=[ ]=)!! 7 ปรสิตสยอง~!!

28 มิ.ย. 54 05:46 น. / ดู 3,531 ครั้ง / 46 ความเห็น / 0 ชอบจัง / แชร์
ปรสิตที่อาศัยในสิ่งมีชีวิตนั้นเป็นสิ่งที่ขยะแขยงต่อเรามาช้านาน ถูกสร้างเป็นหนัง การ์ตูนสยองมาก็เยอะ ส่วนเรื่องจริงเกี่ยวกับปรสิตนั้นก็น่ากลัวไม่แพ้ในหนังเลยแถมบางครั้งพวก มันยังทำร้ายหรือใช้ประโยชน์เหยื่อของมันทำตามสิ่งที่มันบงการอย่างน่ากลัว

อันดับที่ 7 The Guinea Worm







พบในอาฟริกา อินเดีย ปากีฯ ซาอุ เยเมน ติดต่อโดยตัวอ่อนของมันจะอยู่ใน water fleas ซึ่งเป็นสัตว์ตัวเล็กมากในน้ำ ถ้ามีคนกินน้ำดิบที่มีมันเข้าไป มันจะออกมาอยู่ที่ขา ตัวเมียอาจยาวถึง 1 เมตร พอมันจะวางไข่มันจะทำให้เกิดแผลที่ ขา ข้อเท้า หรือ เท้า
ซึ่ง จะปวดแสบปวดร้อนมากจนมันมีอีกชื่อว่า fiery serpent ทำให้ผู้ป่วยทนไม่ได้ต้องเอาเท้าไปแช่น้ำมันก็จะปล่อยไข่ออกมาสู่แหล่ง น้ำ วิธีการรักษาที่นิยมคือผ่าเอาออก หรือเมื่อมันโผล่ออกมาจากแผลเปิดให้เอาไม้เล็กๆ พันปลายของมันแล้วค่อยๆม้วนดึงออกมาทีละนิดไม่ให้ขาด อาจใช้เวลาตั้งแต่หลายวัน จนถึงหลายสัปดาห์กว่าจะดึงออกมากหมด
มีนักประวัติ ศาสตร์หลายคนสงสัยกันว่ารูปงูพันคบเพลิงที่เป็นสัญลักษณ์ทางการแพทย์
อาจ มีต้นกำเนิดมาจากวิธีรักษานี้ก็ได้ครับ





อันดับที่ 6 Cymothoa exigua





ถ้า พูดถึงพยาธิ สิ่งมีชีวิตที่พยาธิหรือปรสิตชอบอาศัยที่สุดคือปลา ซึ่งแบบสยดสยองน่าขยะแขยงที่สุดเราขอแนะนำเจ้า Cymothoa exigua

Cymothoa exigua เป็นสัตว์ทะเลเปลือกแข็ง อยู่ในตระกูลที่มีขาเป็นข้อหรือปล้อง (Class crustacea)อาศัยในอ่าวแคลิฟอร์เนียมันจะเข้าไปแกะในตัวปลาโดยอาศัย ทางเหงือกและชอบแกะลิ้นปลา Rose snapper (Lutjanus guttatus) จากภาพจะเห็นว่า พยาธิตัวนี้ไม่ได้เกาะอยู่เฉยๆนะแต่มันกำลังกินลิ้นและดูดเลือดปลาด้วย และเมื่อมันเติบโตแล้วมันอาจเคลื่อนที่ไปยังส่วนอื่นๆ ในร่างกายปลาเพื่อดูดเลือดเป็นที่พักของชีวิตมันต่อไป




อันดับที่ 5 horsehair worm




ปรสิตทุกชนิดมีการเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมเจ้าบ้าน (host) ด้วยวิธีต่างๆ เพื่อเพิ่มโอกาสให้วงจรชีวิตสมบูรณ์ การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการย้ายจากเจ้าบ้านหนึ่งไปยัง อีกเจ้าบ้านหนึ่ง เพื่อให้แน่ใจว่าตัวมันหรือลูกหลานของมันได้ไปยังสถานที่ที่เหมาะสมหรือ เพิ่มการมีชีวิตรอดต่อไป หนึ่งในปรสิตที่โด่งดังหรือมีการศึกษากันมากในวงการปรสิตวิทยาก็คือ พยาธิขนม้า (horsehair worm)

พยาธิขนม้ายังมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Gordian worm ชื่อทั้งสองมา จากลักษณะของมันที่มีลำตัวเล็กยาว และมักจะชอบขดม้วนเป็นเกลียวแน่นคล้ายกับเจ้าพวกพยาธิตัวกลม

