สื่อดิจิทัลประเภทE-book

30 ธ.ค. 55 00:26 น. / ดู 2,466 ครั้ง / 0 ความเห็น / 0 ชอบจัง / แชร์
สื่อดิจิทัลประเภทE-book
eBook คือหนังสือและสิ่งพิมพ์ดิจิตอล – เทคโนโลยีที่เข้ามาสนับสนุนให้นักอ่านเข้าถึงหนังสือในแหล่งต่างๆ ได้ง่ายขึ้น
ข้อดี ประโยชน์ของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book)
1.  ช่วยให้ผู้เรียนสามารถย้อนกลับเพื่อทบทวนบทเรียนหากไม่เข้าใจและสามารถเลือกเรียนได้ตามเวลาสถานที่ที่ตนเองสะดวก
2.  การตอบสนองที่รวดเร็วของคอมพิวเตอร์ที่ให้ทั้งสีสัน ภาพ และเสียงทำให้เกิดความตื่นเต้นและไม่เบื่อหน่าย
3.  ช่วยให้การเรียนมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล มีประสิทธิภาพในแง่ที่ลดเวลา ลดค่าใช้จ่ายสนองความต้องการและความสามารถของบุคคล มีประสิทธิผลในแง่ทำให้ผู้เรียนบรรลุจุดมุ่งหมาย
4.  ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนหัวข้อที่สนใจข้อใดก่อนก็ได้ และสามารถย้อนกลับไปกลับมาในเอกสารหรือกลับมาเริ่มต้นที่จุดเริ่มต้นใหม่ ได้อย่างสะดวกรวดเร็ว
5.  สามารถแสดงทั้งข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียงได้พร้อมกัน หรือจะเลือกให้แสดงเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้
6.  การจัดเก็บข้อมูลสามารถจัดเก็บเป็นไฟล์แยกระหว่างตัวอักษร ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวและเสียง โดยใช้เท็กซ์ไฟล์เป็นศูนย์รวมแล้วเรียกมาใช้ร่วมกันได้โดยการเชื่อมโยงข้อมูลจากสื่อต่างๆ ที่อยู่คนละที่เข้าด้วยกัน
7.  สามารถปรับเปลี่ยน แก้ไข เพิ่มเติมข้อมูลได้ง่าย สะดวกและรวดเร็ว ทำให้สามารถปรับปรุงบทเรียนให้ทันสมัยกับเหตุการณ์ได้เป็นอย่างดี
8.  ผู้เรียนสามารถค้นหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกันกับเรื่องที่กำลังศึกษา จากแฟ้มเอกสารอื่น ๆที่เชื่อมโยงอยู่ได้อย่างไม่จำกัดจากทั่วโลก
9.  เสริมสร้างให้ผู้เรียนเป็นผู้มีเหตุผล มีความคิดและมีทัศนะที่เป็น logical เพราะการโต้ตอบกับเครื่องคอมพิวเตอร์ผู้เรียนจะต้องทำอย่างมีขั้นตอน มีระเบียบ และมีเหตุผลพอสมควร เป็นการฝึกลักษณะนิสัยที่ดีให้กับผู้เรียน
10.  ผู้เรียนสามารถบูรณาการการเรียน การสอนในวิชาต่าง ๆ เข้าด้วยกันได้อย่างเกี่ยวเนื่องและมีความหมาย
11.  ครูมีเวลาติดตามและตรวจสอบความก้าวหน้าของผู้เรียนแต่ละคนได้มากขึ้น
12.  ครูมีเวลาศึกษาตำรา และพัฒนาความสามารถของตนเองได้มากขึ้น
13.  ช่วยพัฒนาทางวิชาการ
ข้อดี  ข้อเสีย ของ E-book
ข้อดี
1. ประหยัดต้นทุนในการดำเนินการนั่นคือการประหยัดค่าทำอาร์ตเวิร์ค การจัดหน้าไปจนกระทั่งถึง ค่ากระดาษที่ต้องพิมพ์ออกมา
2. สามารถอยู่ทนทานได้เป็นระยะเวลานาน
3. ไม่ต้องสต็อคของไว้เป็นจำนวนมากๆ
4.  สามารถเก็บข้อมูลได้จำนวนมากมาย
5.  สามารถเพิ่มพูนลูกเล่นจากภาพมัลติมีเดีย และเสียง
ข้อเสีย
    1. การอ่านที่ยุ่งยากต้องอ่านจากคอมพิวเตอร์ หรือ Palm
    2. ต้องอาศัยระบบเครือข่าย
    3. การละเมิดลิขสิทธิ์
    4. พัฒนาสื่อความรู้ e-Library
ซอฟต์แวร์สำหรับการเขียน
ซอฟต์แวร์ประเภทนี้สามารถสั่งซื้อผ่านทางอินเทอร์เน็ต โดยการเลือกใช้จะต้องคำนึงถึงข้อจำกัดของฮาร์ดแวร์ที่ผู้ใช้มีอยู่
