ชาวเน็ตควรทราบ! เนื้อหา พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ฉบับใหม่ ว่าด้วยการกระทำผิดโดยคร่าวๆ ?

19 ธ.ค. 59 17:26 น. / ดู 428 ครั้ง / 0 ความเห็น / 0 ชอบจัง / แชร์

หลังสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ (สนช.) ลงมติด้วยคะแนนเสียง 161 เสียง ผ่าน พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ...

สิ่งที่ชาวเน็ตจะต้องเพิ่มความระมัดระวังนับจากนี้ ในการใช้ใช้งานอินเตอร์เน็ตประกอบด้วยเนื้อหาคร่าวๆ ดังนี้คือ

1. การระมัดระวังการวิพากษ์วิจารณ์ผ่านโลกออนไลน์มากขึ้น เพราะ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯฉบับใหม่ได้เพิ่มความเข้มงวดต่อการเผยแพร่ข้อความ โดยระบุว่าการเผยแพร่ “ข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ” ในข้อความตามมาตรา 14 (2)

-เช่น ความผิดฐานโพสต์ข้อมูลเท็จที่กระทบต่อ
“ความปลอดภัยสาธารณะ”
“ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ”
หรือ “การบริการสาธารณะ”


และควรระมัดระวังการแสดงความคิดเห็นที่อาจจะสร้างความขัดแย้งขึ้นในประเด็นที่เกี่ยวข้องดังกล่าวด้วย








2. สำหรับผู้ให้บริการเว็บไซต์ท่า (เว็บที่รวบรวมบทความ หรือลิงก์ต่างๆ เอาไว้ในเว็บเดียวกัน เพื่อให้ง่ายต่อการเข้าถึง) และโซเชียลมีเดียต่างๆ มีภาระรับผิดชอบใหม่ตามข้อ 5 (2) ตามอำนาจมาตรา 15 ของกฎหมายใหม่ที่ระบุว่า

" ผู้ให้บริการเว็บไซต์ท่าและโซเชียลมีเดียจะต้องระงับหรือลบข้อมูลภายใน 3 วันหลังได้รับแจ้ง ไม่เช่นนั้นจะต้องรับโทษเท่ากับผู้โพสต์"

" แต่หากผู้ให้บริการได้ระงับหรือแก้ไขตามที่แจ้งเตือนถือว่าพ้นผิด "





3. มาตรา 20 ของร่างใหม่ได้ให้อำนาจรัฐมนตรีออกประกาศเพิ่มเติมเรื่องวิธีการปิดกั้นเว็บไซต์ได้


4. ตามมาตรา 20 ตามกฎหมายใหม่ได้ขยายอำนาจในมาตรา 20 ให้สามารถปิดเว็บไซต์ที่อาจจะผิดกฎหมายอาญา รวมถึงเนื้อหาที่ถูกกล่าวหาว่า “ละเมิดลิขสิทธิ์” ได้









5.เว็บไซต์ที่เข้าข่าย “ผิดศีลธรรม” ก็อาจถูกบล็อกได้

เช่น

มาตรา 20/1 เรื่องการปิดกั้นเว็บไซต์ระบุว่าหากคณะกรรมการกลั่นกรองข้อมูลคอมพิวเตอร์เห็นว่าเนื้อหาเหล่านั้น “ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดี” ก็อาจทำให้เว็บไซต์ถูกบล็อกได้เช่นกัน

เช่น
- เว็บไซต์เล่นการพนัน
- เว็บเนื้อหาลามก อนาจาร ต่างๆ
- เว็บไซต์ขายยาโดยไม่ได้รับอนุญาต
- เว็บไซต์ละเมิดลิขสิทธิ์ ฯลฯ









เนื้อหา พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฉบับใหม่นี้ จะเข้มงวดในเรื่องการ กดไลค์-ชอบ กดแชร์ มากขึ้น โดยเฉพาะเนื้อหาถ้ามีเนื้อหาที่หมิ่นเหม่กระทบความมั่นคง ความปลอดภัย และบริการสาธารณะ


ขณะที่ยังให้ทางออกแก่แอดมิน คือ

- ในการแก้ไข
- ลบข้อความที่มีปัญหา


และหลังจากได้รับการแจ้งเตือนภายใน 3 วัน หากไม่ลบเจอรับโทษเท่าผู้โพสต์



ในกฎหมายที่ได้แก้ไขปรับปรุงใหม่ได้เพิ่มจำนวนกรรมการกลั่นกรอง จาก 5 คน เป็น 9 คน ทั้งยังกำหนดคุณสมบัติของกรรมการกลั่นกรองที่ต้องมาจากภาคเอกชน 3 คน
คือ

- จากภาคเอกชนด้านสิทธิมนุษยชน
- ด้านสื่อสารมวลชน
- ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือด้านอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

นอกจากนี้ยังกำหนดให้คำตัดสินของคณะกรรมการต้องมีกรรมการเห็นชอบเกินกึ่งหนึ่งหรือเกิน 5 คน ทำให้การพิจารณาเนื้อหาของกรรมการกลั่นกรองน่าจะยังมีความรอบคอบมากขึ้น.








เนื้อหาบางส่วนจาก ไทยรัฐ/มติชน
แก้ไขล่าสุด 19 ธ.ค. 59 17:33 | เลขไอพี : ไม่แสดง | ตั้งกระทู้โดย Android

อ่านต่อ คุณอาจจะสนใจเนื้อหาเหล่านี้ (ความคิดเห็นกระทู้ อยู่ด้านล่าง)

ความคิดเห็น

ยังไม่มีความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

จะต้องเป็นสมาชิกจึงจะแสดงความคิดเห็นได้
เป็นสมาชิกอยู่แล้ว ลงชื่อเข้าใช้ระบบ
ยังไม่ได้เป็นสมาชิก สมัครสมาชิกใหม่
หรือจะลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google หรือ Facebook ก็ได้
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Facebook
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google