พยาธิขนม้านั้นมักจะเข้าไปสิงอยู่ ในแมลงกลุ่มตั๊กแตน และจิ้งหรีด (Orthoptera) ขณะที่ยังเด็ก พวกมันยังต้องเข้าไปอาศัยภายในตัวของแมลงอยู่เฉยๆ (เนื่อง จากอิทธิฤทธิ์ยังไม่มากพอ) กระทั่งเมื่อโตเต็มที่แล้ว มันก็เริ่มปีกกล้าขาแข็ง ไม่ยอมอยู่ในร่างใคร ออกมาล่องลอยหาอาหาร และผสมพันธุ์สืบทอดลูกหลานต่อไปในแหล่งน้ำเช่น แม่น้ำ ห้วย หนอง คลอง บึง




วงจร ชีวิตของมันเริ่มจากไข่ที่วางไว้ตามวัชพืชข้างแหล่งน้ำ จากนั้นเจ้าบ้าน (host) ก็จะได้รับมันเข้าไป(ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม) ไข่จะเริ่มฟักเป็นตัวอ่อนที่มีขนาดเล็กมาก และขนาด ของมันจะเพิ่มเป็นหนอนที่ยาวกว่าเจ้าบ้านถึง 3-4 เท่า เลยทีเดียว เมื่อมันโตเต็มที่แล้ว มันก็จะเริ่มปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเจ้าบ้านที่แปลกออกไปนั่นคือการค้นหา แหล่งน้ำแล้วกระโดดตู้มลงไป หลังจากเจ้าบ้านจมน้ำตายแล้ว พยาธิตัวเต็มวัยนี้ก็จะค่อยๆ ออกมาแล้วไปหาคู่ครอง และผสมพันธุ์ออกไข่กันต่อไป





อันดับที่ 4 Filarial worm




หนอนพยาธิตัวกลมฟิลาเรีย มีลักษณะคล้ายเส้นด้ายอาศัยอยู่ในระบบน้ำเหลืองของคน โดยมียุงเป็นพาหะนำโรค ส่วนมากพบในเขตร้อนชื้น แถบเมดิเตอร์เรเนียน ในตุรกี และเอเชียตะวันออกเฉียง ใต้ ใน จีน ไต้หวัน เกาหลี ใต้ อินเดีย อินโดนีเซีย




พยาธินี้เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ เกิดโรคเท้าช้าง คือ ขา แขน หรืออวัยวะเพศบวมโตผิดปกติ เนื่องจากภาวะอุดตันของท่อน้ำเหลืองโดยจะเกิดการอุดกั้นหลอด น้ำเหลือง น้ำเหลืองเกิดการคั่งและทำให้ลำตัวส่วนล่าง รวมทั้งขาและอวัยวะเพศบวม โดยมีสาเหตุมาจากหนอนพยาธิขนาดเล็ก โดยจะมีเฉพาะหนอนพยาธิตัวเต็มวัยเท่านั้นที่อาศัยในระบบน้ำเหลืองของมนุษย์
เลขไอพี : ไม่แสดง

อ่านต่อ คุณอาจจะสนใจเนื้อหาเหล่านี้ (ความคิดเห็นกระทู้ อยู่ด้านล่าง)

ความคิดเห็น

#1 | สัปเหร่อ | 28 มิ.ย. 54 05:52 น.

อันดับที่ 3 Sacculina Carcini



Sacculina Carcini เป็นปรสิตพวกหอยเพรียงตระกูลหนึ่ง พบในทะเลทั่วไป โดยมีวงจรชีวิตสองช่วงคือเป็นตัวอ่อนว่ายน้ำได้นานสักสามสี่อาทิตย์ก่อนจะหา เหยื่อเกาะติดถวาร โดยเหยื่อของมันคือปูตัวผู้(เจาะจงด้วยว่าต้องตัว ผู้) เมื่อ Sacculina เกาะเหยื่อได้สำเร็จมันจะค่อยกระดืบตามแผ่นเกราะของปูจนถึงส่วน ข้อต่อเกราะกับเนื้อซึ่งอาจเป็นขาหรือตามลำตัว ระหว่างนี้ปูโชคร้ายก็พยายามปัดตัวอ่อนปรสิตออกอย่างบ้าคลั่งแต่ยากสำเร็จ พอเจ้า Sacculina ตัวเมียหาจุด เหมาะเจาะได้มันจะเจาะรูตรงเนื้อแล้วแทรกเข้าไปในตัวปู ไชลึกเข้าไปๆจนถึงส่วนท้อง ไม่ใช่เพื่อกิน...แต่เป็นจุดเริ่มต้นการยึดครองร่าง

