Metropolis

N/A คะแนนสยามโซนรออย่างน้อย 5 โหวต ร่วมโหวต
  • ชื่อไทยเมโทรโพลิส เมืองล่าหุ่นยนต์
  • ปีที่เปิดตัว2470
  • นำแสดงAlfred Abel, Gustav Frohlich, Rudolf Klein-Rogge
  • บ้านเมืองที่ล้ำสมัย ยุคทองทศวรรษที่ 20 ในกรุงเบอร์ลิน เมืองแห่งภาพยนตร์ ไม่มีภาพยนตร์ใดเหมาะสมกับคำกล่าวเหล่านี้ในศตวรรษที่ผ่านมาได้เทียบเท่ากับภาพยนตร์เรื่อง The Metropolis ซึ่งเป็นผลงานชิ้นเอกที่มีตำหนิของผู้กำกับ ฟริทซ์ แลง ในช่วงปี 1926-27 ภาพยนตร์คลาสสิคเรื่องนี้ รุ่งเรืองท่ามกลางความขัดแย้งในตัวมันเอง ซึ่งเป็นผลให้มีการกล่าวขานทั้งในแง่ชมเชย และโจมตีเท่าๆ กัน ตั้งแต่ยุคที่ภาพยนตร์เพิ่งถูกออกฉายจนถึงยุคปัจจุบัน

    โครงการที่แลงต้องฟันฝ่าในฮอลลีวู้ด ซึ่ง ณ.ขณะนั้นอาจดูเหมือนแลงต้องการที่จะตัดอนาคตตัวเองภาพยนตร์เรื่องนั้นกลับกลายเป็นภาพยนตร์ยิ่งใหญ่ที่นักวิจารณ์ภาพยนตร์รักที่จะชัง ในเวลา 60 ปีผ่านไป ภาพยนตร์เรื่องนี้ถูกขนานนามให้เป็นภาพยนตร์ต้นแบบ ของยุคโพสโมเดิร์นในประวัติศาสตร์ภาพยนตร์

    เมโทรโพลิสเป็นบทสรุปของความรู้สึกที่เจ้าตัวอาจไม่เห็นด้วยว่า ภาพยนตร์เป็นแนวของเทคโนโลยีล้ำอนาคตที่เกลื่อนกลาดในยุคอดีต ดังนั้นจึงเป็นภาพยนตร์ต้นแบบในแนวที่ไม่มีใครเคยรู้จักมาก่อน นั่นคือ แนวนิยายวิทยาศาสตร์แบบมืดที่เป็นเรื่องของภัยภิบัติ การเป็นที่ยอมรับโดยทั่วกันว่าเป็นแม่แบบของเมืองและหุ่นยนต์แห่งอนาคตทั้งหลาย

    ภาพยนตร์ เมโทรโพลิส อันเก่าแก่บัดนี้ ได้ร้องถึงความมีชีวิตชีวา และร่ายกายที่มีระบบไฟฟ้า การผสมผสานพลังงานของมนุษย์และเครื่องจักรกล รูปทรงอันเรียวงามของมนุษย์เหล่านี้ดูให้ความรู้สึกได้มากกว่าด้วยแสงไฟสะท้อนแสงแรงสูง เมื่อเปรียบเทียบกับเสียงร้องเรียกอันชั่วร้ายของยุคเยอรมันเอ็กเพร็สชั่นนิซึ่ม

    ในบรรดานักสร้างสรรค์ที่สามารถในการสร้างชีวิตชีวาให้กับ เมโทรโพลิส เครดิตส่วนหนึ่งควรเป็นของ จิออจิโอ โมเดอเรอ นักประพันธ์เพลงชาวอิตาเลี่ยนที่ได้ประพันธ์เพลงยอดฮิตในฮอลลีวู้ด และเพลงประกอบภาพยนตร์ที่โด่งดังอยู่หลายเพลงจากยุคปี 70 จนถึงยุคปี 80 ถึงแม้เขาจะมีความชื่นชมแบบเสแสร้งในภาพยนตร์เรื่องนี้

