
หลายเรื่องจะกลายเป็นกระแสที่ไร้สาระ
หากสื่อ(ที่ไม่ดี)ไม่นำมาต่อยอดจนเป็นประเด็น
สื่อที่ไม่ดีจะเน้นการกระจายข้อมูล
แต่ไม่เน้นการคัดกรองเพื่อสังคม
สื่อที่ไม่ดีจะไม่สนใจผลกระทบทางจิตใจของใครๆแต่จะสนใจแค่ผลประโยชน์ขององค์กรตนเอง
ฉะนั้น เราต้องเลือกสื่อในการเสพ เพราะเราไม่มีทางเปลี่ยนแปลงองค์กรเหล่านั้นให้สนใจสังคมได้
เราควรจะแยกการเสพออกเป็นสองประเภท
ประเภทแรก คือเสพแบบหมูที่รุมกินเศษอาหารที่ไร้ประโยชน์
ประเภทที่สอง คือเสพแบบคนที่เข้าไปชะโงกดูว่าหมูกินอะไรกันอยู่
พวกเรามักจะสลับกันไปมาอยู่ระหว่างสองประเภทนี้
จริงๆแล้วแค่มีสติปัญญาปานกลางก็ย่อมพิจารณาได้ว่าหากเสพแบบหมูก็เท่ากับจะถูกสื่อกล่อมให้เชื่อและคิดตามประเด็นที่ไร้สาระและเสียเวลากับเรื่องไม่เป็นเรื่อง
และหากเสพแบบคนชะโงกดูหมูก็เท่ากับเราเป็นเพียงผู้เห็น แต่ไม่เข้าไปมีอารมณ์ร่วม..
การเสพทั้งสองลักษณะมักจะสลับไปสลับมาอยู่ตลอดเพราะเราเองก็ไม่ใช่เผ่าพันธุ์ที่จะมีสติคัดกรองกันตลอดเวลา บวกกับมีนิสัยคล้อยตามกันเป็นทุนเดิม!
ฉะนั้น สติ คือเครื่องมือที่ดีก่อนที่เราจะตัดสินใจเสพ
รู้จักตั้งสติและตั้งคำถาม
ข่าวนี้ใครได้ประโยชน์?ใครเสียประโยชน์?
ข่าวนี้เกี่ยวกับชีวิตเราด้านใด?
ข่าวนี้พัฒนานิสัยสอดรู้หรือพัฒนานิสัยเห็นอกเห็นใจ?
ข่าวนี้จำเป็นมั้ยที่ต้องเข้าไปเสพ?
ข่าวนี้จริงกี่มุม?และมีกี่มุมที่ยังไม่รู้จริง?
ข่าวนี้มาจากสือที่เอียงฝั่งใดอยู่?
ฯลฯ
คำถามเหล่านี้จะช่วยคัดกรองและทำให้คนไม่เสียเวลาไปกับสื่อขยะที่มักจะผุดขึ้นในกระแสสังคมอย่างไม่หยุดหย่อน
“จิตใจของพวกเรามีค่าเกินกว่าจะเอาขยะมาดองไว้”
#คอมเม้นอย่างผู้เจริญ