(( กระดาษโน๊ต วิตามินต่างๆนานา)) - รู้ไว้ก็ดีนะ

16 ก.ค. 56 17:25 น. / ดู 3,173 ครั้ง / 22 ความเห็น / 44 ชอบจัง / แชร์
---------
รวมมาจากหลายที่ แล้วสรุปเอง ไม่มีเครดิตที่ชัดเจน...  ภาษาง้องแง๊งนิดๆ -3-
- สงสัยข้อไหนถามได้นะคะ ศึกษาเรื่องพวกนี้อยู่
- เกรด็ดเพิ่มเติม เรื่องแคลเซียม คห. 15- 16



วิตามินที่ควรทานคู่กัน
- แคลเซียม+ แมกนีเซียม  
  แคลเซียม + แมกนีเซียม    แคลเซียมจะดูดซึมได้ดีต้องมี  “ตัวช่วย” พามันเข้าไป ได้แก่ แมกนีเซียม, วิตามินดี และ วิตามินเค
ของวิต้าเฮลท์ มีแคลเซีย 600mg แม็กนีเซียม 60 g  + วิตามิน D 200 หน่วยสากล ตัวนี้เยอะสุด
แบล็กมอร์ มีแคลเซียม 500 วิตดี 200 หน่วยสากล (เท่าวิตาเฮลท์แต่ไม่มีแม็กนีเซียม)
ปริมาณแคลเซียมที่ควรได้รับต่อวัน
 วัยรุ่น (11-25 ปี) ควรได้รับ 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน
 ผู้ใหญ่ ควรได้รับ 1,500 มิลลิกรัมต่อวัน


----------------
- คอลลาเจน +วิตามินซี    (กินพร้อมกันดีสุด ไม่งั้นคอลลาเจนไม่เกิดประโยชน์)
- ธาตุเหล็ก +วิตามินซี          การจะกินธาตุเหล็กให้ดีดูดซึมเข้าไปใช้ได้ง่าย
จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องกินคู่กันกับวิตามินซี
- น้ำมันปลา (ไม่ใช่น้ำมันตับปลา) ขอให้เลือกชนิดที่มี ดีเอชเอ + อีพีเอ ยิ่งมากหน่อยยิ่งดีอย่างน้อยกินให้ได้ค่าดีเอชเอ+อีพีเอ = 1,500 มิลลิกรัมต่อวัน โดยมีเคล็ดไว้ว่า
บำรุงสมอง DHA
บำรุงส่วนอื่นเป็นหลัก EPA



ยาและอาหารเสริมที่กินร่วมกันแล้วก่อให้เกิดโทษ
- น้ำมันปลา+ แอสไพริน  จะทำให้เลือดไหลออกไม่หยุด -[]-
- วิตามินอี และ อีฟนิ่งพริมโรส  อันตรายกะหัวใจ </3
- แคลเซียม และ แคลเซียมสด :  ถ้ากินแคลเซียมเม็ดแล้วห้ามกินแคลเซียมสดๆ พวกงาดำ เต้าหูขาวแข็ง ไรงี้ - - ไม่งั้นมันจะเยอะไปทำให้ " หลอดเลือดตีบหรือแข็ง" T_T
- กาแฟ และ แคลเซียม : กาแฟไปยับยั้งการดูดซึม + ไปดูดเอาจากกระดูกออกมาอีก - -+++
- ธาตุเหล็ก และ เลือดจางธาลัสซีเมีย : มีผลต่อหัวใจ TT ไม่น่าเกิดมาเป็นโรคนี้เลยยยย
- Calcium ไม่ควรทานเหล็กและแคลเซียมพร้อมกัน หรือหากได้รับสังกะสีมากไปจะทำให้การดูดซึมไม่ดี

- หากกินเหล็กและวิตามิน E พร้อมกัน จะเกิดภาวะที่ร่างกายไม่สามารถดูดวึมวิตามิน E ได้ วิธีแก้คือ ควรแยกกินวิตามิน E ก่อนธาตุเหล็ก 8-12 ชั่วโมง



---------
-
ปริมาณที่แนะนำต่อวัน

วิตามิน A
พบใน น้ำมันตับปลา ผักสีต่างๆ เช่น แครอท ผักโขม และหัวบีทรู้ท
ประโยชน์
- ช่วยบำรุงสายตา และแก้โรคตามัวตอนกลางคืน
- ช่วยให้กระดูก ผม ฟัน และเหงือกแข็งแรง
- สร้างความต้านทานให้แก่ระบบหายใจ
- ช่วยสร้างภูมิชีวิตให้ดีขึ้น และทำให้หายป่วยเร็วขึ้น
- ช่วยในเรื่องของผิวพรรณ ลดอาการอักเสบของสิว ช่วยลบจุดด่างดำ และจุดวัยสูงอายุ
- ช่วยบรรเทาโรคเกี่ยวกับไทรอยด์

ปริมาณที่แนะนำ
- ผู้ชายควรกินอาหารที่มีวิตามิน A 1,000 R.E. หรือเท่ากับ 5,000 I.U. ต่อวัน
- ผู้หญิงควรกินอาหารให้ได้วิตามิน A 800 R.E. หรือ 4,000 I.U. ต่อวัน
- หากกำลังตั้งครรภ์ควรกินเพิ่มเป็น 1,000 R.E. หรือ 5,000 I.U. ต่อวัน
- สำหรับการกินวิตามิน A เป็นอาหารเสริมควรกินวันละ 10,000 I.U.

