หลักการใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง

19 ก.พ. 58 19:05 น. / ดู 651 ครั้ง / 0 ความเห็น / 0 ชอบจัง / แชร์
หลักการใช้ภาษาไทยที่ถูกต้อง
ภาษาไทย ภาษาพูดหมายถึงภาษาที่ใช้สื่อสารกันด้วยการพูด
ภาษาเขียน หมายถึง ภาษาที่ใช่สื่อสารกันดัวยการเขียนเป็นตัวหนังสือและตัวเลข แทนการพูด
1.ภาษาเป็นวัฒนธรรม
ภาษาเป็นวัฒนธรรม เพราะภาษาเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ ที่จะทำให้ประเทศชาติมั่นคงเป็นปึกแผ่นด้วยเหตุที่คนพูดภาษาเดียวกันย่อมมีควมผูกพัน รักใคร่กลมเกลียว ร่วมมือร่วมใจกันประกอบภารกิจต่างๆ ให้เจริญก้าวหน้าไปอย่างมีประสิทธิภาพนอกจากนี้ภาษายังเป็นเครื่องบอกให้รู้นิสัยใจคอ สภาพความเป็นอยู่และวัฒนธรรมของคนในสังคมนั้นๆด้วย เช่น สำนวนไทยที่ว่า"สำเนียงบอกภาษา กิริยาส่อสกุล" เป็นต้นอีกประการหนึ่งที่ว่าภาษาเป็นวัฒนธรรม ก็คือ ภาษาเป็นเครื่องมือวัดความเจริญก้าวหน้าของชาตินั้นๆ ว่ามีวัฒนธรรมสูงส่งเพียงไร เราก็จะสังเกตุได้ง่ายๆ คือ คนที่ยังป่าเถื่อนหรือไม่ได้รับอบรมมาก่อนเวลาพูดก็จะไม่น่าฟัง เช่น ใช้ภาษากักขฬะ คือ แข็งกระด้างแต่คนที่ได้รับการศึกษาอบรมมาเป็นอย่างดีแล้วจะพูดจาได้ไพเราะ ใช้ภาษาก็ถูกต้องตามแบบแผนใช้คำพูดสื่อความหมายได้ แจ่มแจ้งไม่กำกวม
เป็นภาษาที่ก่อให้เกิดความเข้าใจอันดีในหมู่คณะอีกทั้งสามารถใช้ภาษาได้ถูกต้องตามกาลเทศะและเหมาะสมกับฐานะของบุคคล
2.การแบ่งระดับภาษา
ลักษณะสำคัญประการหนึ่งของภาษาไทย คือมีการแบ่งระดับของภาษา ซึ่งภาษาอื่นๆ เช่นภาษาอังกฤษก็มีระดับภาษาเช่นกันแต่ลักษณะดังกล่าวมิใช่เรื่องสำคัญเป็นพิเศษเหมือนภาษาไทย เมื่อกล่าวโดยส่วนรวม ระดับภาษาเป็นธรรมชาติอย่างหนึ่งของภาษาที่พัฒนาแล้ว และเมื่อกล่าวเฉพาะภาษาไทยระดับภาษาเป็นลักษณะพิเศษที่นักเรียนภาษาไทยจะต้องเข้าใจและใช้ให้ถูกต้องและเหมาะสม
โดยปกตินักเรียนใช้ภาษาในการสื่อสาร มิใช่เพียงเพื่อให้รู้เรื่องกันระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสารเท่านั้น แต่ยังต้องใช้ให้ได้ผลดีด้วย นั่นก็คือต้องใช้ภาษาโดยคำนึงถึงความเหมาสมกับกาลเทศะบุคคล รวมทั้งคำนึงถึงลักษณะของเนื้อหา และสื่อที่จะใช้ด้วย โดยเราใช้สิ่งเหล่านี้เป็นตัวกำหนดระดับของภาษาที่จะใช้ จึงได้มีการแบ่งระดับของภาษาตามสัมพันธภาพของบุคคล โอกาส สถานที่ และประชุมชน
ระดับภาษา หมายถึง ความลดหลั่นของถ้อยคำ และการเรียบเรียงถ้อยคำที่ใช้ตามโอกาส
กาลเทศะและความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่เป็นผู้ส่งสารและผู้รับสาร คนในสังคมแบ่งออกเป็นหลายกลุ่ม หลายชนชั้นตามสถานภาพ อาชีพ ถิ่นที่อยู่อาศัย ฯลฯ
ภาษาจึงมีลักษณะผิดแผกหลายระดับไปตามกลุ่มคนที่ใช้ภาษาด้วย เช่น การกำหนดถ้อยคำที่ใช้แก่พระสงฆ์ให้แตกต่างจากคนทั่วไป หรือการคิดถ้อยคำขึ้นใหม่เพื่อใช้ในวงการอาชีพต่างๆ การสนทนาระหว่างผู้ที่คุ้นเคยกันย่อมแตกต่างจากการสนทนาระหว่างผู้ที่เพิ่งเคยพบกันเป็นครั้งแรก หรือการพูดในที่ประชุมชนย่อมต้องระมัดระวังคำพูดมากกว่าการพูดคุยกันในกลุ่มเพื่อน แม้กระทั่งงานเขียนที่มีรูปแบบเฉพาะอย่างงานวิชาการก็ต้องใช้ถ้อยคำที่แตกต่างจากการเขียนในรูปแบบอื่น เช่น ข่าว เรื่องสั้น หรือบทกวี เป็นต้นผู้ใช้ภาษาจึงต้องคำนึงถึงความเหมาะสมและเลือกใช้ภาษาให้ถูกต้องตามโอกาสกาลเทศะ
