หนุ่มนักวางระบบ “แชมป์เน็ตไรเดอร์2 ปีซ้อน” จาก ม.เทคโนโลยีมห

5 ก.พ. 58 21:46 น. / ดู 382 ครั้ง / 0 ความเห็น / 0 ชอบจัง / แชร์
หนุ่มนักวางระบบ “แชมป์เน็ตไรเดอร์2 ปีซ้อน” จาก ม.เทคโนโลยีมหานคร เผยเทคนิคพิชิตแชมป์วิศวกรรมเครือข่าย พร้อมหนทางสร้างงาน, อาชีพ ไม่หลุดเทรนด์แน่ในอนาคต

เมื่อเร็วๆ นี้ มีการจัดแข่งขัน“ไทยแลนด์ เน็ตไรเดอร์ 2014” โดย ซิสโก (CISCO) บริษัทที่เกี่ยวกับเน็ตเวิร์คยักษ์ใหญ่จากอเมริกา  ซึ่งมีผู้สนใจสมัครรวมกว่า 160 ทีม!!!เป็นที่น่าสนใจว่า “แชมป์เน็ตไรเดอร์” ในปีนี้ ยังคงเป็นสองเยาวชนคนเก่งณัฐพล  เปรมจิตต์เสถียร (ดิ๊บ) และ สุรศิษฏ์ โตรักษา (แซม)นักศึกษาปีที่4  สาขาวิศวกรรมเครือข่ายและอินเทอร์เน็ต (NETI) คณะวิทยาการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ม.เทคโนโลยีมหานคร ที่ซิวตำแหน่งแชมป์ไปเมื่อปีที่แล้ว นอกจากนั้นยังคว้า รางวัลชนะเลิศ (ระดับประเทศ) โครงการค้นหาสุดยอดฝีมือโทรคมนาคมและไอซีทีเฉลิมพระเกียรติครั้งที่ 7ประจำปี 2557ในสาขา Data Communication มาตุนไว้ในพอร์ทเพิ่มอีกรางวัล สะสมดีกรีการันตีความเจ๋ง  ถึงตอนนี้ต้องเรียกว่าเป็นทีมเวิร์คด้านเครือข่ายคลื่นลูกใหม่ที่น่าจับตามอง ในทางเดียวกันก็เป็น Idol ให้กับน้องๆ รุ่นใหม่ที่สนใจเรียนทางด้านสาขานี้ด้วย!!!
ทั้ง “ดิ๊บ” และ “แซม” ทั้งสองได้นำความสามารถพิเศษมารวมกันเป็นหนึ่ง จึงคว้าชัยเวทีใหญ่ “ไทยแลนด์ เน็ตไรเดอร์” โดย ซิสโก (CISCO) บริษัทที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับเน็ตเวิร์ครายใหญ่จากอเมริกาได้สองปีซ้อน“แชมป์ปีนี้ พวกเรายกเครดิตให้จากปีที่แล้ว ได้ลองทำข้อสอบ ลงภาคสนามจริง ทำให้มีประสบการณ์ นำมาเพิ่มพูนทักษะและการเรียนรู้ ทำให้มีการเตรียมตัวที่ดีมากขึ้น สำหรับการสอบภาคทฤษฎี ค่อนข้างยาก เป็นภาษาอังกฤษ มีร้อยข้อแต่เวลาหกสิบนาที เฉลี่ยต้องตัดสินใจทำแต่ละข้อไม่ถึงนาที เพราะฉะนั้นข้อมูลต้องแม่น”
ในฐานะรุ่นพี่ที่ประสบความสำเร็จ อยากให้แนะนำน้องๆ ว่าควรจะเลือกเรียนอะไร สาขาไหน และต้องพิจารณาจากอะไรบ้าง?  ดิ๊บ “อย่างแรกเลย ต้องรู้ว่าเราชอบอะไร ถ้าไม่รู้ ก็ต้องลองสังเกตว่าส่วนใหญ่เราใช้เวลาไปกับอะไรมากกว่ากัน อย่างของผม ส่วนใหญ่จะเป็นคอมพิวเตอร์ เป็นเกม เป็นอะไรที่สามารถดึงคนอื่นเข้ามามีส่วนร่วมได้แม้อยู่กันคนละที่ แบบนี้ครับ แล้วก็จะสนใจว่าเขาทำได้ยังไง ใช้โปรแกรมไหน เอาอะไรมาต่อกับอะไร ความที่ชอบ เราก็จะศึกษาและลงมือทำ เวลาเรียนเราก็จะตั้งใจและมีความสุขไปกับมัน พอได้สาขาแล้ว การจะเลือกเรียนที่ไหน ให้ปรึกษาคุณพ่อคุณแม่ หรือรุ่นพี่ที่มีประสบการณ์ ถ้าให้ดี คุยกับรุ่นพี่ที่เรียนในมหาลัยและคณะนั้นๆ เพื่อประเมินว่าที่ไหนเหมาะกับเรา เราชอบแนวคิด วิธีการสอน และหลักสูตรในแบบไหน คือตอนนี้ทุกสถาบันเปิดกว้างมาก