ความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจไทยร่วงสู่อันดับ37 จากบนเวทีโลกจัดโดย IMD

30 พ.ย. 59 14:26 น. / ดู 399 ครั้ง / 3 ความเห็น / 0 ชอบจัง / แชร์
รายงานการศึกษาล่าสุดงบ่งชี้ว่า เอเชียกำลังตกอยู่ในความเสี่ยงที่จะสูญเสียความสามารถในการแข่งขันบนเวทีโลก หากยังละเลยที่จะพัฒนาบุคลากรผู้มีความสามารถทางธุรกิจในประเทศของตนเอง
          นับเป็นปีที่ 2 ติดต่อกันที่เอเชียมีตัวแทนเพียงประเทศเดียวที่ติด 1 ใน 10 อันดับแรกในการจัดอันดับ World Talent Ranking [ http://www.imd.org/wcc/news-talent-report ] โดย IMD  [ http://www.imd.org/ ] โรงเรียนธุรกิจชั้นนำของโลก
          รายงานของ IMD ซึ่งจัดทำขึ้นเป็นประจำทุกปี ได้ประเมินประเทศต่างๆ จำนวน 61 ประเทศ โดยพิจารณาจากความสามารถในด้านการพัฒนา การดึงดูด และการรักษาบุคลากรที่มีความสามารถต่อการเพิ่มพูนศักยภาพในการดำเนินงานของธุรกิจ
โดยใน 61 ประเทศที่เข้ารับการจัดอันดับในปีนี้นั้น ฮ่องกงรั้งอันดับ 10 โดยไต่ขึ้นสองอันดับจากปี 2558 ส่วนประเทศอื่นๆในเอเชียต่างมีอันดับที่รูดลงถ้วนหน้า

          ขณะที่สิงคโปร์ ซึ่งเป็นประเทศหนึ่งเดียวจากเอเชียที่ติด 1 ใน 10 อันดับแรกเมื่อปีที่แล้ว ในปีนี้ร่วงลงห้าอันดับมาอยู่ในอันดับที่ 15 ส่วนมาเลเซียหล่นลงจากอันดับ 15 ไปอยู่ในอันดับที่ 19 และไต้หวันขยับลงหนึ่งอันดับจาก 23 ไปอยู่อันดับที่ 24 และไทยตกจากอันดับที่ 34 ลงไปอยู่อันดับที่ 37

          ส่วนจีน หนึ่งในประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจของโลก ตกลงมาสามอันดับไปอยู่อันดับที่ 43 โดยมีอินโดนีเซียตามหลังมาในอันดับที่ 44

          ศาสตราจารย์อาร์ทูโร บริส ผู้อำนวยการ World Competitiveness Center [ http://www.imd.org/wcc ] ของ IMD ซึ่งเป็นผู้เผยแพร่รายงานนี้ ระบุว่า การขาดแคลนการลงทุนเพื่อพัฒนาบุคลากรที่มีความสามารถในประเทศ เป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ประเทศต่างๆในเอเชียถูกลดอันดับลง

          เขากล่าวว่า "เราไม่มีข้อสังสัยเลยว่า หลายประเทศในเอเชียยังคงเป็นกลุ่มประเทศที่สามารถดึงดูดบุคลากรระดับหัวกะทิจากต่างประเทศได้ดีที่สุดแห่งหนึ่งของโลก โดยที่สิงคโปร์เป็นที่หนึ่งในประเทศเหล่านั้น"

          "และเราก็ไม่มีความเคลือบแคลงเช่นกันว่า เอเชียจะสามารถยกระดับความสามารถในการแข่งขันโดยรวมได้ ด้วยความรู้และประสบการณ์จากบุคลากรต่างชาติ"

          "อย่างไรก็ตาม สิ่งนี้ยังไม่เพียงพอที่จะชดเชยการขาดแคลนด้านการพัฒนาบุคลากรที่มีศักยภาพภายในประเทศ โดยเฉพาะการลงทุนจากภาครัฐในด้านการศึกษา" ศ.บริสกล่าว

          "จากประเด็นดังกล่าวและประเด็นที่เกี่ยวข้อง หมายความว่า ประเทศในเอเชียทำได้ไม่ดีพอ เมื่อพิจารณาจากเกณฑ์การประเมินที่สำคัญที่สุดบางข้อ ซึ่งเราใช้วัดความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจโดยรวมของแต่ละประเทศ"

          ผลการจัดอันดับนั้นได้จากผลรวมการดำเนินงานใน 3 ด้านด้วยกัน ได้แก่ การลงทุน/การพัฒนา ความดึงดูด และความพร้อม ซึ่งรวบรวมจากปัจจัยที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการศึกษา การฝึกงาน การฝึกอบรมพนักงาน แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน ทักษะทางด้านภาษา ค่าครองชีพ คุณภาพชีวิต ค่าจ้าง อัตราภาษี และภาวะสมองไหล

          สวิตเซอร์แลนด์ เดนมาร์ก เบลเยียม สวีเดน เนเธอร์แลนด์ ฟินแลนด์ นอร์เวย์ ออสเตรีย ลักเซมเบิร์ก และฮ่องกง นำหน้าเยอรมนีขึ้นไปอยู่ใน 10 อันดับแรกของปีนี้

          ศาสตราจารย์บริสกล่าวว่า สาเหตุที่สิงคโปร์หลุดจาก 10 อันดับแรกนั้น เป็นเพราะการขาดการลงทุนที่เพียงพอในด้านการศึกษาทั้งระดับประถมและมัธยม ในช่วงปีที่ผ่านมา

          นอกจากนี้ เขาได้กล่าวถึงกรณีของประเทศจีน ซึ่งทำอันดับไม่ดีอย่างต่อเนื่องว่า "แม้ว่าจะมีการเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ แต่จีนยังคงไม่ใช่ประเทศแรกๆ ที่ดึงดูดบุคลากรผู้มีความสามารถจากต่างประเทศ เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ"
เลขไอพี : ไม่แสดง | ตั้งกระทู้โดย Windows 7

อ่านต่อ คุณอาจจะสนใจเนื้อหาเหล่านี้ (ความคิดเห็นกระทู้ อยู่ด้านล่าง)

ความคิดเห็น

#1 | lady_punk | 30 พ.ย. 59 19:57 น.

ไทยเป็นศูนย์กลางผลิตรถยนต์ระดับแถวหน้าของเอเชีย มาตั้ง 20-30 ปี แต่คนไทยกลับไม่มีใครเป็นเจ้าของแบรนด์รถยนต์ แม้แต่คนเดียว?

ในขณะที่ กัมพูชา มาเลเซีย สามารถมีแบรนด์รถยนต์เป็นของตัวเองแล้ว?


แก้ไขล่าสุด 30 พ.ย. 59 19:59 | ไอพี: ไม่แสดง | โดย Android

#2 | sz381000 | 8 ธ.ค. 59 18:03 น.

 

ไอพี: ไม่แสดง | โดย Windows 7

#3 | mem_375454 | 22 ม.ค. 60 18:50 น.

น่าตกใจนะเนี่ย

ไอพี: ไม่แสดง | โดย Windows 7

แสดงความคิดเห็น

จะต้องเป็นสมาชิกจึงจะแสดงความคิดเห็นได้
เป็นสมาชิกอยู่แล้ว ลงชื่อเข้าใช้ระบบ
ยังไม่ได้เป็นสมาชิก สมัครสมาชิกใหม่
หรือจะลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google หรือ Facebook ก็ได้
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Facebook
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google