เกร็ดน่ารู้จาก The Chronicles of Narnia: Prince Caspian

เกร็ดน่ารู้
  • เรื่องนี้เป็นภาค 2 ของ The Chronicles of Narnia ผู้กำกับภาพยนตร์ของภาคนี้ยังเป็นคนเดียวกับภาคแรก คือ แอนดรูว์ อดัมสัน
  • นอกจาก ผู้กำกับ แอนดรูว์ อดัมสัน แล้ว ทีมงานในภาพยนตร์เรื่องนี้ ทั้งตำแหน่งใหญ่ๆ อย่าง คริสโตเฟอร์ มาร์คัส และ สตีเฟน แม็กฟีลลี ผู้เขียนบทภาพยนตร์ มาร์ก จอห์นสัน และ ฟิลิป สเตเออร์ ผู้อำนวยการสร้าง และบรรดาลูกมือทั้งหลาย ทั้งฝ่ายแต่งหน้า ฝ่ายออกแบบศิลป์ ฝ่ายเครื่องแต่งกาย มือลำดับภาพ และผู้ประพันธ์ดนตรี ทั้งหมดล้วนมาจากทีมสร้างภาคแรกทั้งสิ้น
  • ดักกลาส เกรแชม ลูกเลี้ยงของ ซี เอส ลูอิส ผู้เขียนหนังสือชุด Narnia ร่วมอำนวยการสร้างภาพยนตร์เรื่องนี้ด้วย
  • ผู้ที่กลับมารับบทพี่น้องตระกูล พีเวนซี่ อีกครั้งหนึ่งคือสี่นักแสดงดาวรุ่งชาวอังกฤษจากภาคแรก จอร์จี้ เฮนลีย์ อายุ 12 ปี รับบท ลูซี่ น้องสาวคนสุดท้อง สกันดาร์ คีย์เนส วัย 16 ปี รับบท เอ๊ดมันด์ แอนนา ป๊อปเปิ้ลเวล วัย 19 ปี รับบท ซูซาน และ วิลเลียม โมสลีย์ วัย 21 ปีรับบท ปีเตอร์ พี่คนโต
  • นอกจากตัวละครที่คนแสดงแล้ว ยังมีตัวละครที่เป็นคอมพิวเตอร์กราฟฟิก และมีนักแสดงมาให้เสียงพากย์ ได้แก่ นักแสดงชาวสก็อต เคน สก็อตต์ พากย์เป็น ทรัฟเฟิลฮันเตอร์ แบดเจอร์ผู้ภักดี เลียม นีสัน ให้เสียงราชสีห์ อัสลาน และนักแสดงตลกชาวอังกฤษ เอ็ดดี อิซซาร์ด ให้เสียง รีพิชี้บ หนูนักดาบ
  • เรื่องนี้มีภาพคอมพิวเตอร์กราฟฟิกรวม 1,600 ช็อต
  • Prince Caspian เป็นหนังสือเล่มที่ 2 จากหนังสือชุด Chronicles of Narnia 7 เล่ม ของ ซี เอส ลูอิส ตีพิมพ์ระหว่างปี 1950-1956 ได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในวรรณกรรมอมตะที่สร้างสรรค์และมีอายุยืนยาว มียอดขายกว่า 100,000,000 เล่มในกว่า 35 ภาษา
  • ผู้กำกับ แอนดรูว์ อดัมสัน เกิดในนิวซีแลนด์ แต่ใช้เวลาส่วนใหญ่ในช่วงวัยรุ่นอยู่ในปาปัวนิวกินี แต่พอโตมากลับรู้สึกว่าที่ที่เคยอยู่ไม่เหมือนเดิมสักเท่าไร เขาจึงรู้สึกผูกพันกับประสบการณ์ของเด็กๆ ในนาร์เนีย ที่กลับไปนาร์เนีย โลกที่ไม่เหมือนกับตอนที่พวกเขาไปในครั้งแรกอีกต่อไป
