5

17 พ.ค. 55 15:09 น. / ดู 316 ครั้ง / 1 ความเห็น / 0 ชอบจัง / แชร์
✧ℬ.a.℘⁶

blahxblam@gmail.com
2tTG8ErH
แก้ไขล่าสุด 18 ก.ค. 56 15:30 | เลขไอพี : ไม่แสดง

อ่านต่อ คุณอาจจะสนใจเนื้อหาเหล่านี้ (ความคิดเห็นกระทู้ อยู่ด้านล่าง)

ความคิดเห็น

#1 | Lyla.* | 18 ก.ค. 56 11:34 น.

ชั้นที่ 1 : มีบริการต่าง ๆ ประกอบด้วย บริการยืม-คืนทรัพยากรสารสนเทศ (หนังสือ และวารสาร), บริการสอบถามข้อมูล และบริการ Wi-Fi
_________
ชั้นที่ 2 : หอเกียรติคุณ และ ห้องจัดนิทรรศการ
_________
ชั้นที่ 3 : มีบริการต่าง ๆ ดังนี้
- บริการพิมพ์เอกสาร ( ขาว-ดำ, สี)
- บริการยืม-คืนโสตทัศนวัสดุ
- บริการเครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับสืบค้นข้อมูลสารนิเทศ (OPAC)
- บริการเครื่องคอมพิวเตอร์พร้อม Internet
- บริการเครื่องคอมพิวเตอร์บริการวีดิทัศน์ตามประสงค์
- บริการเครื่องเล่นวีดิทัศน์ และเครื่องเล่นวีดิโอ
- บริการห้องวีดิทัศน์กลุ่มจำนวน 4 ห้อง ขนาดห้องละ 10 ที่นั่ง
- บริการเครื่องเล่นเทป
- บริการสอบถามข้อมูล
- หอประวัติมหาวิทยาลัยกรุงเทพ
- บริการ Wi-Fi ชั้นที่ 4 : มีบริการต่าง ๆ ดังนี้- บริการยืม-คืนทรัพยากรสารสนเทศ (หนังสือ และวารสาร)
- บริการเครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับสืบค้นข้อมูลสารนิเทศ (OPAC)
- บริการเครื่องคอมพิวเตอร์พร้อม Internet
- บริการห้องค้นคว้ากลุ่มขนาด 8-10 ที่นั่งจำนวน 10 ห้อง
- บริการห้องค้นคว้าเดี่ยวขนาด 1-2 ที่นั่งจำนวน 4 ห้อง (พร้อมเครื่องคอมพิวเตอร์)
- บริการหนังสือภาษาไทยและภาษาอังกฤษ หมวด A-N
- บริการวารสาร ทั้งฉบับล่าสุด, ฉบับล่วงเวลา, และฉบับเย็บเล่ม
- บริการนวนิยาย
- บริการหนังสือพิมพ์
- บริการสอบถามข้อมูล
- บริการถ่ายเอกสาร
- บริการ Wi-Fi

_________
ชั้นที่ 5 : มีบริการต่าง ๆ ดังนี้
- บริการยืม-คืนทรัพยากรสารสนเทศ (หนังสือ และวารสาร)
- บริการเครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับสืบค้นข้อมูลสารนิเทศ (OPAC)
- บริการเครื่องคอมพิวเตอร์พร้อม Internet
- บริการหนังสือภาษาไทยและภาษาอังกฤษ หมวด P-Z
- บริการหนังสืออ้างอิงภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
- บริการวิทยานิพนธ์
- บริการงานวิจัยของอาจารย์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
- บริการรายงานนักศึกษา
- บริการสอบถามข้อมูล
- บริการ Wi-Fi







ประวัติสำนักหอสมุด
สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เดิมมีชื่อเรียกว่า ห้องสมุดวิทยาลัยไทยเทคนิค เริ่มก่อตั้งขึ้นพร้อมกับการก่อตั้งวิทยาลัยไทยเทคนิคในปี พ.ศ. 2505 ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนชื่อเรียกสถาบันจากวิทยาลัยไทยเทคนิค เป็นวิทยาลัยกรุงเทพ ห้องสมุดจึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น แผนกห้องสมุดวิทยาลัยกรุงเทพ

