เด็กที่มีความสามารถพิเศษ VS เด็กที่รับการดูแลเป็นพิเศษ

7 ก.ค. 60 15:57 น. / ดู 1,451 ครั้ง / 2 ความเห็น / 0 ชอบจัง / แชร์
ในประเทศไทยมีเด็กจำนวนกว่า 9.8 ล้านคน ที่มีสติปัญญาและความสามารถที่หลากหลายและแตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นเด็กปกติ เด็กเรียนเก่ง เด็กที่พัฒนาทางสมองช้า เด็กพิการ และ เด็กออติสติก ในเมื่อวันที่ 13 มิ.ย. ที่ผ่านมาสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา(สกศ.) จัดประชุมสภาการศึกษาเสวนา (OEC Forum) ครั้งที่ 19 เรื่อง การพัฒนาผู้มีความสามารถพิเศษสู่ศักยภาพการแข่งขันของประเทศ เพื่อพัฒนาเด็กอัจฉริยะให้ตรงจุด เหมาะสมแก่ตัวเด็กและประเทศชาติที่สามารถเป็นแรงในการแข่งขันโลก 
ทางด้าน ดร.ธงชัย ชิวปรีชา ผู้อำนวยการโรงเรียนกำเนิดวิทย์ กล่าวว่า ตาม พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม2545 กำหนดให้การจัดการศึกษาสำหรับบุคคลซึ่งมีความสามารถพิเศษ ต้องจัดด้วยรูปแบบที่เหมาะสม โดยคำนึงถึงความสามารถของบุคคลนั้น ดังนั้นผู้ที่มีความสามารถพิเศษจำเป็นต้องได้รับการดูแลและพัฒนาเป็นพิเศษ ซึ่งถือว่าบุคคลเหล่านี้เป็นทรัพย์สินที่มีค่ายิ่งของประเทศชาติ โดยจัดกิจกรรมให้เด็กรู้ความสามารถของตนเองในด้านต่างๆ อาทิ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ศิลปะ หรือดนตรี เพื่อส่งเสริมให้เป็นผู้นำและทำประโยชน์ให้ประเทศชาติ    การพัฒนาเด็กกลุ่มนี้มี 4 รูปแบบ คือ 1.เพิ่มพูนประสบการณ์ โดยเสริมหลักสูตรพิเศษ อย่างประเทศสิงคโปร์เเละเกาหลี 2.ขยายหลักสูตร เพิ่มเวลาเรียนเฉพาะด้านมากขึ้น 3.การลดเวลาเรียน เพิ่มกิจกรรมที่เด็กถนัด เเละ4.มีโค้ชชิ่งหรือผู้เเนะนำตลอดการเรียนรู้ อย่างไรก็ตามสถานศึกษาสามารถเลือกนำรูปแบบที่เหมาะสมไปใช้ในการปฏิบัติให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
ในส่วนของ รองศาสตราจารย์ ดร.ดารณี ศักดิ์ศิริผล ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาการศึกษาพิเศษ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กล่าวว่า นอกจากเด็กที่มีความสามารถในการเรียนรู้เป็นพิเศษแล้ว ทางกระทรวงศึกษาศึกษาธิการก็ยังมีนโยบายต่างๆ ที่จะเกื้อหนุนเยาวชนไทย พัฒนาและก้าวไปในสิ่งที่ถูกต้องและเป็นตัวของตัวเอง  ในฐานะของผู้ที่ปฏิบัติงานอยู่กับการศึกษาพิเศษนั้น ทางสถาบันมีส่วนช่วยสนับสนุนนโยบายรัฐ อย่างเช่นนโยบายการอ่านออกเขียนได้ ซึ่งสถิติจากกระทรวงศึกษาธิการ ปี พ.ศ.2558 พบว่ามีจำนวนเด็กที่ไม่สามารถอ่านออกเขียนได้กว่า 410,000 คนทั่วประเทศ ที่เป็นปัญหาระดับชาติ  เพราะการอ่านออกเขียนได้เป็นจุดเริ่มต้นในการเรียนรู้ เมื่ออ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ ก็จะไม่สามารถหาความรู้รอบตัวได้เช่นกัน และเด็กส่วนใหญ่ที่อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ คือ เด็กที่เรียนอ่อน เด็กที่มีปัญหาจากสภาพแวดล้อม เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ (LD : Learning Disabilities) ร่วมไปถึงเด็กพิการ เพราะเหตุนี้ควรสนับสนุนเด็กอ่อน หรือที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ โดยผ่านการยอมรับและเข้าใจสภาพปัญหาของเด็ก ถ้ารู้จักหลักการในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้อย่างถูกต้องจะทำให้เด็กสามารถอ่านออกเขียนได้ ครอบครัวคือสิ่งสำคัญ ต้องสอนให้ถูกวิธี ดูแลเด็กให้ถูกทาง เด็กทุกคนก็สามารถเติบโตได้อย่างแข็งแรง และสามารถเรียนรู้ได้ในสิ่งที่พวกเขาต้องการได้ จึงทำให้เด็กพัฒนาความสามารถพิเศษมากยิ่งขึ้น นอกจากจะพัฒนาให้เยาวชนไทยเดินไปในทิศทางถูกต้องและจะสามารถช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาได้ ไม่ว่าจะเป็นเด็กแบบไหนจะเรียนเก่งหรือเรียนอ่อน สุดท้ายทุกคนคืนคนสำคัญของประเทศชาติและก้าวสู่ผู้ใหญ่ที่มีความพร้อมในสังคม และเป็ฯศักยภาพของการแข่งขันของประเทศชาติที่จะก้าวไปสู่ประเทศไทย 4.0 ต่อไป

https://www.facebook.com/catdoll.bomb/posts/1589452324407843?comment_id=1589515081068234&notif_t=feed_comment&notif_id=1499417630722833
#การศึกษาพิเศษ #เด็กไทย #LD
แก้ไขล่าสุด 7 ก.ค. 60 15:59 | เลขไอพี : ไม่แสดง | ตั้งกระทู้โดย Windows 7

อ่านต่อ คุณอาจจะสนใจเนื้อหาเหล่านี้ (ความคิดเห็นกระทู้ อยู่ด้านล่าง)

ความคิดเห็น

#1 | sz404570 | 9 ก.ย. 60 17:36 น.

 

ไอพี: ไม่แสดง | โดย Windows 8.1

#2 | Study_Overseas_Centre | 9 พ.ย. 60 16:54 น.

+1

ไอพี: ไม่แสดง | โดย Windows 8.1

แสดงความคิดเห็น

จะต้องเป็นสมาชิกจึงจะแสดงความคิดเห็นได้
เป็นสมาชิกอยู่แล้ว ลงชื่อเข้าใช้ระบบ
ยังไม่ได้เป็นสมาชิก สมัครสมาชิกใหม่
หรือจะลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google หรือ Facebook ก็ได้
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Facebook
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google