แนะนำเทคนิคสำหรับอ่านหนังสือในวิชาคำนวณ

27 พ.ค. 55 16:10 น. / ดู 5,692 ครั้ง / 20 ความเห็น / 21 ชอบจัง / แชร์
สวัสดีครับ
ผมเคยเขียนลงในกระทู้ของผมเองและเคยคอมเม็นต์ในหลายๆกระทู้แล้วครับ แต่จะเป็นเพียงหลักการแบบคร่าวๆเท่านั้น กระทู้นี้ผมจึงเขียนเพื่อขยายความและลงรายละเอียดให้มากขึ้น
วิชาคำนวณ
โดยหลักการของวิชาคำนวณทั่วๆไปนั้นจะมีภาคเนื้อหาไม่มากนัก เนื้อหาส่วนใหญ่จะเป็นการพิสูจน์สูตรและนิยามรวมทั้งอธิบายทฤษฎีต่างๆไว้เพื่อให้ผู้อ่านได้ทำความเข้าใจ หลังจากนั้นจึงจะเป็นโจทย์ให้เราได้ลองทำ


หลักการของผมคือการทำความเข้าใจในทฤษฎีและนิยามต่างๆให้กระจ่างแจ้งครับ ซึ่งหนังสือแต่ละเล่มก็มีการอธิบายที่แตกต่างกัน โดยเรื่องนี้เราต้องลองอ่านและทำความเข้าใจเองครับ ซึ่งบางครั้งผมเองไม่สามารถที่จะอ่านให้เข้าใจได้ จึงต้องไปถามเพื่อนหรืออาจารย์ให้ช่วยอธิบาย จากนั้นเมื่อเข้าใจถึงหลักการต่างๆแล้ว ผมจะเริ่มลงมือทำโจทย์ โดยเริ่มจากโจทย์และแบบฝึกหัดที่มันง่ายๆก่อนแล้วค่อยๆเพิ่มความยากของโจทย์ให้มากขึ้นไปเรื่อยๆ


สำหรับเนื้อหาและหลักการที่สำคัญนั้น ผมจะอ่านให้เรียบร้อยก่อนสักรอบหนึ่ง ในขณะที่อ่าน หากพบว่าเป็นเนื้อหาหรือข้อความที่สำคัญผมจะทำการขีดเส้นใต้ด้วยปากกาสีแดงเอาไว้ ในการนี้ หลายๆคนอาจจะใช้ปากกาไฮไลท์ทำสีไว้ก็ได้ จากนั้นจึงเขียนสรุปเนื้อหาที่สำคัญลงในสมุดจดของผมด้วยภาษาที่ผมเข้าใจ ว่างเมื่อใดก็เอามาเปิดอ่านเล่นๆเพื่อเป็นการทบทวนและเตือนความจำ

สำหรับสูตรการคำนวณต่างๆนั้น ผมจะเขียนลงในกระดาษ Post-it แล้วแปะไว้ตามสถานที่ที่เราเดินผ่านบ่อยๆ เช่น ฝาผนังห้อง , หัวเตียง , โคมไฟ และประตูห้องหรือประตูตู้เสื้อผ้า เวลาผมจะเดินผ่าน ผมจะอ่านสูตรที่เขียนแปะไว้ก่อนสักรอบสองรอบเพื่อเป็นการเตือนความจำ การทำฝึกโจทย์ให้มากๆนั้นก็มีส่วนช่วยในการทำให้เราจำสูตรได้มากขึ้น เพราะถ้าเราทำโจทย์มากขึ้น เราก็จะยิ่งต้องใช้สูตรมากขึ้นตามไปด้วยเช่นกัน ดังนั้นจึงทำให้เราได้เห็นสูตรและจำสูตรได้ดีขึ้นด้วย นอกจากนั้นแล้ว ผมยังจดสูตรการคำนวณต่างๆเอาไว้ในสมุดสรุปสูตรของผมเองด้วย เวลาผมเดินทางไปไหนก็สามารถพกติดตัวและนำมาเปิดอ่านได้เสมอ ดังนั้นสูตรต่างๆจะผ่านสายตาผมบ่อยมากและช่วยให้ผมจำสูตรได้ดีด้วย