• โปรแกรม ExeBook Self-Publisher 1.2  : มีฟังก์ชันต่างๆ ตามมาตรฐานไม่ซับซ้อนมากนัก เหมาะสำหรับมือใหม่ที่เริ่มหัดสร้าง E-Books มีจำหน่ายทางเว็บไซต์ www.exebook.om ในราคา US$50 ซึ่งเว็บไซต์นี้จะรับเป็นตัวแทนจำหน่าย E-Books ที่เราเขียนด้วย
• โปรแกรม e-ditor เวอร์ชัน 2.0 : พัฒนาโดย www.editorial.com สำหรับโปรแกรมตัวทดสอบสามารถดาวน์โหลดได้ที่เว็บไซต์ http://editorial.com/software.html  เหมาะสำหรับคนที่มีพื้นฐานทางด้านนี้มาบ้างแล้ว มีคุณสมบัติเด่นๆ คือ สามารถทำงานร่วมกับซอฟต์แวร์อื่นๆ ได้ดีไม่ว่าจะเป็น Flash, Shockwave, Real-Audio และ QuickTime ซึ่งจะทำให้สามารถสร้างส่วนโต้ตอบระหว่างกันได้อีกด้วยสำหรับรุ่นที่จำหน่ายทั่วไปจะมีราคาเท่ากับ US$149 โดยมีคุณสมบัติการรักษาความปลอดภัยของงานและการแชร์งานเพิ่มเติมเข้ามา
• Mobipocket Publisher 3.0 : เป็นโปรแกรมระดับไฮเอนด์อีกตัวหนึ่ง มีอยู่สองเวอร์ชันด้วยกันคือ Standard Edition ซึ่งเหมาะกับบุคคลทั่วไป มีราคาจำหน่ายที่ US$149 และ Professional Edition ซึ่งเหมาะสำหรับสำนักพิมพ์ จำหน่ายในราคา US$999 อย่างไรก็ตาม ผู้ใช้ก็สามารถทดลองดาวน์โหลดซอฟต์แวร์เวอร์ชัน Personal Edition มาใช้ได้ฟรีที่เว็บไซต์ www.mobipocket.com/en/downloadsoft/default.asp
ฮาร์ดแวร์ มองข้ามไม่ได้
ฮาร์ดแวร์สำหรับ E-Books จะแบ่งย่อยออกเป็นสองกลุ่มคือกลุ่มผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เดสก์ทอปและเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก ส่วนกลุ่มที่สองคือกลุ่มผู้ใช้อุปกรณ์พกพาต่างๆ ส่วนเครื่องคอมพิวเตอร์ทีใช้ซีพียูระดับเพนเทียมจะสามารถอ่าน E-Books ได้แทบทั้งสิ้น เพียงแต่ให้ติดตั้งซอฟต์แวร์บางตัวเพิ่มเติมลงไปเท่านั้น
บทบาทและประเภทของe-book
บทบาท
- สร้างโอกาสให้กับนักเขียนหน้าใหม่, นักอยากเขียน
- พัฒนาสื่อความรู้
- สร้างโอกาสทางด้านการศึกษา
- e-Library
ประเภทของ e-Book
1.Free e-Book
  - Project Gutenberg
2.Commercial e-Book
  -  Netlibrary, Questia, Ebrary, etc
น.ส.นงลักษณ์ สำเภาน้อย DMD 100
จัดทำขึ้นเพื่อผู้ที่สนใจคนคว้าข้อมูลสื่อดิจิทัลประเภทE-bookค่ะ
เป็นเพียงข้อมูลเพียงเล็กน้อยแต่เป็นประโยชน์ด้านการสืบค้นได้ค่ะ
ที่มา
http://www.gotoknow.org/posts/472836?
http://www.school.net.th/library/cr.........10000-7081.html
http://blog.eduzones.com/nunthida/2628
แก้ไขล่าสุด 30 ธ.ค. 55 01:03 | เลขไอพี : ไม่แสดง

อ่านต่อ คุณอาจจะสนใจเนื้อหาเหล่านี้ (ความคิดเห็นกระทู้ อยู่ด้านล่าง)

ความคิดเห็น

ยังไม่มีความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

จะต้องเป็นสมาชิกจึงจะแสดงความคิดเห็นได้
เป็นสมาชิกอยู่แล้ว ลงชื่อเข้าใช้ระบบ
ยังไม่ได้เป็นสมาชิก สมัครสมาชิกใหม่
หรือจะลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google หรือ Facebook ก็ได้
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Facebook
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google