เกร็ดน่ารู้จาก อาข่า ผู้น่ารัก
เกร็ดน่ารู้
- ปุ๊กกี้ - สุกัญญา วงศ์สถาปัตย์ เป็นผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ไทยหลากหลายแนวมานานถึง 15 ปี ก่อนจะมาเขียนบทและกำกับเรื่องนี้เป็นเรื่องแรก
- แม้จะเคยอำนวยการสร้างภาพยนตร์มาแล้วทุกแนว แต่โดยส่วนตัว ผู้กำกับ ปุ๊กกี้ - สุกัญญา วงศ์สถาปัตย์ ชอบภาพยนตร์แนวชีวิตใสๆ ที่ให้แง่คิดดีๆ ซึ้งๆ
- ภาพยนตร์เรื่องนี้ใช้เวลาเตรียมงานนานกว่า 8 เดือน และใช้เวลาคัดเลือกนักแสดงหลักเพื่อมารับบท หมี่จู เด็กหญิงชาวเขาเผ่าอาข่า เป็นเวลาครึ่งปี กระทั่งตกลงให้ แคนดี้ - ฟูอาน่า ฮิโรยาม่า นักแสดงหน้าใหม่วัย 9 ขวบลูกครึ่งไทย-ญี่ปุ่น เป็นผู้รับบทนี้
- ผู้กำกับ ปุ๊กกี้ - สุกัญญา วงศ์สถาปัตย์ ได้แรงบันดาลใจในการสร้างภาพยนตร์เรื่องนี้จากภาพชาวเขากำลังจับกล้องถ่ายทำในหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่ง เป็นภาพข่าวเกี่ยวกับสถานีวิทยุโทรทัศน์ชุมชน บ้านนอกทีวีของมูลนิธิกระจกเงา จึงหาข้อมูลเพิ่มเติมจนได้ทราบเรื่องจริงของเด็กผู้หญิงเผ่าอาข่าวัย 12 ปี ที่ซุกซนมากคนหนึ่ง
- สถานที่ถ่ายทำเรื่องนี้ห่างจากตัวเมืองประมาณระยะเดินทาง 3 ชั่วโมง โดยต้องเดินทางข้ามเขาหลายลูก ที่นั่นเป็นภูเขาโล่งๆ ตรงตามที่ ผู้กำกับ ปุ๊กกี้ - สุกัญญา วงศ์สถาปัตย์ ต้องการ พวกเขาถ่ายทำและกินนอนที่นั่น ต้องขับรถเข้ามาในตัวเมืองเพื่อซื้ออาหารสดกลับขึ้นไปทุกสัปดาห์ ตอนกลางคืนและตอนรุ่งเช้าอากาศจะหนาวเย็นมาก
- ผู้สร้างติดต่อขอให้นักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ช่วยทำเฟ้นหาเด็กที่จะมารับบท หมี่จู โดยตั้งโจทย์ไว้ว่าเป็นเด็กอายุประมาณ 8-10 ปี หลังจากค้นหาตามโรงเรียนอนุบาลและโรงเรียนบัลเลต์ ก็ได้ แคนดี้ - ฟูอาน่า ฮิโรยาม่า ซึ่งเป็นคนเดียวที่สามารถแสดงได้ ประกอบกับหน้าตาใกล้เคียงกับชาวเขา และนิสัยเป็นเด็กแก่นๆ เหมาะกับบท
- แคนดี้ - ฟูอาน่า ฮิโรยาม่า ที่รับบท หมี่จู ไม่เคยผ่านงานแสดงใดๆ มาก่อน จึงต้องไปเรียนการแสดงที่โรงละครของกาดสวนแก้ว และเรียนภาษาอาข่าด้วย แคนดี้ ใช้เวลาจำบทภาษาอาข่าประมาณ 1 เดือน ระหว่างที่ถ่ายทำ แคนดี้ ต้องไปนอนอยู่ในหมู่บ้านชาวเขา ไม่ได้เจอเพื่อน ไม่ได้เที่ยว และตอนกลางคืนก็ต้องท่องบท
- ตัวละครที่เป็นคนของกลุ่มกระจกเงาในเรื่องอิงมาจากคนที่มีอยู่จริงทุกคน คนที่เด่นที่สุดในเรื่องคือ พี่แป้น รับบทโดย พิม - พิมพ์พรรณ ชลายนคุปต์ ซึ่ง พิม ต้องพยายามแสดงออกทุกอย่างให้คล้ายกับตัวจริง นอกจากนี้ยังมีเด็กวัยรุ่นชาวเขาที่เป็นอาสาสมัครในกลุ่มกระจกเงา ในตอนจบของเรื่องมีการตัดภาพเอาตัวจริงมาใส่ไว้ ปัจจุบันยังมีเด็กชาวเขาจริงๆ ที่ทำงานอยู่ที่กระจกเงา