  • ตอนที่ วิลเลียม โมสลีย์ มารับบท ปีเตอร์ เพิ่งมีอายุ 15 ปี และ แอนนา ป๊อปเปิ้ลเวล ผู้รับบท ซูซาน อายุ 13 ปี
  • แม้ในภาคนี้ วิลเลียม โมสลีย์ จะอายุ 21 ปี แต่เขาก็รับบทเป็น ปีเตอร์ เด็กหนุ่มอายุ 16-17 ปี
  • หลังจากปิดกล้อง The Lion, the Witch and the Wardrobe (2005) แล้ว แอนนา ป๊อปเปิ้ลเวล ผู้รับบท ซูซาน ก็ทุ่มเทให้กับการเรียนในชั้นมัธยมของเธอและเธอก็สอบติดวิทยาลัย แม็กดาเลน ของ อ็อกซ์ฟอร์ด ซึ่งเป็นโรงเรียนเดียวกับที่ ซี เอส ลูอิส ผู้เขียนหนังสือชุด Narnia ได้ทำงานเป็นเวลานานถึง 3 ทศวรรษ ตั้งแต่ปี 1925-1954 แต่ แอนนา ไม่รู้เรื่องนี้จนกระทั่งเธอได้มาอ่านชีวประวัติของเขา
  • สกันดาร์ คีย์เนส ผู้รับบท เอ๊ดมันด์ อายุ 12 ปี ตอนที่เริ่มถ่ายทำภาพยนตร์ภาคแรก และเมื่อ Prince Caspian ปิดกล้อง เขาก็เพิ่งจะมีอายุครบ 16 ปี
  • เบน บาร์นส์ ผู้รับบทนำเป็น เจ้าชายแคสเปียน คุ้นเคยกับวรรณกรรมชุดนี้ของ ซี เอส ลูอิส มาตั้งแต่ตอนเป็นเด็ก เขาอ่านเรื่องนี้ครั้งแรกตอน 8 ขวบ เมื่อรู้ว่าได้รับบทเจ้าชายแคสเปียน เบน ก็ลองมองดูชั้นหนังสือของตัวเอง แล้วก็เจอหนังสือเรื่อง Prince Caspian ฉบับปี 1989
  • ก่อนเปิดกล้อง เบน บาร์นส์ ผู้รับบทเจ้าชาย แคสเปียน ใช้เวลาหลายสัปดาห์ลองสวมชุด ฝึกขี่ม้า เรียนสำเนียงการพูด ฝึกฟันดาบ และซ้อมฉากผาดโผนในนิวซีแลนด์
  • ตอนถ่ายทำเรื่องนี้ เบน บาร์นส์ มีอายุ 25 ปี
  • ระหว่างกระบวนการคัดเลือกนักแสดงที่จะมารับบท มิราซ ทีมผู้สร้างสนใจในตัว เซอร์จิโอ คาสเตลลิตโต ในทันที โดยเฉพาะหลังจากได้เห็นเทปทดลองแสดงของเขา เซอร์จิโอ มีผลงานการแสดงยาวเหยียด รวมถึงภาพยนตร์อิตาลีของผู้กำกับ ลุก เบส์ซง เรื่อง The Big Blue (1988)
  • นักแสดง วอร์วิก เดวิส ที่รับบท นิเคบริก เคยแสดงเป็น รีพิชี้บ และ กลิมฟีเจอร์ ใน Prince Caspian and the Voyage of the Dawn Treader ซึ่งฉายที่สถานีโทรทัศน์บีบีซี เมื่อปี 1989 และเรื่อง The Silver Chair ที่ฉายตามมาในปี 1990
  • ขณะถ่ายทำ จอร์จี้ เฮนลีย์ ผู้รับบท ลูซี่ เสียฟันน้ำนมไป 2 ซี่ ทีมงานจึงต้องแต่งฟันปลอมให้เธอ