วิตามิน C
ประโยชน์
- เป็นตัวสร้างคอลลาเจน ซึ่งเป็นตัวเส้นใยทำหน้าที่เชื่อมเนื้อเยื่อต่างๆ ไว้ด้วยกัน ทั้งยังเป็นตัวสร้างกระดูก ฟัน เหงือก และเส้นเลือด
- ช่วยแผลสดและแผลไฟไหม้หายเร็วขึ้น
- ช่วยให้การดูดซึมธาตุเหล็กดีขึ้น ซึ่งเป็นการสร้างเม็ดเลือดทางอ้อม
- ช่วยป้องกันการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ (MUTATION)
- ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดโรคนอนหลับตาย (SIDS) ในกรณีเด็กอ่อน
- ช่วยแก้โรคเลือดออกตามไรฟัน
- ช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือด
- ช่วยคลายเครียด

ปริมาณที่แนะนำ
- ในรายที่ขาดวิตามิน C ควรกิน เสริม วันละ 1,000 mg


วิตามิน D
พบมาก ในเนย นม เนยแข็ง และในแดด ดังนั้น เราจึงควรตากแดดวันละ 2-3 ชั่วโมง
ประโยชน์
- ช่วยให้กระดูกและฟันแข็งแรง ช่วยในการย่อยอาหาร เพิ่มพลังงาน และช่วยรักษาสิว ทั้งนี้หากกินร่วมกับวิตามิน B6 ในขนาดสูงๆ จะช่วยรักษาข้ออักสบ และโรคเรื้อนกวาง (สะเก็ดเงิน) ได้
ปริมาณที่แนะนำ
- ควรกินวิตามิน D เสริม วันละ 1,000 I.U


วิตามิน E
ประโยชน์
- หน้าที่สำคัญที่สุดของวิตามิน E เป็นตัวแอนติออกซิแดนท์ คือทำให้เกิดการเผาผลาญ (OXIDATION) โดยมีตัวออกซิเจนเป็นตัวการสำคัญ ทำให้ร่างกายเผาผลาญได้ดีขึ้น เป็นตัวช่วยไขกระดูกในการสร้างเลือด ช่วยขยายเส้นเลือด ช่วยต้านการแข็งตัวของเลือด ช่วยลอความสามารถในการจับตัวเป็นลิ่มเลือด และลดอัตราเสี่ยงของการเกิดโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดสมองและหัวใจ
- บำรุงตับซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับเลือดมากมาย
- ช่วยให้ระบบสืบพันธุ์ เซลล์ประสาท และกล้ามเนื้อทำงานได้ตามปกติ
- บำรุงตับซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับเลือดมากมาย
- ช่วยให้ผิวหนังสดใส และช่วยสมานแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวกให้หายเร็วขึ้น
- ช่วยให้ปอดทำงานดีขึ้น และไม่อ่อนเพลียง่าย

ปริมาณที่แนะนำ
- ควรกินวิตามิน E เสริม ขนาดเม็ดละ 400 I.U. วันละ 2 เม็ด เช้า-เย็น
- ไม่ควรกินในปริมาณที่มากเกินไป เพราะอาจเกิดความดันโลหิตสูงได้ในบางราย วิธีแก้อาการดังกล่าวคือ ควรกินในปริมาณ 100 I.U. ก่อน แล้วจึงเพิ่มปริมาณเป็น 200 I.U. และ 400 I.U. ตามลำดับ *****
- หากกินเหล็กและวิตามิน E พร้อมกัน จะเกิดภาวะที่ร่างกายไม่สามารถดูดวึมวิตามิน E ได้ วิธีแก้คือ ควรแยกกินวิตามิน E ก่อนธาตุเหล็ก 8-12 ชั่วโมง


วิตามิน B

วิตามิน B1 หรือ Thiamin
ประโยชน์
- จำเป็นต่อการทำงานของสมอง ระบบประสาท ระบบย่อย หัวใจ และกล้ามเนื้อ ช่วยให้เจริญอาหาร และช่วยในการเจริญเติบโตของร่างกาย ช่วยแก้อาการเมาคลื่น และเมาอากาศ
- ช่วยเพิ่มภูมิชีวิตและรักษางูสวัด (Herpes Zoster) ให้หายเร็วขึ้น

ปริมาณที่แนะนำ
- ถ้าต้องการกินวิตามินชนิดนี้เป็นอาหารเสริมควรกินวันละ 1 เม็ดหลังอาหาร เม็ดละ 100 mg
- หากเกิดอาการเครียด ตื่นเต้น เจ็บป่วยโดยเฉพาะหลังผ่าตัด ควรกินวิตามิน B1 ร่วมกับวิตามิน B Complex (วิตามินบีรวม)
- คนที่ควรกินวิตามิน B1 เสริม คือ
- คนที่ชอบกินของหวานๆ กับแป้งขาวมากๆ หรือสูบบุหรี่ และดื่มเหล้าจัด ซึ่งมีโอกาสเป็นโรคขาดวิตามิน B1 ได้
- คนที่กินยาลดกรดในกระเพาะเป็นประจำ เพราะยาลดกรดจะทำลายวิตามิน B1 ในอาหารให้เหลือน้อยลง
- ผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์ หรือคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ และผู้หญิงที่กินยาคุมกำเนิดเป็นประจำ


วิตามิน B6 หรือ Pyridoxine

ประโยชน์
- ช่วยเปลี่ยนแอมิโนแอซิดให้เป็นวิตามินอีกตัวคือ Niacin หรือวิตามิน B3 ช่วยร่างกายสร้างภูมิต้านทานแอนติบอดี และช่วยสร้างเซลล์โลหิตให้ดียิ่งขึ้น
- ช่วยร่างกายสร้างน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร และแร่ธาตุแมกนีเซียม
- ช่วยบรรเทาโรคเกิดระบบประสาทและผิวหนัง
- ช่วยบรรเทาการคลื่นไส้ และอาเจียน
- ช่วยบรรเทาอาการปากแห้ง และคอแห้ง
- ช่วยแก้การเป็นตะคริว แขนขาชา และช่วยขับปัสสาวะ

ข้อแนะนำสำหรับบางคน
- ผู้ที่กินยาคุมกำเนิดควรกินวิตามิน B6 เป็นประจำ
- ผู้ป่วยเบาหวาน ถ้าต้องใช้อินซูลิน ควรกินวิตามิน B6 ควบ และปรับอัตราการใช้อินซูลินให้ได้ตามส่วนของน้ำตาลในเลือด


วิตามิน B12 หรือ Cobalamin

ประโยชน์
- ช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง
- ช่วยให้เด็กเติบโตและเจริญอาหาร
- ช่วยให้ระบบประสาททำงานได้ดี
- ช่วยให้สมองไม่ฟุ้งซ่าน ความจำดี และมีสมาธิ