ช่วงเวลาที่ใช้อ่านหนังสือ
ผมไม่ค่อยเน้นเรื่องช่วงเวลาสักเท่าไหร่ เพราะผมเป็นคนที่อ่านหนังสือได้แทบทุกสถานที่และแทบทุกช่วงเวลา แม้กระทั่งบนรถเมล์ผมก็ยืนอ่านได้ แต่การที่จะทำเช่นนี้ได้นั้นต้องอาศัยสมาธิและความอดทนมากพอสมควร ต้องคอยฝึกฝนกับสถานที่ต่างๆอยู่เสมอแต่ถ้าจะให้ดีควรเลือกสถานที่ที่เงียบสงบและมีอากาศถ่ายเทได้สะดวก แสงพอเหมาะ และที่สำคัญคือต้องมีสมาธิจดจ่อกับการอ่านหนังสืออย่างเต็มที่ครับ


วิชาคณิตศาสตร์เป็นวิชาคำนวณที่ไม่พลิกแพลงมากนักถ้าเทียบกับวิชาคำนวณอื่นๆ เพราะส่วนมากแล้วคณิตศาสตร์จะเน้นไปที่เรื่องของนิยาม แต่คณิตศาสตร์เป็นวิชาที่ลึกล้ำมาก เป็นพื้นฐานของวิชาคำนวณทุกวิชา ดังนั้นการจะทำความเข้าใจนิยามต่างๆต้องอาศัยการอธิบายจากอาจารย์หรือผู้ที่มีความรู้ทางด้านนี้ การที่จะอ่านหนังสืออย่างเดียวแล้วเข้าใจนั้นเป็นเรื่องที่แทบจะเป็นไปไม่ได้เลยครับ หากมีพื้นฐานคณิตศาสตร์ที่ดีแล้ว การจะอ่านหนังสือวิชาคำนวณอื่นๆนั้นจะเข้าใจได้ง่ายมากยิ่งขึ้น
หนังสือคณิตศาสตร์ที่แนะนำ
-อ.สมัย เหล่าวานิชย์
-อ.สุชิน ทำมาหากิน
- Textbook ของ Hall


วิชาฟิสิกส์ สำหรับผมแล้ว ฟิสิกส์เป็นคู่อริกับผมมาโดยตลอด เพราะมันมีการประยุกต์ใช้เยอะมากแถมโจทย์ก็ชอบพลิกแพลงไปตามสถานการณ์ต่างๆมากมาย เนื้อหาวิชาฟิสิกส์นั้นจะเป็นสิ่งที่อยู่รอบตัวเราและมักจะเป็นทฤษฎีที่ง่ายๆ เข้าใจได้ไม่ยาก แต่ที่ยากคือโจทย์ เพราะวิชานี้ค่อนข้างมีเงื่อนไขเยอะ  อย่างไรก็ตาม การฝึกทำโจทย์เยอะๆนั้นจะทำให้เราได้เจอกับวิธีการแก้โจทย์ได้มากยิ่งขึ้นครับ
หนังสือฟิสิกส์ที่แนะนำ
-อ.ช่วง และ อ.เผ่า ณ แอพพลายด์
-อ.อติชาต บ้วนกียาพันธุ์
-Textbook ของ Young & Freedman
-Textbook ของ Pearson
-Textbook ของ Survey
-Textbook ของ Irodov


