การปวดท้องน้อยหรือการปวดท้องในแต่ละตำแหน่งสามารถบ่งบอกถึงการเป็นโรคต่าง ๆ ได้ยังไงบ้าง

2 มิ.ย. 63 16:47 น. / ดู 628 ครั้ง / 0 ความเห็น / 0 ชอบจัง / แชร์

                    รู้ไหมคะ ว่าตำแหน่งการปวดท้องในแต่ละจุด สามารถบ่งบอกโรคได้ ดังนั้น ต้องหมั่นสังเกตตำแหน่งที่มักปวดท้องให้ดี ๆ ว่าเกิดขึ้นที่ตำแหน่งไหนหรือตรงไหน เพราะจะช่วยให้ทราบเบื้องต้นว่า เราเสี่ยงต่อการที่จะเป็นโรคใด โดยวันนี้เราก็จะมาบอกถึงตำแหน่งการปวดท้องว่าเสี่ยงที่จะเป็นโรคใดได้บ้างเอามาฝากด้วยค่ะ พร้อมแล้วก็มาดูกันเลย
            ตำแหน่งการปวดท้องที่บ่งบอกถึงการเสี่ยงต่อการเป็นโรค

1.ปวดท้องน้อยซ้าย : ท่อไต ปีกมดลูกด้านซ้าย
ปวดเกร็ง และร้าวมาที่ต้นขา อาจเป็นนิ่วในท่อไต หรืออาการปวดมีไข้ร่วมด้วย หนาวสั่น มีตกขาว อาจเป็นปีกมดลูกอักเสบ

2.ปวดท้องน้อยขวา : ไส้ติ่ง ท่อไต ปีกมดลูกด้านขวา
หากปวดเกร็งเป็นระยะ ๆ แล้วร้าวมาที่ต้นขา หมายถึงกรวยไตมีความผิดปกติ ปวดเสียด ๆ กดแล้วเจ็บ อาจเป็นไส้ติ่งอักเสบ หรืออาการปวดมีไข้ร่วมด้วยอาจเป็นปีกมดลูกอักเสบ หรือหากคลำแล้วเจอก้อนเนื้อ เบื้องต้นอาจเป็นก้อนไส้ติ่งหรือรังไข่ผิดปกติ

3.ปวดใต้ลิ้นปี่ : กระเพาะอาหาร ตับอ่อน ตับ
มักมีอาการปวดเวลาหิวหรืออิ่ม อาจเป็นโรคกระเพาะอาหาร กระเพาะอาหารอักเสบ ปวดรุนแรง และคลื่นไส้อาเจียน อาจเป็นโรคตับอ่อนอักเสบ

4.ปวดชายโครงซ้าย : ม้าม ตับอ่อน
อาการปวดบริเวณนี้ อาจเป็นเพราะม้ามแตก กรวยไตซ้ายอักเสบ หรือนิ่วในไตซ้าย

5.ปวดชายโครงขวา : ตับ ถุงน้ำดี
หากมีอาการตัวเหลือง ตาเหลือง อาจเป็นโรคตับอักเสบ นิ่วในถุงน้ำดี

6.ปวดรอบสะดือ : ลำไส้เล็ก
ปวดแบบมีลมในท้อง เป็นอาการท้องเดิน แต่หากปวดรุนแรงทนไม่ได้ อาจเป็นอาการลำไส้อักเสบ หรือไส้ติ่งอักเสบ

7.ปวดปั้นเอวขวาและซ้าย : ท่อไต ไต ลำไส้ใหญ่ ปวดเอวด้านหลัง
รวมถึงมีอาการร่วมคือ รู้สึกแสบเวลาปัสสาวะ มีไข้ หากเคาะเบาๆ ตรงส่วนเอวด้านหลังก็ทำให้เจ็บมากได้

8.ปวดเหนือหัวหน่าว : กระเพาะปัสสาวะ มดลูก
ปวดเวลาปัสสาวะ ปัสสาวะกะปริบกะปรอย อาจเป็นกระเพาะปัสสาวะอักเสบ หรือนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ ปวดเกร็งช่วงมีรอบเดือน ปวดเรื้อรัง หรือคลำพบก้อน ควรพบแพทย์เฉพาะทาง อาจเป็นอาการของมดลูกอักเสบ หรือเนื้องอกมดลูก

                โดยอาการปวดท้องที่กล่าวมานี้ ไม่ว่าจะเป็นปวดท้องน้อย ปวดใต้ลิ้นปี่ ปวดชายโครง ปวดรอบสะดือ ปวดปั้นเอว หรือจะเป็นปวดเหนือหัวหน่าว ซึ่งอาการเหล่านี้ล้วนแต่เป็นปัจจัยเสี่ยงที่กระทบการทำงานทั้งสิ้น เมื่อมีสัญญาณเตือนอย่าปล่อยทิ้งไว้ ควรรีบมาพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัย เพราะโรคในช่องท้องแต่ละโรค มีอาการแสดงถึงความผิดปกติ เช่น การปวดท้องที่คล้ายคลึงกัน จนหลายครั้งอาจได้รับการวินิจฉัยผิดพลาดหรือผู้ป่วยนิ่งนอนใจคิดว่าเป็นเพียงโรคกระเพาะ จนวินิจฉัยล่าช้าและส่งผลจนเป็นอันตรายได้ ซึ่งจริง ๆ แล้วอาการปวดท้องในแต่ละโรคนั้นไม่เหมือนกัน ต้องอาศัยการสังเกตและความชำนาญของแพทย์เฉพาะทางในการวินิจฉัย อีกทั้งการตรวจสุขภาพด้วยการเจาะเลือดเพียงอย่างเดียวอาจไม่พบความผิดปกติ การเข้ารับการตรวจภายในช่องท้องด้วยการอัลตราซาวนด์นับเป็นทางเลือกที่ดีเพื่อการวินิจฉัยให้การรักษาเป็นไปอย่างทันท่วงทีช่วยลดภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นตามมาได้นั้นเองค่ะ

#ปวดท้องน้อย
เลขไอพี : ไม่แสดง | ตั้งกระทู้โดย Windows 10

อ่านต่อ คุณอาจจะสนใจเนื้อหาเหล่านี้ (ความคิดเห็นกระทู้ อยู่ด้านล่าง)

ความคิดเห็น

ยังไม่มีความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

จะต้องเป็นสมาชิกจึงจะแสดงความคิดเห็นได้
เป็นสมาชิกอยู่แล้ว ลงชื่อเข้าใช้ระบบ
ยังไม่ได้เป็นสมาชิก สมัครสมาชิกใหม่
หรือจะลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google หรือ Facebook ก็ได้
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Facebook
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google