~Hi~เคยสงสัยไหมว่า"มด"นอนกันอย่างไร

12 พ.ย. 55 21:42 น. / ดู 7,992 ครั้ง / 3 ความเห็น / 3 ชอบจัง / แชร์

กองทัพมดทำงานตลอดวันตลอดคืนไม่หลับไม่นอนหรือไม่ นักวิทยาศาสตร์พบว่ามดก็นอนเป็นเหมือนกัน?
จากการศึกษาพบว่ามดราชินีจะนอนยาวกว่ามดงาน ซึ่งจะงีบหลับเป็นระยะเวลาที่สั้นมากๆในแต่ละวัน พวกมันไม่ได้นอนครั้งละนานๆเหมือนมนุษย์เรา แต่หลับเป็นห้วงสั้นๆ และเมื่อรวมเวลาที่หลับเป็นช่วงๆทั้งหมดแล้ว เราก็จะเห็นภาพรวมของมดที่ต้องนอนหลับขึ้นมาได้

มดราชินีนอนได้รวมกันแล้วโดยเฉลี่ย 9 ชั่วโมงต่อวันในขณะที่มดงานจะนอนน้อยกว่ามดราชินีถึงครึ่งหนึ่ง โดยนอนเป็นช่วงสั้นๆ แต่งีบหลับเป็นร้อยๆครั้งต่อวัน

การพักที่แตกต่างกันนี้อาจอธิบายถึงอายุขัยของมดในแต่ละวรรณะที่มดราชินีอายมีอายุยืนยาวหลายปีในขณะที่มดงานมักมีอายุอยู่ไม่กี่เดือน

การที่มดงานมีพฤติกรรมการนอนเช่นนี้น่าจะช่วยทำให้มั่นใจได้ว่ารังจะได้ รับการปกป้องเสมอโดยมดที่ยังตื้นอยู่ เนื่องจากการหลับนั้นเกิดขึ้นไม่พร้อมกันเมื่อพิจารณาถึงประชากรมดงานทั้ง หมดในรังหมด

นักวิทยาศาสตร์เช่นเดบี แคสซิล จากมหาวิทยาลัยเซาท์ฟลอริดา และคณะได้ศึกษารูปแบบการนอนของมดแดงไฟชนิด Solenopsis invicta ซึ่งอาจจะพูดกันเล่นๆได้ว่าทีมวิจัยต้องกรศึกษาว่ามดราชินีขี้เกียจเพียงใด

การศึกษารูปแบบการหลับของมดนี้ประกอบด้วยการเลี้ยงมดขึ้นมาในห้องปฏิบัติ การ ในแต่ละห้องย่อยมีมดราชินี 3 ตัว มดงาน 30 ตัว และตัวอ่อนขนาดใหญ่ 30 ตัวให้มดงานทำงานให้ มีแผ่นแก้ว และถ่ายภาพพฤติกรรมมดพวกนี้ได้ตลอดเวลา

นักวิทยาศาสตร์พบว่ารูปแบบการนอนของมันไม่ได้เป็นไปตามวัฏจักรของกลางวัน และกลางคืน เพราะมันอาศัยอยู่ใต้ดินเป็นหลัก แต่สิ่งที่นักวิทยาศาสตร์ต้องทึ่งก็คือความถี่ในการงีบหลับของมดงานที่มี ความถี่สูงมาก โดยเฉลี่ยนั้นพบว่ามดงานงีบหลับ 250 ครั้งต่อวัน แต่ละครั้งนานเพียงระดับนาที และเมื่อรวมกันแล้ว มดงานนอน 4 ชั่วโมง 48 นาทีเท่านั้น

