ตรวจหามะเร็งเต้านมด้วยตัวเอง วิธีง่ายๆ ที่เราทำได้ทุกเดือน

15 ต.ค. 63 10:09 น. / ดู 4,203 ครั้ง / 1 ความเห็น / 0 ชอบจัง / แชร์
"มะเร็งเต้านม" ถือเป็นภัยเงียบตัวร้ายใกล้ตัวคุณผู้หญิง และยังเป็นสาเหตุการเสียชีวิตมากเป็นอันดับ 1 ของผู้หญิงไทย โดยส่วนมากมะเร็งเต้านมมักจะไม่มีสัญญาณหรืออาการนำ ดังนั้นการหมั่นดูแลตรวจสุขภาพเต้านม สังเกตเต้านมตัวเองอย่างสม่ำเสมอ และการตรวจเต้านมด้วยตนเองเป็นประจำอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง เพื่อช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งเต้านม เพราะหากตรวจพบมะเร็งเต้านมตั้งแต่ระยะเริ่มแรกในขณะที่ก้อนมีขนาดเล็ก และก้อนมะเร็งยังอยู่เฉพาะที่เต้านม จะช่วยเพิ่มโอกาสในการรักษาให้หายขาดได้
การตรวจเต้านมด้วยตนเอง (Breast self-examination)
มะเร็งเต้านม เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของผู้หญิงทั่วโลก และเป็นมะเร็งที่พบบ่อยในผู้หญิงไทย� แต่เนื่องจากปัจจุบันผู้หญิงยุคใหม่มีความตื่นตัวในการตรวจสุขภาพมากขึ้น ทำให้เราสามารถพบมะเร็งเต้านมในระยะแรก ๆ ได้เร็วขึ้น เปอร์เซ็นต์การตรวจพบเจอในระยะเริ่มต้นมีมากขึ้น การรักษาให้หายจึงมีมากขึ้นตามลำดับ
มะเร็งเต้านม รู้เร็ว รีบรักษา หายขาดได้
วิธีการการป้องกันมะเร็งเต้านมที่ดีที่สุด...คือการตรวจพบเจอให้เร็วที่สุด
ร้อยละ 90 ของเนื้องอกในเต้านมของสตรีถูกพบครั้งแรกด้วยตนเอง เพราะฉะนั้นการตรวจเต้านมด้วยตนเองจึงเป็นเรื่องจำเป็น ผู้หญิงทุกคนควรตรวจเต้านมด้วยตนเองเป็น และควรทำทุกเดือนตั้งแต่อายุ 20 ปีขึ้นไป โดยช่วงเวลาที่เหมาะสม คือ หลังหมดระดูได้ 7- 10 วัน เพราะเป็นระยะที่เต้านมไม่บวมและนิ่มทำให้ตรวจได้ง่าย และสำหรับสตรีที่เริ่มเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนหรือได้รับการตัดมดลูกไปแล้ว ควรทำการตรวจเต้านมด้วยตนเองอย่างน้อยเดือนละครั้ง

การตรวจเต้านมด้วยตัวเอง (Breast self-examination)
3 วิธีที่คุณเองก็สามารถทำได้ด้วยตนเอง


1.ยืนหน้ากระจก




• ปล่อยแขนข้างลำตัวตามสบาย เปรียบเทียบเต้านมทั้งสองข้างว่ามีการบิดเบี้ยวของ**หรือมีสิ่งผิดปกติหรือไม่
• ประสานมือทั้งสองข้างเหนือศีรษะแล้วกลับมาอยู่ในท่าเท้าสะเอวพร้อมสำรวจหาสิ่งผิดปกติ
• ให้โค้งตัวมาข้างหน้าโดยใช้มือทั้งสองข้างวางบนเข่าหรือเก้าอี้� ในท่านี้เต้านมจะห้อยลงไปตรง ๆ หากมีสิ่งผิดปกติก็จะเห็นได้ชัดมากขึ้น

2.นอนราบ



• นอนในท่าสบายและสอดหมอนหรือม้วนผ้าใต้ไหล่ซ้าย
• ยกแขนเหนือศีรษะเพื่อให้เต้านมด้านซ้ายแผ่ราบ ซึ่งจะทำให้คลำพบก้อนเนื้อได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะส่วนบนด้านนอกซึ่งมีเนื้อมากที่สุดและมีการเกิดมะเร็งมากที่สุด
• ให้ใช้นิ้วชี้ นิ้วกลางและนิ้วนางคลำทั่วทั้งเต้านมและรักแร้ ที่สำคัญคือ ห้ามบีบเนื้อเต้านมเพราะจะทำให้รู้สึกเหมือนเจอก้อนเนื้อซึ่งที่จริงแล้วไม่ใช่

