่อย การสร้างสฟิงซ์ โดยแกะสลักหินเป็นรูปสิงโตหมอบมีหน้าเป็นคน แพะ และเหยี่ยวไว้เป็นสิ่งเคารพ การทำปฏิทิน โดยกำหนดให้มีปีละ 365 วัน และเป็นที่นิยมใช้กันแพร่หลายมาจนถึงปัจจุบัน การเขียน ภาพจิตรกรรมฝาผนัง เป็นเรื่องราวต่างๆ ไว้ที่ฝาผนังที่ฝั่งศพ การเขียนสัญลักษณ์และรูปภาพแทนคำพูด ที่เรียกว่า อักษรไฮโรกลีฟิก การทำกระดาษ จากต้นพาไพรัส ซึ่งเป็นต้นกกชนิดหนึ่งในเขตลุ่มน้ำไนล์
        ต่อมาประมาณต้นพุทธศตวรรษที่ 12 พวกอาหรับซึ่งนับถือศาสนาอิสลามได้ขยายอำนาจจากเอเชียตะวันตกเฉียงใต้และนำอารยธรรมมุสลิมเข้าสู่ทวีปแอฟริกาหลายอย่าง เช่น ศาสนาอิสลาม ภาษาอาหรับ สภาพความเป็นอยู่และการดำเนินชีวิต เป็นต้น  ประมาณต้นพุทธศตวรรษที่ 22 วาสโก ดากามา (Vasco da Gama) ชาวโปรตุเกส ได้เกิดเรืออ้อมแหลมกู๊ดโฮปเข้าสู่แอฟริกาตะวันออก และนับตั้งแต่นั้นมาการสำรวจทวีปแอฟริกาของชาวยุโรปก็ได้เริ่มขึ้นและชาวยุโรปได้ขยายอิทธิพลของตนเข้ายึดครองดินแดนต่างๆ ไว้เป็นอาณานิคม กระทั่งถึงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศส่วนใหญ่ในทวีปแอฟริกาจึงได้รับเอกราชให้ปกครองตนเอง

ไอพี: ไม่แสดง

#2 | TheHenThatWentMoo | 11 ก.ค. 54 17:12 น.