- ผู้กำกับ ปุ๊กกี้ - สุกัญญา วงศ์สถาปัตย์ เล่าว่าสถานีวิทยุหรือโทรทัศน์ของชาวเขาจะต่างจากสถานีสำหรับคนเมืองที่ดูเป็นธุรกิจใหญ่โต แต่เป็นการทำงานเพื่อประโยชน์ของคนในชุมชนจริงๆ เช่น ให้ความรู้พื้นฐาน อย่างรายการที่สอนให้ล้างมือก่อนกินข้าว แปรงฟันก่อนนอน และสอนเรื่องการทำบัตรประชาชน
- มูลนิธิกระจกเงาคือมูลนิธิที่เข้าไปช่วยให้ชาวเขามีความรู้เรื่องการดำรงชีวิตและการทำมาหากิน ซึ่งมูลนิธิได้ต่อสัญญาณเคเบิลทีวีให้ได้ชมกันทุกบ้านด้วย วันหนึ่งสัญญาณขาด จึงเกิดความคิดที่จะพัฒนาสถานีโทรทัศน์ขึ้นเองในชุมชน จึงกลายมาเป็นบ้านนอกทีวี
- จริงๆ แล้ว ผู้กำกับ ปุ๊กกี้ - สุกัญญา วงศ์สถาปัตย์ ชอบเด็กผู้ชายมากกว่า แต่คิดว่าผู้ชมจะสะเทือนใจกับตัวละครเด็กผู้หญิงได้ง่ายกว่า จึงให้ตัวละครเอกเป็นเด็กผู้หญิง คือ หมี่จู
- เนื่องจากบริเวณที่ไปถ่ายทำนั้นอาจคาบเกี่ยวกับจุดลำเลียงยาเสพติด ทางการจึงส่งนักพัฒนาชุมชน (นพช.) มาคอยดูแลความปลอดภัย ซึ่งทำหน้าที่เหมือนตำรวจตระเวนชายแดน คอยถือปืนยาวยืนคุ้มกัน
- ก่อนถ่ายทำฉากสะเทือนอารมณ์ฉากสำคัญ ผู้กำกับ ปุ๊กกี้ - สุกัญญา วงศ์สถาปัตย์ เข้าไปคุยเพื่อกระตุ้นอารมณ์ให้กับ แคนดี้ - ฟูอาน่า ฮิโรยาม่า ที่รับบท หมี่จู อยู่เกือบ 1 ชั่วโมง ฉากนั้นถ่ายทำกันวันใกล้ปิดกล้องแล้ว ปุ๊กกี้ จึงพูดเรื่องเศร้าๆ เกี่ยวกับการจากลาหลังจากที่ทุกคนผูกพันกันมานาน ระหว่างถ่ายทำฉากนั้น ทุกคนร้องไห้กันหมด ทั้งนักแสดง ผู้กำกับ และตากล้องด้วย
- ผู้กำกับ ปุ๊กกี้ - สุกัญญา วงศ์สถาปัตย์ ยอมรับว่าฉากที่ยากที่สุดฉากหนึ่ง คือฉากที่ หมี่จู ซึ่งรับบทโดย แคนดี้ - ฟูอาน่า ฮิโรยาม่า ต้องพูดคุยระบายความในใจกับ อาบ้อ ซึ่งคุณปู่ที่แสดงเป็น อาบ้อ คนนี้เป็นชาวเขาที่พูดไทยไม่ได้เลย จึงทำให้กำกับยาก
วันนี้ในอดีต
โคลิค เด็กเห็นผีเข้าฉายปี 2006 แสดง พิมพ์พรรณ ชลายนคุปต์, วิทยา วสุไกรไพศาล, กุณฑีรา สัตตบงกช
แก๊งชะนีกับอีแอบเข้าฉายปี 2006 แสดง มีสุข แจ้งมีสุข, พัชรศรี เบญจมาศ, กุลนัดดา ปัจฉิมสวัสดิ์
Stay Aliveเข้าฉายปี 2006 แสดง Jon Foster, Samaire Armstrong, Sophia Bush
เกร็ดภาพยนตร์
- Knock Knock - โลเรนซา อิซโซ ผู้รับบท เจเนซิส เป็นภรรยาของผู้กำกับ อีไล รอธ อ่านต่อ»
- In the Heart of the Sea - สร้างจากเรื่องจริงที่เรือล่าวาฬถูกวาฬยักษ์โจมตีจนเรือจมเมื่อปี 1820 ทางตอนใต้ของมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งเหตุการณ์ครั้งนั้นทำให้ เฮอร์แมน เมลวิลล์ ได้แรงบันดาลใจมาเขียนหนังสือเรื่อง Moby Dick อ่านต่อ»