อะไรอยู่ใน น้ำยาเคลือบแก้ว ?

24 ก.พ. 58 20:53 น. / ดู 401 ครั้ง / 0 ความเห็น / 0 ชอบจัง / แชร์
อะไรอยู่ใน น้ำยาเคลือบแก้ว ?

“เคลือบแก้ว” หรือ Glass Coating หรือ Crystal Coating คือ การเคลือบพื้นผิวที่สามารถเพิ่มความเงางาม และแข็ง ให้กับวัสดุได้ โดยทั่วไปเรารู้จักการเคลือบพื้นผิวแบบนี้ในงานด้านการดูแลพื้นผิวของสีรถยนต์ ซึ่ง น้ำยาเคลือบแก้ว นั้นก็คือ สารเคลือบแข็งที่ถูกทำละลายให้อยู่ในสภาพของเหลวที่ใสไม่มีสี ก่อนนำมาใช้งานเคลือบบนพื้นผิว ซึ่งเมื่อแห้งตัวเคลือบบนสีของรถยนต์แล้ว ก็จะมีความเงางาม ความแข็งและความลื่น แต่ทราบหรือไม่ว่า อะไรคือสิ่งที่ทำให้น้ำยาชนิดนี้มีคุณสมบัติเช่นนั้น ?

ในการผลิต น้ำยาเคลือบแก้ว จะมีสารตั้งต้นที่เป็นหลักสำคัญอยู่ 2 ชนิดหลักๆ ก็คือ ซิลิกา (หรือ silicon dioxide : SiO2 เป็นสารประกอบออกไซด์จากธรรมชาติพบในรูปของแร่ควอตช์และทราย) หรือ ไทเทเนียม (หรือ Titanium dioxide : Tio2 เป็นสารประกอบออกไซด์ของโลหะไทเทเนียม) ซึ่งสารทั้งสอบชนิดนี้จะมีคุณสมบัติหลักเหมือนๆ กัน ก็คือ ทำให้เกิดคุณสมบัติด้าน ความแข็ง และ ความมันวาว ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้รถหรือวัสดุที่ผ่านการเคลือบสีด้วยน้ำยาชนิดนี้ มีทั้งความสวยงาม และได้รับการปกป้องไม่ทำให้เกิดรอยขีดข่วนได้ง่าย


ด้วยคุณสมบัติของสารประกอบดังกล่าวทำให้วัสดุที่ผ่านการเคลือบมีทั้งความแข็งแรงและสวยงาม (และทำความสะอาดได้ง่าย) จึงทำให้การ เคลือบแก้ว เป็นที่นิยม นำมาใช้งานในการปกป้องสีรถ เพราะห้นอกจากจะสามารถปกป้องพื้นผิวรถยนต์ไม่ให้เกิดรอยขีดข่วนได้ง่าย มีความสวยงามคงทนยาวนานแล้ว ยังสามารถป้องกันสิ่งที่ก่อให้เกิดความสกปรกที่ทำให้รถไม่สวยงามและมลภาวะรอบๆ ตัว ได้ดีแล้ว รวมถึงช่วยเพิ่มความงามให้สีรถส่องสว่างเป็นประกายได้มากขึ้นอีกด้วย


เบื้องหลังของ น้ำยาเคลือบแก้ว หลักๆ ก็คือ สาร 2 ชนิดนี้ แต่ก็มีการเติมสารอื่นๆ ลงไป เพื่อเพิ่มคุณสมบัติด้านความลื่น การป้องกันการยึดเกาะบนพื้นผิว ป้องกันการเกิดไฟฟ้าสถิต และอื่นๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับสารชนิดนี้ เป็นการสร้างจุดเด่นเพิ่มเติมให้กับผลิตภัณฑ์เพื่อการปกป้องที่เพิ่มขึ้นอีกด้วย

บทความจาก : www.armorth.com
เลขไอพี : ไม่แสดง

มุมสมาชิก กระทู้ล่าสุดโดย automata101

แสดงกระทู้ล่าสุดโดยเปิด มุมสมาชิก และเลือกแสดงกระทู้ที่ตั้ง

อ่านต่อ คุณอาจจะสนใจเนื้อหาเหล่านี้ (ความคิดเห็นกระทู้ อยู่ด้านล่าง)

ความคิดเห็น

ยังไม่มีความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

จะต้องเป็นสมาชิกจึงจะแสดงความคิดเห็นได้
เป็นสมาชิกอยู่แล้ว ลงชื่อเข้าใช้ระบบ
ยังไม่ได้เป็นสมาชิก สมัครสมาชิกใหม่
หรือจะลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google หรือ Facebook ก็ได้
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Facebook
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google