นำมาให้ชม "ไม้กลายเป็นหิน" อายุ 800,000 ปี ทึ่งสุดๆ

3 ต.ค. 57 04:55 น. / ดู 1,128 ครั้ง / 0 ความเห็น / 0 ชอบจัง / แชร์
อัศจรรย์! ไม้กลายเป็นหินอายุกว่า 800,000 ปี สูงราวๆตึก 12 ชั้น
เข้าชมวีดีโอได้ที่  http://www.youtube.com/watch?v=HMPs76xu1hc
ต้นไม้ที่เห็นอยู่นี้วัดขนาดความโตได้ 1.80 เมตร มีความยาวหรือความสูง 72.22 เมตร กลายสภาพเป็นหินอย่างน่าอัศจรรย์! ถูกฝังอยู่ใต้ดินนานกว่า 800,000 ปี ได้ทำการขุดเปิดหน้าดินเมื่อปีพ.ศ. 2546 เมื่อไม่กี่ปีนี้เอง ซึ่งเป็นข้อมูลที่ผมได้มาจากเอกสารประกอบการท่องเที่ยวที่ทางวนอุทยานไม้กลายเป็นหิน จังหวัดตาก ได้จัดทำเอาไว้เป็นคู่มือสำหรับนักท่องเที่ยว เห็นว่าเป็นสิ่งที่น่าอัศจรรย์! หาดูยาก! พอดีได้มีโอกาสไปเที่ยวจึงเก็บภาพมาฝากกันครับ



วนอุทยานแห่งชาติไม้กลายเป็นหินจังหวัดตาก คืออีกหนึ่งแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ของจังหวัดตาก และยังเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญของจังหวัด ตั้งอยู่ในเขตหมู่ที่ 7 ตำบลตากออก อำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่สลิด-โป่งแดง บริเวณกิโลเมตรที่ 443 บนทางหลวงหมายเลข 1 ถนนพหลโยธิน ซึ่งทางเข้าชมวนอุทยานไม้กลายเป็นหินจะตั้งอยู่ตรงกันข้ามโรงพยาบาลบ้านตาก ห่างจากถนนพหลโยธินประมาณ 2.5 กิโลเมตรเท่านั้น

การเดินทางสำหรับนักท่องเที่ยว
จากถนนพหลโยธินตรงกิเมตรที่ 443 ตรงทางหลวงหมายเลข 1 เข้าไปอีกประมาณ 2 กิโลเมตร คุณจะได้พบกับซากต้นไม้ดึกดำบรรพ์อายุกว่าแปดแสนปี ที่กลายเป็นแท่งหินขนาดยักษ์ได้อย่างน่าอัศจรรย์! ด้วยความยาวของลำต้นกว่า 72.22 เมตร หรือสูงราวๆตึก 12 ชั้น ถูกฝังไว้ใต้พื้นดินนานกว่าแปดแสนปี ทั้งหมดนี้มีให้เยี่ยมชมได้ที่อุทยานไม้กลายเป็นหินจังหวัดตาก ซึ่งตั้งอยู่ที่สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 14 (ตาก) กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืชจังหวัดตาก

สำหรับพื้นที่ ที่มีการสำรวจพบ Fossil ดึกดำบรรพ์ไม้กลายเป็นหินนี้อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่สลิดโป่งแดง ท้องที่หมู่ 7 ต.ตากออก อ.บ้านตาก จ.ตาก (ถนนพหลโยธิน ทางหลวงหมายเลข 1 กม.ที่ 443) จากข้อมูลของทางวนอุทยานได้ระบุเอาไว้ว่า “ไม้กลายเป็นหิน” ต้นที่เห็นอยู่นี้ เป็น Fossil ดึกดำบรรพ์ที่จัดอยู่ในยุคควอเทอร์นารี (Quaternary Period ) ซึ่งเป็นช่วงเวลาทางธรณีวิทยาเมื่อประมาณ 1.6 ล้านปีที่ผ่านมา ซึ่งภายในอุทยานไม้กลายเป็นหินแห่งนี้ ได้มีการสำรวจพบไม้กลายเป็นหินทั้งหมดจำนวน 7 ต้น มีสภาพความสมบูรณ์ที่แตกต่างกันออกไป

