กิจกรรมบำบัด วิชาชีพสายแพทย์ที่น่าสนใจ
27 ก.พ. 58 01:27 น. /
ดู 1,423 ครั้ง /
0 ความเห็น /
1 ชอบจัง
/
แชร์
แนะนำสาขากิจกรรมบำบัด ||OCCUPATIONAL THERAPY
สวัสดีค่ะน้องๆ ทุกคน
พี่เขียนบล็อคนี้ขึ้นมาเพื่ออยากจะแนะนำสาขานี้ให้แก่น้องๆที่สนใจนะคะ
และจะขอใช้ภาษาไม่เป็นทางการมากนัก เพราะจะได้อธิบายให้น้องๆอ่านแล้วเข้าใจง่ายนะคะ
พี่เคยอยากจะทำนานแล้ว เพราะเห็นว่ายังไม่ค่อยมีคนแนะนำ
แต่ตอนนั้นเพิ่งเข้ามาเรียนใหม่ๆ ยังรู้อะไรไม่มาก
ตอนนี้จบแล้ว เลยได้ฤกษ์ทำบล็อคซะที
ส่วนนึงก็มีน้อง allisyours ส่งแมสเสจมาถามในพันทิป
เลยทำให้ไฟในตัวพี่ลุกขึ้นอีกครั้ง
ความจริงแล้วสาขากิจกรรมบำบัดนี้เปิดมานานกว่า 30ปี แล้วนะคะ
ในประเทศไทยเนี่ยแหละ แต่ยังไม่ค่อยเป็นที่รู้จัก
(แต่เป็นอาชีพที่ค่อนข้างจะรู้จักในสหรัฐอเมริกาและยังเป็น
อาชีพที่ติดอันดับ 7 ที่ทำแล้วมีความสุขในอเมริกาด้วยนะคะ และยัง
ติดอันดับของ Forbes ให้เป็น 10 สาขาอาชีพด้านสุขภาพที่มาแรงรายได้ดีใน USA อีกด้วย
สาขากิจกรรมบำบัด มีเปิด 2 แห่งในประเทศไทย
1. สาขากิจกรรมบำบัด คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่(เปิดมาแล้ว 30 กว่าปี)
2. สาขากิจกรรมบำบัด คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล (เริ่มเปิด 2551 แม้จะอายุน้อยกว่าแต่คุณภาพไม่ได้ยิ่งหย่อนไปกว่ากันเลยค่ะ)
กิจกรรมบำบัด (Occupational Therapy: OT) คืออะไร
กิจกรรมบำบัด คือ การที่เราใช้กิจกรรมเป็นสื่อในการรักษา (เหมือนหมอต้องผ่าตัด ฉีดยา) แต่เราใช้กิจกรรมค่ะ หรือเรียกว่า เน้นการฟื้นฟูให้คนไข้กลับไปใช้ชีวิตได้ใกล้เคียงปกติมากที่สุด เราส่งเสริมให้คนไข้ใช้ความสามารถของตัวเองดูแลตัวเอง พึ่งพาคนรอบข้างให้น้อยที่สุด พูดง่ายๆว่า จะทำยังไงให้คนไข้ทำกิจวัตรประจำวัน ทำงาน ทำงานอดิเรกได้
คนไข้ในที่นี้หมายถึง..ใคร??
ใครก็ได้ที่มีปัญหาการดำเนินชีวิต (ตักข้าวกินไม่ได้ ดื่มน้ำ อาบน้ำ ขับรถ ปลูกต้นไม้ ความจำเสื่อม ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม กลืนข้าวเองไม่ได้ พลิกตะแคงตัว ลุกขึ้นนั่ง คืบ คลานไม่ได้) แต่ที่เด่นๆ หรือเวลาใช้พูดเป็น main หลัก
เราจะทำงานกับผู้ป่วย 4 กลุ่ม
1. ผู้พิการทางกาย
2. เด็กพิเศษ (เด็กออทิสติก, เด็กสมาธิสั้น ฯลฯ)
3. คนไข้ที่มีปัญหาทางจิต
4. ผู้สูงอายุ
(ปล. ตัวหนังสือที่ขีดค่าทับ ยังคงอยู่ในบริบทนะคะ เพียงแต่มันเป็นประโยคขยาย กลัวน้องๆ อ่านยาวติดกันพรึดๆ แล้วจะจับใจความ งงๆ)
ความยากง่าย ความท้าทายของ OT คืออะไร??
