เกร็ดน่ารู้จาก Across the Universe
เกร็ดน่ารู้
- อีวาน ราเชลล์ วู้ดส์ เล่าถึงตอนฝึกร้องเพลงว่าขณะที่เธอกำลังหาวิธีที่จะร้องเพลง If I Fell ให้ดีที่สุดนั้น ทีมงานพา จิม เสตอเกส พระเอกของเรื่อง เข้ามาในห้องอัด และให้เธอร้องเพลงนี้ให้เขาฟัง ซึ่งในครั้งนั้นเป็นการร้องเพลงที่ดีที่สุด วิธีนี้ทำให้เธอไม่เกร็ง และร้องเพลงที่ยากนี้ได้เต็มที่
- ทีวี คาร์พิโอ ที่แสดงเป็นพรูเดนซ์ นอกจากจะมีเสียงร้องที่ไพเราะแล้ว เธอยังเป็นแดนเซอร์และนักกีฬาไอซ์สเก็ตมาก่อน ตอนแรกผู้กำกับ จูเลีย เทย์มอร์ ติดต่อเธอให้มาเล่นสเก็ตน้ำแข็ง ในฉากที่เกี่ยวกับคณะละครสัตว์ในเรื่อง แต่แล้ว จูเลีย ก็เล็งเห็นว่าเธอเหมาะที่จะรับบทเชียร์ลีดเดอร์ด้วย
- ในภาพยนตร์เรื่องนี้ มีการคัดเลือกแดนเซอร์จากบรอดเวย์และสถาบันต่างๆ ทั้งหมดมากกว่า 350 คน
- ทีมงานกว่า 13 คน ใช้เวลาเพียง 2 วันก่อนถ่ายทำ ในการวาดและทำเปเปอร์มาเช่ หุ่นเชิดที่ตัวใหญ่ที่สุด 2 ตัว มีใบหน้าสูง 18 ฟุต ความยาวทั้งตัว 27 ฟุต ไม่นับความยาวของแขน และมือทั้ง 2 ข้างที่มีความยาวรวม 120 ฟุต
- เดเนียล แอซราโรล ผู้ออกแบบท่าเต้นในภาพยนตร์เรื่องนี้ ได้ร่วมแสดงเป็นแดนซ์เซอร์รับเชิญในฉากในบทท่านสาธุคุณด้วย
- สถานที่ที่ใช้ในการถ่ายทำเรื่องนี้ ส่วนใหญ่ใช้สถานที่ในเมืองนิวยอร์ก ซึ่งสอดคล้องกับเรื่องราวทั้งหมด โดยเปลี่ยนสถานที่ทั้งหมด 50 สถานที่ในการถ่ายทำ 60 วัน นับเป็นการถ่ายทำที่ซับซ้อนมาก เพราะต้องเปลี่ยนสถานที่ถ่ายทำแทบทุกวัน
- ฉากที่จัดไว้เพื่อถ่ายทำเพียง 2 วันนั้น ต้องใช้เวลาก่อสร้างราว 2-4 สัปดาห์ ทุกๆ วันที่กองถ่ายกำลังถ่ายทำฉากใดฉากหนึ่ง อีกกองก็ต้องเร่งมือสร้างฉากอย่างน้อย 4 ฉากเตรียมไว้
- ฉากบนถนน ริวิงตัน สตรีท ย่านตะวันออกเฉียงใต้ของแมนฮัตตัน ซึ่งเป็นฉากที่ใหญ่ที่สุดของเรื่อง โดยเป็นฉากอีสวิลเลจของฮิปปี้และศิลปินในยุคปี 1960 ทีมงานได้ดัดแปลงมาจากย่าน ไฮแอต แอชเบอร์รี่ ของเมืองซานฟรานซิสโกนั่นเอง ฉากนี้ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด มหาศาลกว่า 3 บล็อกถนน ทั้งย่านแอตโทมี นอร์ธฟลอค์ และ ริวิงตัน โดยใช้สี่แยกที่ตัดระหว่างถนน ริวิงตัน และ คลินตัน เป็นฉากเต้นในเพลง Come Together