เราสามารถหาข้อมูลทุกอย่างได้จากอินเทอร์เน็ต”  แซม “เพิ่มเติมจากดิ๊บ คือพยายามดูว่าเทรนด์ต่อไปจะเป็นแบบไหน มันจะช่วยในเรื่องของความคุ้มค่า ในแง่ที่จบมามีตลาดรองรับแน่นอน คือต้องเริ่มจากความชอบก่อนนั่นแหล่ะ ถูกแล้ว แต่ก็ต้องมองในเรื่องอนาคตด้วย และสมัยนี้หลักสูตรเปิดกว้าง มีสาขาใหม่ๆ ให้เลือกตรงกับที่เราชอบ และตลอดรองรับเยอะ ให้หมั่นหาข้อมูลทุกด้าน เพื่อที่ว่าจะได้ไม่เสียเวลาเมื่อตัดสินใจแล้ว อยากเปลี่ยนภายหลัง เพิ่มเติมขณะเรียน ความรู้นอกห้องก็สำคัญมากๆ ยิ่งตอนนี้ก็มีเวทีการแข่งขันเพื่อพัฒนาทักษะและความรู้เยอะ ซึ่งถ้าเราทุ่มเทและตั้งใจ ก็จะได้อะไรจากกิจกรรมและเวทีตรงนี้เยอะมากครับ”
มีข้อมูลที่เป็นประโยชน์ จากผู้เชี่ยวชาญด้านNetwork Security ว่าอาชีพ “เน็ตเวิร์คเกอร์” ในต่างประเทศกำลังเป็นอาชีพยอดฮิต เพราะมีดีมานด์การจ้างงาน ฝังตัวอยู่ในทุกธุรกิจ ยิ่งในยุคSocial Media  ครองเมือง ความต้องการเน็ตเวิร์คเกอร์ หรือวิศวกรด้านเครือข่าย ไปทำงานประจำเพื่อโปรโมท, หาช่องทางเข้าถึงผู้บริโภค รวมถึงป้องกันการเสียหายของธุรกิจ ฯลฯ อยู่จำนวนมาก  และจากสถิติในปี 2557 พบว่า คนไทยใช้เวลาอยู่กับหน้าจอต่างๆ มากถึง 436 นาทีต่อวัน  โดยแบ่งเป็น  Smart Phone 167 นาที, แท็บเล็ต95 นาที, คอมพิวเตอร์ 96 นาที, โทรทัศน์ 78 นาที  นอกจากนี้  ข้อมูลตัวเลข  94% ของผู้ใช้ทั้งหมด  ใช้โทรศัพท์มือถือหาข้อมูลก่อนการตัดสินใจซื้อ และมีอีก 51% ใช้บริการซื้อสินค้าออนไลน์ ทั้งหมดปัจจัยเสริมและผลักดันให้  Social Media  เป็นเครื่องมืออันทรงพลัง  รวมถึงพัฒนาให้บุคลากรแวดวงโดยตรงอย่าง “เน็ตเวิร์คเกอร์” หรือ “วิศวกรด้านวิศวกรรมเครือข่าย” กลายเป็นตำแหน่งเนื้อหอม ที่ใครๆ ก็รุมตอม ด้วยผลตอบแทนที่คุ้มค่า หากจะเรียกว่าต่อไปจะเป็นยุคทองของอาชีพนี้ก็ว่าได้!!!
ด้านน้องที่กำลังสนใจ มีความชอบและอยากเรียนในคณะและสาขาที่มั่นใจได้ว่า ในอนาคตมีตลาดรองรับ สาขาวิศวกรรมเรือข่ายและอินเทอร์เน็ต ก็มีความน่าสนใจ และถ้าอย่างมีคนเก่งๆ เป็นรุ่นพี่ ก็ไปสมัคร หรือขอวิชาเพิ่มกับสองหนุ่มได้ที่คณะที่  ม.เทคโนโลยีมหานคร หรือ สอบถามที่ 02-9884021-4  ขณะนี้กำลังเปิดรับสมัครด้วย
เลขไอพี : ไม่แสดง

อ่านต่อ คุณอาจจะสนใจเนื้อหาเหล่านี้ (ความคิดเห็นกระทู้ อยู่ด้านล่าง)

ความคิดเห็น

ยังไม่มีความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

จะต้องเป็นสมาชิกจึงจะแสดงความคิดเห็นได้
เป็นสมาชิกอยู่แล้ว ลงชื่อเข้าใช้ระบบ
ยังไม่ได้เป็นสมาชิก สมัครสมาชิกใหม่
หรือจะลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google หรือ Facebook ก็ได้
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Facebook
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google