ระยะแรกของการเปิดดำเนินการนั้น ห้องสมุดตั้งอยู่ ณ อาคาร 1 ชั้น 1 วิทยาเขตกล้วยน้ำไท มีเนื้อที่ประมาณ 3 ห้องเรียน เมื่อได้มีการขยายพื้นที่ตามจำนวนนักศึกษาและคณาจารย์ที่เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในปี พ.ศ. 2509 ห้องสมุดได้ย้ายที่ทำการมา ณ อาคาร 2 (อาคาร สวัสดิ์-ล้อม) และขยายเพิ่มอีกเป็นขนาด 4 ห้องเรียน

ปี พ.ศ. 2519 มีการต่อเติมอาคารสวัสดิ์-ล้อม ห้องสมุดได้ย้ายไปให้บริการเป็นการชั่วคราว ณ อาคาร 4 และได้ย้ายที่ทำการไปยังอาคาร 3 โดยใช้พื้นที่ชั้น 4 ตลอดชั้นเป็นที่ทำการของห้องสมุด และเมื่อการต่อเติมอาคารสวัสดิ์-ล้อม แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2521 ห้องสมุดจึงย้ายกลับมา ณ อาคาร 2 ตามเดิม โดยมีพื้นที่เพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 8 ห้องเรียน

ต่อมาปี พ.ศ. 2526 ห้องสมุดได้ยกฐานะเป็น แผนกห้องสมุด สังกัดฝ่ายวิชาการ

ปี พ.ศ. 2527 คณะกรรมการสถาบันอุดมศึกษาเอกชนมีมติให้วิทยาลัยกรุงเทพ เปลี่ยนสถานะเป็นมหาวิทยาลัยกรุงเทพ แผนกห้องสมุดจึงยกฐานะเป็น แผนกห้องสมุด มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

ปี พ.ศ. 2528 ห้องสมุดได้ยกฐานะจาก แผนกห้องสมุด เป็น สำนักหอสมุดกลาง โดยแบ่งงานภายในออกเป็น 2 แผนก คือ แผนกส่งเสริมและพัฒนา และแผนกบริการสารนิเทศ

ปี พ.ศ. 2529 มหาวิทยาลัยได้เปิดการเรียนการสอนที่วิทยาเขตรังสิต สำนักหอสมุดกลาง จึงได้ตั้ง แผนกห้องสมุดรังสิต โดยเปิดบริการที่บริเวณชั้น 2 อาคาร 1 อาคาร 2 และอาคาร 3 และย้ายสังกัดจากฝ่ายวิชาการ มาสังกัดสายวางแผนและพัฒนา

ปี พ.ศ. 2532 สำนักหอสมุดกลาง วิทยาเขตกล้วยน้ำไท ได้ย้ายจากอาคาร 2 มาที่อาคาร 5 ชั้น 2 และชั้น 3