อเมริกาใต้
ลักษณะภูมิประเทศ  แบ่งออกเป็น 3 เขต ได้แก่
        1) เขตเทือกเขาทางตะวันตก
        ทางด้านตะวันตกของทวีปซึ่งติดต่อกับชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก มีเทือกเขาแอนดีส ซึ่งเป็นเทือกเขาที่มีภูเขาไฟที่ยังทรงพลังอยู่หลายลูก ทอดเป็นแนวยาวขนานกับชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก จากเหนือสุดลงมาใต้สุด ตั้งแต่ปานามาเกาะเตียร์ราเดลฟิวโก  แนวเทือกเขานี้มีความยาวประมาณ 7,200 กิโลเมตร  นับเป็นเทือกเขาที่ยาวที่สุดในโลก และเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำโอริโนโค และแม่น้ำแอมะซอน ซึ่งเป็นแม่น้ำสายสำคัญในทวีปอเมริกาใต้ มียอดเขาที่สูงที่สุด  ชื่อ อะคองคากัว (Acomcagua) สูงประมาณ 6,960  เมตรในประเทศอาร์เจนตินา เป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในทวีปอเมริกาเหนือและใต้  ในเขตเทือกเขาแอนดีสช่วงที่เทือกเขาแยกตัวออกเป็น 2 แนว มีที่ราบสูงโบลิเวีย ซึ่งเป็นที่ราบสูงขนาดใหญ่ที่มีความสูงจากระดับมากเป็นที่สองของโลกรองจากที่ราบสูงทิเบต  และบนที่ราบสูงมีทะเลสาบสำคัญ ชื่อ  ทะเลสาบติติกากา  เป็นทะเลสาบน้ำจืดขนาดใหญ่ที่ใช้เดินเรือได้ อยู่สูงที่สุดในโลก (3,810 เมตร)
        2) เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำ ประกอบด้วย
        -ที่ราบลุ่มแม่น้ำโอริโนโค อยู่ทางตอนเหนือสุด มีต้นกำเนิดจากเทือกเขาแอนดีส  ไหลผ่านที่ราบในเขตประเทศโคลัมเบีย และเวเนซูเอลา ลงสู่มหาสมุทรแอตแลนติก
        -ที่ราบลุ่มแม่น้ำแอมะซอน  เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำที่ใหญ่และมีประมาณน้ำมากที่สุดของโลก  มีเนื้อที่ประมาณ 7 ล้านกิโลเมตร มีความยาวประมาณ 6,437 กิโลเมตร ยาวเป็นอันดับ 2 รองจากแม่น้ำไนล์ เป็นแม่น้ำที่ได้รับน้ำจากหลายสาขาที่มีต้นน้ำเกิดจากเทือกเขาแอนดีส ที่ราบสูงกิอานาและที่ราบสูงบราซิล และไหลลงสู่มหาสมุทรแอตแลนติกในเขตประเทศบราซิล
        -ที่ราบลุ่มแม่น้ำปารานา-ปารากวัย-อุรุกวัย อยู่ทางใต้ของที่ราบลุ่มแม่น้ำแอมะซอน ในเขตประเทศปารากวัย อุรุกวัยและอาร์เจนตินา บริเวณที่แม่น้ำทั้ง 3 ไหลมาบรรจบกันมีลักษณะเป็นอ่าวใหญ่ เรียกว่า  ริโอเดลาพลาตา (Rio de la Plata)
        3)เขตที่ราบสูงภาคตะวันออก ประกอบด้วย
        -ที่ราบสูงกิอานา อยู่ในเขตประเทศเวเนซุเอลา เฟรนซ์เกียนา ซรินาเม กายอานาและภาคเหนือของประเทศบราซิล
        -ที่ราบสูงบราซิล อยู่ทางด้านตะวันออกของทวีปในเขตประเทศบราซิล ระหว่างลุ่มแม่น้ำแอมะซอนกับลุ่มแม่น้ำปารานาและปารากวัย เป็นที่ราบสูงที่มีอาณาเขตกว้างใหญ่มาก
        -ที่ราบสูงโตกรอสโซ อยู่ทางตะวันตกของที่ราบสูงบราซิลในเขตประเทศบราซิลและโบลิเวีย
        -ที่ราบสูงปาตาโกเนียเป็นที่ราบสูงเชิงเขาแอนดีส อยู่ทางตอนใต้ของประเทศอาร์เจนตินา

ลักษณะภูมิอากาศ
        ลักษณะภูมิอากาศของทวีปอเมริกาใต้ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่อไปนี้
        1.ที่ตั้ง พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในเขตละติจูดต่ำ ดังนั้นเกือบทุกประเทศอยู่ในเขตร้อน ยกเว้น อุรุกวัย  อาร์เจนตินา ชิลีที่อยู่ในเขตละติจูกลาง หรืออยู่ในเขตอบอุ่น
        2.ลักษณะภูมิประเทศ มีเทือกเขาแอนดีสวางตัวอยู่แนวเหนือ-ใต้ขนานกับชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก  จึงเป็นกำแพงขวางกั้นความชื้นและลมประจำที่พัดจากทะเล  ทำให้ดินแดนภายในทวีปบางบริเวณมีอากาศแห้งแล้ง เป็นเขตทุ่งหญ้าและทะเลทราย  ประเทศที่ตั้งอยู่ในเขตละติจูดต่ำมีอากาศร้อน ยกเว้นบริเวณเทือกเขาและที่ราบสูงจะมีอุณหภูมิลดลงจะมีอากาศอบอุ่น เช่น โบโกตา เมืองหลวงของประเทศโคลัมเบีย ลาปาซ เมืองหลวงของประเทศโบลิเวีย
        3.ลมประจำ พื้นที่ส่วนใหญ่ของทวีปอเมริกาใต้อยู่ในเขตลมสงบบริเวณศูนย์สูตร และเขตอิทธิพลของลมสินค้าตะวันออกเฉียงเหนือและลมสินค้าตะวันออกเฉียงใต้ ทำให้ชายฝั่งตะวันออกของทวีปมีฝนตกชุก  แต่ลมนี้ไม่ได้นำความชื้นเข้าสู่พื้นที่ภายในทวีป
        4.กระแสน้ำ กระแสน้ำเย็นเวสต์วินด์  ไหลมาจากแถบขั้วโลกผ่านเลียบชายฝั่งตะวันตกของทวีปอเมริกาใต้ คือ ชายฝั่งทะเลของประเทศชิลีและเปรูเรียกว่า กระแสน้ำเย็นฮัมโบลต์ หรือกระแสน้ำเย็นเปรู ทำให้ชายฝั่งด้านนี้ในฤดูร้อนไม่ร้อนมากนัก ทางด้านตะวันออกมีกระแสน้ำอุ่นบราซิลและกระแสน้ำเย็นฟอล์กแลนด์ไหลผ่าน

