เกร็ดน่ารู้จาก Rapunzel

เกร็ดน่ารู้
  • บริษัท วอลท์ ดิสนีย์ พยายามพัฒนาเรื่องราวของ ราพันเซล ให้เป็นภาพยนตร์แอนิเมชันมาตั้งแต่ยุค 40
  • ผู้สร้างพยายามทำให้ตัวละครมนุษย์ในเรื่องนี้มีรายละเอียดมากขึ้น เมื่อเทียบกับแอมิเนชันเรื่องอื่นๆ เช่น การเคลื่อนไหวนิดๆ ที่เปลือกตาด้านล่าง การขยับดวงตานิดๆ การขยับของแก้มที่มีปฏิกิริยากับมุมปาก เป็นต้น
  • ภาพยนตร์เรื่องนี้ประกอบไปด้วยตัวละครหลัก 5 คน ผู้ร้าย 21 คน พระราชา พระราชินี และชาวเมืองอีก 38 คน
  • ผู้อำนวยการสร้างบริหาร จอห์น แลสซีเตอร์ แนะนำให้ผู้สร้างใส่ใจการหายใจของตัวละคร โดยไม่ใช่แค่เพียงทำให้หน้าอกขยายและหดตัวเท่านั้น แต่ยังต้องใส่ใจเรื่องการยืดหดตัวของกระดูกสันหลัง และการยกขึ้นลงของกระบังลมด้วย ภาพที่ละเอียดนี้จะสอดคล้องกับการพากย์เสียงเป็น ราพันเซล ของ แมนดี มัวร์ เพราะผู้ชมจะได้ยินเสียงหายใจของเธอบ่อยครั้ง
  • ผู้สร้างต้องการให้เส้นผมยาว 70 ฟุตของตัวละคร ราพันเซล ดูมีน้ำหนัก มีปอยผม และมีกระบังด้านหน้าด้วย พวกเขาสร้างเส้นผมของเธอทั้งในฉากทั่วไป และฉากซับซ้อนอย่างสะบัดผมหรือจับผมมาเหวี่ยง โดยใช้ซอฟต์แวร์ใหม่ ไดนามิก ไวร์ส สร้างแอนิเมชันรูปท่อ 147 อันซึ่งเป็นตัวแทนโครงสร้างเส้นผมขึ้น จากนั้นจึงเรนเดอร์ออกมาเป็นเส้นผม 140,000 เส้น แล้วแต่งผมให้เป็นเงา ด้วยการเสริมรูปทรงเกลียวเข้าไปภายใน นอกจากนี้ยังต้องแบ่งเส้นผม แล้วทำให้ความเข้มของแสงและน้ำหนักของแต่ละส่วนดูแตกต่างกันด้วย
  • ราพันเซล ที่พากย์เสียงโดย แมนดี มัวร์ สวมเสื้อผ้า 3 ชั้นคือ เพ็ตติโคต กระโปรง และคอร์เซต ซ้อนทับด้วยแขนเสื้อแบบพองๆ ซึ่งถือเป็นงานยากของลูกทีมของที่ปรึกษาแผนกคอมพิวเตอร์กราฟฟิก จีซัส คานัล เพราะเสื้อผ้าแต่ละชั้นนั้นจะต้องกระทบกันตามธรรมชาติด้วย ส่วน มาเธอร์ กอเธล ที่พากย์เสียงโดย ดอนนา เมอร์ฟี นั้นสวมชุดกระโปรงยาว พร้อมเสื้อคลุมมีฮู้ดและมีแขนยาวดูรุ่มร่าม มีนัยยะว่าเธอทำให้ ราพันเซล อึดอัดทุกครั้งที่สวมกอด
  • ทีมงานเอฟเฟกต์เตรียมสร้างฉากน้ำท่วมเขื่อนด้วยการศึกษาเครื่องเล่นล่องแก่ง กริซลี ริเวอร์ รัน ที่ ดิสนีย์ แคลิฟอร์เนียน แอดเวนเจอร์ ธีม ปาร์ก ในรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อเรียนรู้ลักษณะของน้ำที่จะไหลซึมออกจากเขื่อนไม้ที่จะพังลง ในฉากนี้พวกเขาต้องปล่อยน้ำเสมือนจริงมากถึง 23 ล้านแกลลอน พร้อมชิ้นส่วนไม้เป็นพันๆ ชิ้น
  • ขณะปรึกษากันว่าจะใช้สิ่งใดดึงดูด ราพันเซล ที่พากย์เสียงโดย แมนดี มัวร์ ให้อยากออกจากหอคอย นักวาดสตอรีบอร์ด จอห์น ริปา แนะนำให้ใช้โคมลอย ที่เหมือนกับในเทศกาลโคมลอยของอินโดนีเซียและตะวันออกไกลที่เขาเคยอ่านพบ ผู้อำนวยการสร้างบริหาร จอห์น แลสซีเตอร์ สนับสนุนความคิดนี้ เพราะเขาเคยจุดโคมนี้มาแล้วด้วยตัวเอง พวกเขาจึงเริ่มศึกษาจากภาพวิดีโอจากประเทศไทย เกี่ยวกับความเร็วในการลอยของโคม และจำนวนโคม
  • ในฉากโคมลอยนั้น ทีมเอฟเฟกต์สร้างโคมที่มีสีสันและรูปทรงแตกต่างกันขึ้น 14 อัน ก่อนจะจุดไฟแล้วทำภาพซ้ำจนมีจำนวน 46,000 อัน นอกจากนี้ฉากนี้ยังมีฝูงชนดิจิตอลกลุ่มใหญ่ที่สุดเท่าที่แอนิเมชันของ ดิสนีย์ เคยสร้างมา โดยพวกเขานำตัวละคร 40 ตัวมาแต่งตัวให้ต่างกัน และเปลี่ยนลักษณะเฉพาะตัวของแต่ละคน เช่น หนวดเครา แล้วลอกสำเนาตัวละครเหล่านี้ในรูปแบบที่แตกต่างกัน จนกลายเป็นฝูงชนจำนวน 3,000 คน
