ในทรรศนะของข้าพเจ้า 91 ดนตรีไทยมีค่าแค่ไหนกัน?

21 พ.ค. 55 22:35 น. / ดู 460 ครั้ง / 6 ความเห็น / 0 ชอบจัง / แชร์
ครับ ตามหัวข้อเลย ของตอบคำถามกันดูก่อนจะอ่านที่ผมจะเขียน จะตอบหรูหราแค่ไหนก็ได้ผมไม่ว่า แต่เมื่ออ่านจบแล้ว ลองตอบคำถามใหม่นะ ^.^

คำว่าคุณค่ามันอยู่ที่วิจารณญาณของแต่ละคน อันนี้ผมเข้าใจและทำใจได้ แต่เมื่อมองในลักษณะของความถูกต้องและสิ่งที่ควรจะเป็นแล้ว เรื่องศิลปะไทยน่าจะเป็นเรื่องต้นๆ ของการจัดลำดับความสำคัญ แต่ก็อย่างว่าละ “ใครชอบก็ปล่อยเขา” “ใครไม่สนใจก็ทำไรเขาไม่ได้”

เมื่อผมถามคำถามว่า คุณให้ความสำคัญกับศิลปะไทยมากแค่ไหน เพราะอะไร  ผมเชื่อว่าส่วนใหญ่จะตอบว่า “สำคัญมาก เพราะเป็นสิ่งที่เราควรอนุลักษณ์ และสืบทอดให้รุ่นลูกหลานได้เห็น, ทั้งยังเป็นสมบัติ ความภูมิใจของชาติไทย”  แต่คำตอบนั้นควรจะตอบกับคำถามที่ว่า “ศิลปะไทยมีควรมีค่ามากแค่ไหน เพราะอะไร?”


ถ้าเราให้คุณค่าสิ่งใดมาก เมื่อเราพบสิ่งนั้นๆ เราจะหยุดเพื่อชื่นชมความงดงามของสิ่งนั้นๆ เช่นเมื่อเราเจอธนบัตรใบละร้อย เราจะหยุดเพื่อดูว่าของจริงไหม จากนั้นเราจะเก็บไว้ เนื่องจากเราให้ความสำคัญกับเงินมาก, หรือเราเดินผ่านผู้หญิงนุ่งชุดวาบหวิว เราก็หยุดมองสักนิด  นั่นเพราะเราให้ความสำคัญกับผู้หญิงในชุดวาบหวิวมาก, ฯลฯ เป็นต้น


ทีนี้ดนตรีไทยบ้าง ผมจะเขียนแบบฮาร์ดคอร์เลยนะ

ผมจะไม่บอกหรอกว่าดนตรีไทยสำหรับผมแล้วเป็นดั่งชีวิต เพราะตัวผมเองก็สนใจในปรัชญาอยู่มากพอสมควร ในฐานะที่ผมเป็นนักดนตรีไทยซึ่งผ่านงานเล่นดนตรีในที่ต่างๆ มามาก จากที่เห็นนะครับดนตรีไทยในวงการที่ผมอยู่จะติดอยู่กับงาน Event ดังจะสังเกตถึงคนที่ผ่านไปผ่านมา เค้าจะผ่านไปเฉยๆ ไม่ได้หยุดดูเลยสักนิด

ผมเคยพูดกับเพื่อนนะว่า “เราเล่นแค่ให้มีเสียงแค่นั้นละ” ซึ่งแน่นอนเพื่อนผมคนนี้จะพูดห้ามปราม และให้กำลังใจตามนิสัยมัน  แต่ผมอยากให้ทุกท่านวิเคราะห์คำพูดที่ครูท่านประชดประชันนะ “เสียงดัง ตังมา” มันหมายความว่าอันใดเล่า?
นั่นคือ คือคุณค่าของดนตรีไทย...


ในงานEเวนท์ ที่ผมเรียกว่า งานEเวร คนที่ผ่านไปมาสามารถขอเพลงฟังได้ ซึ่งส่วนใหญ่เลยละขอแค่ ๒ เพลง “ลาวดวงเดือน” และ “ค้างคาวกินกล้วย”  แบบขอเสร็จ เล่นแล้ว เขาก็เดินจากไป... สักพักคนใหม่ก็มา พร้อมกับขอเพลงเดิมอีก... อาการหนักหน่อยก็ ขอปุ๊บ หายหัวเลย...