การครีเอทกิจกรรม ไม่ว่าจะคนไข้กายหรือเด็กหรือจิตหรือผู้สูงอายุ หลังๆก็จะเจอครีเอท splint ด้วย
การปรับอุปกรณ์ช่วย, การปรับสภาพบ้านของผู้ป่วยก็เป็นงานของเรา เราต้องคิดว่าจะทำยังไงที่จะช่วยเหลือผู้ป่วยได้มากที่สุด งาน OT เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ คนอื่นอาจจะมองดูเหมือนมันง่าย แต่คนที่ไม่ได้เรียนเค้าไม่เข้าใจจริงๆ เค้าไม่รู้ว่าทำไมถึงให้กิจกรรมนี้รักษาผู้ป่วย
(เช่น กิจกรรมหยิบลูกบอล แค่ 1 กิจกรรม เราสามารถคนไข้ได้หลายอย่างมาก แล้วเวลาเราให้การรักษาผู้ป่วยจะใช้เวลานาน น้องคิดว่าการใช้กิจกรรมเดียวรักษาคนไข้ทั้งเดือน ก็คงน่าเบื่อมากเลยเน้อะ ก็เป็นอีกหนึ่งหน้าที่ของ OT ที่ต้องคิดกิจกรรมใหม่แล้วล่ะค่ะ ^__^)
ถ้าจะให้มองภาพง่ายๆ น้องคิดว่าผู้ป่วยอัมพฤกษ์ อัมพาตที่เค้าขยับแขนไม่ได้เลย แต่เราทำให้เค้าสามารถตักข้าวกินเอง ดื่มน้ำเองได้ โดยไม่ต้องมีคนคอยดูแล น้องคิดว่าจากสภาพที่ดูแลตัวเองไม่ได้ เราช่วยเค้าได้ขนาดนี้ พอจะท้าทายความสามารถของน้องมั้ยคะ ^___^
หรือเด็กออทิสติก ที่เค้าอยู่แต่ในโลกของตัวเอง น้องจะช่วยเค้ายังไงดีคะ ที่ให้เค้าสนใจสิ่งแวดล้อม สนใจพ่อแม่ ทำกิจวัตรประจำวันได้ด้วยตัวเอง (ถ้าน้องได้มาเรียนจริง จะเจอคนไข้อีกหลายประเภทมากค่ะ รวมถึงผู้ป่วยจิตเวช ผู้ป่วยอัลไซเมอร์ ผู้ป่วยที่มีปัญหาการกลืน)
"สิ่งที่ OT ทำ ไม่ใช่การไปป้อนข้าว ป้อนน้ำให้ผู้ป่วย แต่เป็นการฟื้นฟู การฝึก
การสอนให้เค้าใช้แขนและมือทำกิจกรรมได้ด้วยตัวเอง"
กิจกรรมบำบัด "ไม่เหมือน" กายภาพบำบัด
และ OT+PT จะทำงานร่วมกัน
cr.http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=kunniie&date=14-02-2014&group=1&gblog=1

พี่เขียนบล็อคนี้ขึ้นมาเพื่ออยากจะแนะนำสาขานี้ให้แก่น้องๆที่สนใจนะคะ
และจะขอใช้ภาษาไม่เป็นทางการมากนัก เพราะจะได้อธิบายให้น้องๆอ่านแล้วเข้าใจง่ายนะคะ
พี่เคยอยากจะทำนานแล้ว เพราะเห็นว่ายังไม่ค่อยมีคนแนะนำ
แต่ตอนนั้นเพิ่งเข้ามาเรียนใหม่ๆ ยังรู้อะไรไม่มาก
ตอนนี้จบแล้ว เลยได้ฤกษ์ทำบล็อคซะที
ส่วนนึงก็มีน้อง allisyours ส่งแมสเสจมาถามในพันทิป
เลยทำให้ไฟในตัวพี่ลุกขึ้นอีกครั้ง

ความจริงแล้วสาขากิจกรรมบำบัดนี้เปิดมานานกว่า 30ปี แล้วนะคะ
ในประเทศไทยเนี่ยแหละ แต่ยังไม่ค่อยเป็นที่รู้จัก
(แต่เป็นอาชีพที่ค่อนข้างจะรู้จักในสหรัฐอเมริกาและยังเป็น
อาชีพที่ติดอันดับ 7 ที่ทำแล้วมีความสุขในอเมริกาด้วยนะคะ และยัง
ติดอันดับของ Forbes ให้เป็น 10 สาขาอาชีพด้านสุขภาพที่มาแรงรายได้ดีใน USA อีกด้วย
สาขากิจกรรมบำบัด มีเปิด 2 แห่งในประเทศไทย
1. สาขากิจกรรมบำบัด คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่(เปิดมาแล้ว 30 กว่าปี)
2. สาขากิจกรรมบำบัด คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล (เริ่มเปิด 2551 แม้จะอายุน้อยกว่าแต่คุณภาพไม่ได้ยิ่งหย่อนไปกว่ากันเลยค่ะ)
กิจกรรมบำบัด (Occupational Therapy: OT) คืออะไร
กิจกรรมบำบัด คือ การที่เราใช้กิจกรรมเป็นสื่อในการรักษา (เหมือนหมอต้องผ่าตัด ฉีดยา) แต่เราใช้กิจกรรมค่ะ หรือเรียกว่า เน้นการฟื้นฟูให้คนไข้กลับไปใช้ชีวิตได้ใกล้เคียงปกติมากที่สุด เราส่งเสริมให้คนไข้ใช้ความสามารถของตัวเองดูแลตัวเอง พึ่งพาคนรอบข้างให้น้อยที่สุด พูดง่ายๆว่า จะทำยังไงให้คนไข้ทำกิจวัตรประจำวัน ทำงาน ทำงานอดิเรกได้
คนไข้ในที่นี้หมายถึง..ใคร??
