ปวดหัวแบบปกติ เสี่ยงหรือไม่ การตรวจไมเกรนช่วยได้ไหม?

24 ก.พ. 66 17:05 น. / ดู 6,842 ครั้ง / 1 ความเห็น / 0 ชอบจัง / แชร์

อาการปวดศีรษะ อาจเกิดขึ้นได้ทั่วไปเมื่อเราใช้ร่างกายหนัก พักผ่อนน้อย รู้สึกเหน็ดเหนื่อย แต่บางครั้งอาการปวดศีรษะก็เป็นสัญญาณของโรคร้ายแรงได้ ไมเกรน อาการปวดศีรษะที่รบกวนการใช้ชีวิตและอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาว หลายคนอาจจะกำลังประสบปัญหาจากอาการปวดนี้ ไม่อยากพบแพทย์ ไม่รู้ว่าจะตรวจไมเกรนที่ไหนดี จึงใช้วิธีกินยาแก้ปวดไมเกรนเพื่อบรรเทาอาการในเบื้องต้น อย่างไรก็ตามถ้าเกิดอาการปวดหัวข้างเดียวบ่อยๆ ก็ควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจไมเกรน และหาวิธีรักษาที่เหมาะสม วิธีตรวจไมเกรนมีหลายวิธี ขึ้นอยู่กับอาการและดุลพินิจแพทย์
อาการสัญญาณเตือนไมเกรน

อาการปวดศีรษะเรื้อรังเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งก็จะมีวิธีรักษาที่แตกต่างกันออกไปตามอาการ สำหรับผู้ที่สงสัยว่าตัวเองกำลังเป็นไมเกรน แต่ยังไม่ต้องการไปตรวจไมเกรนที่โรงพยาบาล ก็มีวิธีตรวจไมเกรนแบบง่ายด้วยตัวเอง โดยการสังเกตสัญญาณเตือนที่เกิดขึ้นกับร่างกายของเราว่าเข้าข่ายหรือไม่  โดยสังเกตอาการดังต่อไปนี้
สัญญาณเตือนของไมเกรน

- ปวดหัวตุบๆ อาจจะจะปวดหัวท้ายทอย ปวดกระบอกตา หรือปวดหัวคิ้ว โดยอาจจะปวดหัวข้างเดียว หรือสองข้างก็ได้ ในบางรายอาจปวดหัวข้างซ้าย แล้วสลับมาปวดหัวข้างขวา ซึ่งคนส่วนใหญ่เข้าใจว่า อาการไมเกรนคือการปวดหัวข้างเดียว แท้จริงแล้ว ตำแหน่งปวดไมเกรนสามารถเกิดขึ้นได้พร้อมกันทั้งสองด้าน ขึ้นอยู่กับบุคคล

- อาการปวดหัวไมเกรนจะค่อยๆเพิ่มความรุนแรงขึ้น จนถึงระดับสูงสุด จากนั้นจึงค่อยลดระดับลง ระยะเวลาที่ปวดอาจกินเวลาหลายชั่วโมง แต่มักไม่เกินวัน และอาจเกิดอาการขึ้นได้ตลอดเวลาไม่จะกลางวันหรือกลางคืน

- คลื่นไส้ อาเจียน ในบางรายอาจมีอาการเบื่ออาหารร่วมด้วย

- ไวต่อแสง สี โดยอาจจะเห็นแสง แสงกะพริบ แสงเป็นจุดๆหรือเป็นเส้น ซึ่งอาจมีอาการเหล่านี้นำก่อนเกิดอาการปวดหัว นอกจากนี้ บางรายยังอาจไวต่อกลิ่น เมื่อได้กลิ่นฉุน ๆ หรือกลิ่นบางอย่างก็จะกระตุ้นให้เกิดอาการปวดไมเกรนได้

- ในผู้ป่วยบางราย อาการปวดหัวไมเกรนมีความเกี่ยวข้องกับรอบประจำเดือน เนื่องจากฮอร์โมนเอสโตรเจนลดต่ำลง

การที่จะรู้ได้อย่างแน่ชัดว่า อาการปวดหัวที่เป็นอยู่คืออาการปวดจากโรคไมเกรนหรือไม่ ผู้ป่วยควรต้องเข้ารับการตรวจโรคไมเกรนจากศูนย์รักษาไมเกรน แพทย์จะเป็นผู้วินิจฉัยและหาวิธีรักษาที่เหมาะสม

การรักษาไมเกรน

การรักษาไมเกรนทำได้หลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการรักษาด้วยตัวเองในขั้นเบื้องต้น การรักษาทางเลือก การรักษาด้วยวิธีกทางการแพทย์ อย่างไรก็ตาม หากอาการปวดไมเกรนเกิดขึ้นบ่อยจนกระทบการใช้ชีวิตประจำวันก็ควรพบแพทย์เพื่อตรวจไมเกรน ป้องกันอาการรุนแรงในภายหลัง

การรักษาไมเกรนในขั้นต้น

ในเบื้องต้น หากยังไม่ได้รับการตรวจไมเกรน หรือได้รับยาแก้ปวดไมเกรนจากแพทย์ เราสามารถรักษาไมเกรน ดูแลตัวเอง และป้องกันอาการปวดหัวไมเกรนเบื้องต้นได้ดังนี้

- ลดความรุนแรงของอาการปวด วิธีแก้ปวดหัวไมเกรนเบื้องต้นคือการประคบเย็น ใช้ผ้าห่อน้ำแข็งหรือผ้าเย็นประคบ ช่วยให้เส้นเลือดคลายตัว หรือจะใช้วิธีนวดแก้ปวดไมเกรน นวดกดจุดทำให้เลือดไหลเวียน ทั้งยังช่วยรักษาอาการออฟฟิศซินโดรมที่เป็นปัจจัยหนึ่งของการปวดไมเกรนได้ด้วย