  • นักออกแบบเครื่องแต่งกาย ไอซิส มุสเซนเดน พูดถึงเสื้อผ้าของ มิราซ ที่รับบทโดย เซอร์จิโอ คาสเตลลิตโต ว่า ออกจะเถื่อนๆ เป็นโจรสลัดนิดหน่อย แต่ดูซับซ้อน ซึ่งทั้งหมดนี้ได้รับแรงบันดาลใจจากทหารสเปนในศตวรรษที่ 15 บวกกับชุดเกราะและอาวุธจากฝีมือของคนจากบริษัท เวตา
  • ชาวนาร์เนียที่ โฮเวิร์ด เบอร์เกอร์ หัวหน้าทีมช่างแต่งหน้าชื่นชอบที่สุดคือพวกคนแคระ ซึ่งในภาคนี้มีคนแคระที่เด่นอยู่สองตัว คือ ทรัมป์คิน ที่รับบทโดย ปีเตอร์ ดิงก์ลาจ และ นิเคบริก ที่รับบทโดย วอร์วิก เดวิส
  • โฮเวิร์ด เบอร์เกอร์ และทีมช่างแต่งหน้าต้องทำงานร่วมกับ นักออกแบบ คนตัดเย็บชุดสำหรับตัวละคร นักออกแบบทรงผม ไปจนถึงผู้ผลิตชิ้นส่วนลาเท็กซ์ พวกเขาใช้ชิ้นส่วนสำหรับการแต่งหน้าไปถึง 4,600 ชิ้น แผนกโฟมจึงต้องทำงานยุ่งกันตลอด 24 ชั่วโมงในช่วง 9 เดือน
  • ปีเตอร์ ดิงก์ลาจ ใช้เวลาแปลงโฉมเป็น ทรัมป์คิน 2 ชั่วโมงครึ่งทุกๆ วัน เริ่มแรกเขาต้องโกนผมจนเกลี้ยง แล้วลงสีบนศีรษะ ย้อมคิ้วแล้วติดชิ้นส่วนลาเท็กซ์ปลอมเข้าไป จากนั้นช่างแต่งหน้าจะเข้ามาเก็บรายละเอียด สุดท้ายก็ติดเคราสีแดงยาวเฟื้อยและวิกที่ทำจากขนตัวจามรีเข้าไป
  • คอร์เนล เอส จอห์น ดาราละครเพลงชาวอังกฤษ ต้องทนการแต่งหน้าที่ยาวนาน ซึ่งจะเปลี่ยนโฉมเขาให้กลายเป็นหนึ่งในสัตว์ในเทพนิยาย เซนทอร์ สิ่งมีชีวิตครึ่งคนครึ่งม้า อุปกรณ์ติดหน้าปลอมบวกกับกางเกงรัดรูปกรีนสกรีน ซึ่งทีมงานวิชวล เอฟเฟกต์จะนำภาพร่างกายและขาของม้าเติมเข้าไป เพื่อเปลี่ยนเขาให้กลายเป็นหนึ่งในสิ่งมีชีวิตที่น่าเกรงขามที่สุดของเรื่อง
  • ไมก์ ฟิลด์ส คือผู้ที่แต่งหน้าให้ คอร์เนล เอส จอห์น เป็นตัวละครเซนทอร์ที่ชื่อ เกลนสตอร์ม เนื่องจากเซนทอร์มีอายุยืนยาวได้เป็นร้อยๆ ปี เขาก็เลยไม่มีขีดจำกัดด้านอายุ เกลนสตอร์ม มีอายุเท่ากับ 170 ปีบนพื้นโลก
  • เช่นเดียวกับที่พวกเขาทำในภาคแรก เคเอ็นบี ได้สร้างหุ่นอนิเมโทรนิกขนาดเท่าตัวจริงและชุดสำหรับตัวละครคอมพิวเตอร์กราฟฟิกของราชสีห์ อัสลาน เพื่อใช้ระหว่างการถ่ายทำในกองถ่าย ผู้กำกับ แอนดรูว์ อดัมสัน อยากให้ อัสลาน ตัวใหญ่ขึ้นร้อยละ 15 พวกเขาจึงใช้สแกนข้อมูลดิจิตอลจากภาคแรก แล้วใช้ไซเบอร์เอฟเฟกต์สร้างหุ่นที่ใหญ่กว่าเดิม ร้อยละ15
