10 วิธีการเลือกทำเลโครงการบ้าน

28 ก.พ. 57 10:07 น. / ดู 627 ครั้ง / 5 ความเห็น / 0 ชอบจัง / แชร์
ก่อนจะเลือกโครงการบ้าน คุณว่าทำเลหรือตัวบ้านสำคัญกว่ากัน? แน่นอนว่าความสำคัญก็ไม่แพ้กัน แต่ถ้าลองมองดีๆ แล้ว ตัวแบบบ้าน มีให้เลือกสวยๆ มากมายสมัยนี้ แถมยังก็ยังเป็นสิ่งที่ซ่อมแซมต่อเติมได้ แต่ถ้าเป็นทำเลบ้านล่ะก็ ถ้าไม่ชอบแล้วจะให้ยกตัวบ้านย้ายไปทำเลอื่นคงเป็นไปไม่ได้ หรือหากไม่ชอบใจบ้านทั้งหลัง อย่างน้อยก็ยังสามารถบอกเจ้าของโครงการว่าขอสร้างเอง หรือหากสร้างเสร็จแล้วก็ทุบสร้างใหม่ได้ ดังนั้นวันนี้เราจะมาดูกันว่าการเลือกทำเลมีเคล็ดลับอะไรบ้างดังนี้
1. ทำเลต้องเดินทางสะดวก มีระบบขนส่งมวลชนสาธารณะ

เวลาซื้อบ้าน เราไม่ได้ต้องการเพียงบ้านสวย อยู่สบายเท่านั้น เพราะเราไม่ได้อยู่บ้านตลอด 24 ชั่วโมง ที่สำคัญก็คือเรื่องการเดินทางต้องสะดวก สะดวกในที่นี้คือ หน้าหมู่บ้านควรมีรถประจำทางผ่าน แต่สมัยนี้ค่อนข้างยาก เพราะโครงการส่วนใหญ่จะอยู่ในซอย ทำให้เราต้องนั่งมอเตอร์ไซค์รับจ้างออกมาแทน ทำให้เกิดความไม่ปลอดภัย ดังนั้นลองค้นหาดูโครงการที่ติดถนนสายหลักจะดีกว่า ตัวอย่างเช่นหมู่บ้าน ก.อยู่ในซอยลึก แต่เดินจากหน้าหมู่บ้านเข้าไป 20-30 เมตรก็ถึงตัวบ้านแล้ว กับหมู่บ้าน ข.อยู่ติดถนนหลัก มีรถประจำทางผ่าน แต่ต้องเดินจากหน้าหมู่บ้านเข้าไปถึงตัวบ้าน 1 กิโลเมตร ถ้าเป็นอย่างนี้ แนะนำให้เลือกหมู่บ้าน ข. เพราะเดินในหมู่บ้านที่มี รปภ. ย่อมดีกว่าเดินบนถนนเปลี่ยว หรือนั่งมอเตอร์ไซค์ในซอย

2. ทำเลไม่ไกลจากที่ทำมาหากิน

ข้อนี้ต่างจากข้อแรกคือ แม้บางโครงการจะอยู่ใกล้ถนนสายหลัก มีระบบขนส่งสาธารณะ แต่ทว่าห่างไกลจากสถานที่ทำงานของผู้ทำงานของผู้หารายได้หลักของครอบครัว ก็จะทำให้เกิดต้นทุนการเดินทางและปัญหาที่ตามมาอีกมาก อาทิ ซื้อบ้านติดถนนคลองหลวง แต่ทำงานอยู่แถวสีลม อาจมีผู้โต้แย้งว่า แล้วจะให้หาบ้านแถวสีลมหรือ คงเป็นไปได้ยาก ขอให้ใช้หลักคิดดังนี้

- เวลาตัดสินใจซื้อบ้าน ผู้ซื้อมักมีความมั่นคงทางการงานแล้วในระดับหนึ่ง ย่อมรู้ว่าเราคงไม่ได้ย้ายงานในระยะเวลาอันใกล้นี้เป็นแน่ ดังนั้นหากมีสถานที่ทำงานอยู่แถวสีลม เราอาจกำหนดรัศมีการเดินทาง สำรวจเส้นทางการเดินทางที่ใช้เวลาไม่มากเกินไป รูปแบบที่อยู่อาศัยที่เหมาะสม อาจเป็นคอนโดมิเนียมในเมือง หรือทาวน์โฮมในเมือง หรือเป็นบ้านเดี่ยวที่อยู่ในรัศมีเดินทางสะดวก

