กระดาษจากพืชในท้องถิ่น

24 ส.ค. 57 21:23 น. / ดู 2,263 ครั้ง / 0 ความเห็น / 0 ชอบจัง / แชร์
อุปกรณ์และวิธีดำเนินการ

อุปกรณ์
1.กะละมังเปล่า 9 ใบ (กะละมังสำหรับแช่ 4 ใบ และกะละมังสำหรับสำหรับผสม 4 ใบ)
2.กระดาษหนังสือพิมพ์และกระดาษที่ไม่ได้ใช้แล้ว
3.กาบกล้วย 1 กิโลกรัม
4.ใบเตย 1 กิโลกรัม
5.ก้านบัว 1 กิโลกรัม
6.น้ำเปล่าสะอาด
7.เครื่องปั่น
8.ตระแกรงไนลอนสำหรับตาก 4 อัน
9.มีด
10.เขียง
วิธีดำเนินการ
1.นำน้ำเปล่าสะอาดใส่กะละมังทั้งหมด 4 ใบ
2. กะละมังที่ 1นำกระดาษที่ไม่ใช้แล้วหรือหนังสือพิมพ์ ลงไปแช่พักไว้1 วัน หลังจากนั้นนำมาฉีกเป็นชิ้นเล็กๆแล้วพักไว้
3. นำกาบกล้วย 2 กิโลกรัม มาสับเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วนำไปแช่ในน้ำกะละมังที่2  แล้วพักไว้
4.นำก้านบัวมาดึงเยื้อด้านนอกออกให้เหลือแต่ก้านบัวข้างใน จากนั้นนำมาหั่นเป็นชิ้นๆ แล้วนำไปแช่น้ำในกะละมังที่ 3 พักทิ้งไว้
5. นำใบเตยหั่นเป็นชิ้นๆแล้วนำไปแช่น้ำกะละมังที่ 4 พักทิ้งไว้
6. นำกระดาษที่ฉีกเป็นชิ้นเล็กๆไว้แล้วในกะละมังที่ 1 มาปั่นในเครื่องปั่น ผสมน้ำเล็กน้อยเพื่อให้ปั่นได้สะดวก ทำให้หมดทั้งกะละมังจากนั้นพักทิ้งไว้
7. ทำตามขั้นตอนที่ 6 แต่เปลี่ยนเป็นกาบกล้วย ก้านบัว และใบเตย
8.เมื่อส่วนผสมทั้งหมดได้ปั่นเรียบร้อยแล้ว ให้นำน้ำเปล่าใส่กะละมังสำหรับผสมทั้ง4 ใบ  ใบที่1 ให้ใส่ กระดาษที่ปั่นแล้ว + กาบกล้วยที่ปั่นแล้วลงไป ใช้มือตีส่วนผสมให้เข้ากันและไม่เกาะตัวเป็นก้อน นำตะแกรงมาร่อนให้เนื้อเยื่อกระจายตัวเต็มแผ่นตะแกรงให้ทำทั้งหมด1 ตะแกรง จากนั้นนำไปตากแดด 1 วัน หรือจนกว่า จะแห้งสนิท
9.กะละมังผสมใบที่ 2 หลังจากใส่น้ำแล้วให้ใส่กระดาษที่ปั่นแล้ว+ ก้านบัว ที่ปั่นแล้วลงไปใช้มือตีส่วนผสมให้เข้ากันและไม่เกาะตัวเป็นก้อนนำตะแกรงมาร่อนให้เนื้อเยื่อกระจายตัวเต็มแผ่น (พยายามไม่ให้หนาหรือบางจนเกินไป)ให้ทำทั้งหมด1 ตะแกรง จากนั้นนำไปตากแดด 1 วันหรือจนกว่าจะแห้งสนิท
10. กะละมังผสมใบที่ 3 หลังจากใส่น้ำแล้วให้ใส่กระดาษที่ปั่นแล้ว + ใบเตยที่ปั่นแล้วลงไปใช้มือตีส่วนผสมให้เข้ากันและไม่เกาะตัวเป็นก้อนนำตะแกรงมาร่อนให้เนื้อเยื่อกระจายตัวเต็มแผ่น (พยายามไม่ให้หนาหรือบางจนเกินไป)ให้ทำทั้งหมด1 ตะแกรง จากนั้นนำไปตากแดด 1 วันหรือจนกว่าจะแห้งสนิท
11. กะละมังผสมใบที่ 4หลังจากใส่น้ำแล้วให้ใส่กระดาษที่ปั่นแล้วแล้วลงไปใช้มือตีส่วนผสมให้เข้ากันและไม่เกาะตัวเป็นก้อนนำตะแกรงมาร่อนให้เนื้อเยื่อกระจายตัวเต็มแผ่น (พยายามไม่ให้หนาหรือบางจนเกินไป)ให้ทำทั้งหมด1 ตะแกรง จากนั้นนำไปตากแดด 1 วันหรือจนกว่าจะแห้งสนิท
12.เมื่อกระดาษที่เรานำไปตากทั้งสี่4 ตะแกรงแห้งแล้วจากนั้นให้เราลอกกระดาษออกจากตะแกรง พยายามอย่าให้กระดาษฉีกขาด
13. นำกระดาษที่ได้มาทำการทดสอบคุณสมบัติกับกระดาษสาโดยนำกระดาษผสมกาบกล้วย 1 แผ่น กระดาษผสมใบเตย 1 แผ่น กระดาษผสมก้านบัว 1 แผ่น และกระดาษที่ไม่ผสมอะไรเลย 1 แผ่นมาทดสอบ จากนั้นสังเกตและบันทึกผลการทดลอง