  • ภาพบนผนังในหอคอยของตัวละคร ราพันเซล ออกแบบโดย แคลร์ คีน ลูกสาวของผู้อำนวยการสร้างบริหาร เกลน คีน โดย แคลร์ เริ่มจากศึกษาภาพวาดยุคกลาง และวิธีการที่นักวาดภาพบางคนเชื่อมโยงวัตถุต่างๆ เข้าด้วยกัน นอกจากนี้บนผนังยังมีแผ่นวัดความสูง ที่สื่อถึงการเติบโตของ ราพันเซล
  • ตัวอย่างฉาก 3 มิติเด่นๆ ของภาพยนตร์เรื่องนี้ ได้แก่ ฉากขี่ม้าไล่ล่าตอนเปิดเรื่อง ฉากแหกคุกที่ใช้ระเบียงยาว โค้งประตูซ้ำซ้อน และลำแสง ฉากน้ำท่วมถ้ำ และฉากโคมลอยที่ตระการตา
  • เพลงประกอบภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นเพลงใหม่ 5 เพลง แต่งทำนองโดย อลัน เมนเคน ผู้ซึ่งประพันธ์ดนตรีประกอบภาพยนตร์ด้วย โดย อลัน ได้รับแรงบันดาลใจจากดนตรีโฟล์กร็อกและศิลปินอย่าง โจนี มิตเชล, เจมส์ เทย์เลอร์, แคต สตีเวนส์ และ แจ็กสัน บราวน์ ส่วนเนื้อร้องนั้นแต่งโดย เกลนน์ สเลเตอร์ ยกเว้น Something that I Want เพลงปิดในช่วงแสดงรายชื่อผู้สร้าง เขียนและขับร้องโดย เกรซ พอตเตอร์
  • มีฉากร้องเพลงของตัวละครในเรื่องตามแบบฉบับภาพยนตร์เพลง ซึ่งผู้พากย์เสียงตัวละครต้องร้องเพลงด้วยตัวเองจริงๆ เพลงเปิด When Will My Life Begin? ขับร้องโดย แมนดี มัวร์ ผู้พากย์เสียง ราพันเซล ถ่ายทอดความปรารถนาที่จะสำรวจโลกกว้างของเธอ เพลงแนวคาบาเรต์ Mother Knows Best ร้องโดย ดอนนา เมอร์ฟี ผู้รับบท มาเธอร์ กอเธล เพลง I Have a Dream ร้องโดย แมนดี อีกครั้ง ในฉากที่ ราพันเซล เผชิญหน้ากับกลุ่มโจรในผับ ส่วนเพลงคู่แนวโฟล์กอเมริกัน I See the Light ร้องโดย แมนดี และ แซ็กคารี เลวี ผู้พากย์เสียง ฟลินน์ ไรเดอร์
  • คริสติน เชโนเวธ และ แดน ฟ็อกเลอร์ เป็นตัวเลือกแรกของทีมผู้สร้างให้มารับบทพากย์ เป็น ราพันเซล และ ฟลินน์ ไรเดอร์
  • สุภาพบุรุษจอมโจรอย่าง ฟลินน์ เป็นชื่อที่ถูกตั้งขึ้นเพื่ออุทิศแด่ เออรอล ฟลินน์ จากภาพยนตร์เรื่อง The Adventures of Robin Hood (1938)
  • แต่เดิมผู้สร้างต้องการให้พระเอกของเรื่องชื่อว่า บาสเตียน ก่อนจะตัดสินใจเปลี่ยนมา เป็น ฟลินน์ ไรเดอร์ ทีหลัง
  • เป็นแอนิเมชันเทพนิยายเรื่องแรกของดิสนีย์ ที่ใช้คอมพิวเตอร์กราฟฟิกในงานสร้าง
  • ต้นฉบับของตัวละคร ฟลินน์ ไรเดอร์ นั้น จะต้องพูดด้วยสำเนียงอังกฤษ และ แซกคารี เลวี ก็ได้รับการคัดเลือกเข้ามาพากย์บทนี้ จากสำเนียงอังกฤษที่เขาใช้ประกอบการพากย์ แต่สุดท้ายตัวละครนี้ก็ถูกเปลี่ยนสัญชาติเป็นอเมริกัน
  • เนื่องด้วยเหตุผลทางการตลาด ทำให้ดิสนีย์เปลี่ยนชื่อ Rapanzel เป็น Tangled ในบางประเทศ
  • เป็นแอนิเมชันเจ้าหญิงเรื่องแรกของดิสนีย์ ที่ได้เรตพีจี หลังจากที่ก่อนหน้านั้นแอนิเมชันที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับเจ้าหญิงล้วนได้เรตจีมาโดยตลอด
  • เคลย์ ไอเคน เคยถูกกำหนดมาให้เสียงพากย์ในบท ฟลินน์ ไรเดอร์ ในช่วงเตรียมงาน สร้างในปี 2005
  • เป็นแอนิเมชันดิสนีย์ที่มีมูลค่าการสร้างสูงที่สุดถึง 260 ล้านเหรียญสหรัฐ และยังเป็นแอนิเมชันที่มีความยาวถึง 100 นาที นับจากเรื่อง Fantasia (1940)
  • ตัวละคร ราพันเซล จะเดินเท้าเปล่าทั้งเรื่อง เหมือนกับ แมนดี มัวร์ ผู้ให้เสียงพากย์ ราพันเซล ที่ชอบขึ้นแสดงแบบเท้าเปล่าเช่นกัน