ใครก็ได้ที่มีปัญหาการดำเนินชีวิต (ตักข้าวกินไม่ได้ ดื่มน้ำ อาบน้ำ ขับรถ ปลูกต้นไม้ ความจำเสื่อม ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม กลืนข้าวเองไม่ได้ พลิกตะแคงตัว ลุกขึ้นนั่ง คืบ คลานไม่ได้) แต่ที่เด่นๆ หรือเวลาใช้พูดเป็น main หลัก
เราจะทำงานกับผู้ป่วย 4 กลุ่ม
1. ผู้พิการทางกาย
2. เด็กพิเศษ (เด็กออทิสติก, เด็กสมาธิสั้น ฯลฯ)
3. คนไข้ที่มีปัญหาทางจิต
4. ผู้สูงอายุ
(ปล. ตัวหนังสือที่ขีดค่าทับ ยังคงอยู่ในบริบทนะคะ เพียงแต่มันเป็นประโยคขยาย กลัวน้องๆ อ่านยาวติดกันพรึดๆ แล้วจะจับใจความ งงๆ)
ความยากง่าย ความท้าทายของ OT คืออะไร??
การครีเอทกิจกรรม ไม่ว่าจะคนไข้กายหรือเด็กหรือจิตหรือผู้สูงอายุ หลังๆก็จะเจอครีเอท splint ด้วย
การปรับอุปกรณ์ช่วย, การปรับสภาพบ้านของผู้ป่วยก็เป็นงานของเรา เราต้องคิดว่าจะทำยังไงที่จะช่วยเหลือผู้ป่วยได้มากที่สุด งาน OT เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ คนอื่นอาจจะมองดูเหมือนมันง่าย แต่คนที่ไม่ได้เรียนเค้าไม่เข้าใจจริงๆ เค้าไม่รู้ว่าทำไมถึงให้กิจกรรมนี้รักษาผู้ป่วย
(เช่น กิจกรรมหยิบลูกบอล แค่ 1 กิจกรรม เราสามารถคนไข้ได้หลายอย่างมาก แล้วเวลาเราให้การรักษาผู้ป่วยจะใช้เวลานาน น้องคิดว่าการใช้กิจกรรมเดียวรักษาคนไข้ทั้งเดือน ก็คงน่าเบื่อมากเลยเน้อะ ก็เป็นอีกหนึ่งหน้าที่ของ OT ที่ต้องคิดกิจกรรมใหม่แล้วล่ะค่ะ ^__^)
ถ้าจะให้มองภาพง่ายๆ น้องคิดว่าผู้ป่วยอัมพฤกษ์ อัมพาตที่เค้าขยับแขนไม่ได้เลย แต่เราทำให้เค้าสามารถตักข้าวกินเอง ดื่มน้ำเองได้ โดยไม่ต้องมีคนคอยดูแล น้องคิดว่าจากสภาพที่ดูแลตัวเองไม่ได้ เราช่วยเค้าได้ขนาดนี้ พอจะท้าทายความสามารถของน้องมั้ยคะ ^___^
หรือเด็กออทิสติก ที่เค้าอยู่แต่ในโลกของตัวเอง น้องจะช่วยเค้ายังไงดีคะ ที่ให้เค้าสนใจสิ่งแวดล้อม สนใจพ่อแม่ ทำกิจวัตรประจำวันได้ด้วยตัวเอง (ถ้าน้องได้มาเรียนจริง จะเจอคนไข้อีกหลายประเภทมากค่ะ รวมถึงผู้ป่วยจิตเวช ผู้ป่วยอัลไซเมอร์ ผู้ป่วยที่มีปัญหาการกลืน)
"สิ่งที่ OT ทำ ไม่ใช่การไปป้อนข้าว ป้อนน้ำให้ผู้ป่วย แต่เป็นการฟื้นฟู การฝึก
การสอนให้เค้าใช้แขนและมือทำกิจกรรมได้ด้วยตัวเอง"
กิจกรรมบำบัด "ไม่เหมือน" กายภาพบำบัด
และ OT+PT จะทำงานร่วมกัน
cr.http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=kunniie&date=14-02-2014&group=1&gblog=1
เลขไอพี : ไม่แสดง
อ่านต่อ คุณอาจจะสนใจเนื้อหาเหล่านี้ (ความคิดเห็นกระทู้ อยู่ด้านล่าง)
ความคิดเห็น
ยังไม่มีความคิดเห็น
จะต้องเป็นสมาชิกจึงจะแสดงความคิดเห็นได้
เป็นสมาชิกอยู่แล้ว ลงชื่อเข้าใช้ระบบ
ยังไม่ได้เป็นสมาชิก สมัครสมาชิกใหม่
หรือจะลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google หรือ Facebook ก็ได้
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Facebook
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google
เป็นสมาชิกอยู่แล้ว ลงชื่อเข้าใช้ระบบ
ยังไม่ได้เป็นสมาชิก สมัครสมาชิกใหม่
หรือจะลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google หรือ Facebook ก็ได้
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Facebook
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google