ลักษณะภูมิอากาศของอเมริกาใต้ แบ่งออกเป็น 8 เขต
        1.เขตภูมิอากาศแบบป่าดิบชื้น (Tropical Rainforest Climate)  เป็นเขตที่มีอากาศร้อนและชุ่มชื้นตลอดปีพบในบริเวณเขตศูนย์สูตรแถบลุ่มแม่น้ำแอมะซอนและชายฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือของบราซิล  พืชพรรณธรรมชาติ เป็น ป่าดิบ เรียกว่า ป่าเซลวาส (Selvas)
        2.เขตภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าเมืองร้อนหรือสะวันนา  (Savanan Climate)  เป็นเขตที่มีอากาศร้อนตลอดปี มีฤดูแล้งสลับกับฤดูฝนพบในบริเวณลุ่มแม่น้ำโอริโนโคในประเทศโคลัมเบียและเวเนซุเอลา ที่ราบสูงกิอานาในประเทศเวเนซุเอลา ที่ราบสูงบราซิล  พืชพรรณธรรมชาติ เป็น ทุ่งหญ้าและป่าโปร่งทุ่งหญ้าในเขตลุ่มแม่น้ำโอริโนโคและที่ราบสูงกิอานา เรียกว่า ทุ่งหญ้ายาโนส (Llanos)  ทุ่งหญ้าในเขตประเทศบราซิล เรียกว่า ทุ่งหญ้าแคมโปส  ทุ่งหญ้าทางตอนใต้ของบราซิล ปารากวัยและตอนเหนือของอาร์เจนตินา เรียกว่า ทุ่งหญ้ากรันชาโก
        3.เขตภูมิอากาศแบบทะเลทราย (Desert Climate) มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยน้อยกว่า 10 นิ้วต่อปี  ได้แก่ ทะเลทรายอะตากามา ทางชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกในเขตประเทศเปรู และตอนเหนือของชีลี และทะเลทรายในเขตที่ราบสูงปาตาโกเนียทางตะวันออกของเทือกเขาแอนดีสในเขตประเทศอาร์เจนตินา
        4.เขตภูมิอากาศแบบกึ่งทะเลทราย (Steppe Climate) ซึ่งอยู่ระหว่างเขตทะเลทรายกับเขตอบอุ่น  มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยน้อยกว่า 15 นิ้วต่อปี พบบริเวณตะวันออกของอาร์เจนตินาถึงที่ราบสูงปาตาโกเนียทางตอนใต้  พืชพรรณธรรมชาติ ทุ่งหญ้าสั้นๆ หรือทุ่งหญ้าสเตปป์
        5.เขตภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน (Mediterranean Climate) มีอากาศร้อนแห้งแล้งในฤดูร้อน และมีอากาศอบอุ่นฝนตกในฤดูหนาวพบบริเวณชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกตอนกลางของชิลี  พืชพรรณธรรมชาติ ไม้พุ่มมีหนาม ใบแหลมเรียวเล็ก เป็นมันเปลือกหนา เพื่อป้องกันการคายน้ำในฤดูร้อน
        6.เขตภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้น (Humid Subtropical Climate) มีอากาศอบอุ่นชุ่มชื้น ปริมาณน้ำฝนปานกลาง ประมาณ 750-1,500 มิลลิเมตรต่อปี  ได้รับอิทธิพลจากลมประจำที่พัดผ่านน่านน้ำนำกระแสน้ำอุ่นเข้าสู่ฝั่ง  พบบริเวณชายฝั่งตะวันออกของทวีป  พืชพรรณธรรมชาติ  เป็นป่าผลัดใบ และบริเวณภายในมีปริมาณน้ำฝนน้อยลง  พืชพรรณเป็นทุ่งหญ้ายาวเรียกว่า ทุ่งหญ้าปามปัส (Pampas) มีความสำคัญทางการเกษตรของประเทศปารากวัย อุรุกวัยและอาร์เจนตินา
        7.เขตภูมิอากาศแบบภาคพื้นสมุทรชายฝั่งตะวันตก (Marine Westcoast Climate)  มีอากาศอบอุ่นชุ่มชื้นตลอดปี เพราะได้รับอิทธิพลจากลมประจำตะวันตก ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 5,000 มิลลิเมตรต่อปี  พบบริเวณทางตอนใต้ของเขตภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียนในประเทศชีลี  พืชพรรณธรรมชาติ ป่าผลัดใบกับป่าสน
        8.เขตภูมิอากาศแบบภูเขาสูง มีอากาศเปลี่ยนแปลงไปตามความสูงของพื้นที่พบบริเวณแถบเทือกเขาแอนดีส