ผมอยากเล่นพวกเพลงเรื่องเก่าๆ, เพลงสองชั้นหาฟังยาก, เพลงตับเรื่องตับเพลง, เพลงเถาที่คนไม่ค่อยเล่นกัน หรือแม้กระทั่งเพลงโหมโรงแปลกๆ (ไม่ใช่เพลงจากหนังเรื่องโหมโรงนะ) แต่หาโอกาสเล่นไม่ได้ด้วยเหตุปัจจัยต่างๆ

๑. เวลาที่ไม่เอื้อให้เล่น ด้วยตารางคิวต้องรันไปตามเวลาที่วางแผนไว้ จะเล่นเกิน หรือขาดไม่ได้ นี่ละงาน Event

๒. เล่นแล้วคนไม่ฟัง ไม่เข้าใจว่าเราเล่นอะไร ฟังไม่รู้เรื่อง



อันนี้ในวงการของงาน Event นะครับ ซึ่งดนตรีไทยมีค่าแค่ขั้นให้มันไม่เงียบ เท่านั้นเอง
ส่วนวงการอื่น เช่น งานประกวด, งานประชัน, งานแสดงผลงาน, งานอื่นๆ คงมีคุณค่ามากขึ้น



สรุปแล้ว คุณค่าของดนตรีไทย ก็ขึ้นอยู่กับแต่ละคนละครับที่จะตีมากแค่ไหน ใครชอบก็ตีคุณค่ามากหน่อย, ใครไม่ชอบก็ตีคุณค่าต่ำนิด, ใครเฉยๆ มันก็มีคุณค่าเฉยๆ ตามคนละครับ
เลขไอพี : ไม่แสดง

อ่านต่อ คุณอาจจะสนใจเนื้อหาเหล่านี้ (ความคิดเห็นกระทู้ อยู่ด้านล่าง)

ความคิดเห็น

#1 | \m/.E.T.\m/ | 21 พ.ค. 55 23:25 น.

แม้แต่ในวงการดนตรีไทยแท้ๆ ก็ใช่ว่าจะดีเสมอไปนะ
ไว้ผมจะมาเขียนต่อละกัน

ไอพี: ไม่แสดง

#2 | .244486'[ณ]฿'ตกเบ็ด* | 21 พ.ค. 55 23:43 น.

แฟนหนูเล่นดนตรีไทยอยู่ก็หลายอย่างนะ
แล้วเขาบอกจะสอนให้เอาไหม.. เราก็บอกไม่เอาดีกว่า
แต่ชอบดูเขาเล่น จนตอนนี้ก็เล่นเป็น แต่เล่นเป็นแค่ ซึง

ก็เห็นบางคนบอกควรอนุรักษ์ และสืบทอดให้คนรุ่นหลังได้เห็น แต่ตัวเองยังไม่รู้จักจริงๆด้วยซ้ำว่าดนตรีไทยมีลักษณะอย่างไร แล้วที่บอกว่าควรสืบทอดให้คนรุ่นหลังได้เห็นนั้น หมายถึงใครกัน.. ใครกันที่ควรจะสืบทอดสิ่งเหล่านี้ให้คนรุ่นหลัง

ไอพี: ไม่แสดง

#3 | Cantharidine>< | 22 พ.ค. 55 00:11 น.

ผมเข้าใจความรู้สึกของคุณนะครับจขกท. เพราะผมเองก็เคยไปเล่นตามพวกงานต่างๆเยอะแยะ ซึ่งทุกงานก็ล้วนแล้วแต่ไม่ได้รับความสนใจจากผู้ชมเลย บางทีมันก็รู้สึกคล้ายๆน้อยใจนะ แบบว่าเราอยากจะลองเล่นเพลงที่คนทั่วไปไม่ค่อยรู้จัก แต่ก็โดนห้ามเพราะเจ้าภาพเค้าขอแต่พวกเพลงพื้นๆที่เล่นกันอยู่ไม่กี่เพลง
เอาเถอะ อย่างน้อยเรื่องทำนองนี้ก็ยังพอมีข้อดีอยู่บ้าง คือช่วยสะท้อนภาพสังคมไทย ว่าในความเป็นจริงกับความมุ่งหวังของสังคมไทยในการอนุรักษ์วัฒนธรรมของชาติตนเองนั้น มันต่างกันเพียงไร

ไอพี: ไม่แสดง

#4 | ~แม่มดน้อย~la-la-la | 22 พ.ค. 55 10:40 น.