  • ใบหน้าของ รีพิชี้บ หนูนักดาบผู้ทรงเกียรติ ผู้ถือดาบยาวด้ามเล็กๆ ไม่ได้เกิดจากปลายพู่กัน แต่เกิดจากเมาส์คีย์บอร์ด และซอฟท์แวร์คอมพิวเตอร์ ภายใต้การควบคุมของผู้ดูแลร่วมฝ่ายวิชวล เอฟเฟกต์ เวนดี โรเจอร์ส ผู้พากย์เสียงคือ เอ็ดดี อิซซาร์ด ที่ได้รับเลือกจากนักพากย์กว่า 100 คน
  • ผู้ดูแลร่วมฝ่ายวิชวลเอฟเฟกต์ เวนดี โรเจอร์ส สร้าง รีพิชี้บ หนูตัวใหญ่ สูงประมาณ 22 นิ้วขึ้น ซึ่ง เวนดี จะต้องทำให้ผู้ชมรู้สึกว่าเขาเป็นหนู แต่ก็ต้องมีความเป็นมนุษย์ด้วย การทำให้หนูตัวใหญ่มากๆ ดูเหมือนหนูนั้นเป็นเรื่องยาก พวกเขาจะต้องทำให้ดูไม่เหมือนหนูบ้าน และให้เขามีร่างกายแบบหนูที่ฟันดาบ สวมชุดเกราะ และเดินได้ทั้ง 2 ขาและ 4 ขา
  • ผู้กำกับ แอนดรูว์ อดัมสัน กล่าวว่า เรื่องราวในภาคนี้เป็นการแนะนำให้ผู้ชมรู้จัก รีพิชี้บ แล้วในภาค Dawn Trader จะเป็นเรื่องของเขา ในภาคนี้เป็นการปูพื้นเขาสำหรับการผจญภัยในนาร์เนียครั้งต่อไป
  • ผู้กำกับ แอนดรูว์ อดัมสัน และทีมงานช่างฝีมือและนักแสดง รวมแล้วประมาณ 2,000 คน เริ่มทำงานภาค 2 ตั้งแต่ยังอยู่ในช่วงงานสร้างเบื้องหลังหลังปิดกล้องของภาคแรก ไม่ว่าจะเป็นการเขียนบทภาพยนตร์ การวาดภาพพรีวิชวลไลเซชัน และการเริ่มเสาะหาสถานที่ถ่ายทำ
  • การสร้างภาพพรีวิชวลไลเซชันเป็นกระบวนการสร้างภาพแอนิเมชันจากคอมพิวเตอร์ขึ้นมาเพื่อใช้กำหนดงบประมาณของเรื่อง และทำให้ผู้กำกับสามารถนึกฉากออกมาเป็นภาพได้ก่อนที่เขาจะลงมือถ่ายทำจริง การสร้างภาพพรีวิชวลไลเซชันมีความสำคัญกับภาพยนตร์ขนาดใหญ่อย่างเรื่องนี้มาก ผู้รับหน้าที่นี้คือ รพิน สุวันนาธ ร่วมมือกับนักวาดภาพ 12 คน
  • นิวซีแลนด์ เป็นหนึ่งในสถานที่ถ่ายทำอันสำคัญของกองถ่าย เนื่องจากเป็นที่เดียวซึ่งมีป่าที่เติบโตมายาวนาน โดยไม่ได้ถูกโค่นแล้วปลูกขึ้นใหม่
  • กองถ่ายเปิดกล้องวันที่ 12 กุมภาพันธ์ ปี 2007 ใช้เวลา 6 สัปดาห์ถ่ายทำที่สตูดิโอเฮนเดอร์สัน และสถานที่ 2 แห่งใกล้กับเมอร์คิวรี เบย์ในแหลมโคโรแมนเดล เพนนินซูลา ที่เกาะเหนือของนิวซีแลนด์ เพื่อถ่ายฉากที่เด็กๆ พีเวนซี่ ได้ย่างก้าวแรกสู่นาร์เนียอีกครั้ง ที่ คาเธอดรัล โคฟ ชายหาดด้านตะวันออกของแหลม และหน้าผาขนาดใหญ่ที่ตั้งตระหง่านหลายร้อยฟุตเหนือมหาสมุทร คือที่ซึ่งพี่น้อง พีเวนซี่ ได้ค้นพบซากปรักหักพังของ แคร์ พาราเวล
