เรากินโปรตีนเพียงพอหรือไม่ ! แล้วร่างกายของเราต้องการโปรตีนเท่าไรต่อวัน

9 พ.ย. 63 15:29 น. / ดู 4,874 ครั้ง / 4 ความเห็น / 0 ชอบจัง / แชร์
ทราบกันหรือไม่คะว่า การรับประทานอาหารในแต่ละวัน เพื่อให้ร่างกายได้สารอาหารที่ครบถ้วน สารอาหารที่สำคัญคือ โปรตีน ที่เราควรให้ความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ เพราะภายในร่างกายของเราประกอบด้วยโปรตีนอยู่ถึง 80 เปอร์เซ็นต์  แล้วใครมีความต้องการโปรตีนปริมาณเท่าไรถึงจะเพียงพอ โดยเฉพาะผู้ ออกกำลังกายเป็นประจำ เราจะมีวิธีการคำนวณปริมาณโปรตีนที่เพียงพอได้อย่างไร มีคำแนะนำมาฝากกันดังนี้

ภายในร่างกายของเราประกอบด้วยโปรตีนอยู่ถึง 80 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญสำหรับการสร้างเซลล์ต่างๆ กรดอะมิโนเป็นส่วนประกอบสำคัญที่เราต้องการจากโปรตีน ซึ่งจะมีทั้งกรดมิโนจำเป็นและไม่จำเป็น ร่างกายสามารถผลิตเองได้และไม่ได้ 

[size=150]ประโยชน์ของโปรตีน[/size]
1. ช่วยสร้างใยคอลลาเจนใต้ผิวหนัง ทำให้ผิวหนังมีความยืดหยุ่น ผิวแข็งแรง ปกป้องริ้วรอยก่อนวัยอันควร
2. สร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรง โดยเฉพาะนักกีฬา นักกล้าม หรือผู้ออกกำลังกาย ที่ต้องรับประทานโปรตีนเป็นอาหารจานหลัก
3. ฟื้นฟูร่างกายและสร้างเสริมภูมิต้านทานให้แก่ร่างกาย เพราะโปรตีนจะช่วยทดแทนเซลล์ส่วนที่สูญเสียไปนั่นเอง
4. โปรตีนซึ่งเป็นส่วนประกอบของเอนไซม์ ช่วยให้อาหารถูกย่อยและดูดซึมเข้าสู่ร่างกายอย่างมีประสิทธิภาพ
5. ให้พลังงานแก่ร่างกายยามร่างกายขาดพลังงาน

[size=150]ปริมาณโปรตีนที่เหมาะสม[/size]
แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ

1. คนทั่วไปที่ไม่ได้ต้องการโปรตีนเป็นพิเศษ

ร่างกายจะต้องการโปรตีนไม่น้อยกว่า 50 กรัมต่อวันต่อคน หากได้รับน้อยเกินกว่าปริมาณที่กำหนด อาจส่งผลให้เจริญเติบโตช้า อ่อนเพลีย สมองสั่งการช้ากว่าปรกติ ทำให้ความต้านทานต่อโรคต่ำ และอาจเจ็บป่วย เป็นโรคต่างๆง่าย เราสามารถเช็คปริมาณความต้องการโปรตีนในแต่ละช่วงอายุดังนี้

- เด็กทารก (อายุ 1-3 ปี)  ต้องการโปรตีน 1.2 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม หรือประมาณ 15 กรัมต่อวัน
- เด็กเล็ก (อายุ 3-7 ปี) ต้องการโปรตีนอยู่ที่ 1.1 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม หรือประมาณ 26 กรัมต่อวัน
- เด็กโต (อายุ 7-14 ปี) ต้องการโปรตีน 1กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม หรือประมาณ 45 กรัมต่อวัน
- ผู้ใหญ่ ต้องการโปรตีนอยู่ที่ 0.8 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม หรือประมาณ 55 กรัมต่อวัน โปรตีนในผู้ใหญ่จะมีหน้าที่หลักเพื่อไว้ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ
- หญิงตั้งครรภ์ ต้องการโปรตีนอยู่ที่ 1.1-1.3 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม หรือประมาณ 75 กรัมต่อวัน โดยโปรตีนจะทำหน้าที่เป็นตัวช่วยในการสร้างน้ำนม


2. คนที่ต้องการโปรตีนสูง เช่น นักกีฬาหรือผู้ออกกำลังกายหนัก แบ่งเป็น 2 กลุ่ม

- ผู้ออกกำลังกายแบบแอโรบิค หรือเน้นคาร์ดิโอเป็นหลัก

กิจกรรมที่อาศัยความทนทาน อย่างวิ่งระยะไกล กระโดดเชือก ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน ร่างกายจะใช้พลังงานไกลโคเจนและน้ำตาลมาใช้เป็นแรงต้น เมื่อพลังงานส่วนนี้ลดต่ำลงหลังจากการออกกำลังกายไปแล้วประมาณ 30-40 นาที จึงจะดึงไขมันมาใช้ ปริมาณโปรตีนที่ร่างกายต้องการ จะอยู่ที่ประมาณ 1.2-1.4 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ซึ่งหน้าที่ของโปรตีนของคนในกลุ่มนี้จะเข้าไปช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ป้องกันการสูญเสียกล้ามเนื้อ และช่วยลดอาการบาดเจ็บขณะและหลังฝึกซ้อม