ลักษณะทางสังคมและวัฒนธรรม
        ทวีปอเมริกาใต้เป็นแหล่งอารยธรรมดั้งเดิมของชาวอินเดียนเผ่าอินคา เมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 19 มีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่ของประเทศเอกวาดอร์ เปรู โบลิเวียและทางตอนเหนือของประเทศชีลิในปัจจุบัน อาณาจักรนี้มีความเจริญสูงสุดประมาณตอนกลางของพุทธศตวรรษที่ 20  สิ่งที่แสดงถึงอารยธรรมของพวกอินคา ได้แก่ การนำหินมาปูถนน การทำสะพานแขวนด้วยเชือกเพื่อทอดข้ามลำธาร แม่น้ำและหุบเขาแคบๆ การสกัดหินภูเขาออกมาเป็นแท่งๆ  เพื่อนำไปก่อสร้างที่อยู่อาศัย การปรับพื้นที่เนินเขาให้เป็นขั้นบันไดเพื่อใช้เพาะปลูกการขุดคลองเพื่อส่งน้ำเพื่อการเกษตร  ใน พ.ศ.2075 อาณาจักรอินคาต้องตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของสเปน สเปนจึงมีอำนาจปกครองดินแดนอันกว้างใหญ่ที่อุดมสมบูรณ์นี้ การที่สเปนเข้ามามีอิทธิพลในทวีปอเมริกาใต้ ทำให้มีคำเล่าลือว่าทวีปอเมริกาใต้เป็นแหล่งที่อุดมสมบูรณ์ด้วยทองคำ เงินและโลหะอื่นๆ ซึ่งเป็นดึงดูดใจให้ผู้คนในประเทศสเปนและโปรตุเกส  พากันเดินทางเข้ามาแสวงโชคลาภในทวีปนี้มากขึ้น ดังนั้นทุกภูมิภาคในทวีปนอเมริกาใต้จึงตกเป็นอาณานิคมของสเปน ยกเว้นบราซิลเป็นอาณานิคมของโปรตุเกส  ปลายพุทธศตวรรษที่ 25 ชาวอาณานิคมได้ต่อสู้จนได้รับเอกราช และได้สถาปนาเป็นประเทศเอกราชเกือบทั้งหมด ยกเว้นเฟรนซ์เกียนาเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสและเกาะฟอล์กแลนด์เป็นดินแดนในปกครองของอังกฤษ

