ปลาการ์ตูนหาซื้อได้ ไม่ต้องจับในทะเล

3 ก.พ. 58 17:21 น. / ดู 1,349 ครั้ง / 0 ความเห็น / 1 ชอบจัง / แชร์

หลายวันก่อน  บนโลกอินเทอร์เน็ตได้มีการแชร์ภาพนักท่องเที่ยวจับปลาการ์ตูนจากธรรมชาติขึ้นมาถ่ายรูปเล่น จนหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง ต้องเร่งออกมาตรการดูแลกลุ่มทัวร์ทางธรรมชาติ เพื่อป้องกันไม่ให้เข้าไปรบกวนสัตว์ทะเลจนเป็นอันตราย ขณะที่ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งสมุทรสาคร แนะนำว่า ถ้าชื่นชอบปลากการ์ตูน ทางศูนย์มีเพาะพันธุ์ขายในราคาถูก ไม่ต้องทำลายธรรมชาติ
แม้ว่าปลาการ์ตูนจะยังไม่ใช่สัตว์ที่จัดอยู่ในประเภทสัตว์ป่าคุ้มครอง แต่การจับปลาการ์ตูนจากธรรมชาตินั้น อาจเกี่ยวเนื่องกับความผิดอื่นๆ เพราะปลาการ์ตูนอาศัยอยู่กับดอกไม้ทะเล และดอกไม้ทะเลทุกชนิดเป็นสัตว์คุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 มาตรา 16 คือ ห้ามเก็บ เคลื่อนย้าย ซื้อขาย หรือมีไว้ในครอบครอง นอกจากนี้แหล่งอาศัยของดอกไม้ทะเลที่เป็นบ้านของปลาการ์ตูน ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติทางทะเลด้วย ดังนั้นการไปสัมผัสแตะต้องอะไรกับธรรมชาติ นอกเหนือจากใช้สายตามองแล้ว อาจเข้าข่ายการทำผิดตาม พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2504 ที่คุ้มครองเรืองการทำอันตรายแก่สัตว์
https://fbcdn-sphotos-f-a.akamaihd..........525286bc23951f5
จริงๆ แล้วหากใครที่ชอบสีสันและความน่ารักของปลาการ์ตูน ไม่จำเป็นต้องจับมันขึ้นมาถ่ายรูปเล่น หรือถ้าชอบมาก ถึงขนาดอยากเป็นเจ้าของ ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งสมุทรสาคร เปิดต้อนรับทุกท่านเสมอ เพราะที่นี่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาการ์ตูนถึง 14 ชนิด จาก 28 ชนิดทั่วโลก ซึ่งเกิดจากการผสมตามสิ่งแวดล้อมที่ไม่จำเป็นต้องพึ่งดอกไม้ทะเล สามารถหาซื้อได้ตั้งแต่ราคา 15 บาทต่อความยาวตัวปลา 1 เซ็นติเมตร แต่ละชนิดราคาก็จะแตกต่างกันไป ซึ่งชนิดที่นิยมมากที่สุดคือ นิโม่ นั่นเอง
https://scontent-a-sin.xx.fbcdn.net.........amp;oe=555005C6
การเพาะพันธุ์ปลาการ์ตูน ได้รับความนิยมจากพ่อค้าคนกลางที่จะรับไปเพาะเลี้ยงตั้งแต่ขนาดความยาว 1 เซ็นติเมตร จนแข็งแรง ก่อนถึงมือลูกค้า ซึ่งราคาก็จะสูงขึ้นตามลำดับ ซึ่งที่นี่รับประกันเรื่องความสะอาดในตัวปลา ปอลดเชื้อโรค ทำให้ปลามีสุขภาพแข็งแรง วัดได้จากอายุของพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ในศูนย์ที่ได้รับการเอาใจใส่อย่างดีจนมีอายุมากกว่า 15 ปีเข้าไปแล้ว นอกจากนี้ ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งสมุทรสาคร ยังมีปลาทะเลสวยงามที่เพาะพันธุ์ได้อีกหลายชนิดเช่นกัน


https://www.youtube.com/watch?v=OhVEm6iiL34
แก้ไขล่าสุด 3 ก.พ. 58 17:22 | เลขไอพี : ไม่แสดง

อ่านต่อ คุณอาจจะสนใจเนื้อหาเหล่านี้ (ความคิดเห็นกระทู้ อยู่ด้านล่าง)

ความคิดเห็น

ยังไม่มีความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

จะต้องเป็นสมาชิกจึงจะแสดงความคิดเห็นได้
เป็นสมาชิกอยู่แล้ว ลงชื่อเข้าใช้ระบบ
ยังไม่ได้เป็นสมาชิก สมัครสมาชิกใหม่
หรือจะลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google หรือ Facebook ก็ได้
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Facebook
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google