ข้อแนะนำสำหรับบางคน
- ผู้หญิงที่อ่อนเพลียเพราะประจำเดือนมามาก ควรกินวิตามิน B12 เสริม
- ผู้ที่เป็นมังสะวิรัติอย่างเคร่งครัด ก็ควรกินวิตามิน B12 เสริมเช่นกัน
- ผู้ที่ติดเหล้าหรือดื่มจัดก็ควรกินวิตามิน B12 เสริมเป็นประจำ


วิตามิน B3 หรือ Niacin

ประโยชน์
- ช่วยทำลายพิษหรือท็อกซินจากมลพิษ แอลกอฮอล์ และยาเสพติด
- รักษาโรคทางจิตและโรคเกี่ยวกับความผิดปกติทางสมอง
- ช่วยอาการต่างๆ ของผู้ป่วยเบาหวานให้ดีขึ้น
- ช่วยรักษาโรคปวดหัวไมเกรน
- ช่วยบรรเทาโรคอาไทรทิสและข้ออักเสบ
- ช่วยกระตุ้นและแก้ไขความบกพร่องทาง**
- ช่วยลดความดันโลหิตสูง

ปริมาณที่แนะนำ
- สามารถกินวิตามิน B3 เสริมได้ตั้งแต่ 100 - 2,000 mg ต่อวัน
- สำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจควรใช้ในปริมาณที่สูงถึงวันละ 7,000-8,000 mg


วิตามิน B5 หรือ Pantoyhenic Acid

ประโยชน์
- ช่วยสร้างแอนติบอดี้ซึ่งเป็นตัวสำคัญของ Immune System หรือภูมิชีวิต
- เมื่อร่างกายเปลี่ยนไขมันที่สะสมไว้ให้เป็นน้ำตาลเพื่อสร้างพลังงาน วิตามินB5 จะเป็นตัวสำคัญในการเปลี่ยนไขมันเป็นน้ำตาล
- ช่วยให้บาดแผลหายเร็วขึ้น
- ช่วยให้ร่างกายหายจากการช็อคหลังการผ่าตัดใหญ่
- ช่วยให้อาการอ่อนเพลียหายเร็วขึ้น

ปริมาณที่แนะนำ
- ในรายที่ขาดวิตามิน B5 ควรกินเสริมวันละ 2 เม็ด เม็ดละ 100 mg


วิตามิน B Complex
ประโยชน์
- ช่วยในการย่อยหรือแตกตัวของคาร์โบไฮเดรตให้กลายเป็นก ลูโคส ช่วยในการย่อยหรือแตกตัวของโปรตีนและไขมัน
- ช่วยให้ระบบประสาททำงานได้ตามปกติ
- ช่วยให้กล้ามเนื้อในกระเพาะและลำไส้ทำงานได้ดีขึ้น
- ช่วยบำรุงผิวหนัง เส้นผม ตา ปาก และตับ
- ในกลุ่มชีวจิตเราเชื่อว่าเมื่ออายุ 70 ปีขึ้นไป การดูดซึมของลำไส้จะทรุดโทรมลง ต้องแก้ไขด้วยการบริหารร่างกายและใช้วิตามินกลุ่ม B Complex

ปริมาณที่แนะนำ
- ตามปกติผู้ที่กินอาหารตามสูตรของชีวจิต จะได้รับวิตามิน 2 ชนิดนี้เพียงพอ
- ถ้าเป็นอาหาร วันหนึ่งๆ เรามีวิตามิน 2 ชนิดนี้รวมกันวันละ 300-400 mg ก็เพียงพอแล้วแต่ถ้าใช้เป็นยาต้องใช้ถึงวันละ 3,000-5,000 mg


----------------

VITAMIN
AMINO ACID
Glutathione สารองค์ประกอบพื้นฐานเพื่อให้ร่างกายสร้างกลูต้าไธโอน ได้แก่ Glycine, Glutamine (ทั้งสองชนิดมีพอในร่างกาย) และ Cystein ซึ่งร่างกายมีปริมาณจำกัด ควรได้รับเสริม
สารอาหารที่ร่างกายนำไปสร้างกลูต้าไธโอน ได้แก่ ซีลีเนียม, วิตามินบี 6, ไนอาซิน และ เอ็น อเซติล แอล ซิสเตอีน นอกจากนี้ กรด Alpha-lopoic acid และ Vitamin C ช่วยสร้างกลูต้าไธโอนขึ้นมาใหม่ด้วย
Cysteine และ Cystine ใช้ L-Cystine หรือ N-acethl-cystein ทดแทนได้ ปริมาณ 50-75 mg.
Alpha-lipoic acid, ALA 20-50 mg.

MINERALS
Selenium มีความจำเป็นในการผลิตกลูต่้าไธโอน 200-700 mcg.
Zinc ช่วยเพิ่ม T-lymphocite 15-30 mg.
Copper 1-3 mg.
Calcium ไม่ควรทานเหล็กและแคลเซียมพร้อมกัน หรือหากได้รับสังกะสีมากไปจะทำให้การดูดซึมไม่ดี 500 mg. 2 ครั้งต่อวัน (800-1,500 mg.)
Iron หากไม่ได้เป็นโรคโลหิตจาง ไม่ควรทานเหล็กเสริม
Magnesium 500-800 mg.
Manganese 3-6 mg.
Phosphorus ไม่จำเป็นต้องได้รับเสริม เพราะจะรบกวนการดูดซึมของแคลเซียม
Potassium ไม่จำเป็นต้องได้รับเสริม
Sodium ไม่จำเป็นต้องได้รับเสริม

BIOFLAVONIOD
Oligomerric Proanthocyanidins คือ
สารสกัดจากเมล็ดองุ่น 150-200 mg.
สารสกัดจากเปลือกสน 50-100 mg.