ลักษณะทางด้านประชากร
        1.เชื้อชาติ ประกอบด้วยกลุ่มชน 3 กลุ่ม คือ กลุ่มชาวอินเดียน กลุ่มชาวผิวขาวและกลุ่มชาวผิวดำ
        1.1 กลุ่มอินเดียน เป็นชนเผ่าดั้งเดิม  ที่สร้างสรรค์อารยธรรมในทวีปอเมริกาใต้เมื่อประมาณ 5,000 ปี ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในแถบที่สูงของเทือกเขาแอนดีส และบางส่วนอาศัยอยู่ในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำแอมะซอนและชายฝั่งทะเลแคริบแบียน  เมื่อชาวผิวขาวได้เข้ามามีอิทธิพลในทวีปอเมริกาใต้ก็บังคับให้ชาวอินเดียนทำงานในไร่นาและเหมืองแร่ของตน ต่อมามีผู้หญิงอินเดียจำนวนมากได้แต่งงานกับคนผิวขาว ทำให้มีลูกเลือดผสมเรียกว่า เมสติโซ ซึ่งปัจจุบันกลายเป็นประชากรส่วนใหญ่ในทวีปอเมริกาใต้ ส่วนชาวอินเดียเลือดบริสุทธิ์ปัจจุบันมีอยู่จำนวนน้อยในบางประเทศ เช่น เปรู โบลิเวีย เอกวาดอร์ บราซิล
        1.2 กลุ่มผิวขาว ซึ่งอพยพเข้าไปตั้งหลักแหล่งเมื่อประมาณ พ.ศ.2400 ได้แก่ ชาวสเปน โปรตุเกส  อิตาลี เยอรมัน และโปแลนด์ ต่อมาหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ชาวญี่ปุ่น  เป็นพวกผิวเหลืองได้อพยพเข้าสู่ทวีปอเมริกาใต้เป็นจำนวนมาก
        1.3 กลุ่มผิวดำ  จากทวีปแอฟริกาได้อพยพเข้าในฐานะใช้แรงงานในไร่นาและเหมืองแร่ของพวกผิวขาวในประเทศบราซิลและโคลัมเบีย ต่อมาคนผิวดำได้แต่งงานกับคนผิวขาว  และมีลูกเลือดผสมเรียกว่า มูแลตโต ส่วนใหญ่อยู่ในประเทศบราซิลและโคลัมเบีย
        2.ภาษา ประเทศต่างๆในทวีปอเมริกาใต้ ใช้ภาษาสเปนเป็นภาษาราชการ ยกเว้นประเทศบราซิลใช้ภาษาโปรตุเกส ประเทศกายอานา ใช้ภาษาอังกฤษ เฟรนซ์เกียนา ใช้ภาษาฝรั่งเศส และซูรินาเม  ใช้ภาษาดัตช์
        3.ศาสนา  ประชากรร้อยละ 90 ของทวีปอเมริกาใต้นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก  ที่ชาวสเปนและโปรตุเกสเป็นผู้นำเข้ามาเผยแผ่ ส่วนนิกายโปรเตสแตนต์มีผู้นับถือน้อย
        4.การศึกษา ประเทศที่มีการศึกษาพัฒนามากที่สุดในทวีปอเมริกาใต้ ได้แก่ อาร์เจนตินา ชีลี  กายอานา  อุรุกวัย และซูรินาเม ประชากรของประเทศเหล่านี้มีอัตราการอ่านเขียนได้สูง  เพราะเป็นประเทศมี่มีเศรษฐกิจค่อนข้างดี  จึงสามารถจัดการศึกษาบังคับแบบให้เปล่าได้ทั่วถึง ส่วนประเทศอื่นๆ มีประชากรอ่านออกเขียนได้ยู่ในอัตราที่ต่ำกว่านี้
        5.การกระจายและความหนาแน่นของประชากร
        ทวีปอเมริกาใต้มีประชากรทั้งหมด 331 ล้านคน (พ.ศ.2541) เฉลี่ยความหนาแน่นของประชากร 18.6 คนต่อตารางกิโลเมตร จัดเป็นทวีปที่มีประชากรอาศัยอยู่เบาบาง 
        บริเวณที่มีประชากรอาศัยอยู่เบาบาง
        - บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำแอมะซอน ซึ่งเป็นเขตป่าดิบที่มีการคมนาคมติดต่อกันได้ยากลำบาก มีอุทกภัยเกิดขึ้นเสมอและมีสัตว์ป่าที่เป็นอันตรายและโรคภัยไข้เจ็บชุกชุม
        - บริเวณที่ราบสูงทั้งในเขตร้อนและอบอุ่น มีอากาศแห้งแล้งเป็นทะเลทราย หรือทุ่งหญ้าเขตร้อนมีดินไม่ค่อยอุดมสมบูรณ์ บริเวณที่มีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่น เป็นบริเวณที่มีสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติเหมาะแก่การดำเนินชีวิต  มีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์และมีการคมนาคมขนส่งสะดวก ได้แก่
        - บริเวณชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกตั้งแต่ปากแม่น้ำแอมะซอนจนถึงปากอ่าวริโอเดอลาพลาตา
        - เขตที่ราบสูงของเทือกเขาแอนดีสในประเทศโคลัมเบีย เอกวาดอร์ และเปรู
        - เขตเมืองหลวงและเมืองใหญ่ของประเทศต่างๆในทวีปอเมริกาใต้