- ทานอาหารให้ถูกต้อง เลี่ยงอาหารที่กระตุ้นอาการปวด ได้แก้ อาหารจำพวกเนื้อสัตว์แปรรูป ผลิตภัณฑ์จากนม อาหารมันๆ อาหารที่ใส่ผงชูรส น้ำตาลเทียม เป็นต้น และควรทานอาหารที่ช่วยบำบัดอาการไมเกรน ได้แก่ ธัญพืชไม่ขัดสี ถั่ว ผักใบเขียว ผัก ผลไม้ ปลาแซลมอน ขิง งาขาว เป็นต้น อย่างไรก็ตาม อาหารที่กระตุ้นการปวดของแต่ละคนอาจไม่เหมือนกัน ควรสังเกตและจดบันทึกอาหารที่ทานเพื่อเลี่ยงอาหารที่ทำให้เกิดอาการปวด

- ออกกำลังกาย เพื่อให้ร่างกายแข็งแรง นอกจากนี้ยังช่วยยืดหยุ่นกล้ามเนื้อ อาจเลือกการออกกำลังเบาๆ เช่น โยคะ หรือ เดิน

การรักษาไมเกรนทางการแพทย์

หากรักษาไมเกรนในเบื้องต้นแล้วยังไม่หาย อาจใช้วิธีทางการแพทย์ โดยการทานยาแก้ปวดไมเกรน แบ่งเป็นยาที่ระงับอาการปวด กับยาที่ป้องกัน

- ยาระงับอาการปวด หรือแก้ปวดเฉียบพลัน : ใช้เมื่อมีอาการปวด เช่น ยาแก้ปวดในกลุ่มNSAIDsอย่าง iBuprofen ยารักษาอาการปวดไมเกรน Triptan, Lasmiditan, Dihydroergotamine

- ยาป้องกัน : ใช้เป็นประจำเพื่อลดความรุนแรงและความถี่ในการเป็นไมเกรน เช่น ยากันชัก ยาลดความดัน ยาต้านเศร้า หรือบางครั้งมีการใช้โบทูลินัมท็อกซิน หรือโบท็อกไมเกรน อย่างไรก็ตามการใช้ยาทั้งหมดที่กล่าวมา ควรอยู่ในการดูแลควบคุมของแพทย์และเภสัชกรเสมอ

วิธีตรวจไมเกรนเบื้องต้น


การตรวจไมเกรนเบื้องต้น

- ตรวจอาการปวด ว่าปวดในตำแหน่งไหน อย่างไร ระยะเวลาที่ปวด ความถี่ และความรุนแรงของอาการปวด มักปวดในช่วงเวลาใดบ้าง

- ประวัติทางการแพทย์ของผู้ป่วย เคยเป็นโรคอะไรมาก่อน ประวัติการใช้ยา
- ตรวจสภาพร่างกายและความผิดปกติอื่นๆ เช่น มีอาการตาพร่า แขนขาอ่อนแรง สภาพจิตใจมีความเครียด หรืออาการอื่นๆร่วมด้วยหรือไม่
- สภาพแวดล้อม การใช้ชีวิต เช่น อาหารการกิน การนอนหลับ ตลอดจนสภาพอากาศ

หากแพทย์วินิจฉัยแล้วว่าอาการปวดเรื้อรังที่เกิดขึ้นนั้นไม่เข้าข่ายโรคไมเกรน ก็จะแนะนำให้ผู้ป่วยตรวจร่างกายอื่นๆเพิ่มเติม เพราะอาการปวดหัวเกิดได้จากหลายสาเหตุ หากรู้ว่าป่วยเป็นโรคอะไรจะได้รักษาได้ทันท่วงที โดยอาจตรวจดังนี้

- ระดับน้ำตาลในเลือด
- ระดับไขมันในเลือด
- ความดันลูกตา
- การทำงานของไต
- การทำงานของตับ
- ความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด

และอาจมีการตรวจอื่นๆ ตามอาการร่วมที่เกิดขึ้น

สรุป


วิธีตรวจไมเกรน เป็นวิธีการตรวจที่ครอบคลุมอาการปวดศีรษะ หากตรวจพบว่าเป็นไมเกรน ก็สามารถเข้ารับการรักษาได้ หรือในกรณีที่ไม่ได้เป็นไมเกรน ก็อาจเป็นโรคอื่น ๆ ที่หากตรวจพบได้เร็ว ก็จะสามารถป้องกันไม่ให้โรคทวีความรุนแรง ผู้ที่มีอาการปวดหัวเรื้อรังจึงไม่ควรละเลยอาการปวดของตัวเอง สามารถเข้ารับการตรวจไม่เกรนเพื่อวินิจฉัยและหาวิธีรักษาที่เหมาะสม
เลขไอพี : ไม่แสดง | ตั้งกระทู้โดย Windows 10

อ่านต่อ คุณอาจจะสนใจเนื้อหาเหล่านี้ (ความคิดเห็นกระทู้ อยู่ด้านล่าง)

ความคิดเห็น

#1 | Yvonne | 25 ก.พ. 66 00:10 น.

ไอพี: ไม่แสดง | โดย Windows 10

แสดงความคิดเห็น

จะต้องเป็นสมาชิกจึงจะแสดงความคิดเห็นได้
เป็นสมาชิกอยู่แล้ว ลงชื่อเข้าใช้ระบบ
ยังไม่ได้เป็นสมาชิก สมัครสมาชิกใหม่
หรือจะลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google หรือ Facebook ก็ได้
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Facebook
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google