มดราชินีนอนมากกว่ามดงาน และมีรูปแบบการนอนที่ค่อนข้างเป็นช่วงเวลาที่ชัเจนกว่า นักวิทยาศาสตร์พบว่ามดราชินียังมีเวลานอนที่อาจจะปรับให้ตรงกัน โดยพบว่าพวกมันจะนอนกองรวมกันในที่หนึ่ง ลองนึงถึงหมาบางชนิดที่จะมากองเกยกันเวลานอน และมันกองรวมกันจริงๆ เพราะตัวหนึ่งจะนอนทับอีกตัวหนึ่ง และจะแยกจากกันเมื่อมันตื่น โดยแต่ละครั้งกินเวลาประมาณ 6 นาที และนอนถี่ประมาณ 90 ครั้งต่อวัน หรือรวมแล้วประมาณ 9 ชั่วโมงต่อวัน

บางครั้งมดราชินีก็งีบหลับ แต่อาจถูกปลุกให้ตื่นได้เมื่อมีกิจกรรมต่างๆมาสัมผัสรอบตัวเธอ นักวิทยาศาสตร์ดูพฤติกรรมการหลับจากตำแหน่งของหนวดที่ไม่ได้ยกขึ้นเต็มที่ และการอ้าปากค้าง ถ้าอยู่ๆมันเกิดการหลับลึกขึ้นมา หนวดจะตกลงมากขึ้นและปากจะเริ่มปิด แล้วหนวดจะเริ่มม้วนตัว ตัวไหวสั่น อาจเกิดการเคลื่อนของหนวดอย่างรวดเร็วคล้ายกับกับการเคลื่อนของลูกตาที่รวด เร็วเวลาสัตว์มีกระดูกสันหลังเกิดการหลับลึกด้วยเหมือนกัน

ทำไมเราต้องหลับ? จากการศึกษาในมดชนิดนี้ อาจจะยังไม่ทำให้นักวิทยาศาสตร์สรุปได้เต็มที่ แต่มดงานที่ทำงานตลอดวันตลอดคืน เพื่อความอยู่รอดของรัง ใช้วิธีงีบหลับอาจอยู่ได้เพียงหกเดือนถึงหนึ่งปี ในขณะที่มดราชินีที่นอนมากกว่าอายอยู่ได้ถึงหกปี และในมดบางชนิด อาจมีมดราชินีที่อยู่ได้ถึง 45 ปี


อ้างอิง:
Cassill, D.L., Skye Brown, Devon Swick 2009. Polyphasic wake/sleep episodes in the fire ant, Solenopsis invicta. Journal of Insect Behavior 22:313-323.
เครดิสhttp://www.soccersuck.com/soccer/viewtopic.php?p=11001112&sid=0a88104f1a555a39e492a8970a39ebfe


.... กระทู้นี้ย้ายมาจากห้องเบ็ดเตล็ด ...
แก้ไขล่าสุด 12 พ.ย. 55 21:43 | เลขไอพี : ไม่แสดง

อ่านต่อ คุณอาจจะสนใจเนื้อหาเหล่านี้ (ความคิดเห็นกระทู้ อยู่ด้านล่าง)

ความคิดเห็น

#1 | apred. | 12 พ.ย. 55 22:05 น.

มดงานได้นอนน้อยมากแต่ทำงานทั้งวัน ขอบคุณมากค่ะ ^____^

ไอพี: ไม่แสดง

#2 | miss.nobody | 12 พ.ย. 55 22:36 น.

มดขยันกว่าเราอีก 

ไอพี: ไม่แสดง

#3 | lllllllllll'''13:16" | 13 พ.ย. 55 21:20 น.

เยี่ยมเลยทู้นี้

ไอพี: ไม่แสดง

แสดงความคิดเห็น

จะต้องเป็นสมาชิกจึงจะแสดงความคิดเห็นได้
เป็นสมาชิกอยู่แล้ว ลงชื่อเข้าใช้ระบบ
ยังไม่ได้เป็นสมาชิก สมัครสมาชิกใหม่
หรือจะลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google หรือ Facebook ก็ได้
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Facebook
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google