จากพ่อหลวงถึงปัจจุบัน (หนึ่งในซีรี่การศึกษา ผมจะทำวิจัย) (แก้ไขครั้งที่ ๑)

12 มิ.ย. 56 01:41 น. / ดู 297 ครั้ง / 4 ความเห็น / 1 ชอบจัง / แชร์
คราวนี้ผมจะลองเปรียบเทียบการศึกษาของไทยระหว่างสมัยพ่ออยู่หัวรัชการที่ ๕ กับปัจจุบัน  แต่ขอบอกก่อนว่าเท่าที่ผมศึกษามานะ เพราะในอนาคตผมคงได้มีโอกาสแก้ไขเพิ่มเติมบทความชิ้นนี้แน่นอน
๑.........
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระดำริประมาณว่า “ในรัชการของท่าน ท่านจะสร้างโรงเรียนแทนการสร้างวัด เพื่อให้การศึกษาไปสู่อาณาราษฎรของท่าน” ราวๆ ปี 2414 หรือ 2415 ผมจำไม่ได้ พ่ออยู่หัวได้ทำการทดลองแนวคิดดังกล่าวด้วยการก่อตั้งโรงเรียนแห่งแรกคือโรงเรียนนายทหารมหาดเล็ก หรือโรงเรียนสวนกุหลาบ สอนเหล่าลูกหลานเชื้อพระวงศ์ รวมถึงลูกหลานข้าราชการ
และเมื่อท่านทรงเห็นการดำเนินกิจการไปได้ด้วยดี ท่านจึงมีพระราชโองการให้สร้างโรงเรียนสำหรับราษฎรหลายแห่งกระจายออกไปเพื่อให้เหล่าลูกหลานราษฎรทั่วไปได้มีโอกาสเล่าเรียนในระบบ โดยวิชาที่สอนแบ่งเป็น ๒ ภาค คือ ๑.วิชาการทั่วไป สอนภาษาไทย และคณิตศาสตร์  ๒.วิชาชีพ สอนการทำนา, ทำสวน, ทำไร, เลี้ยงสัตว์, จักรสาน ตามแต่ถนัด (ในสมัยนั้นท่านให้เรียนฟรีๆ)

ในสมัยนี้มีโรงเรียนกระจายออกไปอย่างทั่วถึง แม้แต่โรงเรียนใหญ่ๆ ที่ระดมกันสร้างอาคารเรียนจนแน่นขนัดแทบจะต่ออาคารกันเลยทีเดียว เพื่อขยายให้ลูกหลานของประชาชนทั่วไป โดยผู้ปกครองต้องเสียเงินค่านู่นนี้นั่น ด้วย...

๒.........
ต่อจากในสมัยพ่ออยู่หัว ในช่วงแรกๆ ของการเปิดกิจการโรงสกูลราษฯ (สมัยนั้นท่านเรียกทับศัพท์สากลคำว่า School) ไม่เป็นที่ตอบรับเท่าที่ควร ด้วยพ่อแม่ไม่กล้าส่งลูกหลานมาเรียนด้วยสาเหตุ คิดว่าโรงสกูลต้องเสียเงิน เพราะส่วนใหญ่มีฐานะที่ค่อนจะยากจน และด้วยเหตุที่ว่าลูกหลานต้องทำงานช่วยพ่อแม่จึงไม่ว่างไปเรียน

สมัยนี้ เรามีระบบเรียนฟรี เด็กได้เรียนในโรงเรียนดีๆ แต่ไม่อยากเรียน หนีเที่ยว
สมัยนี้ เรามีระบบเรียนฟรี เด็กยากจนได้เรียนแค่โรงเรียนขยายโอกาส อนาคตไม่ค่อยสดใสเพราะโรงเรียนที่เรียนมันได้เพียงแค่ขอไปที

๓.........
สมัยพ่ออยู่หัว การตั้งโรงสกูลนั้นลำบาก ด้วยหาทำเลยาก อีกทั้งการก่อสร้างมีค่าใช้จ่ายทั้งวัตถุดิบ และแรงงาน อีกทั้งการบุคลากรครูที่เป็นที่ยอมรับนั้นมีน้อย