advertisement

วันนี้ในอดีต

  • The NunThe Nunเข้าฉายปี 2006 แสดง Belen Blanco, Anita Briem, Cristina Piaget
  • Fullmetal AlchemistFullmetal Alchemistเข้าฉายปี 2006 แสดง Romi Pak, Rie Kugimiya, Megumi Toyoguchi
  • DuelistDuelistเข้าฉายปี 2006 แสดง Ha Ji-won, Ahn Sung-kee, Kang Dong-won

เกร็ดภาพยนตร์

  • Magic Magic - ผู้กำกับ เซบาสเตียน ซิลบา และ ไมเคิล ซีรา ผู้รับบท บริงค์ เคยร่วมงานกันมาก่อนในภาพยนตร์เรื่อง Crystal Fairy & the Magical Cactus (2013) ขณะรองบประมาณสร้างภาพยนตร์เรื่องนี้อนุมัติ อ่านต่อ»
  • Transformers: Age of Extinction - เหตุการณ์ในภาพยนตร์เรื่องนี้เกิดขึ้นหลังจากเหตุการณ์ใน Transformers: Dark of the Moon (2011) 4 ปี อ่านต่อ»

เปิดกรุภาพยนตร์

Why Cheat India Why Cheat India เรื่องราวเน้นที่การทุจริตในระบบการศึกษาของประเทศ แนวคิดของการใช้เงินเพื่อซื้ออนาคตไม่ว่าจะเป็นการศึกษา งาน และรายได้ แม...อ่านต่อ»