- ผู้ออกกำลังกาย แบบแอนนาโรบิค เป็นการออกกำลังกายที่เซลล์ไม่ได้ใช้ออกซิเจน


เพราะเป็นการออกแรงใช้กำลังแบบไม่สม่ำเสมอ แต่จะมีความหนักและแรงต้าน เช่น เวทเทรนนิ่ง ชกมวย ยกน้ำหนัก โดยร่างกายจะใช้พลังงานไกลโคเจนและน้ำตาลเป็นหลัก ปริมาณโปรตีนที่ร่างกายต้องการ  1.2-1.7 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ขึ้นอยู่กับความหนักของการฝึก โดยโปรตีนมีส่วนสำคัญอย่างมาก โดยเฉพาะผู้ที่ฝึกเพื่อสร้างกล้ามเนื้อ และกลุ่มผู้เล่นกีฬาเพาะกาย เพราะการทานโปรตีนในกลุ่มนี้จะช่วยป้องกันการสูญเสียมวลกล้ามเนื้อ ช่วยซ่อมแซม กล้ามเนื้อ เนื้อเยื้อ และเซลล์ต่างๆในร่างกาย เสริมสร้างภูมิคุ้มกันและทำให้ฮอร์โมนต่างๆ ทำงานได้ดีขึ้น


[size=150]ค่าเฉลี่ยปริมาณโปรตีนเเนะนำ [/size]
สำหรับผู้ออกกำลังกายแนะนำปริมาณโปรตีนคือ 1.25 เท่าของน้ำหนักตัวไร้ไขมัน (หน่วยปอนด์)  เช่น คนที่น้ำหนัก 80 กิโลกรัม ...

1. หาน้ำหนักตัวไร้ไขมัน (ปอนด์ก่อน)
โดยการเอาน้ำหนักตัว หักด้วยน้ำหนักไขมัน จากนั้น X 2.2 เพื่อเปลี่ยนเป็นหน่วยปอนด์
[80 –  (80*10)] X 2.2 = 158.4 ปอนด์

2. หาปริมาณโปรตีนที่ควรจะได้รับต่อวัน
โดยการเอาน้ำหนักตัวไร้ไขมัน(หน่วยปอนด์) มา คูณกับ 1.25
158.4 x 1.25 = 198 กรัมต่อวัน

3. หาปริมาณโปรตีนต่อมื้อ
198/3  = 66 กรัม ต่อมื้อ


[size=150]แหล่งอาหารที่มีโปรตีนสูง[/size] ได้แก่
- อกไก่  100 กรัม  มีปริมาณโปรตีน 23 กรัม
- สันในหมู  100 กรัม มีปริมาณโปรตีน 21 กรัม
- ปลาดอลลี่ 100 กรัม มีปริมาณโปรตีน 13กรัม
- ปลาแซลม่อน 100 กรัม มีปริมาณโปรตีน 20 กรัม
- กุ้ง 100 กรัม  มีปริมาณโปรตีน 20 กรัม
- เนื้อวัว 100 กรัม มีปริมาณโปรตีน 22 กรัม
- เต้าหู้ 100 กรัม มีปริมาณโปรตีน 8 กรัม
- ไข่ไก่เบอร์ 1  1 ฟอง มีปริมาณโปรตีน 7 กรัม
- ไข่ขาว เบอร์1 มีปริมาณโปรตีน 3 กรัม
- นมวัว 100 กรัม มีปริมาณโปรตีน 8 กรัม
- ถั่วเหลือง 100 กรัม มีปริมาณโปรตีน 36 กรัม
- อัลมอนด์ 100 กรัม มีปริมาณโปรตีน 22 กรัม
- ถั่วลิสง 100 กรัม มีปริมาณโปรตีน 24 กรัม

โปรตีนสารอาหารสำคัญโดยเฉพาะผู้รักการออกกำลังกาย เพราะการออกกำลังกายมีการสูญเสียกล้ามเนื้อจึงควรเน้นการรับประทานอาหารที่มีโปรตีนให้เพียงพอ เพื่อช่วยชดเชยการสูญเสียมวลกล้ามเนื้อ และยังช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อใหม่อีกด้วย
เลขไอพี : ไม่แสดง | ตั้งกระทู้โดย Windows 10

อ่านต่อ คุณอาจจะสนใจเนื้อหาเหล่านี้ (ความคิดเห็นกระทู้ อยู่ด้านล่าง)

ความคิดเห็น

#1 | Yvonne | 9 พ.ย. 63 16:32 น.

ไอพี: ไม่แสดง | โดย Windows 10

#3 | sz447352 | 10 พ.ย. 63 15:18 น.

ขอบคุณค่ะ

ไอพี: ไม่แสดง | โดย Windows 10

#4 | sz446399 | 18 พ.ย. 63 14:31 น.

เข้าใจง่ายนะ

ได้อยู่

ไอพี: ไม่แสดง | โดย Windows 10

แสดงความคิดเห็น

จะต้องเป็นสมาชิกจึงจะแสดงความคิดเห็นได้
เป็นสมาชิกอยู่แล้ว ลงชื่อเข้าใช้ระบบ
ยังไม่ได้เป็นสมาชิก สมัครสมาชิกใหม่
หรือจะลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google หรือ Facebook ก็ได้
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Facebook
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google