ประวัติน้ำอบไทย

12 ก.พ. 55 16:25 น. / ดู 6,049 ครั้ง / 7 ความเห็น / 0 ชอบจัง / แชร์
ประวัติน้ำอบไทย


_________

    ในสังคมไทยสมัยโบราณ การใช้เครื่องหอมได้สอดแทรกอยู่ในประเพณีต่างๆ ควบคู่กับการดำเนินชีวิต เช่น ประเพณีการโกนผมไฟ พิธีสรงน้ำพระ การรดน้ำดำหัวในวันสงกรานต์ ตลอดถึงการรดน้ำศพ เครื่องหอมมีหลายชนิด เช่น น้ำอบ น้ำปรุง สีผึ้ง แป้งร่ำ ดินสอพอง ฯลฯ แต่ที่นิยมใช้กันมากที่สุดคือ น้ำอบ ใช้เป็นเครื่องประทินผิว หลักฐานการใช้น้ำอบไทยหรือเครื่องหอมแบบไทยมีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย และต่อเนื่องมาในสมัยอยุธยาตอนปลาย สมัยรัตนโกสินทร์ พระพุทธเลิศหล้านภาลัย (ร.2) ทรงโปรดปราณการใช้น้ำอบ น้ำปรุงมาก คงจะเป็นตัวอย่างที่ดีในการแสดงให้เห็นถึงความนิยมในการใช้เครื่องประทินผิว ของคนในสมัยนั้น ความนิยมต่างๆที่เกิดขึ้นในสังคมไทยสมัยก่อน มักจะออกมาจากในพระราชสำนัก สู่สามัญชน การใช้เครื่องหอมก็เช่นเดียวกัน

    “น้ำอบ” เป็นคำที่เรียกใช้เครื่องหอมที่เป็นน้ำ สมัยก่อน การทำน้ำอบจะใช้ดอกไม้สดที่มีกลิ่นหอม เช่น ดอกมะลิ ดอกแก้ว ดอกชมนาด ฯลฯ เนื้อไม้ ยางไม้ เช่น ผิวมะกรูด แก่นไม้จันทร์ เปลือกชลูด โดยนำมาอบ ร่ำ ในน้ำให้มีกลิ่นหอมเย็นเป็นธรรมชาติ ซึ่งการทำน้ำอบแบบนี้ เป็นการทำในปริมาณไม่มากนัก ทำใช้กันในครัวเรื่อน และจะทำใช้กันวันต่อวัน เพราะถ้าทิ้งไว้นาน กลิ่นของดอกไม้สดจะเปลี่ยน ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้มีการนำเอาหัวน้ำหอมจากต่างประเทศเข้ามาประยุกต์ใช้กับเครื่องหอมโบราณ ของไทย ทำให้เกิดลักษณะของการทำน้ำอบเป็น 2 อย่าง คือ น้ำอบไทย กับน้ำอบฝรั่ง ทำให้ค่านิยมของการใช้น้ำอบไทยลดลง

    “น้ำอบไทย” คือน้ำที่อบด้วยควันกำยาน หรือเทียนอบ (ทำจากผิวมะกรูด กำยาน น้ำตาลแดง ขี้ผึ้ง และจันทร์เทศ) และน้ำมาปรุงด้วยเครื่องหอม มีสักษระเป็น น้ำใสสีเหลืองอ่อนๆ ซึ่งมีความแตกต่างจากน้ำหอม หรือน้ำอบฝรั่ง ทั้งลักษณะของกลิ่นและขบวนการผลิต ปัจจุบันความนิยมของคนรุ่นใหม่ต่อน้ำอบไทยในลักษณะของเครื่องประทินผิวหรือ เครื่องสำอางลดน้อยลงมาก แต่น้ำอบไทยก็ยังเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นสำหรับสังคมไทย เพราะจะนำไปใช้ในพิธีกรรมต่างๆ เช่น งานมงคลสมรส งานสงกรานต์ งานขึ้นปีใหม่ สรงน้ำพระ การรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ และใช้ในงานศพ เป็นต้น ซึ่งการใช้น้ำอบไทยในงานประเพณีต่างๆ เป็นเครื่องแสดงถึงการสืบทอดวัฒนธรรมและเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของสังคมไทย


_________


    ความสดชื่นที่ได้รับจากเครื่องหอมไทยนี้ จะนับเป็นการบำบัดในแบบ Aroma Therapy ก็ไม่ผิดนัก และหากค้นหาไปถึงแหล่งที่มาของความหอมพบว่า เป็นกลิ่นที่ได้จากธรรมชาติแทบทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นดอกไม้ของไทยชนิดต่าง ๆ ได้แก่ กุหลาบ มะลิ ชำมะนาด กรรณิการ์ สารภี จันทร์กะพ้อ จำปา จำปี ราตรี ซ่อนกลิ่น ฯลฯ ซึ่งการนำความหอมออกมาจากดอกไม้มีหลายวิธีด้วยกัน เช่น การบีบอัด การต้ม การกลั่น เป็นต้น แต่ในการปรุงกลิ่นของเครื่องหอมไทยนั้น ส่วนใหญ่จะใช้การอบด้วยควันเทียน เพราะกลิ่นหอมที่ได้จะไม่ผิดเพี้ยนไปจากธรรมชาติมากนัก และยังมีกลิ่นหอมของควันเทียนเข้ามาผสมด้วย สร้างความหอมล้ำไปอีกแบบหนึ่ง



- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

--------->>>>>>>>>--------->>>>>>>>>--------->>>>>>>>>--------->>>>>>>>>ห น้ า ห ลั ก
แก้ไขล่าสุด 12 ก.พ. 55 20:05 | เลขไอพี : ไม่แสดง

อ่านต่อ คุณอาจจะสนใจเนื้อหาเหล่านี้ (ความคิดเห็นกระทู้ อยู่ด้านล่าง)

ความคิดเห็น

#1 | kwonholic | 12 ก.พ. 55 16:57 น.

ชอบกลิ่นอ่ะ หอม 

ไอพี: ไม่แสดง

#2 | *อากาศแม่เมาะ` | 12 ก.พ. 55 17:41 น.

ขอบคุณมากครับ
กำลังหาของไปทำงานพอดี

ไอพี: ไม่แสดง

#3 | IWon'tGiveUp | 12 ก.พ. 55 19:20 น.

แปะ ๆๆๆๆๆๆๆๆๆ   

ไอพี: ไม่แสดง

#4 | `(ต้นอ้อมิกกี้)[]? | 12 ก.พ. 55 23:23 น.

มิน่าเวลาได้กลินถึงสบายๆ 

ไอพี: ไม่แสดง

#5 | omega.guys | 13 ก.พ. 55 01:07 น.

เยี่ยม !!!!!!!!!

ไอพี: ไม่แสดง

#6 | @'กูติส? | 13 ก.พ. 55 18:01 น.

ขอบคุณทุกๆ คห เลยค่ะ

ไอพี: ไม่แสดง

#7 | cartargenamex | 29 ต.ค. 55 23:40 น.

ขอบคุณมากๆค่ะ เราชอบน้ำอบมากๆ >{}<
กำลังหาข้อมูลอยู่เลย เกิดสนใจขึ้นมา 55 

ไอพี: ไม่แสดง

แสดงความคิดเห็น

จะต้องเป็นสมาชิกจึงจะแสดงความคิดเห็นได้
เป็นสมาชิกอยู่แล้ว ลงชื่อเข้าใช้ระบบ
ยังไม่ได้เป็นสมาชิก สมัครสมาชิกใหม่
หรือจะลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google หรือ Facebook ก็ได้
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Facebook
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google