ผลการทดลองและวิจารณ์ผล

ตารางที่ 1 การเปรียบเทียบกระดาษที่ได้จากการทดลองด้วยกันเอง



พืชที่ใช้ คุณสมบัติ

ลักษณะพื้นผิว
ความหนาของกระดาษ
การฉีกขาด
การดูดซับน้ำ

กาบกล้วย สัมผัสแล้วรู้สึกหยาบ ผิวจะขรุขระน้อยกว่าใบเตย

บางกว่าใบเตย

ฉีกขาดได้ง่าย ซึมซับน้ำได้
เร็วและเนื้อกระดาษไม่หลุดรุ่ยออกมา

ใยบัว
ผิวเรียบที่สุด มีความบางกว่ากาบกล้วยและใบเตย ฉีกง่ายที่สุด ซึมซับน้ำได้เร็วแต่ไม่มีการยุ่ยและหลุดออกมาของเยื้อกระดาษ

ใบเตย เมื่อสัมผัสแล้วมีหยาบมากที่สุดลักษณะผิวขรุขระ เนื้อเยื้อปรากฏเด่นชัดที่สุด

มีความหนามากที่สุด
เมื่อนำมาฉีกจะฉีกได้แต่จะเห็นเนื้อเยื้อเด่นชัด
ดูดซับน้ำได้เร็วสุดแต่มีอกาสการหลุดของเนื้อเยื้อ

ดอกขจรจบ ผิวค่อนข่างขรุขระ มีความหนาน้อย ค่อนข้างบาง ฉีกขาดได้ง่าย น้ำซึมเร็วมากและไม่มีการหลุดลุ่ยของเยื้อกระดาษ
แก้ไขล่าสุด 24 ส.ค. 57 21:24 | เลขไอพี : ไม่แสดง

อ่านต่อ คุณอาจจะสนใจเนื้อหาเหล่านี้ (ความคิดเห็นกระทู้ อยู่ด้านล่าง)

ความคิดเห็น

ยังไม่มีความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

จะต้องเป็นสมาชิกจึงจะแสดงความคิดเห็นได้
เป็นสมาชิกอยู่แล้ว ลงชื่อเข้าใช้ระบบ
ยังไม่ได้เป็นสมาชิก สมัครสมาชิกใหม่
หรือจะลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google หรือ Facebook ก็ได้
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Facebook
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google