สารอาหารที่สำคัญต่อระบบภูมิคุ้มกัน ได้แก่ โปรตีน อาร์จินีน กลูตามีน, กรดไขมันโอเมก้า 3, 6 ซีลีเนียม แมกนีเซียม ไอโอดีน โบรอน วิตามิน อี บี ซี และ เอ
แก้ไขล่าสุด 17 ก.ค. 56 13:48 | เลขไอพี : ไม่แสดง

อ่านต่อ คุณอาจจะสนใจเนื้อหาเหล่านี้ (ความคิดเห็นกระทู้ อยู่ด้านล่าง)

ความคิดเห็น

#1 | `yunkiw*|เพชรแท้,๕' | 16 ก.ค. 56 17:25 น.

แถม
( -- รวมทริป -- ) กระชับสัดส่วน ' '
เมื่อ 7 มิ.ย. 54 22:01 ดู 17,491 ตอบ 774
http://www.siamzone.com/board/view.php?sid=2378660

แก้ไขล่าสุด 16 ก.ค. 56 17:26 | ไอพี: ไม่แสดง

#2 | eeeeeee | 16 ก.ค. 56 17:36 น.

Thank you jaa 

ไอพี: ไม่แสดง

#3 | เหมียวแย๊ | 16 ก.ค. 56 17:54 น.

ขอบคุณค้า 

ไอพี: ไม่แสดง

#4 | Allyzํ | 16 ก.ค. 56 19:03 น.

ขอบคุณจ้า 

ไอพี: ไม่แสดง

#5 | โกโก้ใส่น้ำผึ้ง | 16 ก.ค. 56 19:27 น.

ขอบคุณค่า 

ไอพี: ไม่แสดง

#6 | `(-.Drake.conan- | 16 ก.ค. 56 20:12 น.

ขอบคุณนะคะ

ไอพี: ไม่แสดง

#7 | `WhAt? | 16 ก.ค. 56 20:15 น.

ขอบคุณมากค่ะ 

- บางตัวกินร่วมกันแล้วแอบน่ากลัว...

ไอพี: ไม่แสดง

#8 | มาจุบุมิรุ<3 | 16 ก.ค. 56 22:21 น.

-0- เซียมสดนี่รวมนมด้วยป่าวงะ -0-

ไอพี: ไม่แสดง

#9 | `แสงสว่าง_snw | 16 ก.ค. 56 22:23 น.

ขอบคุณจ้าาา

ไอพี: ไม่แสดง

#10 | 'myunhwa | 16 ก.ค. 56 22:53 น.

ขอบคุณจขกท.งาม ๆ

#8 นั่นแหละอยากรู้เหมือนว่านมเป็นแคลเซียมสดด้วยรึเปล่า

ไอพี: ไม่แสดง

#11 | หมีตะกร้า | 16 ก.ค. 56 23:10 น.

" น้ำมันปลา+ แอสไพริน  จะทำให้เลือดไหลออกไม่หยุด -[]- "
มีเด็ดกว่านี้ คือถึงขั้นเส้นเลือดในสมองแตกเลยจ้า

ไอพี: ไม่แสดง

#12 | polyp. | 17 ก.ค. 56 13:20 น.

ขอบคุณมากนะคะ

ไอพี: ไม่แสดง

#13 | `yunkiw*|เพชรแท้,๕' | 17 ก.ค. 56 13:30 น.

ตอบ คห. 8 นมจัดเป็นแคลเซียมสดค่ะ ถ้ากินนมวันละหลายกล่องแล้วก็ไม่ต้องกินแคลเซียมเม็ดเพิ่มค่ะ ถ้ามากไปมันจะไม่ดี ~

ไอพี: ไม่แสดง

#14 | gelato_il | 17 ก.ค. 56 13:32 น.

ฮื่อๆ น่ากลัวอ้ะ 

ทุกวันนี้กิน cal.เสริม+สดทุกวัน

ก็ว่าไม่สูงซักกะที 

ไอพี: ไม่แสดง

#15 | `yunkiw*|เพชรแท้,๕' | 17 ก.ค. 56 13:48 น.

ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับแคลเซียม

1. แคลเซียมและฟอสฟอรัสทำงานร่วนกันเพื่อให้กระดูกและฟันแข็งแรง แต่ถ้าพี่น้องกินอย่างไม่รู้เรื่อง ก็แย่หน่อยนะ ถ้าผมจะบอกว่า ฟอสฟอรัสที่มากไป ทำให้ร่างกายเสียแคลเซียมได้ ดังนั้นการกินแคลเซียมต้องถูกสัดส่วนกับฟอสฟอรัส

2. แคลเซียมและแมกนีเซียมทำงานร่วมกันเพื่อให้หัวใจและเส้นเลือดมีสุขภาพดี

3. แคลเซียมต้องมากับวิตามินดีเพราะถ้าไม่มีวิตามินดีแคลเซียมจะถูกดูดซึมได้ไม่ดี

5. การกินอาหารพวกโปร** ไขมัน อาหารกรด จะช่วยให้แคลเซียมดูดซึมได้ดี แต่หากกินอาหารที่มีโปร**สูง ไขมันสูง หรือ อาหารทีเป็นกรดสูง ก็จะทำให้มีการสูญเสียแคลเซียมมากขึ้น เนื่องจากระบบย่อยโปร**จำเป็นต้องใช้แคลเซียม นอกจากนี้แล้วความเป็นกรดของโปร** ไขมัน หรืออาหารกรด ทำให้ร่างกายจำเป็นต้องใช้แคลเซียมมาสะเทินกรดเหล่านั้นให้เป็นกลาง

6. อาหารที่อุดมไปด้วยกรดออกซาลิก เช่น โกฐน้ำเต้า ผักโขม บีท หรือ ช็อคโกแล็ต ผักกระเฉด ใบชะพลู จะขัดขวางการดูดซึมแคลเซียมเนื่องจากกรดออกซาลิกจะไปจับตัวกับแคลเซียม กลายเป็น แคลเซียม ออกซาเลต ซึ่งร่างกายดูดซึมไม่ได้ แต่ ผักคะน้า กลับเพิ่มการดูดซึมแคลเซียม อีกทั้งเป็นแหล่งแคลเซียมที่ดีอีกด้วย