Sacculina จะเริ่มเติบโตจนท้องปูตัวผู้บวมเป่ง เหมือนกำลังตั้งไข่ ขณะเดียวกันเพรียงร้ายจะแพร่เส้นใยคล้ายด้ายไปทั่วร่างเหยื่อเพื่อดูดซับ อาหารผ่านเลือด และปล่อยสารเคมีเปลี่ยนปูให้แปรเป็นซอมบี้อย่างช้าๆ




เมื่อ เสร็จ สิ้นกระบวนการสร้างผีดิบแล้ว ปูจะมีชีวิตอยู่เพื่อรับใช้ปรสิตเพียงอย่างเดียว มันจะเลิกสนใจผสมพันธุ์กับเพศตรงข้าม กิจวัตรประจำวันเหลือแค่กินและกินเพื่อป้อนพลังงานทั้งหมดให้กับปรสิตจนถึง ไม่เหลือสารอาหารพอให้มันเติบโต ลอกคราบ หรือสร้างก้ามใหม่ได้หากถูกตัดเหมือนปูทั่วไป ที่ใหญ่ขึ้นอย่างเดียวคือส่วนท้องปูซึ่งถูกขยับขยายให้พอสำหรับเลี้ยงตัว อ่อน Sacculina ได้

หลังจาก Sacuulina ตัวผู้ลอยน้ำมา ผสมกับปรสิตในร่างแล้ว พฤติกรรมของปู(แต่เดิมเพศผู้)จะเปลี่ยนเป็นเพศเมียโดยสิ้นเชิง มันจะช่วยปกป้องดูแลไข่ของปรสิตซึ่งฟักอยู่ใต้ท้องโดยใช้ก้ามขัดสาหร่ายหรือ ราที่มาเกาะไม่ต่างกับแม่ปูดูแลลูก พอตัวอ่อน Sacculina ฟักปูผีดิบก็จะใช้ก้ามช่วยพุ้ยน้ำส่งให้ปรสิตน้อยๆลอยไปแพร่เชื้อ ซอมบี้ให้เพื่อนร่วมพันธุ์ปูตัวอื่นๆอีกด้วย



อันดับที่ 2 Leucochloridium paradoxum




เจ้า หอยทากซอมบี้ที่ว่านี้ จริงๆ แล้วมันใช่หอยทากที่ตาย แล้วกลายเป็นผีดิบ แต่ที่เขาเรียกมันนั้นเพราะ พฤติกรรมของมันที่ถูกควบคุมโดยหนอนพยาธิชนิดหนึ่ง

เจ้าหนอนพยาธิที่ว่านี่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Leucochloridium paradoxum เป็นพวกพยาธิใบไม้ (fluke) จัดอยู่ในไฟลัมหนอนตัวแบน (Phylum Platyhelminthes) ไม่มีชื่อไทย โดยพยาธิชนิดนี้มีหอยอำพัน (amber snails) เป็นพาหะตัวกลาง (intermediate host) และ มีนกเป็นเจ้าบ้านถาวร (principle host)





วงจรชีวิตเริ่มจาก หอยอำพัน เป็นพาหะตัวกลาง กินมูลนกที่มีไข่พยาธิปนเป็นอาหาร พอเจ้าหอยทากได้รับไข่พยาธิเข้าไปในร่างกาย ไข่พยาธิจะฟักออกเป็นตัวอ่อนฃชอนไชเข้าสู่ระบบทางเดินอาหาร เพื่อเติบโตเข้าสู่ระยะเซอร์คาเรีย และเคลื่อนที่ไปอยู่ บริเวณหนวดคู่บนของหอยทาก ในระยะนี้เหล่าตัวอ่อนพยาธิจะอยู่ในปลอกหุ้มที่มีรูปร่างเป็นหลอดยาว และมีแถบวงสีที่สดใส ที่เรียกว่า สปอร์โรซิส (sporocyste) ปลอกหุ้มหนึ่งอันอาจจะมีตัวอ่อนพยาธิอยู่ตั้ง แต่สิบถึงหลายร้อยตัว ทำให้หอยไม่สามารถหดตัวเข้าไปในเปลือกได้ และเริ่มบงการหอยเจ้าบ้านให้ทำตามที่มันต้องการ

