อะไรยังไง!? นักวิชาการชี้ พิษสวาท ดัดแปลงมาจากนิยายฝรั่ง!

5 ส.ค. 59 18:12 น. / ดู 840 ครั้ง / 2 ความเห็น / 0 ชอบจัง / แชร์
ดูเหมือนจะดังจนฉุดไม่อยู่แล้วสำหรับละครเรื่อง "พิษสวาท" ที่มาจากบทประพันธ์ของ ทมยันตี ซึ่งตอนนี้ทั้งทีมงาน นักแสดง และผู้ประพันธ์ต่างก็ได้รับเสียงชื่นชมไปตามๆ กัน แล้วก็มีคำวิจารณ์ทั้งดีและลบมาตลอด เรียกได้เลยว่าตอนนี้ทุกคนต่างเกาะกระแสละครเรื่องนี้แบบวันต่อวันเลยทีเดียว และตอนนี้ก็มีประเด็นร้อนฉ่าผุดขึ้นมาอีก 1 เมื่อ "อาจารย์พิชญ์อาภา พิศุทธ์เศรณี" อาจารย์ประจำสำนักวิชาการระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ออกมาพูดถึงละครเรื่องนี้ด้วยอีกคน แต่คราวนี้ไม่ได้มาเล่นๆ นะจ๊ะ เพราะอาจารย์ได้โพสต์เฟซบุ๊ก บอกว่านิยายเรื่องนี้มีการดัดแปลงมาจากนิยายเรื่อง Ziska ของประเทศอังกฤษ อ้าว..ยังไงกันล่ะทีนี้

อาจารย์ได้ให้ความรู้ว่านิยายเรื่อง พิษสวาท ยืมพล็อตมาจากนิยายฝรั่งเรื่อง Ziska  ที่เขียนโดย Marie Corelli นักเขียนระดับปรมาจารย์ชาวอังกฤษ แถมนิยายเรื่องดังกล่าวยังมีมาตั้งแต่ปี 1897 แล้ว! ซึ่งตามท้องเรื่องของฉบับฝรั่งก็คือ นางเอกเป็นผีนางระบำอียิปต์ ที่โดนสามีซึ่งเป็นแม่ทัพของฟาโรห์ หลอกไปฟันคอตายในสุสานฟาโรห์ เพื่อให้เป็นผีเฝ้าสมบัติกษัตริย์ นางเอกเลยพยายามตามหาสามีที่กลับมาเกิดใหม่ หวังหักคอจิ้มน้ำพริก แล้วเอาวิญญาณไปอยู่ด้วยกัน แล้วทาง ทมยันตี ก็เอานิยายฉบับนั้นมาใส่พริกขี้หนูกับน้ำปลาลงไป เพื่อให้ได้กลิ่นรสแบบไทยๆ

ยังไม่หมดเพียงเท่านี้ เพราะอาจารย์ยังแอบบอกอีกว่ามีนิยายอีกหลายเรื่องเลยทีเดียวที่ทำแบบนี้ อย่างเช่น "สาวเครือฟ้า" ของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ มาจากบทละครเรื่อง "Madame Butterfly (1904)" ของ Giacomo Puccini นักประพันธ์บทละครชาวอิตาเลี่ยน

"อุโมงค์ผาเมือง" บทภาพยนตร์ของ หม่อมหลวงพันธุ์เทวนพ เทวกุล ซึ่งดัดแปลงจากเรื่อง "ราโชมอน" ของ หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช นั้น เอามาจากเรื่องสั้นเรื่อง "Rashomon (1915)" ของ Ryunosuke Akutagawa นักเขียนชาวญี่ปุ่น

"ไผ่แดง" ของหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช เอามาจากนิยายเรื่อง "The Little World of Don Camillo (1948)" ของ Giovannino Guareschi นักเขียนชาวอิตาลี

"กาเหว่าที่บางเพลง" ของหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช เอามาจากนิยายเรื่อง
"The Midwich Cuckoos (1957)" ของ John Wyndham นักเขียนชาวอังกฤษ

ยังไม่หมดเพียงเท่านี้ เพราะอาจารย์ยังทิ้งท้ายแบบเจ็บๆ ไว้อีกว่า "อ่านหนังสือกันเยอะๆนะคะ นอกจากภาษาไทยต้องอ่านภาษาอังกฤษด้วยค่ะ จะได้รู้ทันนักเขียนไทย และรู้ทันความเป็นไทย"