ปี พ.ศ. 2533 ได้จัดตั้ง ห้องสมุดกฎหมายพระยามานวราชเสวี ขึ้น ณ วิทยาเขตกล้วยน้ำไท เพื่อเป็นแหล่งรวบรวมหนังสือหายากและผลงานที่มีคุณค่าทางด้านกฎหมาย ประมาณ 833 ชื่อ ซึ่งพระยามานวราชเสวีอดีตนายกสภามหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้มอบไว้ให้แก่สำนักหอสมุดกลาง เพื่อเก็บรักษาและให้บริการ และในปีเดียวกัน สำนักหอสมุดกลางได้เริ่มนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการบริหารจัดการด้วยระบบทำงานผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Local Area Network : LAN) เพื่อพัฒนาระบบทำงานของสำนักหอสมุดกลาง โดยพัฒนาระบบ OPAC (Online Public Access Catalog) เพื่อจัดการทรัพยากรสารสนเทศและนำมาให้บริการแทนระบบการค้นคว้าด้วยบัตรรายการ และมีการพัฒนาระบบฐานข้อมูลอย่างต่อเนื่องจนเป็นระบบ BU-Cat ในปัจจุบัน
ปี พ.ศ. 2535 สำนักหอสมุดกลางได้ย้ายที่ทำการมาตั้งที่ชั้น 2 อาคาร 5 มีพื้นที่ 3,996.80 ตารางเมตรมีที่นั่งอ่านหนังสือ 2,018 ที่นั่ง สำหรับให้บริการแก่นักศึกษาที่วิทยาเขตกล้วยน้ำไท และในต้นปี พ.ศ. 2536 สำนักหอสมุดกลาง วิทยาเขตกล้วยน้ำไท ได้ขยายพื้นที่เพิ่มขึ้นไปบนชั้น 3 อาคาร 5 โดยมีพื้นที่เพิ่มขึ้นอีกประมาณ 1,500 ตารางเมตร และมีที่นั่งอ่านหนังสือเพิ่มขึ้นอีกกว่า 1,000 ที่นั่ง รวมทั้งได้แบ่งงานออกเป็น 6 แผนก ได้แก่ แผนกส่งเสริมและพัฒนาทรัพยากร แผนกวิเคราะห์สารนิเทศ แผนกบริการสารนิเทศ แผนกห้องสมุดรังสิต แผนกบริการค้นคว้าและวิจัย และแผนกระบบสารสนเทศและเทคโนโลยี

ปี พ.ศ. 2538 สำนักหอสมุดกลางได้เริ่มเปลี่ยนแปลงระบบการจัดหมวดหมู่หนังสือจากเดิม ระบบทศนิยมของดิวอี้ (Dewey Decimal Classification) มาเป็นระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน (Library of Congress Classification)
ปี พ.ศ. 2543 ได้มีการย้ายแผนกระบบสารสนเทศและเทคโนโลยี ไปสังกัดศูนย์คอมพิวเตอร์ แต่ยังมีหน้าที่ดูแลระบบฐานข้อมูลของห้องสมุดเช่นเดิม สำนักหอสมุดกลางจึงมีหน่วยงานในสังกัด 5 แผนก และในปีเดียวกันนี้ มหาวิทยาลัยได้เริ่มทำการก่อสร้างอาคารหอสมุดสุรัตน์ โอสถานุเคราะห์ ณ วิทยาเขตรังสิต ภายใต้วัตถุประสงค์ที่ต้องการให้เป็นศูนย์บริการทางเทคโนโลยีการศึกษาและพัฒนาไปสู่การให้บริการห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Library) โดยปรับเปลี่ยนห้องสมุดมาเป็นศูนย์การเรียนรู้ การค้นคว้าและวิจัย (Learning and Research Center) และในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2544 แผนกห้องสมุดรังสิต ได้ทำการย้ายจากบริเวณ ชั้นที่ 2 ของอาคาร 1 อาคาร 2 และอาคาร 3 มาอยู่ ณ อาคารหอสมุดสุรัตน์ โอสถานุเคราะห์ วิทยาเขตรังสิต รวมถึง ผู้อำนวยการสำนักหอสมุดกลาง แผนกส่งเสริมและพัฒนาทรัพยากร และ แผนกวิเคราะห์สารนิเทศ ได้ย้ายจากวิทยาเขตกล้วยน้ำไท มาทำการที่อาคารหอสมุดสุรัตน์ โอสถานุเคราะห์ วิทยาเขตรังสิต
ปี พ.ศ. 2545 สำนักหอสมุดกลางเริ่มเปิดให้บริการ ณ อาคารหอสมุดสุรัตน์ ในวันที่ 16 มกราคม และต่อมาก็ได้มีการเปลี่ยนชื่อหน่วยงานจาก สำนักหอสมุดกลาง เป็น สำนักหอสมุด แผนกบริการสารนิเทศ เปลี่ยนชื่อเป็น แผนกบริการสารนิเทศกล้วยน้ำไท และ แผนกห้องสมุดรังสิต เปลี่ยนชื่อเป็น แผนกบริการสารนิเทศรังสิต สำหรับวิทยาเขตกล้วยน้ำไทยังคงให้บริการที่อาคาร 5 เช่นเดิม

