เกร็ดน่ารู้จาก My Bloody Valentine 3D

เกร็ดน่ารู้
  • สร้างจากภาพยนตร์ต้นฉบับ My Bloody Valentine (1981) ซึ่งเป็นภาพยนตร์ที่ผู้กำกับ เควนติน ทารันติโน เคยกล่าวว่าเป็นภาพยนตร์เชือดสยองที่ยอดเยี่ยมที่สุดตั้งแต่สร้างกันมา
  • ผู้สร้างพยายามถ่ายทำโดยใช้คอมพิวเตอร์กราฟฟิกให้น้อยที่สุด โดยเทคนิคการสร้างภาพพิเศษที่ใช้มักจะเกี่ยวข้องกับการสร้างภาพ 3 มิติเท่านั้น
  • ถ่ายทำฉากเหมืองในกันเหมืองที่ไม่ใช้แล้วในพิสต์เบิร์ก ใกล้ใจกลางพื้นที่ขุดเหมืองในรัฐเพนซิลเวเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเพดานของอุโมงค์ในเหมืองนั้นต่ำมาก แม้กระทั่งยืนตรงๆ ก็ยังลำบาก ทำให้ผู้สร้างและนักแสดงรู้สึกกลัวที่แคบขึ้นมา ซึ่งตรงกับสภาพจิตใจของตัวละครในเรื่องพอดี
  • ถ่ายทำในเพนซิลเวเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ซึ่งมีระบบเก็บภาษีที่เอื้อประโยชน์ต่อการถ่ายทำภาพยนตร์
  • ผู้สร้างลองเปรียบเทียบหน้ากากกันแก๊สและชุดคนงานเหมืองทุกรูปแบบ จนในที่สุดก็ตัดสินใจใช้ชุดแบบเดียวกับในภาพยนตร์ต้นฉบับ My Bloody Valentine (1981) เพียงแต่ปรับเปลี่ยนให้ทันสมัยขึ้นเล็กน้อย
  • ผู้เชี่ยวชาญด้านการแต่งหน้า แกรี ทุนนิคลิฟฟ์ สร้างหุ่นจำลองของนักแสดงหลายคน เพื่อใช้ถ่ายทำฉากสยองต่างๆ เช่น ฉากถูกควักหัวใจออกมา
  • ผู้สร้างถ่ายทำภาพยนตร์ 3 มิติเรื่องนี้ ด้วยเทคโนโลยีของบริษัท พาราไดส์ เอฟเอ็กซ์ ซึ่งได้พัฒนาอุปกรณ์บางชิ้นขึ้นเพื่อถ่ายทำภาพยนตร์เรื่องนี้โดยเฉพาะ เช่น กล้องที่ใช้ถ่ายทำซึ่งสร้างเสร็จก่อนจะเปิดกล้องเพียงวันเดียว และเนื่องจากเป็นเทคโนโลยีใหม่ ผู้กำกับภาพ โฮเวิร์ด สมิธ จึงต้องศึกษาวิธีการใช้อุปกรณ์ชิ้นนี้ใหม่อีกด้วย
  • กล้องดิจิตอลที่ออกแบบเฉพาะสำหรับถ่ายทำภาพยนตร์เรื่องนี้มี 2 ตัว ชื่อ เดอะ เรด วัน และ ซิลิคอน อิเมจิง เอสไอ-ทูเค ซึ่งมีขนาดเล็กและเบากว่ากล้องถ่ายภาพยนตร์ทั้งในระบบ 2 มิติ และ 3 มิติอื่นๆ เป็นระบบ เอชดี โฟร์เค ที่บันทึกรูปขนาด 4,000 พิกเซลได้ที่ 30 เฟรมต่อวินาที มากกว่าระบบเอชดีแบบปกติที่บันทึกรูปขนาด 2,000 พิกเซลที่ 30 เฟรมต่อวินาที
  • บริษัท พาราไดส์ เอฟเอ็กซ์ สร้างอุปกรณ์เฉพาะสำหรับการถ่ายทำฉากในอุโมงค์ ทำให้ผู้สร้างสามารถถ่ายทำจากมุมสูงได้ ซึ่งในอดีตไม่สามารถทำได้ เพราะกล้องที่ใช้ถ่ายทำระบบ 3 มิติรุ่นก่อนนี้ มีน้ำหนักถึงกว่า 500 ปอนด์
  • กล้องที่ใช้ถ่ายทำภาพยนตร์เรื่องนี้สามารถแสดงภาพที่เพิ่งถ่ายทำไปในระบบ 3 มิติได้ในทันที ทำให้ผู้สร้างทำงานได้รวดเร็วและสร้างสรรค์ได้ง่ายขึ้น ต่างจากการถ่ายทำภาพยนตร์ 3 มิติแบบเก่า ที่ผู้สร้างต้องรอประมาณ 1 เดือนหลังถ่ายทำเสร็จ จึงจะได้เห็นภาพที่ถ่ายทำไปในแบบ 3 มิติ
  • การถ่ายภาพยนตร์ 3 มิติในอดีต จะต้องใช้กล้องถ่ายภาพยนตร์ 2 มิติจำนวน 2 ตัว หรือเลนส์ 2 ชุด ถ่ายทำพร้อมกันในมุมเยื้องเล็กน้อย จึงทำให้ควบคุมการทำงานได้ยากกว่ากล้องแบบใหม่ที่ใช้ในภาพยนตร์เรื่องนี้ ซึ่งใช้กล้องเพียงตัวเดียว และสามารถปรับระยะความห่างของเลนส์สองตัว หรือจุดพาดผ่านระหว่างแนวนอนและแนวตั้งได้โดยอัตโนมัติ
  • เป็นภาพยนตร์ที่ใช้เทคโนโลยี เรียล ดี เรื่องแรกที่ได้เรต อาร์

advertisement

วันนี้ในอดีต

  • Iron Man 2Iron Man 2เข้าฉายปี 2010 แสดง Robert Downey Jr., Gwyneth Paltrow, Scarlett Johansson
  • X-Men Origins: WolverineX-Men Origins: Wolverineเข้าฉายปี 2009 แสดง Hugh Jackman, Ryan Reynolds, Liev Schreiber
  • เขี้ยวอาฆาตเขี้ยวอาฆาตเข้าฉายปี 2010 แสดง อัครา อมาตยกุล, ขวัญข้าว เศวตวิมล, อภิญญา สกุลเจริญสุข

เกร็ดภาพยนตร์

  • Magic Magic - ผู้กำกับ เซบาสเตียน ซิลบา และ ไมเคิล ซีรา ผู้รับบท บริงค์ เคยร่วมงานกันมาก่อนในภาพยนตร์เรื่อง Crystal Fairy & the Magical Cactus (2013) ขณะรองบประมาณสร้างภาพยนตร์เรื่องนี้อนุมัติ อ่านต่อ»
  • Transformers: Age of Extinction - เหตุการณ์ในภาพยนตร์เรื่องนี้เกิดขึ้นหลังจากเหตุการณ์ใน Transformers: Dark of the Moon (2011) 4 ปี อ่านต่อ»

เปิดกรุภาพยนตร์

Fast & Furious: Hobbs & Shaw Fast & Furious: Hobbs & Shaw นับตั้งแต่ที่ ฮ็อบส์ (ดเวย์น จอห์นสัน) เจ้าหน้าที่ผู้รักษากฎหมายเจ้าของร่างล่ำบึ้ก ผู้จงรักภักดีต่อองค์กรหน่วยรักษาความ...อ่านต่อ»