ไขข้อข้องใจ Prompt Pay รูปแบบการโอนเงินแบบใหม่…คุณพร้อมใช้หรือยัง?

2 ส.ค. 59 15:04 น. / ดู 531 ครั้ง / 3 ความเห็น / 0 ชอบจัง / แชร์
“แค่ใช้เบอร์โทรศัพท์ หรือเลขที่บัตรประชาชน
ก็โอนเงินหากันได้แล้วนะ ไม่ต้องจำเลขที่บัญชีกันอีกแล้ว ที่สำคัญ! โอนฟรี ไร้ค่าธรรมเนียมอีกด้วย”

พร้อมเพย์ (Prompt Pay) เป็นระบบที่ใช้สำหรับทำธุรกรรมทางการเงิน ที่เกิดขึ้นเพื่อให้ความสะดวกและสบายมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม ใช้การผูกบัญชีกับเลขบัตรประชาชน หรือเบอร์โทรศัพท์มือถือเท่านั้น ไม่ต้องจดจำเลขบัญชีให้ยุ่งยาก ข้อดีคือการรับสวัสดิการ หรือการรับภาษีคืน อะไรก็ตามที่เกี่ยวข้องกับภาครัฐ แน่นอนรัฐบาลเขาไม่รู้เลขบัญชีเราหรอก หากจะทำเรื่องคงต้องซีร็อคหน้าสมุดบัญชีให้ยากไปอีก แต่ถ้าเป็นเลขบัตรประชาชน ก็ง่ายนิดเดียวเมื่อภาครัฐมีฐานข้อมูลตรงนี้อยู่แล้ว ทำให้ง่ายในการโอนเงินนั่นเอง
Prompt Pay มันดีอย่างไรต่อชีวิตของเรา?
1. เพราะเป็นการผูกบัญชีไว้กับเลขบัตรประชาชนทำให้การดำเนินงานเกี่ยวกับรัฐฯ ง่ายขึ้น เช่น การรับภาษีคืน การรับสวัสดิการต่าง ๆ เมื่อภาครัฐมีฐานข้อมูลเลขบัตรประชาชนเราอยู่แล้ว ช่วยให้ง่ายและสะดวกมากขึ้น
2. ช่วยลดการพกเงินสด เพื่อความมั่นคงปลอดภัยที่สูงขึ้น เพราะเป็นธุรกรรมการเงินออนไลน์ เกิดขึ้นภายใต้ National e-Payment
3. ที่สำคัญ! ค่าธรรมเนียมต่ำลงกว่าค่าธรรมเนียมในการรับจ่ายโอนธนาคารทั่วไป เริ่มต้นแบบ 0 บาท ฟรีค่าธรรมเนียม และสูงสุดแค่ 10 บาทต่อรายการโอนเงินต่างธนาคารเท่านั้น ว้าวๆๆ

Prompt Pay สมัครอย่างไร?
1. เตรียมแค่ 3 อย่างก็สมัครได้แล้ว ได้แก่ สมุดบัญชี เลขบัญชีเงินฝากธนาคาร + บัตรประชาชนตัวจริง + โทรศัพท์ของเราที่ต้องการใช้ในการลงทะเบียน
2. ผู้ใช้งานสามารถเลือกได้ระหว่างเบอร์โทรศัพท์ กับเลขบัตรประชาชน ว่าจะใช้อันไหนในการสมัคร เมื่อเลือกแล้วบัญชีธนาคารนั้นจะผูกกับเบอร์มือถือหรือเลข ปชช. จากนั้นก็เป็นอันเรียบร้อย
3. สามารถสมัครผูกบัญชีได้ที่ ตู้เอทีเอ็ม/Internet Banking/Mobile Banking/สาขาธนาคารที่สะดวก
ผูกบัญชีกันอย่างไร?
1. เลขบัตร ปชช. + เบอร์มือถือ 1 ผูกกับบัญชี A
2. เลขบัตร ปชช. + เบอร์มือถือ 1 + เบอร์มือถือ 2 + เบอร์มือถือ 3 ผูกกับบัญชี A
3. เลขบัตร ปชช ผูกกับบัญชี A และเบอร์มือถือ 1 + เบอร์มือถือ 2 + เบอร์มือถือ 3 ผูกกับบัญชี B
4. เลขบัตร ปชช ผูกกับบัญชี A ,เบอร์มือถือ 1 ผูกกับบัญชี B, เบอร์มือถือ 2 ผูกกับบัญชี C และเบอร์มือถือ 3 ผูกกับบัญชี D