อาคารหอสมุดสุรัตน์ โอสถานุเคราะห์ มีพื้นที่ทั้งสิ้น 23,600 ตารางเมตร เป็นอาคารประหยัดพลังงานและรักษาสิ่งแวดล้อม มีการนำอุปกรณ์เทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการควบคุมบริหารความปลอดภัย และได้รับการออกแบบโดยคำนึงถึงผู้พิการ เพื่อให้สามารถใช้บริการได้สะดวก ในส่วนของสำนักหอสมุดมีพื้นที่ 15,508 ตารางเมตร นอกจากนี้ยังเป็นที่ตั้งของ Cyber Center ที่พร้อมด้วยเทคโนโลยีและอุปกรณ์ที่ทันสมัย เพื่อให้บริการทางการศึกษาและรองรับความต้องการของคณาจารย์ นักศึกษา และเพื่อส่งเสริมการพัฒนาการเรียนการสอนผ่านระบบเครือข่าย (Education on Demand)

อาคารหอสมุดสุรัตน์ โอสถานุเคราะห์ เป็นที่ตั้งของ หอเกียรติคุณ (Hall of Recognition) โดยตั้งอยู่ชั้น 2 ซึ่งจัดตั้งขึ้นเพื่อรำลึกถึงบุคคลสำคัญและผู้มีพระคุณของมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้แก่ ผู้อุปถัมภ์ ผู้ก่อตั้ง อดีตนายกสภามหาวิทยาลัย นายกสภามหาวิทยาลัย อธิการบดีกิตติคุณก่อตั้ง อธิการบดีกิตติคุณ อธิการบดี และผู้มีอุปการคุณ อีกทั้งยังเป็นสถานที่รวบรวมของที่ระลึก ภาพถ่าย ภาพวาด รูปปั้นของบุคคลสำคัญ และบริเวณชั้น 3 เป็นที่ตั้งของหอประวัติมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ซึ่งจัดตั้งขึ้นเนื่องในโอกาสครบรอบ 40 ปี ในปี พ.ศ. 2545 เพื่อเป็นแหล่งรวบรวมและอนุรักษ์ทรัพยากร ของที่ระลึก สื่อความรู้และเอกสารต่าง ๆ ที่สามารถให้ข้อมูลในเรื่องที่มีคุณค่าเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และพัฒนาการของมหาวิทยาลัยกรุงเทพ

ในวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดอาคารหอสมุดสุรัตน์ โอสถานุเคราะห์ อย่างเป็นทางการ ซึ่งถือเป็นสิริมงคล อย่างยิ่ง และด้วยสถาปัตยกรรมและเทคโนโลยีที่ทันสมัย สำนักหอสมุดจึงได้รับความสนใจเข้าชมและศึกษาดูงานทั้งหน่วยงานจากภาครัฐและเอกชนอย่างต่อเนื่อง
ปี พ.ศ. 2547 อาคารหอสมุดสุรัตน์ โอสถานุเคราะห์ ได้รับรางวัลสถาปัตยกรรมดีเด่น จากสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งถือเป็นเกียรติอย่างยิ่งของมหาวิทยาลัย

ไอพี: ไม่แสดง

แสดงความคิดเห็น

จะต้องเป็นสมาชิกจึงจะแสดงความคิดเห็นได้
เป็นสมาชิกอยู่แล้ว ลงชื่อเข้าใช้ระบบ
ยังไม่ได้เป็นสมาชิก สมัครสมาชิกใหม่
หรือจะลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google หรือ Facebook ก็ได้
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Facebook
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google