แนะนำหลักสูตร กิจกรรมบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล :)

4 มี.ค. 58 00:58 น. / ดู 2,001 ครั้ง / 0 ความเห็น / 1 ชอบจัง / แชร์
“กิจกรรมบำบัด”
หมายถึง การกระทำเกี่ยวกับความสามารถของบุคคลที่มีความบกพร่องทางด้านร่างกาย จิตใจ การเรียนรู้ และพัฒนาการเกี่ยวกับเด็ก โดยกระบวนการตรวจ ประเมิน ส่งเสริม ป้องกัน บำบัดและฟื้นฟูสมรรถภาพ ให้สามารถทำกิจกรรมต่างๆ ได้ เพื่อให้บุคคลดำเนินชีวิตได้ตามศักยภาพ โดยการนำกิจกรรม วิธีการ และอุปกรณ์ที่เหมาะสมมาเป็นวิธีการในการบำบัด
1. กลุ่มงานผู้รับบริการเด็ก ให้บริการตรวจวัด/กระตุ้นส่งเสริมพัฒนาการให้เป็นไปตามวัย
กลุ่มผู้รับบริการ เช่นเด็กออทิสติก, เด็กปัญญาอ่อน, เด็กสมองพิการ, เด็กสมาธิสั้น, เด็กบกพร่องทางการเรียน, เด็กบกพร่องทางการเห็น (สายตาเลือนลาง), เด็กพิการซ้ำซ้อน, เด็กพัฒนาการล่าช้า, ดาวน์ซินโดรมและเด็กที่ความผิดปกติทางระบบประสาท
การบำบัดรักษา
การบูรณาการระบบประสาทสัมผัส เพื่อการลดพฤติกรรมกระตุ้นตนเองและเพิ่มสมาธิ
การปรับพฤติกรรม
การเพิ่มทัศนะคติต่อตนเอง ด้านเอกลักษณ์เฉพาะตน, รูปลักษณ์, ความรู้สึกเคารพในตนเองหรือหยิ่งในศักดิ์ศรีของตนเอง
การเพิ่มทักษะด้านภาษา
เพิ่มการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม

2. กลุ่มงานผู้รับบริการที่มีปัญหาทางระบบประสาทกล้ามเนื้อ ให้บริการฟื้นฟูสมรรถภาพทางด้านร่างกาย ระบบประสาทและการรับรู้ เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถช่วยเหลือตนเองและทำกิจวัตรประจำวันได้ตามระดับความสามารถสูงสุด นอกจากนี้ยังให้บริการฝึกเตรียมความพร้อมทักษะที่จำเป็นต่อการประกอบอาชีพ ผู้รับบริการประกอบด้วย ผู้ป่วยอัมพฤกษ์/อัมพาต, ผู้ป่วยที่ได้รับความบาดเจ็บทางสมอง, ผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลัง, ผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง, ข้ออักเสบ(รูมาตอยด์) ผู้ที่มีปัญหาเรื่องของระบบกระดูก กล้ามเนื้อ ผู้ที่มีความบกพร่องด้านประสาทรับความรู้สึก (sensory) ผู้ที่มีความบกพร่องด้านการรับรู้และเข้าใจ (perception & cognition)
การบำบัดรักษา
ฟื้นฟูความสามารถในการทำงานของรยางค์(แขน ขา มือ เท้า) โดยเทคนิคต่างๆ เช่น การจำกัดการทำงานของแขนข้างดี
การเพิ่มช่วงการเคลื่อนไหว
การเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อ
การปรับเปลี่ยน/ดัดแปลง อุปกรณ์ช่วย
การสงวนพลังงาน
การใส่เครื่องช่วยดาม