  • หลังจากถ่ายทำที่เกาะเหนือของนิวซีแลนด์เรียบร้อยแล้ว ทีมงานก็ถ่ายทำต่อที่เกาะใต้เป็นเวลา 2 สัปดาห์ โดยใช้สถานที่ 3 แห่ง ได้แก่ แม่น้ำเวสต์แลนด์ ที่ไหลออกสู่ทะเลทัสแมน และแม่น้ำกลาสวอเตอร์ และที่พาราไดส์ คอกม้าของเอกชนรายหนึ่ง ที่นั่งรถจากควีนส์ทาวน์มาถึงได้ในเวลา 1 ชั่วโมง
  • หลังจากถ่ายทำในนิวซีแลนด์เสร็จในช่วงปลายเดือนมีนาคม 2007 ทีมงานก็ย้ายกองไปยุโรปตะวันออก เพื่อถ่ายทำที่กรุงปราก เมืองหลวงแห่งสาธารณรัฐเช็ก รวมถึงโปแลนด์และสโลเวเนียด้วย
  • ที่กรุงปราก หรือนคร 100 ยอด ซึ่งมีหอคอยปราสาทและยอดโบสถ์ประปรายตามเส้นขอบฟ้า มีทีมงานชั้นเยี่ยม มีอุปกรณ์ทุกอย่างที่จำเป็น และมีห้องเก็บเสียงที่ใช้ถ่ายภาพยนตร์ที่ราคาไม่แพงอีกด้วย นอกจากนี้ ที่นี่ยังทำให้นักแสดงเด็กๆ สามารถเดินทางกลับบ้านที่อังกฤษได้ภายในไม่กี่ชั่วโมง
  • ทีมงานได้ถ่ายทำที่สตูดิโอบาร์รันดอฟอันโด่งดังในกรุงปรากด้วย สตูดิโอนี้เป็นสถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์เรื่องใหญ่ๆ มามากมายตลอดช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ได้แก่ Casino Royale (2006) The Brothers Grimm (2005) และ The Bourne Identity (2002) รวมไปถึง The Lion, The Witch and the Wardrobe (2005)
  • สตูดิโอบาร์รันดอฟที่ปรากมีขนาดใหญ่มาก แม็กซ์ สเตจ 8 ซึ่งสร้างขึ้นใหม่มีลักษณะเหมือนป่าภายในตัวอาคาร และมีระบบรดน้ำต้นไม้อัตโนมัติอันซับซ้อนทำงานอยู่ ทีมงานใช้ถ่ายทำฉากป่าที่พวกเทลมารีนไม่เคยพบ เป็นที่ที่พวกฟอนและสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ในนาร์เนียไปเต้นรำกันในยามค่ำคืน และเป็นสถานที่ที่ชาวนาร์เนียรวมตัวกันวางแผนเพื่อช่วยเหลือเจ้าชาย แคสเปี้ยน
  • ฉากสำคัญที่ โรเจอร์ ฟอร์ด ผู้ออกแบบงานสร้าง ได้สร้างขึ้นคืออุทยานขนาดใหญ่ในราชวัง ที่ถูกสร้างขึ้นบริเวณพื้นที่ด้านหลังสตูดิโอ ปราสาทที่เจ้าชาย แคสเปียน อาศัยอยู่หลังนี้สูง 6 ชั้น ตั้งตระหง่านเสียดฟ้ากว่า 200 ฟุตด้วยฝีมือทีมงานวิชวลเอฟเฟกต์ มีพื้นที่ภายในกว่า 20,000 ตารางฟุต การออกแบบที่งดงามเป็นฝีมือของช่างไม้ ช่างทาสี ช่างแกะสลัก และช่างฝีมืออื่นๆ กว่า 200 ชีวิตที่ทำงานร่วมกันภายในเวลา 15 สัปดาห์