ทัศนคติของคนย่อมเปลี่ยนไปตามยุคสมัยค่ะ : )
เราก็ไม่ใช่คนนึงที่ชื่นชอบดนตรีไทยอะไรมากนัก คนสมัยนี้ส่วนใหญ่
ให้ความสำคัญไปกับดนตรีสากลซะมาก เราก็เป็นคนนึงที่เรียนเปียโน
แต่ที่จริงเราชอบดนตรีไทยนะ ถึงแม้เราจะเล่นเป็นแค่ขิมก็เถอะ
ดนตรีแต่ละชนิดก็มีเสน่ห์ที่แตกต่างกันออกไป แล้วแต่ว่าใครชอบแบบไหน
อย่างเวลาเราไปบ้านญาติผู้ใหญ่ บ้านท่านเป็นบ้านไม้ทั้งหลัง แล้วเวลาพวกท่านเปิด
เพลงบรรเลงวงดนตรีไทย มันให้ความรู้สึก สบายอารมณ์นะ มันเพลินดี
เข้ากับบรรยากาศอย่างประหลาด ให้ความรู้สึกขลัง

ไอพี: ไม่แสดง

#5 | SZiDนี้ไร้การศึกษา | 23 พ.ค. 55 22:51 น.

เราหลงใหลในเสียงดนตรีไทยมากถึงมากที่สุด
เพราะเราหัวอนุรักษ์ บ้าของเก่า บ้าประวัติศาสตร์

ขิม ซอ ขลุ่ย ระนาด เป็นเครื่องดนตรีไทยที่เราชอบมาก
ถึงขั้นหลงใหลเลยทีเดียว แต่เราเล่นไม่ได้เลย 

เวลาเปิดฟังเพื่อนก็ด่า ฟังเพลงอะไรไม่รู้เรื่อง..

ยุคสมัยมันเปลี่ยนไปแล้วจริงๆ

ไอพี: ไม่แสดง

#6 | #2076 | 24 พ.ค. 55 01:52 น.

สมัยประถม-มัธยม การเล่นดนตรีไทยนอกโรงเรียนกลายเป็นหนึ่งในเรื่องที่ทำแล้วมีความสุข
อาจเพราะได้เจอเพื่อนต่างโรงเรียนที่รักดนตรีไทยเหมือนกัน หรือเพราะจะได้ไม่ต้องเข้าห้องเรียนวิชาที่น่าเบื่อ
แต่ในหัวแต่ละคนไม่มีความคิดเรื่องเงินเข้ามาเกี่ยวข้องเลย
ขอให้ได้ไปเล่นดนตรีในสถานที่ใหม่ๆเท่านั้นล่ะ ก็มีความสุขแล้ว

อาจด้วยเหตุผลนี้ ที่ทำให้มีความทรงจำที่ดีเกี่ยวกับดนตรีไทย
เพราะหลังจากเรียนจบก็ไม่ได้เล่นดนตรีไทยเป็นอาชีพอะไร
แต่ก็ไม่เคยลืมสิ่งที่ได้ร่ำเรียนมาเลย

ผู้ชมที่สนใจดนตรีไทยหาที่เป็นคนไทยได้ยาก
ฝรั่งเขาจะให้ความสนใจมากกว่า ยิ่งเป็นภาพของเด็กๆรุ่นใหม่ จับเครื่องดนตรีไทยบรรเลง
หรือไม่ก็เห็นเด็กๆที่เล่นได้ทั้งดนตรีไทยและสากลอย่างมืออาชีพ เขาก็ยิ่งสนใจมาก

ดนตรีไทยมีค่าแค่ไหน...
สำหรับเรา (ที่จริงแล้วสำหรับคนไทยต่างหาก) มันมีค่ามากเสียจนประเมินค่าไม่ได้
หากไม่มีรากฐานทางวัฒนธรรมแล้ว คนเราจะอยู่ร่วมสังคมกันแต่อดีตด้วยสิ่งใด

เมื่อใดที่คุณค่าทางจิตใจเหล่านี้สามารถประเมินเป็นวัตถุอื่นได้
ผู้ที่่ประเมินราคาก็มักจะด้อยค่าลงไปไปในบัดดล
เราไม่ได้หมายถึงการซื้อ-ขายซีดีดนตรีไทยตามห้างแต่อย่างใด
(ใครมันจะตามไปนั่งเล่นให้ฟังได้ทุกที่ล่ะ  )
แต่หมายถึงการเสพดนตรีเพียงเพราะว่ามันเป็นสินค้าที่เป็นอาภรณ์ชั้นดีในสายตาผู้อื่น

แก้ไขล่าสุด 24 พ.ค. 55 02:09 | ไอพี: ไม่แสดง

แสดงความคิดเห็น

จะต้องเป็นสมาชิกจึงจะแสดงความคิดเห็นได้
เป็นสมาชิกอยู่แล้ว ลงชื่อเข้าใช้ระบบ
ยังไม่ได้เป็นสมาชิก สมัครสมาชิกใหม่
หรือจะลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google หรือ Facebook ก็ได้
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Facebook
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google