วิชาเคมี ไม่ค่อยประยุกต์มากเท่าวิชาฟิสิกส์ แต่เนื้อหาวิชานี้จะอยู่ในระดับเล็กมากจนกระทั่งเราไม่ค่อยได้ใส่ใจกับมัน (ระดับโมเลกุล) ดังนั้น การที่จะเริ่มต้นอ่านวิชานี้อาจจะยากเพราะเราอาจจะไม่เคยชินกับสิ่งเหล่านี้ ดังนั้นอาจจะต้องอาศัยการอธิบายจากอาจารย์เพื่อทำให้เราเข้าใจในเนื้อหามากยิ่งขึ้น สำหรับในภาคคำนวณของวิชาเคมีนั้นจะมีเนื้อหาไม่เยอะมากนัก และสามารถทำความเข้าใจได้ง่ายตามกฎและทฤษฎีบทต่างๆอยู่แล้ว เงื่อนไขไม่จุกจิกมากนัก ดังนั้นหากฝึกทำโจทย์ให้เยอะๆแล้ว วิชานี้จะไม่ยากอีกต่อไป
หนังสือเคมีที่แนะนำ
- อ.สุทัศน์ ไตรสถิตวร
- อ.ชัยวัฒน์ เจนวาณิชย์
- คณาจารย์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- Textbook ของ Raymond Chang




สิ่งสำคัญในวิชาคำนวณคือการทำโจทย์ให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ ขอเน้นเลยนะครับว่า"ต้องทำโจทย์ให้เยอะที่สุด" อย่าเพิ่งคิดว่าการที่คุณทำการบ้านได้ด้วยตนเองจะเพียงพอทำให้คุณทำข้อสอบได้นั้น ไม่มีทางแน่นอนครับ ยิ่งถ้าเกิดคุณไปเจอสนามสอบระดับประเทศเช่นสอบเข้าเตรียมอุดม , มหิดลวิทยานุสรณ์,เอนทรานซ์,แอดมิชชั่นหรือสอบตรงต่างๆแล้วนั้น การบ้านที่คุณทำจะเป็นเพียงเศษเสี้ยวเล็กๆของข้อสอบเหล่านั้นครับ ดังนั้นแล้ว คุณต้องขวนขวายทำโจทย์จากหนังสืออื่นๆให้มากที่สุด
ยิ่งคุณซ้อมทำโจทย์ได้เยอะมากเท่าไหร่ คุณก็ยิ่งทำข้อสอบได้เยอะมากเท่านั้นครับ

ด้วยเทคนิคการอ่านหนังสือทั้งหมดที่กล่าวมานั้น ทำให้ผมสามารถทำข้อสอบวิชาคำนวณทั้งในระดับโรงเรียนและสอบแข่งขันนอกโรงเรียนได้ผลเป็นที่น่าพอใจ
แม้กระทั่งตอนที่ผมสอบเอนทรานซ์ คะแนนที่ออกมาทำให้ผมรู้สึกดีใจกับผลที่ได้รับและรู้สึกว่าคุ้มค่ามากกับความทุ่มเทและความพยายามทั้งหมดที่ผ่านมา

หวังว่ากระทู้นี้จะพอมีส่วนดีอยู่บ้าง

ด้วยความปรารถนาดี

spit_it_out

ปล.สำหรับวิชาท่องจำ+เนื้อหาเยอะๆ ผมจะขอยกไปเขียนในสัปดาห์ต่อไปครับ

คลังกระทู้ของผม

Review ร้านหนังสือสำหรับซื้อหนังสือและตำราเรียน<<<


How to ทำอย่างไร ให้ได้ CU Tep เกิน 100<<<


10 อันดับโรงเรียนที่มีผู้หญิงหน้าตาดีที่สุด(ขวัญใจหนุ่มๆ)<<<


How to ทำอย่างไรจึงจะพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษทั้ง 4 ทักษะ(ฟัง พูด อ่าน เขียน)<<<


How to...เรียนม.ปลายอย่างไร ให้ได้ 4.00<<<


แนะนำหนังสือสำหรับใช้อ่านในระดับม.ปลาย สายวิทย์-คณิตฯ<<<


แนะนำสำหรับคนที่อยากเข้ามหิดลวิทยานุสรณ์<<<
เลขไอพี : ไม่แสดง

อ่านต่อ คุณอาจจะสนใจเนื้อหาเหล่านี้ (ความคิดเห็นกระทู้ อยู่ด้านล่าง)

ความคิดเห็น

#1 | yeahhh | 27 พ.ค. 55 16:17 น.

