ดู Deepwater Horizon แล้วย้อนกลับการขุดเจาะในเมืองไทย

30 ก.ย. 59 12:06 น. / ดู 1,497 ครั้ง / 8 ความเห็น / 0 ชอบจัง / แชร์
หนังเรื่อง Deepwater Horizon จะเข้าฉาย เป็นหนังที่ถ่ายทอดเรื่องจริงจากเหตุการณ์น้ำมันรั่วในอ่าวเม็กซิโกเมื่อปี 2010 ทำให้เกิดความเสียหายเป็นประวัติการณ์ของอุตสาหกรรมน้ำมัน ทั้งต่อชีวิตพนักงาน ไฟไหม้แท่นเจาะผลิต สิ่งแวดล้อมทางทะเล ชาวประมง และชุมชนในเมืองชายฝั่งได้รับผลกระทบมากมาย บริษัทน้ำมัน BP ต้องชดใช้ค่าเสียหายและจ่ายค่าปรับเป็นมูลค่าหลายหมื่นล้านเหรียญ


ก่อนจะไปดูหนัง ผมเลยขอถือโอกาสนี้ขั้นตอนการผลิตปิโตรเลียมในอ่าวไทยให้เพื่อนๆ ได้รับทราบกันเสียหน่อย เผื่อจะช่วยเพิ่มอรรถรส ความเข้าใจให้กับทุกท่านตอนดูหนังกันครับ
ก๊าซธรรมชาติหมายถึงก๊าซที่ผ่านกระบวนการผลิตที่แยกเอาน้ำ ก๊าซเหลว (condensate) และก๊าซไม่พึงประสงค์ที่ติดขึ้นมาจากแหล่งใต้ดินออก แล้วส่งผ่านท่อมาขึ้นฝั่งที่มาบตาพุด ระยอง โดยยังไม่ได้แยกองค์ประกอบต่างๆ ออกมา ซึ่งก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยมีองค์ประกอบที่ดีผสมอยู่มาก แต่แหล่งของเรามีโครงสร้างซับซ้อนกว่าแหล่งในประเทศอื่น ส่วนใหญ่จะเป็นชั้นบาง ๆ 5-10 ชั้น และกระจายตัวเป็นกะเปาะไม่เชื่อมต่อถึงกัน ทำให้การสำรวจและพัฒนาแหล่งก๊าซในไทย ทำได้ยากกว่า มีค่าใช้จ่ายเจาะหลุมสูงกว่าในหลายประเทศ

การผลิตก๊าซธรรมชาตินั้นจะมีส่วนประกอบสำคัญดังนี้ครับ
1. หลุมผลิต (Production Well) คือหลุมที่เจาะลงไปจากแท่นหลุมผลิตเพื่อนำเอาก๊าซธรรมชาติขึ้นมา จากชั้นกักเก็บก๊าซซึ่งอยู่ลึกประมาณ 2.5-3 กม. โดยจะต้องเจาะทะแยงและเลี้ยวไปหากะเปาะที่กระจายตัวในชั้นต่างๆ

2. แท่นหลุมผลิต (Wellhead Platform) เป็นแท่นขนาดเล็กมีช่องเจาะหลุม 9-16 ช่อง ก๊าซที่ขึ้นมาจากหลุมต่างๆ จะถูกนำมารวมกันเพื่อส่งผ่านท่อไปยังแท่นผลิตกลาง

3. แท่นผลิตกลาง (Central Processing Platform) เป็นแท่นขนาดใหญ่ที่มีอุปกรณ์เหมือนโรงงานกลางทะเล ทำหน้าที่ปรับคุณภาพก๊าซที่ส่งมาจากแท่นหลุมผลิต แยกน้ำ ก๊าซเหลว และของเสียหรือองค์ประกอบที่ไม่ใช่ไฮโดรคาร์บอนออก ที่แท่นผลิตจะมีคนทำงานเป็นจำนวนมาก จึงมีแท่นที่พักอาศัยสำหรับ 100-150 คน และปกติจะมีแท่นหลุมผลิตหลักของแหล่งนั้น ๆ ตั้งอยู่ในบริเวณเดียวกันด้วย

4. ระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ (Natural Gas Transmission System) รับก๊าซจากแท่นผลิตกลางส่งผ่านท่อในทะเลยาวกว่า 400 กม. มาขึ้นฝั่งเข้าสู่โรงแยกก๊าซที่มาบตาพุด และรับก๊าซที่ออกจากโรงแยกส่งไปยังผู้ใช้ก๊าซต่างๆ เช่น โรงไฟฟ้า โรงงานอุตสาหกรรม สถานีหลัก NGV ระบบท่อในปัจจุบันประกอบด้วยท่อหลักในทะเล 3 เส้น และบนบก 4 เส้น รวมทั้งที่เชื่อมต่อก๊าซมาจากประเทศเมียนมาร์ เป็นความยาวรวมกว่า 4,500 กม. ซึ่งปตท.เป็นผู้ลงทุนและดำเนินการเพื่อความมั่นคงทางพลังงานของประเทศ

5. โรงแยกก๊าซธรรมชาติ (Gas Separation Plant) เป็นโรงงานบนบกที่แยกก๊าซ CO2 และก๊าซอื่นที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูงกว่าที่จะใช้เป็นเชื้อเพลิงออกจากก๊าซมีเทน ปัจจุบันเรามีโรงแยกรวม 6 โรง ผลิตก๊าซหุงต้มและวัตถุดิบปิโตรเคมี สร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจมากมาย


ทั้งหมดนี้เป็นการสรุปอย่างสั้นๆ เพื่อให้เพื่อนๆ ได้เข้าใจกระบวนการ แต่ยังมีรายละเอียดอีกมากนะครับ ดูจาก Trailer ของ Deepwater Horizon แล้ว ผมเชื่อว่าทุกคนก็คงจะสัมผัสได้ถึงความกดดันและความเสี่ยงต่างๆในการนำก๊าซและน้ำมันขึ้นมาใช้ ถ้าใครได้มีโอกาสไปชม ลองมาพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้ครับ

FB: Tevin at PTT
https://www.facebook.com/tevinatptt/posts/1220366501328257
แก้ไขล่าสุด 30 ก.ย. 59 12:07 | เลขไอพี : ไม่แสดง | ตั้งกระทู้โดย Windows 7

อ่านต่อ คุณอาจจะสนใจเนื้อหาเหล่านี้ (ความคิดเห็นกระทู้ อยู่ด้านล่าง)

ความคิดเห็น

#1 | sz384449 | 30 ก.ย. 59 16:20 น.

ขอบคุณมากเลย อ่านแล้วเข้าใจมากขึ้น

ไอพี: ไม่แสดง | โดย Windows 10

#2 | lady_punk | 1 ต.ค. 59 07:06 น.

เมืองไทยนี่ก็แปลกเน๊อะ เป็นประเทศผลิตน้ำมันเองได้ แต่คนไทยกลับได้ใช้น้ำมันราคาแพง....  

ไอพี: ไม่แสดง | โดย Android

#3 | sz384468 | 1 ต.ค. 59 09:22 น.

อยากไปทำงานแบบนี้บ้าง

ไอพี: ไม่แสดง | โดย Windows 10

#4 | งานนี้งานเดียว | 2 ต.ค. 59 23:24 น.

ดีจังเลย น่ารัก

ไอพี: ไม่แสดง | โดย Windows 7

#5 | Dorothy | 3 ต.ค. 59 12:38 น.

โหวววว ความรู้ ขอบคุณมากค่ะ ^^

ไอพี: ไม่แสดง | โดย Windows 8.1

#6 | hippooo | 4 ต.ค. 59 06:56 น.

ชอบบบ

ไอพี: ไม่แสดง | โดย MacOS

#7 | haute_e | 4 ต.ค. 59 13:00 น.

อยากไปเห็นของจริงเลย 

ไอพี: ไม่แสดง | โดย WinXP

แสดงความคิดเห็น

จะต้องเป็นสมาชิกจึงจะแสดงความคิดเห็นได้
เป็นสมาชิกอยู่แล้ว ลงชื่อเข้าใช้ระบบ
ยังไม่ได้เป็นสมาชิก สมัครสมาชิกใหม่
หรือจะลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google หรือ Facebook ก็ได้
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Facebook
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google