  • โรเจอร์ ฟอร์ด ผู้ออกแบบงานสร้าง ประดับประดาโลกของพวกเทลมารีนด้วยหัวเหยี่ยว เพื่อสร้างความรู้สึกว่าพวกเขากระหายสงครามและไม่ใช่คนดีสักเท่าใดนัก มีหัวเหยี่ยวประดับที่อุทยานด้านหลังสตูดิโอ และตามหน้าของอาคาร รวมทั้งตรงที่วางแขนของบัลลังก์ต่างๆ ที่กระจัดกระจายอยู่ในท้องพระโรงของกษัตริย์ มิราซ
  • โรเจอร์ ฟอร์ด ผู้ออกแบบงานสร้าง ได้แรงบันดาลใจจากวัฒนธรรมโจรสลัดที่เป็นที่มาของพวกเทลมารีน เขาจึงใช้รูปเข็มทิศบนโล่ของทหาร ในสถาปัตยกรรมของท้องพระโรง และบนธงที่ประกาศยศของลอร์ดทั้ง 21 คนภายใต้การปกครองของ มิราซ
  • แฟรงก์ วอลช์ หัวหน้าผู้กำกับศิลป์ อธิบายถึงการสร้าง เดอะ ฮาว ที่ซึ่งราชสีห์อัสลานสละชีวิตตัวเองในภาคแรก มีซากปรักหักพังของโต๊ะศิลา และมีลักษณะเป็นรูปวงกลมที่เหมือนกับหลุมฝังศพถูกสร้างขึ้นจากปูนปลาสเตอร์และโพลีสไตรีน โดยมีเสาสูงหลายสิบฟุตคอยรับน้ำหนัก มันมีรูปสลักปูนปลาสเตอร์ที่ถ่ายทอดประวัติศาสตร์ของชาวนาร์เนียตลอดช่วงเวลา 1,300 ปีที่ผ่านมา
  • ใต้ผนังแกะสลักรอบๆ เดอะฮาว จะมีบ่อน้ำมันที่ตัวละคร แคสเปี้ยน ใช้จุดคบเพลิง ไฟจะลุกโชนขึ้นมารอบห้อง ทำให้ภาพบนฝาผนังชัดเจนขึ้น ทีมงานไม่สามารถใช้น้ำมันจริงๆ หรือของเหลวที่ติดไฟได้เพราะควบคุมยาก พวกเขาจึงต้องสร้างเครื่องจุดไฟพิเศษโปรเพนขึ้นมา แล้ววางมันไว้ข้างใต้ระดับน้ำที่แต่งสี ตัววาล์วควบคุมโปรเพนถูกวางใต้น้ำในช่องทางเดินน้ำที่เป็นรูปวงกลม ซึ่งทำให้ผู้เยี่ยมชมกองถ่าย ที่ไม่รู้ว่าโ%

advertisement

วันนี้ในอดีต

เกร็ดภาพยนตร์

  • Planes: Fire & Rescue - ตัวละครรถดับเพลิง พูลาสกี ที่ให้เสียงโดย แพทริก วอร์เบอร์ตัน ตั้งตามชื่ออุปกรณ์ดับเพลิงที่มีลักษณะเป็นขวานด้านหนึ่ง ส่วนอีกด้านเป็นจอบ โดยอุปกรณ์ชิ้นนี้ตั้งตามผู้ประดิษฐ์นาม เอ็ด พูลาสกี อ่านต่อ»
  • Annabelle - วอร์ด ฮอร์ตัน แต่งชุดนักศึกษาแพทย์มาคัดตัวสำหรับแสดงบท จอห์น ซึ่งเป็นตัวละครที่ประกอบอาชีพเป็นแพทย์ และสุดท้ายเขาก็ได้รับบทนี้ไป อ่านต่อ»

เปิดกรุภาพยนตร์

Light of My Life Light of My Life เมื่อไวรัสชนิดหนึ่งได้ทำให้ประชากรมนุษย์เพศหญิงของทั้งโลกเหลือเพียงแค่คนเดียว คนเป็นพ่ออย่างเขา (เคซีย์ เอฟเฟล็ก) จึงต้...อ่านต่อ»