- การใช้เวลามากเพื่อเดินทางไปทำงาน นอกจากจะทำให้มีตนทุนค่าเดินทางที่สูงแล้ว ยังเสียสุขภาพจิต และเสียเวลาของครอบครัวไป

3. ทำเลต้องอยู่ในพื้นที่ที่ไม่เสี่ยงต่อน้ำท่วม หรือเป็นพื้นที่รองรับน้ำ

ข้อนี้มีวิธีตรวจสอบอยู่ 2 แนวทางคือ

- หากมีแผนที่ผังเมือง ให้ดูว่าต้องไม่อยู่ในพื้นที่สีเขียวทแยง เราเรียกว่าที่ดินประเภทนี้ว่าประเภทอนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรม ตัวอย่างพื้นที่ดังกล่าวบริเวณเขตมีนบุรีหนองจอกบางส่วนเป็นพื้นที่รองรับน้ำ เป็นพื้นที่ต่ำมีโอกาสน้ำท่วมได้ง่าย

- แนวทางที่สองคือ ใช้วิธีสอบถามจากชาวบ้านใกล้เคียงถึงปัญหาน้ำท่วมถึงในแต่ละปีว่าเป็นอย่างไร

4. ทำเลต้องไม่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับโรงงานอุตสาหกรรมหรือพื้นที่ทิ้งขยะ

บางคนบอกว่าอยู่ใกล้แหล่งอุตสาหกรรมมักเป็นพื้นที่ทำเลที่มีราคา แต่เชื่อเถอะว่า มันไม่เหมาะกับเป็นแหล่งพักอาศัย ไม่ว่าจะมลพิษจากน้ำ จากอากาศ ที่มีเปอร์เซ็นต์เกิดขึ้นสูงมาก หรือโครงการที่อยู่ใกล้พื้นที่ทิ้งขยะก็ยิ่งลำบาก วันดีคืนดีทิศทางลมพัดผ่านกองขยะมาที่บ้าน คิดเอาเองว่าจะอยู่กันอย่างไร

5. ทำเลต้องไม่อยู่ใกล้ฟาร์มเลี้ยงสัตว์

มีสัตว์อยู่ใกล้ๆ บ้าน ไม่ได้หมายความว่าอยู่ใกล้ชิดกับธรรมชาติเสมอไป เสียงนกเสียงจิ้งหรีดก็พอทำให้ผ่อนคลายได้ แต่เสียงร้องของหมู เสียงเป็ดเสียงไก่ หรือกลิ่นอุจาระ มูลสัตว์ น่าจะเป็นสิ่งที่เราไม่ควรทน

6. ทำเลต้องไม่อยู่ในทิศทางขึ้นลงของเครื่องบิน

บ้านจัดสรรยุคหนึ่ง มักเอาทำเลใกล้สนามบินเป็นจุดขาย แต่สนามบินก็คือสนามบิน ย่อมมีเครื่องบินขึ้นลงหลายเที่ยวต่อวัน หากบ้านที่ซื้ออยู่ในตำแหน่งทิศทางขึ้นลงของเครื่องบินแล้ว เชื่อได้ว่ามลพิษทางเสียงจะเกิดขึ้นกับครอบครัวของคุณทันที นั่งดูทีวีอยู่ดีๆ เสียงเครื่องบินดังกลบทุกชั่วโมงก็ไม่ไหว ลองดูตัวอย่างปัญหาจากโครงการบ้านจัดสรรที่มีปัญหากับสนามบินสุวรรณภูมิได้

7. หลีกเลี่ยง วัด สุเหร่า หรือศาสนสถาน ไม่เหมาะกับผู้ต้องการความสงบ

ฟังดูมันขัดแย้งกับที่เรารับรู้ว่า ศาสนสถานมักเป็นสถานที่ของผู้ค้นหาความสงบ แต่ในโลกแห่งความเป็นจริงแล้ว ศาสนสถานเป็นศูนย์รวมของชุมชนในเทศกาลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเสียงจากการจัดงานรื่นเริง งานวัด งานบวช หรือเสียงจากบทสวดของการกระทำพิธีการทางศาสนา