นั่นคือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของหอยทากก็ จากที่เคยอยู่ตามพื้นดินที่ชื้นแฉะ หรือใต้ใบไม้ กิ่งไม้แห้ง ฯ ลฯ เพื่อหลบ หลีกจากผู้ล่าที่จะจับมันกินเป็นอาหาร กลับกลายเป็นว่ามันจะออกไปสู่ที่โล่งแจ้ง และเริ่มปีนป่ายขึ้นต้นไม้ ไปอยู่ตามใบไม้หรือไม่ก็กิ่งไม้ที่เห็นตัวมันได้เด่นชัด ประมาณว่ายิ่งเด่นเท่าใดยิ่งดี พร้อมทั้งส่ายหนวดที่เหมือนกระบองของมันไปมาเป็นสีที่สดใส เช่น สีเขียว เหล่านี้รวมกับก้านตาที่บวมพองที่ส่ายไปมา ทำให้มองดูเหมือนกับตัวหนอน หลอกล่อให้นกคิดว่าเป็นตัวหนอนอ้วนกลมอันโอชะ และเข้ามาจิกกิน ถ้าโชคดีก็แค่หนวดขาด ซึ่ง สามารถงอกใหม่ได้ แต่ ถ้าโชคร้ายก็แค่ตายขอรับ เมื่อนกกินเจ้าสิ่งที่คิดว่าหนอนเข้าไป ตัวอ่อนพยาธิก็จะเข้าไปเจริญเติบโต และผสมพันธุ์วางไข่ในตัวนกต่อไป โดยไข่พยาธิจะออกมาพร้อมกับมูลที่นกปล่อยออกมา เมื่อมีหอยโชคร้ายมากินมูลนกที่มีไข่เข้าไป วงจรใหม่ก็จะเริ่มขึ้นต่อไป



อันดับที่ 1 The emerald jewel wasp




ดูปู หอยซอมบี้แล้วคราวนี้มาดูแมลงสาปซอมบี้บ้าง Emerald roach wasp เป็นต่อชนิดหนึ่งพบได้ในแถบ แอฟริกา อินเดีย และหมู่เกาะแปซิฟิก มีชื่ออีกชื่อคือ The emerald jewel wasp มันจะแสวงหาแมลงซักตัวเพื่อเป็นที่พักตัวอ่อนให้กับมัน โดยเหยื่อที่มันชอบคือแมลงสาบ ซึ่งมันก็จะเข้าไปโจมตีโดยการต่อยแล้วปล่อยสารพิษให้แมลงสาบส่งผลให้แมลงสาบ ไม่ตาย ไม่ได้เป็นอัมพาต แต่ไม่สามารถจะเดินได้ด้วยตัวเอง(ซึ่งต่างจากพิษของต่อชนิดอื่นที่จะทำให้ เป็นอัมพาต) จากนั้นพวกมันจะสามารถบังคับหนวด ของแมลงสาบให้เดินไปยังรังของมันได้ตามต้องการ(คล้ายจูงหมากลับ บ้าน ) เมื่อเข้ารังแล้วปล่อยไข่ไว้ในตัวมัน แล้วมันก็จะเด็ดกินหนวดของเหยื่อของมัน อ๊ะ! เหยื่อยังไม่ตายนะ จากนั้นมันก็จะฝังแมลงสาบไว้เพื่อเป็นอาหารให้ลูกมัน ซึ่งเมื่อลูกฟักจากไข่ก็จะเริ่มกินอาหารก็คือเนื้อแมลงสาบซึ่งขณะนั้นแมลง สาบไม่สามารถทำอะไรได้(แต่ดิ้นได้)ก็จะทรมานกับการถูกกินทั้งเป็น และเป็นอาหารจนตัวอ่อนโตขึ้น ซึ่งแมลงสาบก็จะเหลือแต่ซากแล้วล่ะ แล้วตัวเต็มวัยก็จะไปหาแหล่งผสมพันธุ์แล้วมาปล่อยไข่ไว้ต่อ



