การวาดเส้นงานออกแบบทัศนียภาพ

Is*mine
ไม่เป็นสมาชิก
9 พ.ย. 55 21:24 น. / ดู 11,664 ครั้ง / 2 ความเห็น / 1 ชอบจัง / แชร์
หลักการของภาพทัศนียภาพ เป็นภาพที่ให้ความรู้สึกเป็น 3 มิติ คือ มีลักษณะของความเหมือนใกล้เคียงกับภาพที่คนเราเห็นภาพต่าง ๆ โดยทั่วไป เช่น ถ้าไปยืนอยู่กลางถนน แล้วมองไปไกลข้างหน้า เราจะเห็นถนนจะค่อยเล็กลง เสาไฟฟ้าก็สั้นเล็กลง ถ้ามีต้นไม้เป็นทิวข้างทางก็จะ เตี้ยลง แล้วก็จะวิ่งไปรวมกันที่จุดสุดสายตา หรือถ้าใครอยู่ใกล้เส้นทางรถไฟก็จะเห็นได้ชัดเจน รางรถไฟจะไปรวมกันที่จุดจุดเดียว ไม้หมอนที่นอนขวางรับรางเหล็กก็จะสั้นเข้า และรวมกันที่ จุดรวมสายตา ซึ่งพอจะสรุปลักษณะของภาพ PERSPECTIVE ได้ดังนี้
1. วัตถุ หรือสิ่งของที่มีขนาดเท่ากันเมื่อยู่ไกลตัวออกไปจะมีขนาดเล็กลง
2. ระยะที่เท่ากันเมื่ออยู่ไกลตัวออกไปจะมีระยะที่ถี่ขึ้นเรื่อย ๆ จนรวมเป็นจุดเดียวกัน
3. เส้น หรือสิ่งของที่คู่ขนานกันเมื่อไกลออกไปจะพุ่งเข้าหากัน
4. วัตถุ หรือสิ่งของต่าง ๆ เมื่ออยู่ไกลตัวออกไป จะมีรายละเอียดและความชัดเจนลดลงไปตามลำดับ


ภาพที่ 4.1 ภาพจุดรวมสายตา
(แสดงให้เห็นถึงการไปรวมของจุดรวมสายตา ถ้าไปยืนอยู่กลางรางรถไฟมองไกลออกไป เส้นของรางรถไฟที่ขนานกันจะเล็กลงและไปรวมอยู่เป็นจุดเดียว)



ภาพที่ 4.2 ภาพเส้นระดับสายตา
(แสดงโครงสร้างของภาพที่ประกอบด้วยเส้นระดับสายตา (Horizon Line) และจุดรวมสายตา (Vanishing point))



ภาพที่ 4.3 ภาพตำแหน่งการมองด้านข้าง
(แสดงให้เห็นตำแหน่งการมองด้านข้างของรางรถไฟ จะเห็นว่าในความเป็นจริงของทุกอย่างที่มีขนาดเท่ากันก็จะไปรวมอยู่จุดเดียวกัน)



ภาพที่ 4.4 ภาพเส้นตำแหน่งที่ไม่ใช่อยู่ตำแหน่งกลาง
(แสดงโครงสร้างของการมองของภาพในตำแหน่งที่ไม่ใช่อยู่ตำแหน่งกลางของภาพที่มอง)

หลักการของการวาดภาพ PERSPECTIVE
หลักการพื้นฐานของภาพ PERSPECTIVE จะประกอบด้วย องค์ประกอบหลัก 2 ส่วนที่สำคัญ ที่กำหนดในการลากเส้น คือ
1.เส้นระดับสายตา หรือที่เรียกว่า Horizon Line ใช้ตัวย่อ HL เป็นเส้นระดับแนวนอน หรือแนวระดับน้ำ จะขึ้น-ลง สูง-ต่ำ อยู่ในระดับสายตา ซึ่งจะเป็นเส้นที่สำคัญในการกำหนดของการมองวัตถุหรือ สิ่งก่อสร้างทั้งหมด
2.จุดรวมสายตาหรือเรียกว่า Vanishing point ใช้ตัวย่อ VP จะเป็นจุดรวมสายตาที่อยู่ในเส้นระดับสายตา เป็นตำแหน่งที่ลากเส้นสิ่งของต่างๆ ไปรวมกัน มีตั้งแต่ 1 จุดขึ้นไป แล้วแต่ตำแหน่งของวัตถุที่จัดวาง หรือ ต้องการวาดให้มีความหลากหลายซับซ้อน



ภาพที่ 4.5 ภาพเส้นที่มีจุดรวมสายตา 1 จุด
(แสดงภาพ PERSPECTIVE ที่มีจุดรวมสายตา 1 จุด)