- การสร้างฉากในเรื่องนี้ ทีมงานใช้พื้นที่ย่านนิวเจอร์ซี่จำลองฉากในเวียดนามและเนรมิตทางใต้ของย่านบร๊องซ์ให้เป็นเมืองดีทรอยด์ ด้านฉากงานศพน้องชายของ โจโจ้ ทีมงานได้ใช้ลานจอดรถขนาดใหญ่เพื่อสร้างโบสถ์ขึ้นมา ฉากใน วอชิงตัน ดี.ซี ก็เป็นอีกเมืองที่ถูกจำลองขึ้นในนิวยอร์กนี้ เช่นเดียวกับฉากมหาวิทยาลัยโคลัมเบียที่ใช้พิพิธภัณฑ์แห่งนิวยอร์กเป็นสถานที่หลักในการถ่ายทำ
- แม้ในฉากนอกโรงเรียนทุกคนจะใส่เสื้อแจ๊กเก็ต เสื้อคลุม และสวมหมวก แต่ในความเป็นจริงแล้วขณะนั้นมีอุณหภูมิสูงถึงเกือบ 80 องศาฟาเรนไฮต์ เมื่อผู้กำกับสั่งคัต ทุกคนต่างก็วิ่งหลบแดดกันพัลวัน
- ชื่อภาพยนตร์และตัวละครส่วนใหญ่มาจากชื่อเพลงของ เดอะ บีตเทิลส์ ทั้ง ลูซี่ จู๊ด ซาดีย์ มิสเตอร์ไคท์ ดร.โรเบิร์ต พรูเด้นซ์ โจโจ้ และ ริต้า
- ซัลม่า ฮาเย็ก ถูกขอร้องให้มาร่วมแสดงในเรื่องนี้ เมื่อ จูเลีย เทย์มอร์ ให้เธอรับบท Bang Bang Shoot Shoot Nurse ซึ่ง ซัลม่า บอก จูเลีย ว่าขอเป็นนางพยาบาลแต่เพียงผู้เดียว
- จูเลีย เทย์มอร์ ได้สร้างบทบาทของ ซาดี สำหรับ ดาน่า ฟัชส์ โดยเฉพาะ
- รถประจำทางที่ตัวละคร ดร.โรเบิร์ต ใช้ตอนร้องเพลง I am the Walrus นั้น อ้างอิงถึงรถประจำทางที่ เดอะ บีตเทิลส์ ใช้ในเรื่อง Magical Mystery Tour (1967)
- เหตุการณ์ในเรื่องนั้นเกิดขึ้นในระหว่างปี 1960-1969 เช่น เหตุการณ์ความรุนแรงที่นักศึกษาประท้วงที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย การระเบิดในนิวยอร์กซึ่งทำให้พวกหัวรุนแรงที่วางระเบิดเสียชีวิต และ เดอะ บีตเทิลส์ ถูกตำรวจสั่งระงับการแสดงคอนเสิร์ตที่ลอนดอน
- คนงานอู่ต่อเรือที่ให้ค่าจ้างตัวละคร จู๊ด กล่าวว่าเขาคิดว่าเขาควรทำอะไรที่แตกต่างออกไป เมื่อเขาอายุได้ 64 ปี พาดพิงถึงเพลง When I'm Sixty-Four ของ พอล แม็กคาร์ตนีย์
- เมื่อ แม็กซ์ และ จู๊ด เห็นอพาร์ตเม้นต์ของพวกเขาเป็นครั้งแรก เซดี กล่าวว่า แม็กซ์ ดูเหมือนซื่อๆ แต่สามารถฆ่าคนได้โดยใช้ค้อนเงิน และอีกฉากหนึ่งจะเห็น แม็กซ์ ถือค้อนเงิน ซึ่งทั้งสองฉากแสดงให้เห็นถึงความเคารพต่อเพลง Maxwell's Silver Hammer ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ แม็กซ์
- เมื่อ จู๊ด ได้แรงบันดาลใจมาจากชามใส่สตรอเบอร์รี่ เขาก็วาดภาพในลักษณะเดียวกับ แจ๊กสัน พอลล็อก ซึ่งเกี่ยวเนื่องถึง สจ๊วต ซัตคลิฟ ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นมือเบสของวง เดอะ บีตเทิลส์ ซึ่งวาดภาพในเดียวกับ แจ๊กสัน พอลล็อก เช่นกัน
- ช่วงขึ้นต้นของเพลง If I Fell ยืมมาจากช่วงขึ้นต้นของเพลง Good Day Sunshine ของ เดอะ บีตเทิลส์
