เผยผลคะแนนพิซา (PISA 2015) การอ่านไทยดิ่งลง ในขณะที่สิงคโปร์ขึ้นแท่นอันดับ 1

8 ธ.ค. 59 17:15 น. / ดู 1,180 ครั้ง / 0 ความเห็น / 0 ชอบจัง / แชร์

เมื่อวันที่ 7 ธ.ค. 59 ทางสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) และกระทรวงศึกษาธิการได้จัดแถลงข่าวเกี่ยวกับผลการประเมิน PISA2015 สิงคโปร์ขึ้นแท่นอันดับที่ 1 ของโลก ขณะที่ไทย อยู่อับดับที่ 55 คะแนนลดลงทุกวิชา
          โครงการประเมินผลนักเรียนร่วมกับนานาชาติ หรือ PISA (Programme for International Student Assessment) ริเริ่มโดยองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organisation for Economic Co-operation and Development หรือ OECD) มีวัตถุประสงค์เพื่อหาตัวชี้วัดคุณภาพการศึกษาให้แก่ประเทศในโครงการ เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2000 และมีการประเมินอย่างต่อเนื่องทุกๆ 3 ปี เพื่อติดตามแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงและคุณภาพการเรียนรู้ของนักเรียน โดยกลุ่มตัวอย่างของ PISA คือ นักเรียนกลุ่มอายุ 15 ปี ซึ่งสากลถือว่าเป็นวัยจบการศึกษาภาคบังคับ การประเมินของ PISA จะไม่เน้นการประเมินความรู้ตามหลักสูตรในโรงเรียน แต่เน้นการประเมินความสามารถของนักเรียนในการใช้ความรู้และทักษะเพื่อแก้ปัญหาในชีวิตจริง หรือที่เรียกว่า การรู้เรื่อง 3 ด้าน ได้แก่ การรู้เรื่องการอ่าน การรู้เรื่องคณิตศาสตร์ และการรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ (Scientific Literacy) ซึ่งการรู้เรื่องทั้งสามด้านนี้ ถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการเรียนรู้ตลอดชีวิต และเป็นสิ่งที่ประชากรจำเป็นต้องมีเพื่อการพัฒนาและการแข่งขันทางเศรษฐกิจของประเทศ



สัดส่วนของข้อสอบแต่ละวิชาแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับว่าในรอบการประเมินนั้นเน้นการประเมินวิชาใดเป็นหลัก สำหรับรอบการประเมิน PISA 2015 เน้นการประเมินวิชาวิทยาศาสตร์ จึงมีสัดส่วนของข้อสอบวิทยาศาสตร์ประมาณ 60% ส่วนวิชาคณิตศาสตร์และการอ่านมีสัดส่วนของข้อสอบประมาณวิชาละ 20% ซึ่งใน PISA 2015 ประเมินวิทยาศาสตร์เป็นวิชาหลักนับเป็นครั้งที่สองต่อจาก PISA 2006 มีประเทศที่เข้าร่วมโครงการ PISA 2015 มีจำนวน 72 ประเทศ/เขตเศรษฐกิจ โดยมี 57 ประเทศ/เขตเศรษฐกิจ ที่สอบด้วยคอมพิวเตอร์ (Computer-based assessment หรือ CBA) และ มี 15 ประเทศ/เขตเศรษฐกิจ ที่สอบด้วยกระดาษ (Paper-based assessment หรือ PBA)


โดย PISA 2015 จัดให้มีการสอบด้วยคอมพิวเตอร์ (CBA) ครบทุกวิชาเป็นครั้งแรก สำหรับประเทศที่ไม่เลือกสอบด้วยคอมพิวเตอร์ก็ยังสามารถใช้การสอบด้วยกระดาษ (PBA) ตามรูปแบบเดิมได้ แต่ประเทศที่สอบแบบ PBA จะสอบด้วย ข้อสอบชุดวัดแนวโน้ม (Trend items) เท่านั้น ต่างจากประเทศที่สอบแบบ CBA ที่จะสอบด้วยข้อสอบชุดวัดแนวโน้ม และข้อสอบชุดใหม่ที่พัฒนาขึ้นสำหรับการสอบด้วยคอมพิวเตอร์โดยเฉพาะ นักเรียนแต่ละคนจะได้ข้อสอบต่างฉบับกัน ซึ่งใช้เวลาในการทำข้อสอบ 2 ชั่วโมง สำหรับประเทศไทยตั้งแต่ PISA 2000 ถึง PISA 2012 เป็นการจัดสอบแบบ PBA แต่ใน PISA 2015 ทำการสอบแบบ CBA