และสัมพันธภาพระหว่างบุคคล
การแบ่งระดับภาษาสำหรับนักเรียนในระดับประถมศึกษา เพื่อให้เข้าใจง่ายอาจจะแบ่งระดับภาษา
เป็น3ระดับดังนี้
2.1 ภาษาระดับทางการ เป็นภาษาที่ใช้ในที่ประชุมที่มีแบบแผน เช่น การบรรยาย
การอภิปรายอย่างเป็นทางการหรือใช้ในการเขียนข้อความที่จะใช้ปรากฏต่อสาธารณชนอย่างเป็นการเป็นงาน เช่น ตำราวิชาการ หนังสือที่ใช้ติดต่อกันทางราชการหรือในวงการธุรกิจผู้รับสารและผู้ส่งสารมักเป็นบุคคลในวงการเดียวกันหรือวงอาชีพเดียวกันติดต่อกันในด้านธุรกิจการงาน เช่น บอกหรือรายงานให้ทราบ ให้ความรู้เพิ่มเติม เสนอความคิดเห็น ฯลฯ ลักษณะของสารเป็นเรื่องเกี่ยวกับความรู้ความคิดที่สำคัญ
2.2 ภาษาระดับกึ่งทางการ เป็นภาษาที่ใช้สื่อสารโดยมุ่งให้เกิดความเข้าใจกันด้วยความรวดเร็วลดความเป็นทางการลงบ้างเพื่อให้เกิดความใกล้ชิดยิ่งขึ้นระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร มักใช้ในการประชุมกลุ่มการอภิปรายกลุ่มการบรรยายในห้องเรียน การพูดทางวิทยุและโทรทัศน์ ข่าว และบทความในหนังสือพิมพ์ฯลฯลักษณะของสารมักเป็นเรื่องเกี่ยวกับความรู้ทั่วไป ธุรกิจ การแสดงความคิดเห็นเชิงวิชาการหรือการดำเนินชีวิตฯลฯ มักใช้ศัพท์วิชาการเท่าที่จำเป็น และอาจมีถ้อยคำที่แสดงความคุ้นเคยปนอยู่บ้าง ตัวอย่างเช่น
โลกของเด็กไม่ใช่โลกของผู้ใหญ่ และในทำนองเดียวกันโลกของผู้ใหญ่ก็ย่อมไม่ใช่โลกของเด็ก ในขณะที่ผู้ใหญ่ ชอบรับประทานน้ำพริก เด็กก็ชอบรับประทานแกงจืด เด็กชอบไอศครีม ผู้ใหญ่ชอบเหล้าฉะนั้นดูไปบางทีโลกของผู้ใหญ่กับโลกของ เด็กก็ลอยห่างกันมาก หรืออีกนัยหนึ่งทางเดินแห่งความคิดของผู้ใหญ่กับของเด็กมักจะสวนทางกันอยู่เสมอถ้าผู้ใหญ่ไม่หมุนโลกของตน ให้มาใกล้เคียงกับโลกของเด็กบ้างบาทีเมื่อผู้ใหญ่หันกลับโลกของเด็กก็ลอยไปไกลจนสุดไขว่คว้า
เสียแล้ว
2.3 ภาษาระดับปาก เป็นภาษาที่ใช้ในการพูด มักใช้ในสถานที่ที่เป็นส่วนตัวกับบุคคลที่สนิทสนมคุ้นเคย เช่นระหว่างสามีภรรยา ระหว่างญาติพี่น้อง หรือเพื่อนสนิท เป็นต้น ลักษณะของสารไม่มีขอบเขตจำกัด แต่มักใช้ในการพูดจากันเท่านั้น อาจจะปรากฏในบทสนทนาในนวนิยายหรือเรื่องสั้นเพื่อความสมจริงถ้อยคำที่ใช่อาจมีคำคะนอง คำไม่สุภาพ หรือคำภาษาถิ่นปะปนอยู่
การแบ่งภาษาเป็น 3 ระดับข้างต้นนี้ ไม่ได้เป็นการแบ่งอย่างเด็ดขาด การใช้ภาษา ในชีวิตประจำวันอาจใช้ภาษาระดับหนึ่งเหลื่อมกับอีกระดับหนึ่ง เช่น อาจใช้ภาษาระดับทางการปะปนกับภาษากึ่งทางการได้อย่างไรก็ดีการใช้ภาษาระดับต่างๆควรคำนึงถึงโอกาสสถานที่สัมพันธภาพระหว่างบุคคลลักษณะของสาร และสื่อที่ต้องใช้ส่งสาร
การศึกษาเรื่องระดับภาษาเป็นสิ่งสำคัญเพราะทำให้บุคคลแต่ละกลุ่มเข้าใจภาษาของกันและกันไม่เกิดปัญหาด้านการสื่อสารและความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลหรือกลุ่มบุคคลรวมทั้งยังทำให้ ผู้ศึกษาได้เข้าใจลักษณะเฉพาะและวิวัฒนาการของภาษาไทยอีกด้วย