ซากดึกดำบรรพ์ไม้กลายเป็นหินที่เห็นอยู่ในภาพนี้ เป็นไม้กลายเป็นหินต้นที่ 1 มีสภาพสมบูรณ์ที่สุดและโตที่สุดในบรรดาไม้กลายเป็นหินทั้งหมด (7ต้น) โดยวัดขนาดความโตได้ 1.8 เมตร ความยาวของลำต้น 72.22 เมตร หรือสูงราวๆตึก 12 ชั้น ขุดเปิดหน้าดินเมื่อปีพ.ศ. 2546 และที่ผมสงสัยก็คือต้นไม้ขนาดยักษ์นี้กลายเป็นหินได้อย่างไร? และก็ได้คำตอบจากทางวนอุทยานอีกเช่นเคย มีรายละเอียดดังนี้ครับ

ไม้กลายเป็นหินได้อย่างไร?
ไม้กลายเป็นหิน จัดว่าเป็น Fossil ชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ โดยเกิดจากซากต้นไม้ ซึ่งถูกแทนที่ด้วยน้ำตาล ซึ่งมีสารละลายของซิลิก้า และเกิดจากการตกตะกอน กลายสภาพเป็นหินอย่างช้าๆ คือการแทนที่แบบโมเลกุล จนกระทั่งกลายเป็นหินในที่สุด โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างและโครงสร้างอีกเลย ซึ่งโดยปกติแล้วซิลิก้าในเนื้อไม้จะมีอยู่ในรูปของโอปอล์และคาซิโดนี ทำให้มีสีสันที่หลากหลายสวยงาม ซึ่งลักษณะการเกิดของไม้กลายเป็นหินเช่นนี้จะทำให้สภาพรูปร่างและโครงสร้างดั้งเดิมของต้นไม้ ไม่ว่าจะเป็นวงปี เปลือก ราก กิ่ง และหน่อยังคงอยู่ในสภาพให้เห็นรายละเอียดได้อย่างชัดเจน

ไม้กลายเป็นหิน มักฝังตัวอยู่ในชั้นกรวดคาดว่าจะเกิดสะสมตัวอยู่ในยุคของควอเทอร์นารีตอนต้น เป็นบริเวณรอยต่อระหว่างตะกอนพักระดับสูง และตะกอนพักระดับปานกลาง ล้อมรอบด้วยตะกอนพักระดับต่ำๆ อายุประมาณแปดแสนปี
ทั้งหมดนี้มีให้คุณสัมผัสได้ ณ เมืองแห่งเกียรติภูมิสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จังหวัดตากครับ
สุดท้ายต้องขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก
- วนอุทยานแห่งชาติไม้กลายเป็นจังหวัดตาก
- การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานตาก โทร.0-5551-4341-3, Email Address: tattak@tat.or.th

ยุคควอเทอร์นารี คืออะไร?
ยุคควอเทอร์นารี (Quaternary Period ) เป็นช่วงเวลาทางธรณีวิทยาเมื่อประมาณ 1.6 ล้านปีที่ผ่านมา เป็นยุคที่สองที่อยู่ในมหายุคซีโนโซอิก (Cenozoic Era) แบ่งออกได้เป็น 2 สมัย คือ สมัยไพลสโตซีน (Pleistocene Epoch) มีอายุประมาณตั้งแต่ 1.6 ล้านปีจนถึง 10,000 ปี และสมัยโฮโลซีน (Holocene Epoch) มีอายุประมาณตั้งแต่ 10,000 ปีจนถึงปัจจุบัน ยุคนี้ได้ประมวลเหตุการณ์ทางธรณีวิทยาตลอดจนการสะสมของตะกอนดินทรายบนผิวโลก นับตั้งแต่สิ้นยุคเทอร์เชียรี (Tertiary Period ) เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน หินที่เกิดในยุคนี้เรียกว่า หินยุคควอเทอร์นารี ครับผม
อ้างอิงจาก: http://th.wikipedia.org
เลขไอพี : ไม่แสดง

อ่านต่อ คุณอาจจะสนใจเนื้อหาเหล่านี้ (ความคิดเห็นกระทู้ อยู่ด้านล่าง)

ความคิดเห็น

ยังไม่มีความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

จะต้องเป็นสมาชิกจึงจะแสดงความคิดเห็นได้
เป็นสมาชิกอยู่แล้ว ลงชื่อเข้าใช้ระบบ
ยังไม่ได้เป็นสมาชิก สมัครสมาชิกใหม่
หรือจะลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google หรือ Facebook ก็ได้
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Facebook
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google