ปแบบขององค์การธุรกิจ มีกี่รูปแบบ พร้อมอธิบายและยกตัวอย่างธุรกิจที่มีในประเทศ และข้อดีข้อเสียของแต่ละธุรกิจ

29 มี.ค. 61 04:45 น. / ดู 2,175 ครั้ง / 1 ความเห็น / 0 ชอบจัง / แชร์
รูปแบบขององค์การธุรกิจ มีกี่รูปแบบ พร้อมอธิบายและยกตัวอย่างธุรกิจที่มีในประเทศ
รูปแบบขององค์กรทางธุรกิจ
                ในการประกอบธุรกิจ ผู้ประกอบธุรกิจต้องตัดสินใจเลือกรูปแบบการดำเนินธุรกิจของตนเองว่าจะดำเนินงานในรูปแบบองค์กรธุรกิจประเภทใด ซึ่งองค์กรธุรกิจที่ดำเนินกิจการอยู่ในประเทศไทยมีหลายรูปแบบ  แต่ละรูปแบบมีวิธีดำเนินงานผลดีและผลเสียที่แตกต่างกัน จำแนกตามลักษณะเจ้าของธุรกิจได้ 6 รูปแบบดังนี้
                1.กิจการเจ้าของคนเดียว ( Single Proprietorship)
                2.กิจการห้างหุ้นส่วน ( Partnership)
                3.กิจการบริษัทจำกัด (Limited Company)
                4.กิจการสหกรณ์ ( Co-operative Society)
                5.กิจการแฟรนไชส์ (Franchise)
                6.กิจการรัฐวิสาหกิจ (State Enterprise)
1.กิจการเจ้าของคนเดียว ( Single Proprietorship)
            กิจการเจ้าของคนเดียว คือกิจการที่มีบุคคลคนเดียวเป็นเจ้าของหรือลงทุนคนเดียว  ควบคุมการดำเนินงานเองทั้งหมดคนเดียว  ตัวอย่างกิจการประเภทนี้ เช่น ร้านค้าปลีก ร้านค้าส่ง ร้านเสริมสวย การทำไร่ การทำนา แผงลอย
2.กิจการห้างหุ้นส่วน ( Partnership)

                กิจการห้างหุ้นส่วนจำกัด คือ กิจการที่มีบุคคลั้งแต่ 2 คนขึ้นไปร่วมกันลงทุนและดำเนินกิจการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแบ่งผลกำไรที่ได้จากการดำเนินงาน ซึ่งธุรกิจประเภทนี้สืบต่อมาจากธุรกิจเจ้าของคนเดียว เช่น ห้างหุ้นส่วนจำกัด วี. แอนด์ ซี. ชิปปิ้งเซอร์วิส (V. and C. Shipping Service Part., Ltd.) ผู้ให้บริการเกี่ยวกับการค้าระหว่างประเทศพิธีการศุลกากร

3.กิจการบริษัทจำกัด (Limited Company)

                บริษัทจำกัด คือ บริษัทประเภทซึ่งตั้งขึ้นด้วยการแบ่งทุนเป็นหุ้นมีมูลค่าหุ้นเท่าๆกัน โดยผู้ถือหุ้นต่างรับผิดจำกัดเพียงไม่เกินจำนวนเงินที่ตนยังส่งใช้ไม่ครบมูลค่าหุ้นที่ตนถือ เช่น บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) (CH. KARNCHANG PUBLIC COMPANY LIMITED ชื่อย่อ: CK) เป็นหนึ่งในผู้รับเหมาก่อสร้างรายใหญ่ 3 รายที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยซึ่งมีลักษณะการประกอบธุรกิจที่แตกต่างจากบริษัทรับเหมาก่อสร้างแห่งอื่น โดยมีโครงสร้างทางธุรกิจหลักของบริษัท 2 ประเภทด้วยกัน คือ ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง และธุรกิจการลงทุนในโครงการสาธารณูปโภค



4.กิจการสหกรณ์ ( Co-operative Society)

            สหกรณ์ คือธุรกิจรูปแบบหนึ่งที่จัดตั้งและดำเนินการโดยกลุ่มบุคคลที่มีความประสงค์อย่างเดียวกันร่วมกันจัดตั้ง ลงทุน ดำเนินการและเป็นเจ้าของร่วมกันด้วยความสมัครใจ เช่น สหกรณ์การเกษตร สหกรณ์การประมง สหกรณ์ร้านค้า