มันยาวไปหน่อย แต่ก็ช่วยได้คร้า ขอบคุณมากนะคะ 

ไอพี: ไม่แสดง

#2 | ศรีทนได้ค่ะ (ไม่เป็นสมาชิก) | 27 พ.ค. 55 16:25 น.

ใช่ ต้องทำโจทย์ ทำโจทย์และทำโจทย์ Y_____Y
ขอบคุณมากค่า 5555555

ไอพี: ไม่แสดง

ขอบคุณมากๆ ครับจขกท. ผมโง่คำนวณมาก ไม่ว่าจะคณิต วิทย์ ฟิสิกส์ เคมี อะไรก็ตามที่เป็นคำนวณน่ะ ไม่เคยเข้าใจมันเลย ขอบคุณมากจริงๆ ครับ

ไอพี: ไม่แสดง

#4 | .bhyundredx | 27 พ.ค. 55 17:30 น.

ขอบคุณมากค่ะ จะลองเอาแนวพี่ไปประยุกต์ใช้นะคะ 

ไอพี: ไม่แสดง

#5 | `Qchํanniิ. | 27 พ.ค. 55 18:06 น.

ขอบคุณมากนะคะ 

ไอพี: ไม่แสดง

#6 | ``iSTORNG | 27 พ.ค. 55 18:52 น.

ขอบคุณมากเลยนะค่ะ ^/\^

ไอพี: ไม่แสดง

ขอบคุณมากค่ะ

ไอพี: ไม่แสดง

#8 | pixiedust | 27 พ.ค. 55 20:25 น.

เจ๋ง

ไอพี: ไม่แสดง

#10 | น่ารัก_นักเรียน | 2 มิ.ย. 55 17:15 น.

เราก็อยากเก่งคำนวณอ่ะ ขอบคุณ จขกท.นะ

ไอพี: ไม่แสดง

#11 | `(kriswu.) | 3 มิ.ย. 55 19:17 น.

แปแปะ ขอบคุณมากค่ะ

ไอพี: ไม่แสดง

#12 | Thannn. | 3 มิ.ย. 55 20:07 น.

แปะเลยยย ขอบคุณค่าาา 

ไอพี: ไม่แสดง

#13 | `alwaysexopn. | 3 มิ.ย. 55 20:38 น.

แปะเลย ขอบคุณคร้าบบบบบ

แปะเลย ขอบคุณคร้าบบบบบ

ไอพี: ไม่แสดง

#14 | -คนข้างคุณ- | 3 มิ.ย. 55 21:23 น.

ขอบคุณมากมายค่า

ไอพี: ไม่แสดง

#15 | เขียว_เคโระ[กดกี้]* | 3 มิ.ย. 55 23:12 น.

ขอบคุณคุ่ะ

ไอพี: ไม่แสดง

#16 | `คิมคิบอมคิมทงเฮ | 13 ก.ค. 55 18:35 น.

ขอบคุณนะค่ะ 

ไอพี: ไม่แสดง

#17 | ssssss' | 11 ธ.ค. 55 20:50 น.

ขอบคุณมากเลยครับพี่เจ (:

ไอพี: ไม่แสดง

#18 | beิaut้yful์ | 30 ธ.ค. 55 00:12 น.

ขอบคุณนะครับ

ไอพี: ไม่แสดง

#19 | (บาบิโลน'$) | 7 ม.ค. 56 21:27 น.

สุดยอดดด

ไอพี: ไม่แสดง

#20 | `อุ๊ต๊ะ!!!. | 15 เม.ย. 56 13:16 น.

อ.สุชิน ทำมาหากิน

ชื่อเก๋จังเลยค่ะอาจารย์

ไอพี: ไม่แสดง

แสดงความคิดเห็น

จะต้องเป็นสมาชิกจึงจะแสดงความคิดเห็นได้
เป็นสมาชิกอยู่แล้ว ลงชื่อเข้าใช้ระบบ
ยังไม่ได้เป็นสมาชิก สมัครสมาชิกใหม่
หรือจะลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google หรือ Facebook ก็ได้
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Facebook
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google