ไอพี: ไม่แสดง

#3 | TheHenThatWentMoo | 11 ก.ค. 54 17:14 น.

ออสเตรเลีย-โอเชียเนีย
ลักษณะภูมิประเทศ  แบ่งออกเป็น 3 เขต
        1. เขตที่สูงทางภาคตะวันออก (Eastern  Highland) เป็นเขตที่มีเทือกเขาสูงวางตัวจากทิศเหนือไปยังทิศใต้ขนานกับชายฝั่งตะวันออก ตั้งแต่แหลมยอร์กไปจนถึงช่องแคบบาสส์ เรียกว่า เทือกเขาเกรตดิไวดิง (Great Dividing Range) เทือกเขาแอลป์ออสเตรเลียมียอดเขาสูงสุด คือ ยอดเขาคอสซิอัสโก (Kosciusko) สูงประมาณ 2,198 เมตร เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำเมอร์รีย์-ดาร์ลิง ทางชายฝั่งตะวันออกของรัฐควีนส์แลนด์มีแนวปะการังที่ยาวที่สุดในโลก ที่วางตัวขนานกับชายฝั่งเรียกว่า เกรดแบริเออร์ รีริฟ (Great Barrier Reef) วางตัวขนานและห่างจากชายฝั่งประมาณ  40-200  กิโลเมิตร และยาวประมาณ  2,000  กิโลเมตร



        2. เขตที่ราบภาคกลาง (Central Plain) มีอาณาบริเวณตั้งแต่อ่าวคาร์เปนตาเรียนทางตอนเหนือ ลงมาถึงอ่าวสเปนเซอร์และเกรตออสเตรเลียนไบต์ มีลักษณะเป็นที่ราบต่ำ มีพื้นที่ ประมาณ 1 ใน 3 ของประเทศ และเป็นแหล่งที่มีน้ำบาดาลมาที่สุดของประเทศ  แบ่งออกเป็น 4 เขต
        2.1 เขตที่ราบอ่าวเกรตออสเตรเลียไบต์ (Great Australina Bight Plan) เป็นที่ราบที่มีอากาศแห้งแล้งกันดาร เรียกว่า ที่ราบนัลลาบอร์ (Nullabor Plain)  ภาษาพื้นเมือง แปลว่า ที่ราบที่ไม่มีต้นอยู่เลย
        2.2 ที่ราบลุ่มแม่น้ำเมอร์รีย์และดาร์ลิง (Murray and Dariong Basin) มีแม่น้ำดาร์ลิง เป็นแม่น้ำสายยาวที่สุดของออสเตรเลีย ประมาณ 3,700 กิโลเมตรและแม่น้ำเมอร์รีย์และไหลผ่าน ไหลลงสู่อ่าวเอนเคาน์เตอร์ และเป็นแหล่งเกษตรกรรมที่สำคัญของประเทศ
        2.3 ที่ราบรอบทะเลสาบแอร์ (Lake Ayre  Basin) เป็นเขตพื้นที่ราบรอบทะเลแอร์ ซึ่งเป็นทะเลสาบน้ำเค็มที่ใหญ่ที่สุดในทวีปออสเตรเลีย และเป็นที่ราบแล้งแห้งเป็นทะเลทราย  เช่น  ทะเลทรายซิมป์สันและทะเลทรายสจ๊วด
        2.4 ที่ราบรอบอ่าวคาร์เปนตาเรีย (Gulf of Carpentaria Plain)  เป็นที่ราบชายฝั่งแคบๆ ทางตอนเหนือของประเทศ
        3. เขตที่ราบสูงภาคตะวันตก (Western Plateau) เป็นเขตที่สูงภาคตะวันตก ซึ่งมีพื้นที่มากกว่าครึ่งทวีป ประกอบด้วยที่ราบชายฝั่งแคบๆ และที่สูงเป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ ลักษณะพื้นที่ทางด้านตะวันตกและลาดเทไปทางตะวันออก ซึ่งเป็นดินแดนภายในทวีป มีเทือกเขาที่สำคัญ เช่น เทือกเขาโรบินสัน เทือกเขาดาร์ลิง เทือกเขาแม็กโนนัลล์  เทือกเขามัสเกรฟ  เทือกเขาคิมเบอร์เลย์  นอกจากนี้ยังมีภูมิประเทศที่เป็นเขตทะเลทรายอยู่หลายแห่ง  เช่น  ทะเลทรายเกรตแซนดี  ทะเลทรายกิบสัน  ทะเลทรายเกรตวิกตอเรีย

