เกร็ดน่ารู้จาก My Bloody Valentine 3D
เกร็ดน่ารู้
- สร้างจากภาพยนตร์ต้นฉบับ My Bloody Valentine (1981) ซึ่งเป็นภาพยนตร์ที่ผู้กำกับ เควนติน ทารันติโน เคยกล่าวว่าเป็นภาพยนตร์เชือดสยองที่ยอดเยี่ยมที่สุดตั้งแต่สร้างกันมา
- ผู้สร้างพยายามถ่ายทำโดยใช้คอมพิวเตอร์กราฟฟิกให้น้อยที่สุด โดยเทคนิคการสร้างภาพพิเศษที่ใช้มักจะเกี่ยวข้องกับการสร้างภาพ 3 มิติเท่านั้น
- ถ่ายทำฉากเหมืองในกันเหมืองที่ไม่ใช้แล้วในพิสต์เบิร์ก ใกล้ใจกลางพื้นที่ขุดเหมืองในรัฐเพนซิลเวเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเพดานของอุโมงค์ในเหมืองนั้นต่ำมาก แม้กระทั่งยืนตรงๆ ก็ยังลำบาก ทำให้ผู้สร้างและนักแสดงรู้สึกกลัวที่แคบขึ้นมา ซึ่งตรงกับสภาพจิตใจของตัวละครในเรื่องพอดี
- ถ่ายทำในเพนซิลเวเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ซึ่งมีระบบเก็บภาษีที่เอื้อประโยชน์ต่อการถ่ายทำภาพยนตร์
- ผู้สร้างลองเปรียบเทียบหน้ากากกันแก๊สและชุดคนงานเหมืองทุกรูปแบบ จนในที่สุดก็ตัดสินใจใช้ชุดแบบเดียวกับในภาพยนตร์ต้นฉบับ My Bloody Valentine (1981) เพียงแต่ปรับเปลี่ยนให้ทันสมัยขึ้นเล็กน้อย
- ผู้เชี่ยวชาญด้านการแต่งหน้า แกรี ทุนนิคลิฟฟ์ สร้างหุ่นจำลองของนักแสดงหลายคน เพื่อใช้ถ่ายทำฉากสยองต่างๆ เช่น ฉากถูกควักหัวใจออกมา
- ผู้สร้างถ่ายทำภาพยนตร์ 3 มิติเรื่องนี้ ด้วยเทคโนโลยีของบริษัท พาราไดส์ เอฟเอ็กซ์ ซึ่งได้พัฒนาอุปกรณ์บางชิ้นขึ้นเพื่อถ่ายทำภาพยนตร์เรื่องนี้โดยเฉพาะ เช่น กล้องที่ใช้ถ่ายทำซึ่งสร้างเสร็จก่อนจะเปิดกล้องเพียงวันเดียว และเนื่องจากเป็นเทคโนโลยีใหม่ ผู้กำกับภาพ โฮเวิร์ด สมิธ จึงต้องศึกษาวิธีการใช้อุปกรณ์ชิ้นนี้ใหม่อีกด้วย
- กล้องดิจิตอลที่ออกแบบเฉพาะสำหรับถ่ายทำภาพยนตร์เรื่องนี้มี 2 ตัว ชื่อ เดอะ เรด วัน และ ซิลิคอน อิเมจิง เอสไอ-ทูเค ซึ่งมีขนาดเล็กและเบากว่ากล้องถ่ายภาพยนตร์ทั้งในระบบ 2 มิติ และ 3 มิติอื่นๆ เป็นระบบ เอชดี โฟร์เค ที่บันทึกรูปขนาด 4,000 พิกเซลได้ที่ 30 เฟรมต่อวินาที มากกว่าระบบเอชดีแบบปกติที่บันทึกรูปขนาด 2,000 พิกเซลที่ 30 เฟรมต่อวินาที
- บริษัท พาราไดส์ เอฟเอ็กซ์ สร้างอุปกรณ์เฉพาะสำหรับการถ่ายทำฉากในอุโมงค์ ทำให้ผู้สร้างสามารถถ่ายทำจากมุมสูงได้ ซึ่งในอดีตไม่สามารถทำได้ เพราะกล้องที่ใช้ถ่ายทำระบบ 3 มิติรุ่นก่อนนี้ มีน้ำหนักถึงกว่า 500 ปอนด์
- กล้องที่ใช้ถ่ายทำภาพยนตร์เรื่องนี้สามารถแสดงภาพที่เพิ่งถ่ายทำไปในระบบ 3 มิติได้ในทันที ทำให้ผู้สร้างทำงานได้รวดเร็วและสร้างสรรค์ได้ง่ายขึ้น ต่างจากการถ่ายทำภาพยนตร์ 3 มิติแบบเก่า ที่ผู้สร้างต้องรอประมาณ 1 เดือนหลังถ่ายทำเสร็จ จึงจะได้เห็นภาพที่ถ่ายทำไปในแบบ 3 มิติ
- การถ่ายภาพยนตร์ 3 มิติในอดีต จะต้องใช้กล้องถ่ายภาพยนตร์ 2 มิติจำนวน 2 ตัว หรือเลนส์ 2 ชุด ถ่ายทำพร้อมกันในมุมเยื้องเล็กน้อย จึงทำให้ควบคุมการทำงานได้ยากกว่ากล้องแบบใหม่ที่ใช้ในภาพยนตร์เรื่องนี้ ซึ่งใช้กล้องเพียงตัวเดียว และสามารถปรับระยะความห่างของเลนส์สองตัว หรือจุดพาดผ่านระหว่างแนวนอนและแนวตั้งได้โดยอัตโนมัติ
- เป็นภาพยนตร์ที่ใช้เทคโนโลยี เรียล ดี เรื่องแรกที่ได้เรต อาร์
วันนี้ในอดีต
Hancockเข้าฉายปี 2008 แสดง Will Smith, Jason Bateman, Charlize Theron
Public Enemy Number One (Part 1)เข้าฉายปี 2009 แสดง Vincent Cassel, Cecile De France, Gerard Depardieu
Terminator Genisysเข้าฉายปี 2015 แสดง Emilia Clarke, Arnold Schwarzenegger, Jai Courtney