ทั้งนี้ระดับชั้นที่มีนักเรียนอายุ 15 ปีจำนวนมากที่สุดของโรงเรียนไทย ได้แก่ ระดับ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หรือ ปวช.1 (ประมาณ 70%) รองลงมาคือ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (ประมาณ 26%) ที่เหลือเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1, 2 และปีที่ 5 หรือ ปวช. 2 การสุ่มตัวอย่างใช้วิธีการสุ่มแบบเป็นระบบอย่างเคร่งครัด ตามสัดส่วนของจำนวนนักเรียนในแต่ละกลุ่มโรงเรียนและตามพื้นที่ เพื่อให้ได้ตัวแทนกระจายครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศ

ในเอเชียตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้ มี 11 ประเทศ/เขตเศรษฐกิจเข้าร่วมการประเมิน ซึ่งเป็นประเทศสมาชิก OECD คือ เกาหลีและญี่ปุ่น นอกจากนี้มีประเทศร่วมโครงการ ได้แก่ จีน 4 มณฑล (ประเมินใน 4 มณฑล ได้แก่ ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ เจียงซู และกวางตุ้ง) ฮ่องกง-จีน อินโดนีเซีย มาเก๊า-จีน มาเลเซีย1 สิงคโปร์ จีนไทเป ไทย และเวียดนาม (จีนไทเปเป็นประเทศที่ไม่ใช่เขตเศรษฐกิจของจีนซึ่งต่างจากฮ่องกง-จีน และ มาเก๊า-จีน จึงเขียนชื่อต่างกัน โดยเขียนคำว่า จีนนำหน้าเพราะเป็นจีนอีกประเทศหนึ่ง ส่วนประเทศที่เป็นเขตเศรษฐกิจของจีน จะเขียนชื่อเขตเศรษฐกิจ แล้วตามด้วยค าว่า “-จีน” เพื่อให้รู้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของจีน)


ผลการประเมินของประเทศไทยเมื่อเทียบกับ PISA ปีที่ผ่านมา
มีผลลดลงทุกด้านเมื่อเทียบกับ PISA 2006 ที่มีสถิติน้อยสุด แต่ PISA 2015 ต่ำกว่า ทั้งทางด้านการอ่าน และคณิตศาสตร์

ผลการประเมิน PISA 2015 ของประเทศไทย มีคะแนนเฉลี่ยด้านวิทยาศาสตร์ 421 คะแนน (ค่าเฉลี่ย OECD 493 คะแนน) การอ่าน 409 คะแนน (ค่าเฉลี่ย OECD 493 คะแนน) และคณิตศาสตร์ 415 คะแนน (ค่าเฉลี่ย OECD 490 คะแนน) เมื่อวิเคราะห์แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของคะแนนในภาพรวมตั้งแต่การประเมินรอบแรกจนถึงปัจจุบัน พบว่า ผลการประเมินด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ของไทยไม่เปลี่ยนแปลง ส่วนด้านการอ่านมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ กลุ่มโรงเรียนที่เน้นวิทยาศาสตร์ของไทยได้คะแนนวิทยาศาสตร์ 567 คะแนน การอ่าน 537 คะแนน และคณิตศาสตร์ 556 คะแนน ซึ่งเป็นคะแนนที่สูงในระดับเดียวกับกลุ่มบนสุด 5 อันดับแรก ขณะที่กลุ่มโรงเรียนสาธิต วิทยาศาสตร์ได้ 510 คะแนน การอ่าน 494 คะแนน และคณิตศาสตร์ 503 คะแนน ซึ่งมีสูงกว่าค่าเฉลี่ย OECD ส่วนกลุ่มโรงเรียนอื่นๆ ยังคงมีคะแนนต่ำกว่าค่าเฉลี่ย OECD และจากผลการประเมินพบว่า ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 3 ของกลุ่มประเทศอาเซียน รองจากสิงคโปร์ และเวียดนาม