7. อาหารที่อุดมไปด้วยกรดไฟติก หรือไฟเตต ซึ่งพบในพวก ธัญพืช, Whole grain, ทำให้การดูดซึมแคลเซียมแย่ลง ดังนั้น ที่ว่า งา เป็นแหล่งแคลเซียมที่ดีกว่านม หรือ เป็นแหล่งแคลเซียมคุณภาพสูงนั้น ก็ห่างไกลความเป็นจริงซะแล้ว (จริงๆแล้วมีพืชผักตั้งหลายอย่างที่ให้แคลเซียมสูง แต่ที่เค้าเน้นงาดำก็เพราะการตลาดล่ะครับ จูงใจให้คนกินงาดำ กำไรเยอะดี ส่วนผักคะน้า กวางตุ้ง ก็ปล่อยให้มันเหี่ยวแห้งต่อไปเพราะมันต่ำต้อยด้อยค่า ด้อยราคา เค้าเลยไม่เล่นกัน)

8. อาหารที่มีกากใยสูง หรือ อาหารที่มี Caffeine ไม่ว่าจะเป็น น้ำชา กาแฟ น้ำอัดลม เหล่านี้ จะไปลดการดูดซึมแคลเซียม

9. ผลิตภัณฑ์จากนม แม้จะเป็นแหล่งแคลเซียมที่ดี เพราะเป็นแคลเซียมในรูป แคลเซียม เคซิเนต คือ สามารถถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดได้โดยตรง โดยไม่ต้องแตกตัวก่อน ทำให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมที่ได้จากนม ได้มากที่สุด แต่ก็ยังมีข้อกังขา เกี่ยวกับผลกระทบของนมต่อสุขภาพ ถึงแม้ว่ามีงานวิจัยเป็นพันๆ ฉบับที่กล่าวถึง IGF-1 ที่มีในนมต่อการเกิดมะเร็ง แต่ก็ไม่มีผลงานใหนกล้าฟันธงชัดเจนลงไปเลยว่า การกินนมมีผลต่อมะเร็ง ถึงแม้กระนั้นก็ตาม ก็ยังเป็นที่กังขาของผมอย่างมากต่อการกินนม (ความคิดเห็นส่วนตัว) อีกทั้งนม ยังเป็นบ่อเกิดของการเสื่อมของเซลล์ร่างกาย นำไปสู่ ความชรา ซึ่งถึงแม้ยังไม่มีงานวิจัยที่น่าเชื่อถือได้เป็นชิ้นเป็นอัน แต่เราสามารถอธิบายได้ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (ความคิดเห็นส่วนบุคคล กรุณาอย่าก้าวก่ายสิทธิในการแสดงความเห็น) นอกจากนั้นแล้ว โปร** และ แคลเซียมในนม ยังทำให้การหลั่งกรดในกระเพาะอาหารมากขึ้น ดังนั้นผู้ที่เป็นโรคกระเพาะอาหารไม่ควรดื่มนมตอนท้องว่าง

นอกจากนี้ ถึงแม้ว่านมจะเป็นแหล่งแคลเซียมอย่างดี แต่ฟอสเฟตที่มีอยู่ในนมก็สามารถก่อให้เกิดปัญหาได้ เพราะว่าฟอสเฟตและแคลเซียมจะจับตัวกันกลายเป็นสารประกอบชนิดใหม่ก็คือ แคลเซียม ฟอสเฟต ซึ่งเป็นเกลือที่ไม่ละลายน้ำ จึงดูดซึมไม่ได้ อีกทั้งมีอัตราส่วนระหว่างแคลเซียมและแมกนีเซียมไม่เหมาะสม (15 : 1)  นอกจากนี้ ยังมีปริมาณของฟอสฟอรัสในปริมาณสูงกว่าแคลเซียมถึง 8 - 20 เท่า ผลก็คือเร่งการขับแคลเซียมออกทางไต นอกจากฟอสฟอรัสแล้ว โปร**ซึ่งหน่วยย่อยของมันคือกรดอะมิโน กับ ไขมัน ก็ล้วนแต่มีฤทธิ์เป็นกรด ทำให้ต้องสะเทินฤทธิ์กรดในกระแสเลือดให้เป็นกลาง ซึ่งแร่ธาตุที่เอามาสะเทินก็คือแคลเซียม แล้วเอาแคลเซียมมาจากใหนล่ะ คำตอบก็คือ จากกระดูกและฟัน !! ดังนั้น นมเลยเป็นสาเหตุให้เกิดโรคกระดูกผุได้ !!!  << (กรณีที่ฟอสฟอรัสกับแคลเซียมไม่สมดุลกัน)

10. แคลเซียมจะถูกดูดซึมได้ดีขึ้นหากกินพร้อมอาหาร เนื่องจากในขณะกินอาหารนั้นกระเพาะจะหลั่งน้ำย่อยซึ่งมีสภาพเป็นกรดออกมา ซึ่งจะช่วยส่งเสริมการละลาย (แตกตัว) ของแคลเซียมในรูปเกลือต่างๆ แต่ที่น่าสนใจก็คือมันจะถูกดูดซึมได้ดีกว่าเดิมแค่ 10% เท่านั้น ดังนั้นในความคิดผม กินตอนใหนก็ให้ผลพอๆกันนั่นแหละ แต่ถ้ากินพร้อมอาหารก็อาจจะดีขึ้นมากระเบียดนิ้วเดียว ก็เท่านั้น

11. การกินแคลเซียมเสริมในปริมาณที่สูงมากเกินไปอาจจะก่อให้เกิดโรคนิ่วในไตได้ แต่หากได้รับแคลเซียมสูงมากๆจากอาหารกลับพบว่าไม่เกิดอันตรายต่อร่างกาย
เช่น ในชนเผ่ามาไซ​ (Masai) ในแอฟริกา กินแคลเซียมที่ได้จากอาหารสูงถึง 5,000 มก./วัน แต่ก็ไม่มีอันตราย ดังนั้นควรรับแคลเซียมจากอาหารเสียก่อน หากไม่สามารถหาแคลเซียมจากอาหารได้เพียงพอ ค่อยหาแคลเซียมเสริมกินนะครับ