3. กลุ่มงานผู้รับบริการทางจิตเวช ให้บริการฟื้นฟูความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน การดูแลสุขอนามัย ส่งเสริมให้ผู้ป่วยได้ประกอบอาชีพและมีส่วนร่วมในสังคมได้ อีกทั้งมุ่งเน้นการฝึกให้ผู้ป่วยดูแลตนเองได้โดยไม่เป็นภาระต่อญาติหรือผู้ดูแล กลุ่มผู้รับบริการประกอบด้วย ผู้ป่วยโรคจิตเภทที่มีอาการหลงผิด หูแว่ว ประสาทหลอน ผู้ติดสารเสพติด ผู้ที่มีความเครียดสูงที่ส่งผลต่อบทบาทหน้าที่ การทำงาน การพักผ่อน, โรคอารมณ์สองขั้ว, โรควิตกกังวล, โรคย้ำคิดย้ำทำ, โรคซึมเศร้า
การบำบัดรักษา
พัฒนาทักษะพื้นฐานการดำเนินชีวิต ด้านการดูแลตนเอง การใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับครอบครัว การใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ การทำงาน การอยู่ร่วมกับชุมชน สังคม
การเพิ่มคุณค่าให้ตนเอง
4. กลุ่มงานผู้สูงอายุ ผู้ที่อยู่ในวัยสูงอายุ มักประสบกับภาวะความเสื่อมทั้งระบบกระดูก กล้ามเนื้อ ความคิด ความจำ ความเข้าใจ และเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะเกิดภาวะสมองเสื่อมตามมา ดังนั้น งานกิจกรรมบำบัดในผู้สูงอายุ จึงมุ่งเน้นการคงความสามารถทั้งทางด้านร่างกาย ด้านการรับรู้และเข้าใจ ภาวะสมองเสื่อม (Dementia), โรคอัลไซเมอร์, ข้อเสื่อม, สายตาเลืองลาง
การบำบัดรักษา
การเพิ่มความสามารถทางด้านการรู้คิด (การรับรู้ตามความเป็นจริง, การกระตุ้นการรู้คิด, ความจำ)
การเพิ่มความแข็งแรงกล้ามเนื้อ
การเพิ่มช่วงการเคลื่อนไหว
การจัดสภาพแวดล้อมให้มั่นคงปลอดภัย
การปรับเปลี่ยน/ดัดแปลง อุปกรณ์ช่วย
การสงวนพลังงาน

5. กลุ่มงานกิจกรรมบำบัดในชุมชน เป็นการออกให้บริการตรวจประเมิน บำบัดรักษา และปรับสภาพที่อยู่อาศัยของผู้รับบริการในท้องถิ่นต่างๆ นอกจากนี้นักกิจกรรมบำบัดยังเข้าไปมีส่วนร่วมกับองค์กรในชุมชน เพื่อเป็นที่ปรึกษาให้คำแนะนำในการจัดทำโครงการดูแลสุขภาพ พัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในท้องถิ่น
นักกายภาพบำบัดเน้นในการฟื้นฟูผู้ป่วยที่มีความบกพร่องด้านการช่วยเหลือตัวเอง อาทิ ผู้ป่วยอัมพาต เป็นต้น โดยเข้าไปดูแลให้คนไข้สามารถใช้กล้ามเนื้อแขน ขา ให้ทำงานได้เกือบเป็นปกติ เพราะในความเป็นจริงผู้ที่ป่วยด้วยโรคดังกล่าวคงไม่สามารถกลับมาใช้ชีวิตหรือหายขาดจากโรคที่เป็นได้ร้อยเปอร์เซ็นต์
นักกิจกรรมบำบัดจะฝึกให้ผู้ป่วยสามารถทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้โดยเน้น 4 พื้นฐานในการดำเนินชีวิตหลักๆคือ 1. กิจวัตรประจำวัน 2. เรียนหรือทำงาน 3.ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ 4. การพักผ่อน ผู้ป่วยที่เข้ามาบำบัดจะต้องสามารถทำทุกข้อที่ว่ามานั้นได้ ซึ่งการรักษาคนไข้ต้องมีการวางแผนร่วมกันระหว่างคนไข้ นักกิจกรรมบำบัดและญาติของคนไข้ด้วย
ในเมืองนอกนักกิจกรรมบำบัดไม่ใช่ทำงานอยู่แต่ในคลินิกอย่างเดียวต้องหมั่นออกไปพบปะและติดตามอาการคนไข้ทั้งที่บ้านและโรงเรียนหรือที่ทำงานด้วย
วิชาที่เรียน
ปี1    วิทยาศาสตร์พื้นฐาน เช่น ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ และ วิชาพื้นฐานของสาขา
ปี2    Anatomy(กายวิภาคศาสตร์), Neuroanatomy (ประสาทกายวิภาคศาสตร์), ชีวกลศาสตร์(Biomechanic) และการประเมินขั้นพื้นฐาน
ปี3    กิจกรรมบำบัดฝ่ายกาย,กิจกรรมบำบัดฝ่ายเด็ก,กิจกรรมบำบัดฝ่ายจิต,กิจกรรมบำบัดฝ่ายผู้สูงอายุ และ  ฝึกงานในเมืองหรือต่างประเทศ
ปี4    ทำวิจัย+ฝึกงานต่างจังหวัด