และที่น่าสนใจคือ ผลการการทำสอบครั้งนี้ปรากฏว่า สิงคโปร์ ขึ้นเป็นที่ 1 ของโลก ตามมาด้วยญี่ปุ่น เอสทัวเนีย ฟินแลนด์ และแคนาดา ทางฝั่งเวียดนามพัฒนากระโดดขึ้นชั้นระดับโลกเป็นที่ 8 ส่วนไทยอยู่อันดับที่ 55 โดยผลการทดสอบลดลงในทุกวิชา

ทั้งนี้ประเทศ/เขตเศรษฐกิจที่มีผลการประเมิน PISA 2015 สูงสุดห้าอันดับแรก ได้แก่


ภาพกลุ่มประเมินคะแนนด้านวิทยาศาสตร์ทั่วโลก

ผลการประเมินด้านวิทยาศาสตร์ ได้แก่  สิงคโปร์ (556 คะแนน)  ญี่ปุ่น (538 คะแนน)  เอสโตเนีย (534 คะแนน)  จีนไทเป (532 คะแนน)  และฟินแลนด์ (531 คะแนน)  ตามลำดับ


ภาพกลุ่มประเมินคะแนนด้านการอ่านทั่วโลก

ผลการประเมินด้านการอ่าน  ได้แก่  สิงคโปร์ (535 คะแนน)  แคนาดา (527 คะแนน)  ฮ่องกง-จีน (527 คะแนน) ฟินแลนด์ (526 คะแนน)  และไอร์แลนด์ (521 คะแนน)  ตามลำดับ


ภาพกลุ่มประเมินคะแนนด้านคณิตศาสตร์ทั่วโลก

ผลการประเมินด้านคณิตศาสตร์ ได้แก่  สิงคโปร์ (564 คะแนน)  ฮ่องกง-จีน (548 คะแนน)  มาเก๊า-จีน (544 คะแนน)  จีนไทเป (542 คะแนน)  และญี่ปุ่น (532 คะแนน)  ตามลำดับ


สรุปได้ว่า จากการประเมิน PISA ที่ผ่านมา มีข้อสังเกตคือ นักเรียนไทยทั้งกลุ่มที่มีความสามารถสูงและกลุ่มที่มีความสามารถต่ำมีจุดอ่อนอยู่ที่ด้านการอ่าน จากการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติพบว่าความสามารถด้านการอ่านมีความสัมพันธ์กับด้านคณิตศาสตร์และด้านวิทยาศาสตร์ หากความสามารถด้านการอ่านต่ำจะทำให้ผลการประเมินด้านอื่นมีคะแนนต่ำไปด้วย ดังนั้น ระบบการศึกษาไทยจึงต้องยกระดับความสามารถด้านการอ่านของนักเรียนอย่างเร่งด่วน 

เครดิตข้อมูล
pisathailand.ipst.ac.th
compareyourcountry.org/pisa

#การศึกษาไทย #PISA2015
แก้ไขล่าสุด 9 ธ.ค. 59 14:44 | เลขไอพี : ไม่แสดง | ตั้งกระทู้โดย WinXP

มุมสมาชิก กระทู้ล่าสุดโดย WhiteMan

แสดงกระทู้ล่าสุดโดยเปิด มุมสมาชิก และเลือกแสดงกระทู้ที่ตั้ง

อ่านต่อ คุณอาจจะสนใจเนื้อหาเหล่านี้ (ความคิดเห็นกระทู้ อยู่ด้านล่าง)

ความคิดเห็น

ยังไม่มีความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

จะต้องเป็นสมาชิกจึงจะแสดงความคิดเห็นได้
เป็นสมาชิกอยู่แล้ว ลงชื่อเข้าใช้ระบบ
ยังไม่ได้เป็นสมาชิก สมัครสมาชิกใหม่
หรือจะลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google หรือ Facebook ก็ได้
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Facebook
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google