5. ลักษณะภูมิอากาศ
        ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภูมิอากาศของออสเตรเลีย
        1. ที่ตั้ง ตั้งอยู่ในเขตร้อนและเขตอบอุ่น โดยมีเส้นทรอออฟแคปริคอร์นลากผ่านกลางของประเทศ ทางตอนเหนือมีอากาศร้อน และทางตอนใต้มีอากาศอบอุ่น
        2. ทิศทางลม
        - ลมสินค้าตะวันออกเฉียงใต้ พัดจากมหาสมุทรแปซิฟิกเข้าสู่ฝั่งตะวันออกของออสเตรเลียตลอดทั้งปี ทำให้มีฝนตกชุกตามบริเวณชายฝั่งด้านตะวันออก ไม่มีฤดูแล้ง
        - ลมตะวันตกเฉียงใต้ พัดจากมหาสมุทรอินเดีย ทำให้มีฝนตกในฤดูหนาว และแห้งแล้งในฤดูร้อน
        - ลมมรสุมตะวันตกเฉียงเหนือ พัดจากทะเลติมอร์และทะเลอาราฟูราเข้าสู่ชายฝั่งทางตอนเหนือ มีความชุ่มชื่นและแห้งแล้งในฤดูหนาว
        3. ลักษณะภูมิประเทศ ทางตะวันตก มีที่ราบสูงและภูเขาวางตัวขวางกั้นทิศทางลมและความชื้นจากทะเล ทางตะวันออกมีแนวเทือกเขาเกรตดิไวดิง เป็นกำแพงขวางกั้นทิศทางลมและความชื้นจากทะเลทางตะวันออก ทำให้ดินแดนภายในตอนกลางประเทศมีอากาศแห้งแล้ง4. ความใกล้ไกลจากทะเล เนื่องจากออสเตรเลียมีพื้นที่กว้างมาก ทำให้พื้นที่ภายในอยู่ห่างไกลจากทะเลมาก อิทธิพลจากความชื้นจากทะเลเข้าไปไม่ถึง ทำให้อากาศแห้งแล้ง
        5. กระแสน้ำ มีกระแสน้ำเย็นออสเตรเลียตะวันตกไหลเลียบทางฝั่งชายตะวันตก ขึ้นไปทางเหนือ ทำให้ชายฝั่งทางตอนเหนือมีอุณหภูมิร้อนลดลง