12. หากเราได้รับแคลเซียมระว่างวันละ 500 -2000 mg จากอาหารหรือแหล่งอื่นก็ตาม ร่างกายจะดูดซึมเอาไว้ใช้ตามความจำเป็น และ ความต้องการเป็นวันต่อวัน โดยจะส่งบางส่วนไปเก็บไว้ที่กระดูก ส่วนที่เหลือใช้ ก็จะขับออกไปกับปัสสาวะ แต่ถ้าหากว่าเราได้รับแคลเซียมในปริมาณต่ำกว่าระดับที่ร่างกายต้องการติดต่อกันเป็นเวลานาน ร่างกายจะดึงแคลเซียมที่เก็บไว้ในกระดูกออกมาใช้ ถึงแม้จะดึงจนกระดูกกร่อนก็ตาม ร่างกายก็จะดึงออกมา สู่กระแสเลือด ไม่มีกั๊ก

13. ปริมาณการดูดซึมแคลเซียมเข้าสู่กระแสเลือดจะ ขึ้นลง มากน้อย ขึ้นอยู่กับอายุ โดยทารกจะดูดซึมแคลเซียมถึง 60% ของแคลเซียมที่กินเข้าไป หลังวัยทารก การดูดซึมแคลเซียมก็จะค่อยๆลดลง และ กลับเพิ่มขึ้นใหม่ในช่วงวัยรุ่นซึ่งเป็นวัยที่การเจริญเติบโตอย่างแรง พอถึงวัยหนุ่มสาว การดูดซึมแคลเซียมก็จะเหลือเพียงประมาณ 25% ของปริมาณแคลเซียมที่กินเข้าไป นอกจากนี้ การดูดซึมแคลเซียมของหญิงมีครรภ์จะเพิ่มขึ้นในช่วง 6 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ เพราะต้องเอาไปใช้ในการสร้างโครงกระดูกของทารกในครรภ์ สภาพอย่างนี้ จะเป็นเหมือนๆกัน ไม่ว่าจะตั้งครรภ์ในช่วงอายุใดก็ตาม การดูดซึมแคลเซียมของหญิงหมดประจำเดือน หญิงหรือชายวัยสูงอายุ จะค่อยๆลดลง (ประมาณปีละ 0.2%) ตลอดไป

14. เชื้อชาติ ก็มีผลต่อการดูดซึมแคลเซียม พบว่าเชื้อชาติ แอฟฟริกัน-อเมริกัน ดูดซึมแคลเซียมได้พอๆกับพวกคอเคเชียน แต่ เชื้อชาติ แอฟริกัน - อเมริกัน จะสูญเสียแคลเซียมออกจากร่างกายทางปัสสาวะน้อยกว่าเชื้อชาติคอเคเชียน ด้วยเหตุนี้ เชื้อชาติ แอฟริกัน - อเมริกัน จึงมีกระดูกที่หนากว่า แข็งแรงกว่า และกระดูกหักน้อยกว่า เชื้อชาติคอเคเชียน

15. ผู้เชียวชาญทั้งหลายต่างเห็นพ้องต้องกันว่า การออกกำลังกายเป็นกิจจกรรมที่สำคัญ ที่จะทำให้กระดูกมีการพัฒนาทั้งทางด้านคุณภาพและปริมาณ โดยการออกกำลังกายจะทำให้กระดูกแข็ง ได้รูป และช่วยเพิ่มความหนาแน่นให้กับกระดูก แต่ก็ยังไม่ทราบแน่ชัดว่า ร่างกายปรับกระดูกให้มีสภาพเช่นนั้นได้ด้วยวิธีการใด

16. ระบบฮอร์โมนที่ซับซ้อนร่วมกับวิตามินดี เป็นปัจจัยในการควบคุมระดับแคลเซียมในเลือด ฮอร์โมนหลักที่มีส่วนร่วมในกระบวนการนี้คือ พาราไทรอยด์ ฮอร์โมน และ แคลซิโทนิน

17. วิตามินดีทำหน้าที่รักษาระดับแคลเซียมในกระแสเลือดให้เป็นปกติ ซึ่งถ้าหากแคลเซียมในกระแสเลือดตำ่กว่าปกติ ร่างกายจะเร่งดูดซึมแคลเซียมจากลำไส้ และ ไต เข้าสู่กระแสเลือดให้มากที่สุดเท่าที่ร่างกายต้องการ โดย  calcitriol จะชักนำให้แคลเซียมจับกับโปร**พิเศษภายในเซลล์ของลำไส้ และด้วยกลไกอิสระ calcitriol ก็จะกระตุ้นให้เกิดการดูดซึมฟอสเฟตจากลำไส้ด้วย นอกจากนี้ วิตามินดียังมีฤทธิ์ตรงต่อไต โดยทำให้ไตดูดแคลเซียมและฟอสเฟตกลับอีกด้วย  ในขณะเดียวกันก็จะสลายแคลเซียมที่สะสมในกระดูกออกมาสู่กระแสเลือด (ทำงานร่วมกันระหว่างพาราไทรอยด์ ฮอร์โมน และ วิตามินดี)

Note  calcitriol คือวิตามินดีที่พร้อมใช้งาน/ในรูปที่ออกฤทธิ์ โดยเริ่มจากวิตามินดี (ทั้ง ergocalciferol (D2) และ cholecalciferol (D3)) จะถูกตับเปลี่ยนเป็น 25-hydroxycholecalciferol เสียก่อน จากนั้นไต จะเปลี่ยนต่อเป็น 1,25-dihydroxycholecalciferol หรือเรียกสั้นๆว่า calcitriol นั่นเอง


ดังจะเห็นได้้ว่าตับและไต มีส่วนร่วมในการเปลี่ยนวิตามินดี ให้เป็นแคลซิไทรออล แต่โรคตับนั้นไม่ได้หน่วงเหนี่ยวกระบวนการ แต่โรคไตวายก่อให้เกิดผลเสียร้ายแรง นั่นคือ คนที่ป่วยเป็นโรคไตวายก็จะผลิตแคลซิไตรออลได้น้อยกว่าที่ควรจะเป็น ส่งผลให้เกิดการขาดแคลเซียมได้ รวมถึง ไตของผู้เป็นโรคเบาหวานก็ด้วย ซึ่งไตที่ถูกทำลายจากโรคเบาหวานก็ก่อให้เกิดการสูญเสียเนื้อกระดูกด้วยกลไกที่ว่านี้เช่นกัน การแก้ไขทำโดยการให้แคลซิไทรออล เพื่อคงระดับแคลเซียมเอาไว้