5. กิจการแฟรนไชส์ (Franchise)
            กิจการแฟรนไชส์ อาจเรียกอีกอย่างว่า ธุรกิจสัมปทาน คือ ธุรกิจที่เกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล 2 กลุ่มขึ้นไปหรือมากกว่า ซึ่งมีบทบาทและหน้าที่รับผิดชอบต่างกัน แต่จะส่งเสริมซึ่งกันและกันในระบบธุรกิจ โดยมีวัตถุประสงค์จะกระจายสินค้าหรือบริการไปสู่ผู้บริโภคอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น 7-Eleven เป็นกิจการค้าปลีกในลักษณะร้านอิ่มสะดวก ซึ่งดำเนินธุรกิจจัดจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภค และการให้บริการต่างๆเพื่อให้ผู้บริโภคได้รับความพึงพอใจสูงสุด จนถึงปัจจุบัน 7-Eleven ได้รับความสำเร็จเป็นอย่างมาก และอีกธุรกิจหนึ่งที่น่าสนใจคือ เชสเตอร์ เป็นที่รู้จักชื่นชอบด้วยเอกลักษณ์ของเมนูไก่ย่าง เลิศรส ความหลากหลายของรายการอาหารที่คัดสรรอย่างพิถีพิถัน รวมถึงความโดดเด่นด้านรสชาติแสนอร่อยและคุณค่าทางโภชนาการที่ครบถ้วน  เชสเตอร์ จึงเป็นร้านอาหารฟาสต์ฟู้ด อันดับหนึ่งของคนไทย ที่ครองใจลูกค้าทั่วประเทศเสมอมา



6.กิจการรัฐวิสาหกิจ (State Enterprise)
            กิจการรัฐวิสาหกิจ หมายถึง องค์กรของรัฐบาล หน่วยงานธุรกิจที่รัฐบาลเป็นเจ้าของหรือบริษัท ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ส่วนราชการหรือหน่วยงานธุรกิจของรัฐบาลมีทุนรวมอยู่ด้วย เกินกว่าร้อยละ 50 มีการบริหารงานอยู่ระหว่างระบบราชการและระบบธุรกิจ เช่น สถาบันการบินพลเรือน โดยมีกระทรวงคมนาคม เป็นผู้ดูแล

1.กิจการเจ้าของคนเดียว ( Single Proprietorship)
ข้อดีและข้อเสียของกิจการเจ้าของคนเดียว

ข้อดี
1. จัดตั้งง่ายใช้เงินทุนน้อย
2. มีอิสระในการตัดสินใจดำเนินงานโดยเจ้าของกิจการเพียงคนเดียว ทำให้เกิดความรวดเร็วคล่องตัวในการดำเนินงาน
3. ผู้ประกอบการได้รับผลกำไรทั้งหมดเพียงคนเดียว
4. รักษาความลับของกิจการได้ดี เพราะผู้รู้มีเพียงคนเดียว
5. มีข้อบังคับทางกฎหมายน้อย
6. การเลิกกิจการทำได้ง่าย

ข้อเสีย
1. การขยายกิจการให้ใหญ่ขึ้นทำได้ยาก เพราะเงินทุนมีจำกัด และถ้าต้องการกู้ยืมเงินจากภายนอกจะทำได้ยากเพราะขาดหลักประกัน
2. การตัดสินใจโดยเจ้าของกิจการเพียงคนเดียวอาจมีข้อผิดพลาดได้ง่าย
3. ถ้ามีผลขาดทุน ผู้ประกอบการรับผลขาดทุน และรับผิดชอบในหนี้สินของกิจการไม่จำกัดจำนวนเพียงคนเดียว
4. ระยะเวลาดำเนินงานมักไม่ยืนยาว ขึ้นอยู่กับเจ้าของกิจการ ถ้าเจ้าของกิจการป่วยหรือเสียชีวิตอาจหยุดชะงักหรือเลิกกิจการ
5. ความสามารถในการคิดและบริหารงานมีจำกัด เพราะเกิดจากเจ้าของเพียงคนเดียว



2.กิจการห้างหุ้นส่วน ( Partnership)

ข้อดี

มีแหล่งเงินทุนมากกว่ากิจการเจ้าของคนเดียว
สามารถใช้ความสามารถในการบริหารโดยระดมสมองร่วมกันตัดสินใจบริหารงาน
การเสี่ยงน้อยลง เพราะมีผู้ร่วมเฉลี่ยภาระการเสี่ยง
การจัดตั้งไม่ยุ่งยากและมีค่าใช้จ่ายในการจัดตั้งกิจการต่ำ
เลิกกิจการได้ง่าย
ข้อเสีย

