วิธีการเลือกซื้อหม้อหุงข้าวไฟฟ้าและวิธีการดูแลให้ใช้งานได้นานขึ้น

12 มี.ค. 62 16:13 น. / ดู 1,243 ครั้ง / 1 ความเห็น / 0 ชอบจัง / แชร์

        เชื่อว่ายุคนี้หม้อหุงข้าวไฟฟ้ากลายเป็นของใช้จำเป็นที่ต้องมีกันทุกบ้านกันอย่างแน่นอน เพราะทั้งใช้งานง่ายและสะดวกกว่าการหุงข้าวด้วยเตาถ่านแบบสมัยก่อนเยอะ ไม่ต้องคอยเฝ้าข้าวอีกด้วยเพียงแค่เสียบปลั๊ก กดสวิต แล้วรอข้าวสุก มันก็จะกลายเป็นอุ่นให้อัตโนมัติ ง่ายสุด ๆ  แต่ก็มีข้อควรระวังนิดหน่อยด้วยความที่เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าเวลาเลือกซื้อก็ต้องดูให้รอบคอบนิดหนึ่งนะคะ เพราะถ้าซื้อหม้อหุงข้าวไฟฟ้าถูก ๆ มาแล้วไม่ได้มาตราฐานก็อาจจะทำให้มีปัญหาตามมาทีหลังได้ ดังนั้นวันนี้เราจึงได้นำวิธีในการเลือกซื้อหม้อหุงข้าวไฟฟ้าและวิธีดูแลหม้อหุงข้าวไฟฟ้า มาฝากกันจ้า ตามมาดูกันเลย
วิธีเลือกซื้อหม้อหุงข้าวไฟฟ้า

1.หม้อหุงข้าวไฟฟ้าและดิจิตอล มีมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) ด้านความปลอดภัยควบคุมอยู่
2.เลือกซื้อที่มีการรับประกัน เมื่อการปัญหาในการใช้งานต้องมีศูนย์ที่พร้อมให้การดูแลซ่อมแซม
3.เลือกขนาดความจุของหม้อและกำลังไฟฟ้าให้เหมาะสมกับความต้องการในการใช้งาน เพื่อเป็นการประหยัดไฟฟ้า
4.หม้อหุงข้าวระบบดิจิตอล ควรมีข้อความเป็นภาษาไทยกำกับที่ปุ่มควบคุมการใช้งาน เพื่อง่ายต่อการใช้
5.ต้องมีสัญลักษณ์หรือเครื่องหมายบอกปริมาณในส่วนหม้อหุงข้าวด้านใน ขีดบอกระดับ หรือ สัญลักษณ์อื่นที่แสดงความจุที่กำหนด ซึ่งมองเห็นได้ในขณะเติมน้ำ

วิธีการดูแลหม้อหุงข้าวไฟฟ้า

1)    ไม่ควรใส่ข้าวและน้ำไม่เกินขนาดของหม้อ
2)    การทำความสะอาด ให้เช็ดด้วยผ้าหมาดชุบน้ายาล้างภาชนะ เช็ดด้วยผ้าชุบน้าสะอาด แล้วเช็ดด้วยผ้าให้แห้ง
3)    ส่วนที่เป็นหม้อหุงข้าว ต้องเช็ดด้านนอกของหม้อให้แห้ง โดยเฉพาะส่วนที่เป็นก้นหม้อ ก่อนทำการหุง
4)    ห้ามเปิดฝาขณะน้ำเดือด
5)    ห้ามปิดช่องระบายไอน้ำและฝาหม้อในขณะที่หม้อหุงขาวทำงาน
6)    ใช้ทัพพีตักข้าวที่ให้มาเท่านั้น ไม่ควรใช้อุปกรณ์อื่น ๆ ที่มีความคม
7)    ใส่หม้อในก่อนเสียบปลั๊กไฟเข้ากับเต้ารับ
8)    ถอดปลั๊กไฟออกทุกครั้งหลังเลิกใช้งาน
9)    ปล่อยให้เย็นลงก่อนทำความสะอาด

หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับผู้ที่ต้องการเลือกซื้อหม้อหุงข้าวไฟฟ้าได้อย่างเหมาะสม รวมไปถึงวิธีการบำรุงดูแลรักษาให้หม้อหุงข้าวไฟฟ้าใช้งานได้นานยิ่งขึ้นค่ะ

#หม้อหุงข้าวไฟฟ้า
เลขไอพี : ไม่แสดง | ตั้งกระทู้โดย Windows 10

อ่านต่อ คุณอาจจะสนใจเนื้อหาเหล่านี้ (ความคิดเห็นกระทู้ อยู่ด้านล่าง)

ความคิดเห็น

ยังไม่มีความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

จะต้องเป็นสมาชิกจึงจะแสดงความคิดเห็นได้
เป็นสมาชิกอยู่แล้ว ลงชื่อเข้าใช้ระบบ
ยังไม่ได้เป็นสมาชิก สมัครสมาชิกใหม่
หรือจะลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google หรือ Facebook ก็ได้
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Facebook
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google