ตอนนี้ก็มีกระแสวิพากษ์วิจารณ์มากมาย แต่ส่วนใหญ่จะไปในทางชี้แจงมากกว่าทางทางคุณทมยันตีไม่ได้ลอกเลียนแบบนิยายเรื่องไหนแน่นอน ส่วนข้อเท็จจริงจะเป็นยังไงนั้น เราก็คงต้องรอติดตามกันต่อไปค่ะ

และมากันอีกเรื่องค่ะ ไหนๆ ละครเรื่องนี้ก็ปังขนาดนี้ เราก็จะขอพาไปตามรอยดูดีกว่าว่าผีคุณอุบลในเรื่องพิษสวาทนั้นเฝ้าอะไรอยู่ ซึ่งสิ่งของเหล่านี้เชื่อว่าส่วนหนึ่งเป็นสมบัติในกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ค่ะ


..ก่อนอื่นขอเริ่มต้นด้วยภาพต้นตอของความอาฆาตแค้นก่อน เพื่อเพิ่มฟีลลิง..

กรุสมบัติมีทั้งหมด 3 ห้องใหญ่ๆ เรียงกันลงไปตามแนวดิ่ง โดยชั้นล่างสุดอยู่ในแนวระดับพื้นดิน หลังจากที่ขุดค้นเสร็จแล้ว รัฐบาลได้เปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าชมกรุ โดยสร้างบันไดจากห้องคูหาลงไปถึงกรุด้านล่าง

กรุห้องที่ 1 เดิมมีผนังก่อปิดภาพทั้งหมด หลังผนังทำเป็นช่องเล็กๆ ใส่พระพิมพ์และพระพุทธรูปไว้จนเต็ม

กรุห้องที่ 2 มีถาดทองคำ 3 ใบเต็มไปด้วยเครื่องทอง กรมศิลปากรได้รื้อพื้นกรุห้องนี้ออก เพื่อเจาะลงไปดูกรุเบื้องล่าง ปัจจุบันกรุที่ 2 และ 3 จึงเชื่อมต่อกัน

กรุห้องที่ 3 ชั้นในเป็นห้องที่สำคัญที่สุด เป็นที่บรรจุพระบรมธาตุ ซึ่งเก็บรักษาอย่างดีในพระเจดีย์ทองคำที่มีวัตถุทรงกรวยทำจากเหล็กบุชินครอบไว้ 1 ชั้น ตามด้วยทองเหลืองอีก 2 ชั้น และเงินอีก 1 ชั้น เก็บรวมกับพระพุทธรูปทองคำและจารึกบูชาพระธรรม

แผนผังกรุสมบัติทั้งหมด


แค่ทางลงไปหาสมบัติก็ทำเอาขนลุกเกรียวแล้ว


ต่อไปนี้จะเปิดกรุสมบัติให้ดูแล้วนะคะ ว่าบางส่วนมีอะไรบ้าง





นอกจากจะพบสมบัติล้ำค่าภายในพระปรางค์ของวัดราชบูรณะจำนวนมากแล้ว สิ่งที่มีค่าอีกอย่างที่พบก็คือภาพจิตรกรรมฝาผนังที่ยังเห็นชัดเจนอยู่หลายแห่งอีกด้วยค่ะ แม้จะเลือนลาง แต่ก็คงความขลัง

เลขไอพี : ไม่แสดง | ตั้งกระทู้โดย WinXP

อ่านต่อ คุณอาจจะสนใจเนื้อหาเหล่านี้ (ความคิดเห็นกระทู้ อยู่ด้านล่าง)

ความคิดเห็น

#1 | lady_punk | 6 ส.ค. 59 10:20 น.

ถ้าเป็นจริงดังเช่นอาจารย์พูด...แสดงว่านักเขียนไทย หลายคนก็ลอกความคิด ไอเดียของฝรั่งมาทั้งนั้นดิ๊

ไอพี: ไม่แสดง | โดย Android

#2 | noomnoi | 7 ส.ค. 59 15:24 น.

เอานะ มาดัดแปลงหน่อย เพื่อความบันเทิง ไม่เป็นไรหรอก

ไอพี: ไม่แสดง | โดย WinXP

แสดงความคิดเห็น

จะต้องเป็นสมาชิกจึงจะแสดงความคิดเห็นได้
เป็นสมาชิกอยู่แล้ว ลงชื่อเข้าใช้ระบบ
ยังไม่ได้เป็นสมาชิก สมัครสมาชิกใหม่
หรือจะลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google หรือ Facebook ก็ได้
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Facebook
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google