มีการระดมทุนในวงจำกัดเฉพาะจากผู้เป็นหุ้นส่วนเท่านั้น
กำไรถูกแบ่งเฉพาะหุ้นส่วน
การตัดสินใจอาจล่าช้า เพราะความคิดเห็นขัดแย้งกันในบางกรณี
มีอายุจำกัด ขึ้นอยู่กับข้อตกลงของห้างหุ้นส่วนแต่ละแห่ง ถ้ามิได้ระบุเป็นอย่างอื่น ความเป็นห้างจะสิ้นสุดลงเมื่อหุ้นส่วนถอนตัว หรือมีหุ้นส่วนคนใดเสียชีวิตลง
การไม่จำกัดความรับผิดชอบของหุ้นส่วน ทำให้อาจไม่กล้าเสี่ยงขยายกิจการ
3.กิจการบริษัทจำกัด (Limited Company)

ข้อดี

ผู้ถือหุ้นรับผิดชอบในหนี้สินของบริษัทเพียงเท่ากับเงินลงทุนที่สัญญาจะลงทุนตามมูลค่าหุ้นที่ยังชำระไม่ครบ (ผู้ถือหุ้นมีความรับผิดชอบเพียงมูลค่าที่ตนยังค้างชำระเท่านั้น)
เจ้าหนี้ไม่สามารถไปยึดทรัพย์สินส่วนตัวของผู้ถือหุ้นได้
ผู้ถือหุ้นสามารถขายหรือโอนหุ้นให้กับผู้อื่นได้
กรณีผู้ถือหุ้นตาย ล้มละลาย หรือศาลสั่งให้ออกจากผู้ถือหุ้น บริษัทก็ยังดำเนินกิจการต่อไปได้
มีความน่าเชื่อถือกว่ากิจการเจ้าของคนเดียว หรือห้างหุ้นส่วน
ข้อเสีย

ขั้นตอนการจัดตั้งยุ่งยาก
ค่าใช้จ่ายในการบริหารสูง
การเลิกกิจการทำได้ยาก ต้องมีการชำระบัญชีและจัดการให้ถูกต้องตามระเบียบข้อบังคับทางกฎหมาย
ข้อมูลสามารถรับรู้ได้โดยง่าย เนื่องจากต้องเปิดเผยข้อมูลให้ผู้ถือหุ้นและบุคคลภายนอกทราบจึงไม่อาจรักษาความลับได้
ในการดำเนินการของบริษัทจำกัด มีทั้งผู้ถือหุ้น คณะกรรมการบริษัทและพนักงาน ดังนั้นในการปฏิบัติงานอาจจะมีบางส่วนที่ขาดความตั้งใจในการทำงานเพราะไม่ได้เป็นเจ้าของกิจการเอง
4.กิจการสหกรณ์ ( Co-operative Society)

ข้อดี

1.  กฎหมายให้การสนับสนุนช่วยเหลือ เช่นได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีเงินได้สำหรับผู้บริโภค

2.  เป็นการรวมสมาชิกเพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

3.  ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของสหกรณ์ถูกกว่าธุรกิจประเภทอื่น

4. ได้รับผลประโยชน์ทั่วถึงในหมู่สมาชิก เพราะถ้าใครทำธุรกิจกับสหกรณ์ได้มากก็จะได้รับประโยชน์สูงตามไปด้วย

ข้อเสีย

1.  สมาชิกที่เป็นผู้ผลิตไม่สามารถตั้งราคาขายผลผลิตของตนเองได้ตามใจชอบ  เพราะสหกรณ์จะเป็นผู้กำหนด

2.  หากสมาชิกไม่เข้าใจหลักและวิธีการของสหกรณ์ดีพอ  สหกรณ์อาจไม่เจริญเท่าที่ควร

3.  สหกรณ์ขาดเครื่องจูงใจ  คือ  กำไร  ที่น้อยกว่าธุรกิจประเภทอื่นๆ

4.  มีทุนจำกัด  จึงมีผลต่อการบริหารจัดการ



5. กิจการแฟรนไชส์ (Franchise)

ข้อดีของระบบธุรกิจแฟรนไชส์ (Franchise)