ปัจจุบันมีโรงเรียนกระจายไปแทบทุกพื้นที่ แต่มีการยุบรวมให้ลดน้อยลงเล็กน้อยด้วยงบประมาณรายปีที่กระทรวงศึกษาธิการได้ต่อไป ๔แสนล้าน นั้นไม่พอจ้างบุคลากร
อีกทั้งบุคลากรนั้นมีมากมายจนแทบจะเดินชนกันตายไปข้างหนึ่ง ซึ่งส่วนใหญ่จบมาไม่ค่อยได้คุณภาพด้วยการคัดสรรค์คนเข้าศึกษาวิชาชีพครูนั้นเน้นปริมาณหวังโควต้ารายหัวที่โปรแกรมวิชาจะได้
อีกทั้งครูที่จบมาอย่างมหาศาลนั้นส่วนใหญ่มีอันต้องไปประกอบอาชีพอื่นที่ได้ค่าตอบแทนมากกว่า ด้วยทางกระทรวงศึกษาธิการนั้นเห็นว่างบประมาณ ๔แสนล้านบาทต่อปีนั้นไม่เพียงพอต่อการจ้างบุคลากร จึงได้ลดรายได้ต่อเดือน ลดแรงจูงใจในการทำงานของครู
(ปัจจุบันมีปัญหาครูขาดแคลน รวมถึงภาระครูหนึ่งคนที่ต้องรับผิดชอบนักเรียน 30 - 40 คน ซึ่งหนักเกินไป)

ดังนั้นในปัจจุบันคนที่จะเป็นครูได้นั้นผมมองแล้วมี ๒ ประเภท คือ
๑. คนที่อยากเป็นครูอย่างแท้จริง
๒. คนที่จบสายวิชาอื่นแต่หางานทำไม่ได้

สรุปทั้ง ๓ หัวข้อที่ผมว่ามาได้ดังนี้

สมัยพ่ออยู่หัวท่านพยายามสร้างโรงเรียน และพยายามให้โอกาสคนได้เข้ามาเรียน แต่ประสบปัญหาว่าครูขาดแคลน และพ่อแม่ไม่กล้าส่งลูกหลานเข้าโรงเรียนด้วยเหตุผล ๒ ข้อที่ผมว่ามา

แต่ ปัจจุบันกระทรวงศึกษาธิการคิดว่ามีโรงเรียนมากจนต้องยุบให้น้อยกว่าเดิม รวมทั้งบุคลากรเพียงพอจนไม่อยากง้อให้เด็กจบใหม่มาเป็นครู รวมทั้งยังเพิ่มภาระให้ครูหนึ่งคนรับผิดชอบเด็ก 30 – 40 คน และยังต้องรับผิดชอบงานเอกสารมากมาย ด้วยเห็นว่าเป็นภาระที่เหมาะสมต่อเงินเดือนหมื่นนิดๆ
ซึ่งความจริงแล้วไม่ใช่


เท่าที่ผมเคยเห็น อาชีพขายข้างแกงยังมีกำไรต่อเดือนรวมกันเยอะกว่าครูอีกนะ

ผมถึงบอกไงว่า คนที่มาเป็นครู ถ้าไม่อยากเป็นจริงๆ ก็คือพวกที่หางานอื่นไม่ได้แล้ว



นี่เหละ อาชีพครูที่มีเกียรติสูงส่ง สร้างคนให้เป็นคน แต่ตัวครูแทบจะเอาตัวไม่รอด
แก้ไขล่าสุด 12 มิ.ย. 56 01:43 | เลขไอพี : ไม่แสดง

อ่านต่อ คุณอาจจะสนใจเนื้อหาเหล่านี้ (ความคิดเห็นกระทู้ อยู่ด้านล่าง)

ความคิดเห็น

ยังไม่มีความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

จะต้องเป็นสมาชิกจึงจะแสดงความคิดเห็นได้
เป็นสมาชิกอยู่แล้ว ลงชื่อเข้าใช้ระบบ
ยังไม่ได้เป็นสมาชิก สมัครสมาชิกใหม่
หรือจะลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google หรือ Facebook ก็ได้
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Facebook
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google