อารยธรรม
การปกครอง
        ออสเตรเลีย เป็นประเทศเครือจักรภพอังกฤษ มีสมเด็จพระนางเจ้าอลิซาเบธที่ 2 แห่งราชอาณาจักรเป็นประมุขออสเตรเลีย ปกครองด้วยระบบประชาธิปไตยแบบสมาพันธรัฐ ที่มีทั้งรัฐบาลกลาง และรัฐบาลของรัฐต่างๆ รัฐบาลกลางมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร  ฝ่ายนิติบัญญัติ มีรัฐสภาซึ่งประกอบด้วยสภาสูง มาจากการเลือกตั้งอยู่ในตำแหน่งคราวละ 6 ปี  และสภาผู้แทนราษฎร ประกอบด้วยสมาชิกที่มาจากรัฐจากและดินแดนอิสระ อยู่ในตำแหน่งคราวละ 3 ปี
        ประชากร
        1. เชื้อชาติ แบ่งออกเป็น 2 พวก
        1.1 ชนผิวขาว เป็นประชากรส่วนใหญ่ของออสเตรเลีย ที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 24 เป็นใหญ่เป็นชาวอังกฤษ เยอรมนี เนเธอร์แลนด์ อิตาลี และกรีซ อาศัยอยู่ทางตะวันออก ทางใต้และทางตะวันตกของประเทศ
        1.2 ชนพื้นเมือง เป็นประชากรดั้งเดิมของออสเตรเลีย เรียกว่า อะบอริจินิส หรือ ออสเตรลอยด์ อาศัยอยู่ทางตอนเหนือของประเทศ คือ นอร์เทิร์นเทร์ริทอรี ซึ่งดินแดนที่รัฐบาลออสเตรเลียสงวนไว้ให้กับชาวพื้นเมือง
        2. ภาษา ออสเตรเลียใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ ซึ่งเป็นภาษาที่ใช้กันทุกเชื้อชาติ
        3. ศาสนา การที่ชาวยุโรปได้อพยพเข้าไปตั้งถิ่นฐาน ได้นำเอาศาสนาคริสต์เข้าไปด้วย ส่วนใหญ่เป็นนิกายโรมันคาทอลิก
        4. ประชากร ออสเตรเลียมีประชากรประมาณ 18.7 ล้านคน (2541) เฉลี่ยความหนาแน่นประมาณ 2.4 คนต่อตารางกิโลเมตร บริเวณที่มีประชากรหนาแน่นอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้และทางใต้ของประเทศ ส่วนบริเวณที่มีประชากรเบาบาง ได้แก่บริเวณตอนกลางของประเทศ เพราะมีอากาศแห้งแล้งเป็นกึ่งทะเลทรายและทะเลทราย
        5. เมืองสำคัญ
        - ซิดนีย์ เป็นเมืองเก่าและใหญ่ที่สุด และเป็นเมืองหลวงของรัฐนิวเซาท์เวสต์ เป็นศูนย์กลางทางการค้าและอุตสาหกรรม
        - แคนเบอร์รา เป็นเมืองหลวง ตั้งอยู่ในดินแดนอิสระคือ ออสเตรเลียนแคพิคอลเทร์ริทอรี อยู่ในรัฐนิวเซาท์เวสต์ เป็นที่ทำการรัฐบาลกลางและสถาฑูตของประเทศต่างๆ ทั่วโลก
        - เมลเบิร์น เป็นเมืองหลวงของรัฐวิกตอรี เป็นเมืองท่าและศูนย์กลางอุตสาหกรรมใหญ่รองจากซิดนีย์
        - โฮบาร์ด เป็นเมืองหลวงของรัฐแทสเมเนีย เป็นเมืองท่าน้ำลึกของออสเตรเลีย

ไอพี: ไม่แสดง

#4 | -`บ้ะเทิ่งเทิ้ง.? | 11 ก.ค. 54 17:14 น.

เจ้าแม่แห่งDRAMA

ขอบคุณมากค่ะ ขอบคุณจริงๆ 

ไอพี: ไม่แสดง

#5 | TheHenThatWentMoo | 11 ก.ค. 54 17:17 น.

โอ้ ยินดี ค่า คือเราไม่มีอะไรทำอ่ะ 555555555

ไอพี: ไม่แสดง

แสดงความคิดเห็น

จะต้องเป็นสมาชิกจึงจะแสดงความคิดเห็นได้
เป็นสมาชิกอยู่แล้ว ลงชื่อเข้าใช้ระบบ
ยังไม่ได้เป็นสมาชิก สมัครสมาชิกใหม่
หรือจะลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google หรือ Facebook ก็ได้
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Facebook
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google