นักกิจกรรมบำบัดทำงานในสถานที่ที่แตกต่างกันออกไป ได้แก่ โรงพยาบาลใหญ่ ๆ ทั้งของราชการและเอกชน โรงพยาบาลทางจิตเวช โรงเรียนเด็กพิเศษ ตลอดจนเป็นที่ปรึกษาทางวิชาการให้กับองค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาทักษะการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตตลอดทุกช่วงวัย

บรรณานุกรม
1.วิชิตา เกศะรักษ์. วิธีการลดพฤติกรรมกระตุ้นตนเองในเด็กที่มีความล่าช้าทางพัฒนาการ. ; วารสารกิจกรรมบำบัด. 2544; 6(2):12-17
2.หทัยชนก อภิโกมลกร. Constraint-Induced Movement Therapy (CI Therapy) ในผู้ป่วย Stroke. ;วารสารกิจกรรมบำบัด./2544; 6(2):1-3
3.วาริทธ์นันท์ เมธาภัทร. Self-esteem กับปัญหาของเด็กและเยาวชน (ในทัศนะของนักกิจกรรมบำบัด). วารสารกิจกรรมบำบัด.2544; 6(2):29-31
4.รัชนี นามจันทรา. การฟื้นฟูสภาพผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม. วารสาร มฉก.วิชาการ. 2553; 14(27):137-150
5.http://www.otat.org/index.php?lay=show&ac=article&Id=302040
6.http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%9A%E0%B8%B3%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%94#.E0.B8.9A.E0.B8.97.E0.B8.9A.E0.B8.B2.E0.B8.97.E0.B8.99.E0.B8.B1.E0.B8.81.E0.B8.81.E0.B8.B4.E0.B8.88.E0.B8.81.E0.B8.A3.E0.B8.A3.E0.B8.A1.E0.B8.9A.E0.B8.B3.E0.B8.9A.E0.B8.B1.E0.B8.94
7.http://www.otinthailand.org/index.php?lay=show&ac=article&Id=222561&Ntype=2
8.https://www.gotoknow.org/posts/92038
9.https://www.gotoknow.org/posts/92038
เลขไอพี : ไม่แสดง

อ่านต่อ คุณอาจจะสนใจเนื้อหาเหล่านี้ (ความคิดเห็นกระทู้ อยู่ด้านล่าง)

ความคิดเห็น

ยังไม่มีความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

จะต้องเป็นสมาชิกจึงจะแสดงความคิดเห็นได้
เป็นสมาชิกอยู่แล้ว ลงชื่อเข้าใช้ระบบ
ยังไม่ได้เป็นสมาชิก สมัครสมาชิกใหม่
หรือจะลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google หรือ Facebook ก็ได้
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Facebook
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google