18. อาหารที่มีฟอสฟอรัสสูงมากเกินไป แต่แคลเซียมต่ำ จะทำให้เกิดภาวะ Hyperthiroidism ซึ่งมีผลต่อระดับฮอร์โมน ซึ่งก่อให้เกิดการสูญเสียแคลเซียม พูดง่ายๆก็คือ หากแคลเซียมสูงไปจะเกิดการสูญเสียฟอสฟอรัส แต่หากฟอสฟอรัสสูงไปจะเกิดการสูญเสียแคลเซียม โดยอาจจะทำให้แคลเซียมไปเกาะอยู่นอกกระดูก โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ไต ทำให้กระดูกอ่อน และพรุน การดูดซึมแคลเซียมก็จะลดลงด้วย

19. การประเมินสภาพของแคลเซียมเป็นเรื่องยาก เพราะยังไม่มีวิธีการตรวจเลือดหรือการตรวจแบบอื่นแม้แต่เพียงอย่างเดียวที่สามารถสะท้อนผลของแคลเซียมจากโภชนาการได้ การวัดระดับแคลเซียมในเลือดไม่สามารถบอกอะไรได้ เพราะระดับแคลเซียมมีการจัดการอย่างรัดกุมโดยร่างกาย ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดจึงมีอยู่วิธีเดียวก็คือ การได้รับแคลเซียมอย่างเพียงพอ ทุกๆวัน เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคกระดูกพรุนและกระดูกหักให้เหลือน้อยที่สุด

20. การขับถ่ายโซเดียมและแคลเซียมทางไตมีความสัมพันธ์กันกล่าวคือ เมื่อไตขับถ่ายโซเดียม ไตก็จะขับถ่ายแคลเซียมออกไปด้วย

ไอพี: ไม่แสดง

#16 | `yunkiw*|เพชรแท้,๕' | 17 ก.ค. 56 13:50 น.

แคลเซียมที่ควรเลือกซื้อ


1. แคลเซียมที่ดีที่สุดคือ แคลเซียม ไฮดรอกซีอะพาไทต์ หรือ แคลเซียมซิเทรต หรือ แคลเซียมไฮโดรเจนฟอสเฟต หรือ แคลเซียมคาร์บอนเนต (รสชาติแย่ แต่ได้เปอร์เซนต์แคลเซียมสูงที่สุด) อาการหรือโรคบางอย่างอาจไม่เหมาะกับแคลเซียมในรูปที่เสนอไป หากพี่น้องสงสัยควรปรึกษาแพทย์ส่วนตัวของพี่น้องก่อน หรือ ปรึกษาผมได้โดยตรงครับ

2. ถ้าเป็นไปได้ควรกินแคลเซียมที่มี วิตามินซี วิตามินดี วิตามินเคทู(K2) วิตามินเอ วิตามินบี2 วิตามินบี5 วิตามินบี6 วิตามินบี12 โบรอน กรดโฟลิค สังกะสี ซิลิคอน โปแตสเซียม แมงกานีส แมกนีเซียม และ ฟอสฟอรัส
โดยแคลเซียม : แมกนีเซียม : ฟอสฟอรัส ควรเป็น 2 : 1 : 1 นะ
หรือ แคลเซียม : แมกนีเซียม เป็น 1 : 1
-อีกอย่างหนึ่งคือแคลเซียมที่เราเลือกไม่ควรมี เหล็ก และ โซเดียม คับ (อาการหรือโรคบางอย่างอาจจะต้องปรับสูตรยา เช่น เอาวิตามินบางอย่างเสริมเข้ามาหรือถอนวิตามินบางตัวออกไป พี่น้องทุกคนอาจจะได้รับสูตรแคลเซียมที่ต่างกัน ไม่จำเป็นต้องได้รับวิตามินครบหมดทุกตัว ดังที่กล่าวไว้ หากพี่น้องสงสัยควรปรึกษาแพทย์ส่วนตัวของพี่น้องก่อน หรือ ปรึกษาผมได้โดยตรงครับ)

3. ขนาดยาไม่ควรเกิน 500 mgต่อการกินในแต่ละครั้ง เพราะแคลเซียมจะถูกดูดซึมได้ดีกว่าการกินครั้งละมากๆ (มากกว่า 500 mg) ดังนั้นหากจะให้แคลเซียมถูกดูดซึมได้ดีที่สุด ก็ควรแบ่งกินครั้งละ 250 mg จะดีมาก เช่น หากต้องการกินแคลเซียม 1000 mg ต่อวัน ก็แบ่งกินเป็น 4 เวลา พร้อมอาหาร เช้า กลางวัน เย็น และ ก่อนนอน

4. แร่ธาตุที่เป็นองค์ประกอบควรผ่านกระบวนการคีเลชัน(Chelation)แล้ว เนื่องจากจะทำให้ประสิทธิภาพการดูดซึมแร่ธาตุนั้นๆเข้าสู่ร่างกายดีที่สุด (อ่านเพิ่ม)

5. ไม่ควรกินแคลเซียมโดโลไมต์หรือกระดูกป่นอัดเม็ดเพราะเสี่ยงต่อการได้รับโลหะหนัก เช่น ตะกั่ว

6. เนื่องจาก ธาตุเหล็ก อาจจะลดการดูดซึมแคลเซียมลงประมาณ 40% - 50% ดังนั้นไม่ควรกินแคลเซียมร่วมกับธาตุเหล็ก (ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมมากๆ ก็ได้หมายความว่าจะดีเสมอไป)



---------

ผลเสียที่ได้รับจากแคลเซียม

1.การกินแคลเซียมในปริมาณที่มากเกินไป(มากกว่า 2500 mg ต่อวัน) อาจจะก่อให้เกิดปัญหาได้ เช่น การเกิดนิ่วในไต การเกิดแคลเซียมส่วนเกินไปเกาะที่อวัยวะสำคัญส่วนต่างๆของร่างกาย เช่น เกาะที่กล้ามเนื้อ เกาะที่ลิ้นหัวใจ การเกิด spurs ท้องผูก การติดเชื้อที่กระเพาะปัสสาวะ เกิดภาวะเลือดเป็นด่างเพราะนม (เกิดจากการกินนมร่วมกับการกินยาลดกรดเกินขนาดเพื่อรักษาแผลในกระเพาะอาหาร)