    จิออจิโอ และผู้กำกับชาวอังกฤษอีก 2 ชีวิต คือ ริดลี่ย์ สก๊อต ด้วยผลงานอย่าง Blade Runner (1982) ได้ทำให้ทั้งเนื้อเรื่อง และฉากในเมโทรโพลิส ถูกแปลงโฉมใหม่ได้อย่างตระกานตาจนลืมไม่ลง และผู้กำกับ อาลัน ปาร์เกอร์ ซึ่งเป็นคนแรกที่ได้สะดุดตากับภาพมิวสิกวิดีโอในฉากเปิดตัวของภาพยนตร์เรื่องนี้ ซึ่งถูกแช่ไว้โดยไม่มี ใครเคยสังเกตมาก่อน เขาได้นำมาประกอบในเพลง "We don`t need no education" ของวงดนตรี Pink Floyd ในชุด The Wall (1982)

    ท่ามกลางแสงนีออนแนวกอธิคในช่วงเสื่อมโทรมของปลายศตวรรษที่ 20 มีหลายสิ่งหลายอย่างที่น่าเร้าใจสำหรับยุคสมัยใหม่ที่เต็มไปด้วยความวิตกกังวล: คนงานที่มีความคิดเก่าคร่ำครึ ทำให้เรานึกถึงเด็กวัยรุ่นในเครื่องแบบนักเรียนที่ดูว่านอนสอนง่าย แต่ภายในมีแต่ใจขัดขืน พวกเขายังทำให้เรานึกถึงการฝึกทหารในค่ายฝึกทหารใหม่อีกด้วย หุ่นร่างเหล็กของมาเรียที่มีความเป็นสาวแกร่ง ในขณะที่ผู้ที่ได้ชมต้นฉบับอาจรู้สึกได้ว่าภาพลักษณ์ของมาเรียแต่เก่าก่อน เต็มไปด้วยแรงที่เกลียดชังในเพศหญิงด้วยกันเอง

    ฉากทิวทัศน์ของเมืองในเมโทรโพลิสที่ดูพิกลอย่างสุดโต่ง ได้ส่งกระแสจังหวะชีวิตแบบบริโภคนิยม เมื่อเปรียบเทียบกับตึกสูงสมัยใหม่ตั้งตระหง่านที่ดูหมองหม่นและไร้วิญญาณ ตึกซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นความร่วมสมัยของเมืองนี้

    ความแตกต่างระหว่างสำนักงานของเจ้าแห่งเมือง เมโทรโพลิส คอนโดในฝันของบรรดานักธุรกิจผู้ดี ด้วยวิวที่ทุกคนต้องอิจฉา และห้องปฏิบัติการเคมี ซึ่งเป็นที่พัก ของพ่อมด ร็อดแวง เป็นเสมือนวัฒนธรรมองค์กรข้ามชาติมาปะทะกับวัฒนธรรมนิเวศวิทยายุคนิวเอจ และวัฒนธรรมของชาวแฮ็คเกอร์ที่ชอบเจาะเข้าสู่ระบบอินเตอร์เน็ต

    ในเวลาเดียวกัน ภายในโลกชั้นใต้ดินของ เมโทรโพลิส ภาพโรงงานในประเทศเอเซีย และลาตินอเมริกาที่ใช้แรงงานคนเยี่ยงทาส และพยายามเป่าหูคนงานเหล่านี้ด้วย ความหวังที่ว่า จะมีผู้ที่มาช่วยปลดปล่อยพวกเขา ระบบการปกครองของโลกเบื้องล่างนี้ไม่ต่างอะไรไปกับ แนวการปกครองของศาสนาที่เคร่งครัด เสมือนการเผยแพร่แนวคิดชวนเชื่อทางสื่อต่างๆ และการปลุกความชั่วร้ายให้กลับมามี ชีวิตใหม่อีกครั้ง ซึ่งการกระทำเช่นนี้กำลังจะทวีอิทธิพลมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อก้าวสู่สหัสวรรษใหม่ที่กำลังจะมาถึง

  • Urban Modernity, Berlin's Golden Twenties, the Cinematic City: no film evokes these cliches of the past century more vividly than Metropolis, Fritz Lang's flawed masterpiece form 1926-7. Feeding on its own contradictions, this film classic has, from its own time to the present, trailed as many clouds of glory as frowns of disapproval. Lang’s fatal UFA suicide mission in the studio’ s fierce battle with Hollywood became a monster-film the critics loved to hate. Some sixty years later, it took on the status of an Ur-text of cinematic postmodernity, the epitome of a sensibility its authors probably would have disapproved of: retrofitted techno-kitsch, and thus the archetype of a movie genre they could not have imagined, the sci-fi noir disaster movie. Generally recognized as the fetish-image of all city and cyborg futures, the once dystopian Metropolis now speaks of vitality and the body electric, fusing human and machine energy, its sleek figures animated more by high-voltage fluorescence than Expressionism’s dark demonic urges.

