โภชนาการสำหรับผู้ที่เป็นโรคไต

1 ส.ค. 62 22:56 น. / ดู 406 ครั้ง / 1 ความเห็น / 0 ชอบจัง / แชร์

โภชนาการสำหรับผู้ที่เป็นโรคไต  ไตเป็นอวัยวะสำคัญที่ทำหน้าที่หลักในการกรองของเสียจากเลือดและขับถ่ายออกทางปัสสาวะ รักษาสมดุลของน้ำ เกลือแร่และความเป็นกรดด่างของเลือด ถ้าปล่อยให้ไตเสื่อมและเสียหายถึงขั้นตัดออกจะทำให้ถึงแก่ชีวิตได้ ดังนั้นเราควรดูแลและบำบัดโรคไตด้วยโภชนาการสำหรับผู้ที่เป็นโรคไตเพื่อชะลอความเสื่อมของไตและยืดอายุให้ยืนยาวขึ้น


โรคไตมีทั้งระยะด้วยกันทั้งหมด 3 ระยะ
ระยะก่อนฟอกไต ระยะฟอกไตและระยะหลังฟอกไต ซึ่งแต่ละระยะมีทั้งที่สามารถรักษาให้หายขาดได้และไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ขึ้นกับหน่วยไตว่าเสื่อมหรือเสียหายไปมากเท่าใด ดังนั้นการควบคุมการจัดการอาหารให้ดีจะช่วยชะลอความเสื่อมของไตให้ดำเนินไปได้ช้าลง ซึ่งบทบาทของโภชนาการสำหรับผู้ที่เป็นโรคไตมีดังนี้







โภชนาการอาหารที่ชะลอความเสื่อมของไตไว้ได้
โปรตีนต่ำ เพราะจะมีประมาณของเสีย (เช่น ยูเรีย) ปริมาณที่น้อยจะส่งผลให้ไตทำงานเบาลง การควบคุมสมดุลของน้ำและเกลือแร่ในร่างกาย
จำกัดโซเดียม ที่อยู่ในประเภทอาหารว่างที่ออกรสเค็ม อาหารหมักดอง อาหารตากแห้ง อาหารแปรรูป เช่น ไส้กรอก แฮม หมูยอ หมูหยอง อาหารสำเร็จรูป จำพวกโจ๊ก บะหมี่ วุ้นเส้น และขนมขบเคี้ยวต่างทุกชนิด และหันไปรับประทานอาหารที่ทำจากของสดแทนจะดีกว่า
จำกัดโพแทสเซียม ที่พบทั้งในพืชและสัตว์ ซึ่งส่วนใหญ่มีมากในพวกเนื้อสัตว์ต่าง ๆ เครื่องใน ไข่และนม ซึ่งต้องงดเว้นหรือรับประทานอย่างจำกัดเพื่อควบคุมระดับโพแทสเซียมที่ไตไม่สามารถขับออกมาได้โดยปกติและหากโพแทสเซียมคั่งอาจทำให้ผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นได้ ดังนั้นควรเลือกผักที่มีโพแทสเซียมต่ำสามารถนำมาปรุงอาหารได้และเหมาะแก่ผู้ป่วยไตรับประทาน เช่น กะหล่ำปลี แตงกวา บวบ ฟักเขียว ถั่วงอก และผลไม้ที่มีผลไม้ที่มีโปแทสเซียมปานกลาง เช่น ส้มเขียวหวาน ส้มเช้ง มะละกอสุก มะม่วงสุก มะม่วงดิบ ส้มโอ แอปเปิลแดง สตรอเบอรี่ ลางสาด แคนตาลูป เงาะ ขนุนและโพแทสเซียมต่ำ รับประทานได้มาก เช่น แตงโม และสับปะรดกระป๋อง นอกจากนี้ประมาณน้ำที่ดื่มเข้าไปก็ต้องจำกัดปริมาณด้วยเช่นกัน             
  หากวันนี้เรายังไม่ป่วยเป็นโรคไตเราควรตระหนักถึงปริมาณสารอาหารที่เรารับเขาไปเพื่อช่วยยืดอายุการเกิดโรคดังกล่าว แต่หากวันนี้คุณกำลังป่วยอยู่จงรักษาไตที่ยังพอสามารถทำงานได้ด้วยการควบคุมอาหารตามหลักโภชนาการที่ได้แนะนำไปข้างต้นและหากไม่แน่ใจว่าคุณควบคุมได้ถูกต้องตามหลักโภชนาการหรือไม่ ควรพบและปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อหาทางรักษาที่เหมาะสมต่อไป

#ศูนย์ดูแลผู้ป่วย #ศูนย์ดูแลผู้ป่วยติดเตียง]
เลขไอพี : ไม่แสดง | ตั้งกระทู้โดย Windows 10

อ่านต่อ คุณอาจจะสนใจเนื้อหาเหล่านี้ (ความคิดเห็นกระทู้ อยู่ด้านล่าง)

ความคิดเห็น

#1 | awkward55555 | 2 ส.ค. 62 12:02 น.

ขอบคุณสำหรับสาระความรู้ค่าา

ไอพี: ไม่แสดง | โดย Windows 7

แสดงความคิดเห็น

จะต้องเป็นสมาชิกจึงจะแสดงความคิดเห็นได้
เป็นสมาชิกอยู่แล้ว ลงชื่อเข้าใช้ระบบ
ยังไม่ได้เป็นสมาชิก สมัครสมาชิกใหม่
หรือจะลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google หรือ Facebook ก็ได้
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Facebook
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google