แต่เมื่อเร็วๆ นี้ ได้มีการตีพิมพ์ลงใน Journal of Experimental Biology ว่ามีการทดลองออกมาแล้ว พบว่า พิษของเจ้าตัวต่อ นั้นไปมีผล บล็อกการทำงานของสารสื่อประสาทที่ชื่อ Octopamine ซึ่ง เกี่ยวข้องกับ กลไกเคลื่อนไหวที่ซับซ้อน เช่น การเดิน พอมีการบล็อกเจ้าสารสื่อประสาทตัวนี้ ก็ทำให้ไม่สามารถ ?เริ่ม? การเดินได้ ซึ่งเมื่อฉีดสารที่ทำให้เกิดการบล็อก Octopamine ก็ จะทำให้แมลงสาบเกิดอาการเหมือนกับการโดนพิษของตัวต่อ และเมื่อฉีดสารกระตุ้น Octopamine ไปในแมลงสาบที่ถูกพิษของตัวต่อ แมลงสาบก็หายดี กลับมาเดินได้ดังเดิม เป็นการยืนยันผลการทดลอง

แก้ไขล่าสุด 28 มิ.ย. 54 05:54 | ไอพี: ไม่แสดง

#2 | `Impressionist (ไม่เป็นสมาชิก) | 28 มิ.ย. 54 06:35 น.

ไอพี: ไม่แสดง

#3 | ๐------------------๐ | 28 มิ.ย. 54 06:42 น.

สยอง 

ไอพี: ไม่แสดง

#4 | Annburtans | 28 มิ.ย. 54 07:10 น.

อันดับที่ 3 Sacculina Carcini เหมือนสวย ! แต่น่ากลัวมากก

ไอพี: ไม่แสดง

#5 | เสี่ยวคุง:3 | 28 มิ.ย. 54 08:07 น.

ไอพี: ไม่แสดง

#6 | -`นม. | 28 มิ.ย. 54 09:48 น.

อ๊ากกกกกก!!!!

ไอพี: ไม่แสดง

#7 | วรนุชพันธุ์ผสม|elf (ไม่เป็นสมาชิก) | 28 มิ.ย. 54 10:48 น.

อันดับ 7 แหยะ O[]O

ไอพี: ไม่แสดง

#8 | Seungkrit. | 28 มิ.ย. 54 11:21 น.

ดูรูปแล้วจะอ้วก - -

ไอพี: ไม่แสดง

#9 | .244486'[ณ]฿'ตกเบ็ด* | 28 มิ.ย. 54 12:55 น.

ไอพี: ไม่แสดง

#10 | หญิงปาร์ค | 28 มิ.ย. 54 15:40 น.

ขยะแขยง  ขนลุกเลยอ่ะ

ไอพี: ไม่แสดง

#11 | เซมารู__ช๊อคก้าา!!* | 28 มิ.ย. 54 15:54 น.


อ่านแล้วต้องระวังตัว x3 เลยทีเดียว

(ป.ล. เรากำลังกินลอดช่องอยู่ T T)

ไอพี: ไม่แสดง

#12 | อาร์เอวาย?`ยูสมี | 28 มิ.ย. 54 16:13 น.

แต่ละอย่าง 

ไอพี: ไม่แสดง

#13 | JesSiCa#KaI | 28 มิ.ย. 54 16:51 น.

อี๋ ขยะแขยงที่สุด รับไม่ได้

ไอพี: ไม่แสดง

#14 | ;Ruby<3 | 28 มิ.ย. 54 17:09 น.

ไม่อ่านอะไรทั้งสิ้น
รีบเลื่อนลงมาทันที

ไอพี: ไม่แสดง

#15 | soblanc. | 28 มิ.ย. 54 17:34 น.

ไอพี: ไม่แสดง

#16 | หลงเอส. | 28 มิ.ย. 54 18:03 น.

ไอพี: ไม่แสดง

#17 | AwkwardMonster`` | 28 มิ.ย. 54 18:07 น.

ไอพี: ไม่แสดง

#18 | pleurer | 28 มิ.ย. 54 18:08 น.

ไอพี: ไม่แสดง

#19 | `โคตรเซียน | 28 มิ.ย. 54 18:11 น.

ไอพี: ไม่แสดง

#20 | `;STRONG-. | 28 มิ.ย. 54 18:13 น.

อันดับเจ็ด ดึงซะ .. 

ไอพี: ไม่แสดง

#21 | ขุ่นพระ!!!!!!!!!!! | 28 มิ.ย. 54 18:30 น.

ไอพี: ไม่แสดง

#22 | Bark | 28 มิ.ย. 54 18:39 น.

ไอพี: ไม่แสดง

#23 | blizzardizt | 28 มิ.ย. 54 20:03 น.

ไอพี: ไม่แสดง

#24 | อั้มเอง. | 28 มิ.ย. 54 20:03 น.