    Among the many creative hands and minds that have had the wit to put some heart back into Metropolis, a fare share of credit must go to Giorgio Moroder, the Italian composer of Hollywood hit songs and famous soundtracks from the late 70s and early 80s. In his mimetic admiration for the film he was, however, preceded by two English directors: Ridley Scott, who in Blade Runner (1982) gave both story and setting of Metropolis an unforgettably vivid makeover, and Alan Parker, who was the first to spot the music video that had been slumbering undetected in Lang's opening scene all along, pastiching it to good effect in the "We don't need no education" number of Pink Floyd The Wall (also 1982).

    Dipped in the neon-Gothic light of fin du vingtieme siecle decadence, there is indeed much for contemporary anxieties to thrill to: the troglodyte workers remind us not only of docile-looking but inwardly rebellious adolescents in school-uniforms, they also recall the drill-routines of boot-camp basic training. The metallic figure of the robot Maria now takes on features of girl power where its original audience might only have sensed misogynist projections of malevolence. The boldly outlandish sets of Metropolis’s cityscape pulsate with consumerist life, compared to the stark modernist high-rises gone soulless and drab that once were its real-life contemporaries. In the contrast between the master of the city’s high-tech office – the penthouse dream of every yuppie trader with a view to kill for – and the alchemist’s lab that is home to the wizard Rotwang, multinational corporate culture meets new-age ecology and internet hacker culture. Meanwhile, down in the catacombs of Metropolis, with their secret mass-sermons of the saviour to come, the sweatshops of Asia and Latin America are only a shout and a prayer away from the religious fundamentalisms, the media evangelisms and voodoo revivalisms that have been fevering towards the Millennium.

  • กำกับโดย Fritz Lang
  • เขียนโดย ,
  • นำแสดงโดย
    • Alfred Abel ... Joh Fredersen
    • Gustav Frohlich ... Freder, Joh Fredersen's son
    • Rudolf Klein-Rogge ... Rotwang, the inventor
    • Theodor Loos ... Josaphat
    • Heinrich George ... Grot
  • ประเภท Sci-Fi / Drama
  • ความยาว 153 นาที
  • สร้างโดย Germany

advertisement

วันนี้ในอดีต

เกร็ดภาพยนตร์

  • Boyhood - เอลลาร์ โคลเทรน ผู้รับบท เมสัน ตอนเริ่มเปิดกล้องถ่ายทำภาพยนตร์อายุ 7 ปี และตอนถ่ายทำภาพยนตร์เสร็จอายุ 18 ปี อ่านต่อ»
  • Deliver Us from Evil - โจเอล แม็กเฮล ผู้รับบท บัตเลอร์ ใช้เวลาหลายเดือนฝึกฝนขว้างมีด และศิลปะการต่อสู้เพื่อจะได้ไม่ต้องใช้นักแสดงแทน เขาไม่มีบาดแผลจากการฝึกฝนหรือการถ่ายทำเลยสักแผลเดียว จนกระทั่งวันท้ายๆ ของการถ่ายทำ เขากลับมีบาดแผลเพราะใช้มีดตัดช็อกโกแลตให้ลูกชาย อ่านต่อ»

เปิดกรุภาพยนตร์

Star Wars: The Rise of Skywalker Star Wars: The Rise of Skywalker บทสรุปของตำนานอันน่าตื่นเต้นของตระกูลสกายวอร์คเกอร์ เมื่อตำนานใหม่จะถือกำเนิดและการต่อสู้ครั้งสุดท้ายเพื่ออิสรภาพกำลังจ...อ่านต่อ»