ภาพที่ 4.6 ภาพเส้นที่มีจุดรวมสายตา 2 จุด
(แสดงภาพ PERSPECTIVE ที่มีจุดรวมสายตา 2 จุด)



ภาพที่ 4.7 ภาพเส้นที่มีจุดรวมสายตา 3 จุด
(แสดงภาพ PERSPECTIVE ที่มีจุดรวมสายตา 3 จุด อยู่ในลักษณะของการมองจากล่างขึ้นบน)



ภาพที่ 4.8 ภาพเส้นที่มีจุดรวมสายตา 3 จุด ลักษณะของการมองจากบนลงล่าง
(แสดงภาพPERSPECTIVE ที่มีจุดรวมสายตา 3 จุด อยู่ในลักษณะของการมองจากบนลงล่าง)

ภาพ PERSPECTIVE ที่มีจุดรวมสายตา 3 จุด จะให้ความรู้สึกของสิ่งก่อสร้าง สูงชะรูด หรือ ต่ำลึก ลงไป ใช้กับงานเขียนภาพในงานออกแบบทางสถาปัตยกรรมเป็นส่วนใหญ่ จุดรวมสายตาที่ 3 ตำแหน่งจะอยู่ในแกนของแนวดิ่ง จะต่ำ หรือ สูงกว่าเส้นระดับสายตาก็ได้



ภาพที่ 4.9 ภาพมองตัวอาคารในระดับสายตา เป็นมุมมองที่ปกติทั่วไป
ที่มา (Grice, 1993, pp. 16)



ภาพที่ 4.10 ภาพมอง 1 จุด ที่มองตัวอาคารในระดับสายตา เป็นมุมมองที่ปกติทั่วไป
ที่มา (Grice, 1993, pp. 98)



ภาพที่ 4.11 ภาพที่อยู่ในระดับสายตา VP 1 จุด
(แสดงโครงสร้างมุมมองของภาพ PERSPECTIVE ที่อยู่ในระดับสายตา VP 1 จุด)



ภาพที่ 4.12 ภาพมุมมอง Bird eyes view คือ มองจากที่สูงลงที่ต่ำคล้ายกับนกบินแล้วมองลงมาเห็นครอบคลุมตัวอาคารทั้งหมด
ที่มา (Grice, 1993, pp.115)



ภาพที่ 4.13 ภาพ VP 2 จุด ที่มองจากที่สูงลงที่ต่ำ
(แสดงโครงสร้างมุมมองของภาพ PERSPECTIVE VP 2 จุด ที่มองจากที่สูงลงที่ต่ำ)



ภาพที่ 4.14 ภาพอาคารสูงในลักษณะของการมองแหงนขึ้น เรียกว่า WORM S EYES VIEW
ที่มา (Grice, 1993, pp.17)



ภาพที่ 4.15 ภาพ VP 2 จุด ที่มองสูงขึ้นไป
(แสดงโครงสร้างและมุมมองของภาพ PERSPECTIVE VP 2 จุด ที่มองสูงขึ้นไป)

การวาดเส้นให้มุมมองของอาคารโดดเด่น สูงสง่า ก็ใช้มุมมองจากล่างขึ้นบน คือ Worm Eyes View เพราะจะได้ภาพสิ่งก่อสร้างที่ดึงดูดความสนใจได้ดี และ ใกล้เคียงกับความเป็นจริงที่คนยืนแหงนหน้ามองตึกสูงเมื่อสร้างเสร็จแล้ว

การเขียนภาพ PERSPECTIVE ในงานตกแต่งภายใน
งานตกแต่งภายใน การกำหนดตำแหน่งจุดรวมสายตามีความสำคัญ ที่ช่วยกำหนดมุมมองในการวาดภาพ PERSPECTIVE การร่างเค้าโครงของภาพ โดยการเลือกจุดรวมสายตา จึงต้องทำความเข้าใจให้ได้ทุกมุมมอง เพื่อว่าจะได้ภาพที่ต้องการแสดงถึงการจัดวางเฟอร์นิเจอร์ซึ่งมีรูปแบบที่หลากหลาย และ งานตกแต่งได้ครอบคลุม มีมุมมองที่สวยงามดึงดูดความสนใจ
การจัดมุมมองของการตกแต่งภายใน จะมีตัวเลือกมาก และ มีความแตกต่างในการจัดภาพซึ่งมีผลในการจัดวางองค์ประกอบต่างๆ การทำความเข้าใจโครงสร้างเพื่อการร่างภาพจึงมีความสำคัญ ในการถ่ายทอดว่าจะให้ผู้ดู เข้าใจ หรือ รับรู้ คล้อยตามตามแนวความคิดสร้างสรรค์ได้มากน้อยเพียงใด