ยี๋ 

ไอพี: ไม่แสดง

#25 | `amyys | 28 มิ.ย. 54 20:22 น.

กินข้าวไม่ลง 

ไอพี: ไม่แสดง

#26 | ''นารีขี้งอน''';~ | 28 มิ.ย. 54 20:24 น.

น่ากลัว ... น่ากลัวยังไง น่ากลัวเวลาที่มันมาอยู่ในตัวเรานี่แหละ 

ไอพี: ไม่แสดง

#27 | `d0Bule | 28 มิ.ย. 54 20:28 น.

ไอพี: ไม่แสดง

#28 | ล์ | 28 มิ.ย. 54 20:39 น.

แหยะ

ไอพี: ไม่แสดง

#29 | JTML_Addict | 28 มิ.ย. 54 20:58 น.

ไอพี: ไม่แสดง

#30 | XX.96sํ | 28 มิ.ย. 54 21:01 น.

อ้วก !

ไอพี: ไม่แสดง

#31 | alive.c | 28 มิ.ย. 54 21:01 น.

กรี๊ดดดดดดดดด .
ไม่กล้าดูนาน สยองมาก

ไอพี: ไม่แสดง

#32 | `(kaniptarin). | 28 มิ.ย. 54 21:02 น.

มันน่าขยะแขยง   

ไอพี: ไม่แสดง

#33 | -mumi | 28 มิ.ย. 54 21:08 น.

แปป เดี๋ยวพรุ่งนี้มาอ่าน 

ไอพี: ไม่แสดง

#34 | อลิซาเบ็ธ.ที่21 | 28 มิ.ย. 54 21:14 น.

จะ อ้วก อ่ะ 
เราว่า อันดับ 7 โคตะระ น่ากลัววว~

แก้ไขล่าสุด 28 มิ.ย. 54 21:15 | ไอพี: ไม่แสดง

#35 | จงทำดี. | 28 มิ.ย. 54 22:05 น.

โห่่ จะอ้วก

ไอพี: ไม่แสดง

#36 | :BSU | 28 มิ.ย. 54 22:52 น.

เห็นอับดับหกแล้วแหวะ - [] -

ไอพี: ไม่แสดง

#37 | -what.? | 28 มิ.ย. 54 23:16 น.

โอ้ TTT[]TTTT

ไอพี: ไม่แสดง

#38 | ข้าวเหนียวหมูปิ้ง | 29 มิ.ย. 54 09:11 น.

ไอพี: ไม่แสดง

#39 | ดึ๊กดึ๊ย'เอฟ๙/ (ไม่เป็นสมาชิก) | 29 มิ.ย. 54 15:23 น.

โฮกกกกกกกกก TT o TT

ไอพี: ไม่แสดง

#40 | `จิ๊กกี๋แฟม- (ไม่เป็นสมาชิก) | 29 มิ.ย. 54 19:31 น.

คือแบบ ..อี๋!

ไอพี: ไม่แสดง

#41 | ShineBright | 29 มิ.ย. 54 19:39 น.

นี่มันตัว ส้ น ตี น อะไรกันนี่ 


(ขออภัยสำหรับคำที่ไม่เหมาะสม แต่เพื่อความสมจริง)

ไอพี: ไม่แสดง

#42 | `@221436. | 29 มิ.ย. 54 21:04 น.

รูปแรกและรูปสุดท้าย 

ไอพี: ไม่แสดง

#43 | `ตะขบพบรัก.)' | 30 มิ.ย. 54 21:55 น.

เอ่อ หนูจะไดเอท

ไอพี: ไม่แสดง

#44 | หื่น.มี.อย. | 1 ก.ค. 54 16:30 น.

ขยะแขยง 

ไอพี: ไม่แสดง

#45 | *-G. | 1 ก.ค. 54 22:14 น.

like cm 41 

ไอพี: ไม่แสดง

#46 | -ROCKY- (ไม่เป็นสมาชิก) | 2 ม.ค. 55 10:09 น.

อันดับที่ 4 Filarial worm
อวัยวะเพศบวมโตผิดปกติ

ไอพี: ไม่แสดง

แสดงความคิดเห็น

จะต้องเป็นสมาชิกจึงจะแสดงความคิดเห็นได้
เป็นสมาชิกอยู่แล้ว ลงชื่อเข้าใช้ระบบ
ยังไม่ได้เป็นสมาชิก สมัครสมาชิกใหม่
หรือจะลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google หรือ Facebook ก็ได้
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Facebook
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google