ลดความเสี่ยง: ซึ่งหลายๆ คนได้บอกว่า ต้องการซื้อทั้งแพ็กเกจ ต้องการซื้ออะไรที่สำเร็จรูป คือ ซื้อแฟรนไชส์ (Franchise) แล้วไม่ขาดทุน ทำให้เกิดความเข้าใจผิด ผู้ซือแฟรนไชส์ (Franchisee) คาดหวังว่า ถ้าซื้อแล้วต้องกำไรแน่นอน แต่ไม่ได้ดูถึงปัจจัยอะไรหลายๆ อย่าง ซึ่งต้องมีการวิจัยตลาดเสียก่อน
ได้ประโยชน์จากเครื่องหมายการค้าและส่วนประสมทางการตลาด: เช่น ถ้าเขาจะทำร้านอาหาร เห็นป้ายนี้แล้วจะต้องอร่อย ตรงนี้เขาจะต้องได้ประโยชน์
ประหยัดเวลาและเงิน: ใช้แบบระบบบัญชี คือ First in–First out เงินเข้ามาเราต้องเก็บให้นานที่สุด แต่เงินจะออกให้พยายามดึงให้นานที่สุด เช่น การวางบิล
เส้นทางลัดที่จะได้รับความรู้ทางธุรกิจ: คือใน 1 อาทิตย์ การเรียนรู้ แล้วในอีก 1 อาทิตย์ต่อมา คือการปฏิบัติ
ได้รับสินค้าและระบบธุรกิจที่มีการวิจัยและพัฒนาใหม่: ก็คือต้องมี Research และ Development ให้กับผู้ซื้อแฟรนไชน์ (Franchisee)
ข้อเสียของระบบธุรกิจแฟรนไชส์ (Franchise)

มีข้อจำกัดในการทำงาน ขาดความเป็นอิสระในการเป็นตัวของตัวเอง: คือ เงื่อนไขตามสัญญาที่ระบุ
ค่าใช้จ่ายสูงในการชำระค่าธรรมเนียมและผลตอบแทน: ข้อนี้สำคัญเพราะเงินแต่ละบาทที่ผู้ซื้อแฟรนไชส์  (Franchisee) ได้จ่ายไป แล้วเขาได้อะไรกลับมาบ้าง ช่วยอะไรเขาได้บ้าง โฆษณาให้เขาได้บ้างไหม เพราะทุกอย่างที่ผู้ซื้อแฟรนไชส์จ่าย เขาจะมองว่าต้องมีอะไรกลับมาให้เขาบ้าง
มีโอกาสถูกบอกเลิกสัญญาได้ง่าย: ถ้าผู้ขายแฟรนไชส์ (Franchisor) ไม่มีกำหนดในเรื่องของการประกันยอดขาย คุณก็จะเกิดปัญหาตามมาเหมือนกัน
ความผิดพลาดของผู้ขายแฟรนไชส์: ที่ผ่านมาคนขายแฟรนไชส์  (Franchisor) จะมองว่าเห็นโอกาสธุรกิจดี เร่งขายแฟรนไชส์ (Franchise) โดยไม่มีระบบที่ถูกต้องรองรับ ในฐานะที่เราจะเป็นคนขายแฟรนไชส์ (Franchisor) เราจะต้องมองว่าคนซื้อแฟรนไชส์ (Franchisee) เขาจะมองเราอย่างไร มองว่าเรามีแผนอะไรได้บ้าง สิ่งที่เขามองก็คือ เจ้าของกิจการมีวิสัยทัศน์อย่างไร วิสัยทัศน์ที่จะมองในระยะสั้น ระยะยาว เพื่อที่เขาจะได้มั่นใจว่า แฟรนไชส์ (Franchise) ที่เขาซื้อมีแผนพัฒนาธุรกิจที่ถูกต้อง


6.กิจการรัฐวิสาหกิจ (State Enterprise)

ข้อดีของรัฐวิสาหกิจ
1.  ทำให้รัฐบาลมีรายได้มาพัฒนาประเทศมากขึ้น
2.  ประชาชนได้รับสวัสดิการ  โดยเฉพาะสาธารณูปโภคพื้นฐานในราคาที่ไม่แพง

ข้อเสียของรัฐวิสาหกิจ
ไม่มีการแข่งขันทางธุรกิจ จึงทำให้สินค้าและบริการบางประเภทไม่ได้รับการปรับปรุงให้มีคุณภาพดีขึ้น
เลขไอพี : ไม่แสดง | ตั้งกระทู้โดย Windows 8.1

อ่านต่อ คุณอาจจะสนใจเนื้อหาเหล่านี้ (ความคิดเห็นกระทู้ อยู่ด้านล่าง)

ความคิดเห็น

#1 | sz407209 | 1 เม.ย. 61 19:10 น.

 

ไอพี: ไม่แสดง | โดย Windows 10

แสดงความคิดเห็น

จะต้องเป็นสมาชิกจึงจะแสดงความคิดเห็นได้
เป็นสมาชิกอยู่แล้ว ลงชื่อเข้าใช้ระบบ
ยังไม่ได้เป็นสมาชิก สมัครสมาชิกใหม่
หรือจะลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google หรือ Facebook ก็ได้
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Facebook
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google