- คอนเสิร์ตในตอนท้ายของเรื่องนั้น อิงถึงคอนเสิร์ตของ เดอะ บีตเทิลส์ ที่สำนักงานใหญ่ของ แอ๊ปเปิล เรกคอร์ดส์ ซึ่งเป็นการปรากฏตัวต่อสาธารณชนครั้งสุดท้ายของพวกเขา
- กลางๆ เพลง With A Little Help from My Friends ได้มีการเปลี่ยนดนตรีไปเป็นเพลงฉบับของ โจ คอกเกอร์ ซึ่งมีบทบาทรับเชิญในเรื่องนี้ โดยเพลงนี้ยังถูกใช้เป็นเพลงหลักของรายการโทรทัศน์ The Wonder Tears (1988) ด้วย
- ตัวละคร โจโจ้ อ้างอิงถึงนักกีตาร์ จิมี เฮนดริกซ์
- ม้วนฟิล์มของเรื่องนี้ถูกส่งไปยังบางโรงภาพยนตร์ด้วยชื่อหลอกๆ ว่า Love and Freedom
- นอกจากตัวละคร ซาดี จะอิงถึงนักร้องนักแต่งเพลง เจนิส จ๊อบลิน แล้ว ยังเกี่ยวข้องกับเพลง Sexy Sadie จาก White Album ของ เดอะ บีตเทิลส์ ด้วย
- เพื่อนของ พรูเด้นซ์ ที่ชื่อ ริต้า นั้น มาจากเพลง Lovely Rita ในอัลบั้ม Sgt. Pepper's Lonely Hearts Club Band ของ เดอะ บีตเทิลส์
- ในช่วงของเพลง Being for the Benefit of Mr. Kite ข้อความบางตอนที่ปรากฏที่ฉากหลังนั้น นำมาจากโปสเตอร์แผ่นเดียวกับที่เป็นแรงบันดาลใจให้ จอห์น เลนนอน เขียนเพลง
- ฉากที่อยู่ใต้น้ำของ จู๊ด และ ลูซี่ ทำท่าเดียวกับ จอห์น เลนนอน และโยโกะ โอโนะ ที่ขึ้นปกนิตยสาร โรลลิ่ง สโตน ฉบับที่ 335 ถ่ายโดย แอนนี่ ไลโบวิตซ์
- ในตอนแรก โจ แอนเดอสัน ถูกเล็งให้รับบท จู๊ด แต่เขาก็บอกกับผู้กำกับ จูเลีย เทย์มอร์ ว่าเขาเหมาะกับบท แม็กซ์ มากกว่า และขอทดสอบบทนั้นแทน
- ขณะที่เพลงบรรเลง A Day In The Life ของ เจฟฟ์ เบ็ก ดังขึ้น จู๊ด กำลังอ่านหนังสือพิมพ์อยู่ ตรงกับเนื้อเพลงที่ว่า "I read the news today, oh boy."
- วันที่ภาพยนตร์เรื่องนี้เปิดตัวในสหรัฐนั้นตรงกับวันที่ 9 ตุลาคม ซึ่งเป็นวันคล้ายวันเกิดของ จอห์น เลนนอน พอดี
- พอล แม็กคาร์ตนีย์ และ โยโกะ โอโนะ ให้การสนับสนุนการสร้างเรื่องนี้ และได้ติดต่อกับ จูเลีย เทย์มอร์ อยู่ตลอด
- จูเลีย เทย์มอร์ นำเพลงของ เดอะ บีตเทิล จำนวน 30 เพลง มาเป็นพื้นฐานสำหรับบทเรื่องนี้ ซึ่งครอบคลุมเหตุการณ์ตั้งแต่ปี 1963-1969 แต่ในภาพยนตร์ได้อัดเรื่องราว 7 ปีนั้น ให้อยู่ในระยะเวลาเพียง 2 ปี
advertisement
วันนี้ในอดีต
ห่วยขั้นเทพเข้าฉายปี 2011 แสดง จิรายุ ละอองมณี, พชร จิราธิวัฒน์, ณัฐชา นวลแจ่ม
American Beautyเข้าฉายปี 2000 แสดง Kevin Spacey, Annette Bening, Thora Birch
Beastlyเข้าฉายปี 2011 แสดง Alex Pettyfer, Vanessa Hudgens, Neil Patrick Harris