2. ห้ามกินแคลเซียมพร้อมกับสิ่งเหล่านี้
อะเทนอลอล เพราะแคลเซียมทำให้อะเทนอลอลอยู่ในกระแสเลือดน้อย จึงอาจลดฤทธิ์ของอะเทนอลอลลง
ยาดิจิทาลิส ควบควมโรคหัวใจวาย เพราะอาจจะทำให้หัวใจเต้นผิดปกติได้ แต่ต้องกินแคลเซียมในปริมาณที่สูงจึงจะเกิดผลนี้ได้
---- ดังนั้น พี่น้องที่กินยาดิจิทาลิสอยู่จึงห้ามกินแคลเซียมปริมาณสูงๆ
ทิลูโดรเนต ห้ามกินแคลเซียม แมกนีเซียม และอะลูมิเนียม ร่วมกับยานี้ เนื่องจาก แร่ธาตุเหล่านี้จะไปทำลายฤทธิ์ของทิลูโดรเนต ถ้าจะกินควรกินหลังจากกินทิลูโดรเนตไปแล้วอย่างน้อย 2 ชั่วโมง

ผลิตภัณฑ์เหล็ก เนื่องจากแคลเซียมจะลดการดูดซึมธาตุเหล็กเข้าสู่กระแสเลือด ถ้าต้องกินธาตุเหล็กกับแคลเซียม ก็ควรกินให้ห่างกันอย่างน้อย 2 ชั่วโมง

นอร์ฟลอกซาซิน เนื่องจากแคลเซียมจะไปลดปริมาณนอร์ฟลอกซาซินในเลือด แต่ไม่ปรากฎว่าแคลเซียมไปมีผลต่อยาอื่นในกลุ่มเดียวกัน เช่น ไซโพรฟลอกซาซิน และ ออฟลอกซาซิน

โซเดียม โพลิสไตรีน ซัลโฟเนต เนื่องจากแคลเซียมจะทำให้ฤทธิ์ในการลดโพแทสเซียม ต่ำลง

ยาปฎิชีวนะกลุ่มเตตราไซคลิน เนื่องจาก แคลเซียมจะไปลดการดูดซึมเตตราไซคลินเข้าสู่กระแสเลือด ดังนั้นต้องแยกกินระหว่าง อาหารที่มีแคลเซียม ยาลดกรด หรือแคลเซียมเสริม ให้ห่างจากยาปฎิชีวนะเหล่านี้ ไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมง

ยาขับปัสสาวะไทอะไซด์ เนื่องจากมันจะทำให้ระดับแคลเซียมในเลือดสูง

เวอแรพามิล เนื่องจากแคลเซียมจะไปลดการดูดซึมเวอแรพามิล

เฟนิโทอีน หรือ พีโนบาร์บิทาล (ยาควบคุมอาการชัก) ยาเหล่านี้เร่งการทำลายวิตามินดี และสามารถทำให้เกิดการขาดแคลนแคลเซียมได้  ดังนั้นคนที่กินยานี้อยู่ควรกินวิตามินดีเสริมในปริมาณที่เหมาะสม รวมถึงควรกินแคลเซียมเพิ่มขึ้นจากปกติด้วย

3. การกินแคลเซียมอาจจะทำให้ผลการตรวจเลือดบางอย่างผิดไป เช่น การหาค่าซีรัม อะไมเลส (สำหรับประเมินสมรรถภาพของตับอ่อน) สูงเกินจริง หรือ ทำให้ตรวจแมกนีเซียมในเลือดไม่ได้ผล นอกจากนี้ แคลเซียมอาจจะไปมีผลต่อการตรวจปัสสาวะบางอย่าง เช่น ทำให้การตรวจสเตอรอยด์ธรรมชาติไม่ได้ผล ดังนั้นพี่น้องที่กำลังจะไปตรวจโรคต่างๆ ควรหยุดกินแคลเซียม หรือ บอกให้แพทย์ทราบก่อนตรวจว่าท่านกินแคลเซียมอยู่

4. ผู้ป่วยโรคไต ควรระมัดระวังในการกินแคลเซียม

5. Calcium carbonate อาจจะทำให้ท้องผูกได้ แก้โดยการกินน้ำเยอะๆ + แบ่งกินหลายๆมื้อ


เครดิต :
http://topicstock.pantip.com/lumpin........./L12125443.html

ไอพี: ไม่แสดง

#17 | `คิมคิบอมคิมทงเฮ | 17 ก.ค. 56 15:17 น.

ขอบคุณค่า มีประโยชน์มากๆเลยนะคะ

ไอพี: ไม่แสดง

#18 | @cq!x1OO | 17 ก.ค. 56 16:05 น.

ขอบคุณจ้า 

ไอพี: ไม่แสดง

#19 | มังกี้' | 17 ก.ค. 56 20:59 น.

ขอบพระคุณค่า-3-

ไอพี: ไม่แสดง

#20 | พี่[]เก้า* | 18 ก.ค. 56 22:20 น.

สาระปึ้กมากกกกก ขอบคุณนะค่ะ

ไอพี: ไม่แสดง

#21 | 0CEAN | 20 ก.ค. 56 05:38 น.

ขอบคุณมากๆ ค่ะ 

ไอพี: ไม่แสดง

#22 | lllllllllll'''13:16" | 20 ก.ค. 56 14:51 น.

ขอบคุณครับ

ไอพี: ไม่แสดง

แสดงความคิดเห็น

จะต้องเป็นสมาชิกจึงจะแสดงความคิดเห็นได้
เป็นสมาชิกอยู่แล้ว ลงชื่อเข้าใช้ระบบ
ยังไม่ได้เป็นสมาชิก สมัครสมาชิกใหม่
หรือจะลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google หรือ Facebook ก็ได้
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Facebook
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google