อยากรู้ค่าธรรมเนียมอ่านตรงนี้
สำหรับการโอนเงินต่างธนาคารจะมีค่าธรรมเนียมซึ่งแตกต่างกันออกไปตามจำนวนเงิน ได้แก่
• วงเงินไม่เกิน 5,000 บาทไม่เสียค่าธรรมเนียม
• วงเงิน 5,001-30,000 บาทคิดค่าธรรมเนียมไม่เกิน 2 บาทต่อรายการ
• วงเงิน 30,001-100,000 บาทคิดค่าธรรมเนียมไม่เกิน 5 บาทต่อรายการ
• วงเงินมากกว่า 100,000 บาทขี้นไปคิดค่าธรรมเนียมไม่เกิน 10 บาทต่อรายการ

สิ่งสำคัญที่ต้องรู้เมื่อใช้ Prompt Pay
1. ธนาคารจะดูแลความมั่นคงปลอดภัยของระบบ และตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล พร้อมตอบข้อซักถามและให้ความช่วยเหลือ
2. ก่อนใช้งานควรเลือกให้ดีว่าจะผู้กบญชีกับธนาคารไหนเพราะผูกเลขเดียวซ้ำกันหลายธนาคารไม่ได้
3. ระบบของธนาคารทุกแห่งจะเริ่มให้บริการลงทะเบียนได้ตั้งแต่วันที่ 15 ก.ค. 59 เป็นต้นไป
4. ไม่มีการปิดรับลงทะเบียน
5. ธนาคารมีความพร้อมเปิดให้ลงทะเบียนก่อนได้ ตั้งบแต่วันที่ 1 ก.ค. 59 เป็นต้นไป
6. นิติบุคคลจะเปิดให้ลงทะเบียนได้ในระยะถัดไป โดยจะประกาศให้ทราบต่อไป
7. สามารถเปลี่ยน/ยกเลิกการผูกบัญชีได้ตลอดเวลา

มีข้อสงสัยเกี่ยวกับ Prompt Pay อย่าเก็บไว้ ติดต่อศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย Hotline: 1213 หรือที่เว็บไซต์ 1212.or.th แต่ถ้ามีปัญหาด้านการซื้อขายออนไลน์ ก็สามารถติดต่อ ศูนย์รับเรื่องร้องเรียนปัญหาออนไลน์ กระทรวง ICT Hotline: 1212

ที่มา : www.facebook.com/ETDA.Thailand
แก้ไขล่าสุด 2 ส.ค. 59 15:06 | เลขไอพี : ไม่แสดง | ตั้งกระทู้โดย Windows 8.1

อ่านต่อ คุณอาจจะสนใจเนื้อหาเหล่านี้ (ความคิดเห็นกระทู้ อยู่ด้านล่าง)

ความคิดเห็น

#1 | pulla | 3 ส.ค. 59 10:16 น.

ขอบคุณข้อมูลดีๆ ค่ะ ละเอียดมากเลย   

ไอพี: ไม่แสดง | โดย Windows 8.1

#2 | CMCPro | 3 ส.ค. 59 10:39 น.

ขอบคุณค่ะ

ไอพี: ไม่แสดง | โดย Windows 7

#3 | sz382365 | 3 ส.ค. 59 10:41 น.

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ นะค้าาาาา ชอบจุง

ไอพี: ไม่แสดง | โดย Windows 8.1

แสดงความคิดเห็น

จะต้องเป็นสมาชิกจึงจะแสดงความคิดเห็นได้
เป็นสมาชิกอยู่แล้ว ลงชื่อเข้าใช้ระบบ
ยังไม่ได้เป็นสมาชิก สมัครสมาชิกใหม่
หรือจะลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google หรือ Facebook ก็ได้
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Facebook
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google