การที่คนไทยเรา พูด อ่าน และเขียนภาษาไทยเป็นประจำทุกวัน จนเกิดความเคยชิน อาจจะทำให้หลายๆ คนไม่รู้สึกว่า “ภาษาไทย” มีความสำคัญแค่ไหน และมีคุณค่าเพียงไร หากจะเปรียบก็คงเหมือนกับ “อากาศ” ที่เราหายใจเข้าหายใจออกอยู่ตลอดเวลา จนเราแทบไม่รู้ค่าว่า หากขาดอากาศเมื่อไร เราก็ตายเมื่อนั้น ถึงแม้ว่า “ภาษาไทย” จะไม่เหมือนอากาศที่ทำให้เราถึงกับตาย แต่ถ้าหากชาติไทยเราขาด “ภาษาไทย” เมื่อไร นั่นก็หมายความว่า “ความเป็นชาติ” ส่วนหนึ่งก็สูญสิ้นไปด้วย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ได้มีพระราชนิพนธ์ตอนหนึ่งว่า “ภาษาเป็นเครื่องผูกพันมนุษย์ต่อมนุษย์ แน่นแฟ้นยิ่งกว่าสิ่งอื่น และไม่มีสิ่งไร ที่จะทำให้คนรู้สึกเป็นพวกเดียวกันแน่นอน ยิ่งไปกว่าพูดภาษาเดียวกัน” คนไทยเราแม้จะต่างเผ่าพันธุ์ ต่างเชื้อชาติ ต่างท้องถิ่น หรือต่างศาสนา แต่เมื่อใดก็ตามที่เราต่างพูด “ภาษาไทย” ทุกคนย่อมรู้สึกได้ทันที ถึงความเป็นพวกเดียวกัน ความเป็นชาติเดียวกัน ดังนั้น “ภาษา” จึงเป็นสิ่งที่จะร้อยรัด และผูกพันคนในชาติ ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ยิ่งหากอาศัยอยู่ในต่างประเทศ หรือแม้แต่ไปเที่ยว ถ้าได้ยินใครก็ตามพูด “ภาษาไทย” ขึ้นมา เชื่อว่าคนส่วนใหญ่ จะเกิดความรู้สึกยินดีว่า เจอพวกเดียวกันแล้ว เจอคนไทยด้วยกันแล้ว

การที่ “ภาษา” เป็นสิ่งสำคัญก็เพราะว่า ภาษาเป็นสื่อเสียง และสื่อสัญลักษณ์ของมนุษยชาติ ที่เกิดจากการสร้างสรรค์ และสั่งสมของบรรพบุรุษสืบทอดมาสู่ลูกหลาน เป็นเครื่องมือที่ทำให้คนในชาตินั้นๆ ติดต่อสื่อสารซึ่งกันและกันได้ และเป็นเหตุให้วัฒนธรรมในด้านอื่นๆ เจริญขึ้นด้วย หากไม่มี “ภาษา” มนุษย์ก็คงไม่สามารถ สืบทอดวิชาการความรู้จากคนรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่ง และไม่อาจพัฒนาหรือรักษา “ความเป็นชาติ” ของตนไว้ได้ “ภาษา” จึงเป็นสมบัติทางวัฒนธรรม ที่ทรงคุณค่ายิ่งของแต่ละชาติ
เลขไอพี : ไม่แสดง

อ่านต่อ คุณอาจจะสนใจเนื้อหาเหล่านี้ (ความคิดเห็นกระทู้ อยู่ด้านล่าง)

ความคิดเห็น

ยังไม่มีความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

จะต้องเป็นสมาชิกจึงจะแสดงความคิดเห็นได้
เป็นสมาชิกอยู่แล้ว ลงชื่อเข้าใช้ระบบ
ยังไม่ได้เป็นสมาชิก สมัครสมาชิกใหม่
หรือจะลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google หรือ Facebook ก็ได้
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Facebook
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google