โครงสร้างในการจัดภาพ PERSPECTIVE
การถ่ายทอดภาพ PERSPECTIVE ในงานตกแต่งภายใน ก็เป็นการสร้างภาพเหมือนจริงขึ้นมาดูก่อนให้เห็นการจัดวาง ความสวยงามของการตกแต่ง ดังนั้นจึงต้องมีของเขต หรือกรอบในการทำงานซึ่งจะเป็นพื้นที่ของแผ่นกระดาษซึ่งเป็นตัวจำกัดมุมมอง ดังนั้นการมองในกรอบ โดยมี จุดรวมสายตา เป็นจุดกำหนดก็จะทำให้ทราบพื้นที่มาก หรือน้อยของแต่ละด้านได้เป็นอย่างดี ซึ่งมีด้วยกัน 5 ด้าน ใหญ่ด้วยกัน คือ
1. ด้านหน้า เป็นผนังห้องด้านหน้า หรือเป็นพื้นหลัง
2. ด้านข้างซ้าย ซึ่ง อาจเป็นผนังห้องด้านซ้ายมือ
3. ด้านข้างขวา ซึ่งอาจเป็นผนังห้องด้านขวามือ
4. ด้านบน ซึ่งอาจเป็นเพดานของห้อง
5. ด้านล่าง ซึ่งอาจเป็นพื้นของห้อง

รูปแบบต่าง ๆ ของมุมมอง โดยกำหนดจากกรอบสี่เหลี่ยมซึ่งเป็นโครงสร้างของภาพ

http://www.bspwit.ac.th/LINK%20PAGE.........GE/image032.jpg

ภาพที่ 4.16 ภาพมุมมองจุดรวมสายตา หรือการมอง ที่ระดับสายตาอยู่จุดกึ่งกลางของห้อง
(แสดงการจัดภาพที่จุดรวมสายตา หรือ การมอง ที่ระดับสายตาอยู่จุดกึ่งกลางของห้องจะเห็น ผนังซ้าย ขวา เพดาน และ พื้น มีพื้นที่เท่ากัน ในการถ่ายทอด)

http://www.bspwit.ac.th/LINK%20PAGE.........GE/image034.jpg

ภาพที่ 4.17 ภาพมุมมองที่จุดรวมสายตาอยู่ชิดกรอบภาพด้านบน
(แสดงการจัดภาพที่จุดรวมสายตาอยู่ชิดกรอบภาพด้านบน ดังนั้นการเห็นพื้นที่เพดานจะน้อยพื้นที่ผนังซ้าย-ขวา เท่ากัน ส่วนพื้นที่พื้นจะเห็นมาก โครงสร้างลักษณะนี้เหมาะสำหรับการถ่ายทอดให้เห็นการจัดวางในลักษณะที่สูงมองลงที่ต่ำครอบคลุมเฟอร์นิเจอร์ต่าง ๆ ได้มาก)

http://www.bspwit.ac.th/LINK%20PAGE.........GE/image036.jpg

ภาพที่ 4.18 ภาพมุมมองที่จุดรวมสายตาอยู่ชิดกรอบภาพด้านล่าง
(แสดงการจัดภาพที่จุดรวมสายตาอยู่ชิดกรอบภาพด้านล่าง ลักษณะภาพจะเห็นส่วนบนหรือเพดานได้มาก เหมาะแก่การวาดภาพในลักษณะการตกแต่งส่วนของเพดาน)

:; http://www.bspwit.ac.th/LINK%20PAGE.........20UNIT-04-1.php
แก้ไขล่าสุด 9 พ.ย. 55 22:19 | เลขไอพี : 113.53.123.6

อ่านต่อ คุณอาจจะสนใจเนื้อหาเหล่านี้ (ความคิดเห็นกระทู้ อยู่ด้านล่าง)

ความคิดเห็น

#1 | -LittleGill | 10 พ.ย. 55 20:04 น.

ไอพี: ไม่แสดง

#2 | B2UNi | 10 พ.ย. 55 21:34 น.

ขอบคุณมากกก

ไอพี: ไม่แสดง

แสดงความคิดเห็น

จะต้องเป็นสมาชิกจึงจะแสดงความคิดเห็นได้
เป็นสมาชิกอยู่แล้ว ลงชื่อเข้าใช้ระบบ
ยังไม่ได้เป็นสมาชิก สมัครสมาชิกใหม่
หรือจะลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google หรือ Facebook ก็ได้
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Facebook
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google