8. ทำเลต้องไม่อยู่ใกล้เสาไฟฟ้าแรงสูง

หลายโครงการที่มีเสาไฟฟ้าแรงสูงของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตลากผ่านเข้าไปในโครงการ หากดูตามสภาพความเป็นจริงก็ไม่เจริญหูเจริญตาอยู่แล้ว ยิ่งเคยมีผลการวิจัยในประเทศออสเตรเลียออกมาว่าผู้อาศัยอยู่ใกล้บริเวณสายไฟฟ้าแรงสูงพาดผ่านเป็นเวลานาน จะมีความเสี่ยงสูงขึ้นในการเป็นโรคลูคีเมีย โรคต่อมน้ำเหลือง และโรคอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ก็น่าจะหลีกเลี่ยงเป็นอย่างยิ่ง

9. ทำเลต้องใกล้สิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐาน

สิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐานได้แก่

- ตลาดที่เป็นแหล่งจับจ่ายใช้สอย ซื้อหาอาหาร

- โรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลไว้รักษาเรายามเจ็บป่วยฉุกเฉินกะทันหัน

- โรงเรียนหรือสถานศึกษาของลูกๆ โดยเฉพาะระดับอนุบาลหรือประถมศึกษา ที่เด็กๆ ยังไม่สามารถช่วยตนเองได้มากนัก

10. ดูทิศทางการขยายตัวของเมือง

เรื่องนี้เอามาเป็นข้อสุดท้าย เพราะเป็นเรื่องในอนาคต คุณอาจไม่ต้องคิดมาก เพราะอาจเกิดหรือไม่เกิดก็ได้ แต่อย่างไรก็ตาม การติดตามดูทิศทางของการขยายตัวของเมืองก็น่าจะเป็นประโยชน์กับความเจริญของทำเลที่เราอยู่อาศัย และยังรวมถึงมูลค่าของที่อยู่อาศัยเราในอนาคตด้วย

การดูทิศทางการขยายตัวของเมือง ติดตามได้จากข่าวสารทั่วไป หรืออย่างน้อยให้ดูโครงการตัดถนนแนวเวนคืนต่างๆ ว่ามีอยู่ในบริเวณใกล้เคียงทำเลของเราบ้างมั้ย มีถนนเส้นใหญ่ๆ มีทางด่วน มีแนวรถไฟฟ้า นั่นหมายถึงความเจริญที่จะติดตามไปในอนาคต

ขอบคุณ http://www.home.co.th/Content/DataDetail/77446
เลขไอพี : ไม่แสดง

อ่านต่อ คุณอาจจะสนใจเนื้อหาเหล่านี้ (ความคิดเห็นกระทู้ อยู่ด้านล่าง)

ความคิดเห็น

#1 | BABYKISS | 28 ก.พ. 57 17:06 น.

รัก





ไอพี: ไม่แสดง

#2 | P.S.Ko!5** | 28 ก.พ. 57 18:20 น.

จขกท.ดูสนใจเรื่องบ้านนะเนี่ย ตั้งแต่กระทู้เกี่ยวกับบ้าน
แต่ก็ดีค่ะ เป็นความรู้ คำแนะนำ

ปล. ฮา(อุษมายัน.)อ่ะ ตามไปบอกรักจขกท.ทุกกระทู้เลย

ไอพี: ไม่แสดง

#3 | BABYKISS | 1 มี.ค. 57 01:29 น.

#2 กรรม มีคนสังเกตด้วย 555555555

ไอพี: ไม่แสดง

#4 | seo | 3 มี.ค. 57 11:02 น.

พอดีมันเป็นส่วนหนึ่งของงานที่ทำอะคับ อิอิ

ไอพี: ไม่แสดง

#5 | TEALAKKUMA | 4 มี.ค. 57 07:53 น.

ถ้าได้ครบตามนี้จิง ราคาบ้านเท่าไหรเนี่ย ไม่อยากจะคิดเลยย. 55 

ไอพี: ไม่แสดง

แสดงความคิดเห็น

จะต้องเป็นสมาชิกจึงจะแสดงความคิดเห็นได้
เป็นสมาชิกอยู่แล้ว ลงชื่อเข้าใช้ระบบ
ยังไม่ได้เป็นสมาชิก สมัครสมาชิกใหม่
หรือจะลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google หรือ Facebook ก็ได้
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Facebook
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google