3.ขณะอาบน้ำ



• สำหรับผู้หญิงที่มีเต้านมขนาดเล็กให้วางมือข้างเดียวกับเต้านมที่ต้องการจะตรวจบนศีรษะ แล้วใช้มืออีกข้างคลำในทิศทางเดียวกับที่คุณใช้ในท่านอน
• สำหรับผู้ที่มีเต้านมขนาดใหญ่ให้ใช้มือทั้งสองข้างนั้นประคองและตรวจคลำเต้านมจากด้านล่าง ส่วนมืออีกข้างหนึ่งให้ตรวจคลำจากด้านบน ขณะอาบน้ำให้ถูสบู่ด้วยจะทำให้คลำง่ายขึ้น

สิ่งสำคัญที่สุด คือ การตรวจสุขภาพเพื่อค้นหารอยโรคซ่อนเร้น รวมทั้งเป็นคนช่างสังเกตดูว่าเรามีสิ่งผิดปกติหรือไม่ เมื่อพบสิ่งผิดปกติควรรีบพบแพทย์ เพื่อการรักษาอย่างทันท่วงที

Health's Tip
• ผู้หญิงที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป ควรได้รับการตรวจมะเร็งเต้านมอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อค้นหารอยโรคซ่อนเร้น เพื่อนำไปสู่การรักษได้อย่างทันท่วงที
• ผู้หญิงอายุต่ำกว่า 40 ปี ควรหมั่นตรวจเต้านมด้วยตนเองทุกเดือน ช่วงเวลาที่เหมาะสม คือ หลังหมดประจำเดือนได้ 7- 10 วัน เพราะเป็นระยะที่เต้านมไม่บวมและนิ่มทำให้ตรวจได้ง่าย

คุณผู้หญิงทุกท่าน ไม่ควรนิ่งนอนใจต่ออาการผิดปกติต่างๆ ในร่างกาย หมั่นเฝ้าสังเกตความผิดปกติที่เกิดขึ้น ซึ่งอาจนำพาไปสู่โรคร้าย ดังนั้นการตรวจเต้านมด้วยตนเองเป็นประจำอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง, การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยเครื่องดิจิตอลแมมโมแกรม พร้อมการตรวจ� � �อัลตร้าซาวด์เต้านม อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง จะช่วยค้นหาความเสี่ยงการเกิด "มะเร็งเต้านม" เพราะหากตรวจพบในระยะเริ่มแรก และได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที จะช่วยให้มีโอกาสหายสูง





ขอบคุณข้อมูล : นายแพทย์ชนินทร์ อภิวาณิชย์
ศัลยแพทย์เฉพาะทางมะเร็งเต้านมและเสริมสร้างเต้านม
ศูนย์รักษ์เต้านม


https://www.nonthavej.co.th/Breast-self-examination.php
#มะเร็งเต้านม ,การตรวจเต้านมด้วยตัวเอง
เลขไอพี : ไม่แสดง | ตั้งกระทู้โดย Windows 10

อ่านต่อ คุณอาจจะสนใจเนื้อหาเหล่านี้ (ความคิดเห็นกระทู้ อยู่ด้านล่าง)

ความคิดเห็น

#1 | sz446032 | 1 พ.ย. 63 14:23 น.

มาแล้วช่องทางสร้างรายได้แบบไม่เครียด ด้วยเกมออนไลน์สนุกๆ มากมายให้คุณเล่นได้ง่ายๆ ได้ทุกที่ ทุกเวลา
เกมมากมายรวมอยู่ที่นี่แล้ว คลิกเพื่อโหลดได้แล้วที่นี่

JDB สล็อต

ไอพี: ไม่แสดง | โดย Windows 10

แสดงความคิดเห็น

จะต้องเป็นสมาชิกจึงจะแสดงความคิดเห็นได้
เป็นสมาชิกอยู่แล้ว ลงชื่อเข้าใช้ระบบ
ยังไม่ได้เป็นสมาชิก สมัครสมาชิกใหม่
หรือจะลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google หรือ Facebook ก็ได้
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Facebook
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google