โรคสมองเสื่อม กับ โรคอัลไซเมอร์อาการ เหมือนกันหรือไม่?
24 ธ.ค. 63 13:40 น. /
ดู 6,951 ครั้ง /
3 ความเห็น /
0 ชอบจัง
/
แชร์
โดยปกติทั่วไปคนเราจะลืมนั่น ลืมนี่กันอยู่บ่อยครั้ง แต่ โรคสมองเสื่อม หรือ ภาวะสมองเสื่อม เป็นภาวะลืมที่ค่อนข้างรุนแรง โดยมีสาเหตุมาจากเซลล์สมองค่อย ๆ เสื่อมลง แต่ไม่ได้เกิดขึ้นอย่างฉับพลัน อาการของโรคจะค่อย ๆ เป็นช้า ๆ และอาการก็จะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการหลงลืมเรื่องต่าง ๆ ลืมชื่อคน ลืมว่าทำอะไรไปบ้าง หรือแม้แต่ลืมบทสนทนาที่เพิ่งคุยกันมาหมาด ๆ ทั้งยังทำให้บุคลิกภาพและอารมณ์เปลี่ยนไป ส่งผลให้มีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป อาการลืมก็จะยิ่งเพิ่มมากขึ้นด้วยเช่นกัน แล้วโรคสมองเสื่อม กับ โรคอัลไซเมอร์อาการเหมือนกันหรือไม่? เรามาทำความรู้จักโรคนี้ให้มากขึ้นกันค่ะ

โรคสมองเสื่อม (Dementia Syndrome) หรือ ภาวะสมองเสื่อม เป็นความถดถอยในการทำงานของสมองซึ่งเกิดจากการสูญเสียเซลล์สมอง โดยเริ่มจากส่วนใดส่วนหนึ่งในการทำงานของสมองขั้นสูง 6 ด้าน คือ
1. ด้านสมาธิ
2. ด้านการคิด ตัดสินใจ และการวางแผน
3. ด้านความจำ
4. ด้านการใช้ภาษา
5. ด้านมิติสัมพันธ์
6. ด้านการเข้าสังคม
ถ้าหากการทำงานของสมอง 1 ใน 6 ด้าน อย่างใดอย่างหนึ่งสูญเสียการทำงานไปหรือเสียมากถึงระดับที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของผู้ป่วย เราเรียกภาวะนี้ว่า "ภาวะสมองเสื่อม"
โรคสมองเสื่อม มีกี่ประเภท?
ประเภทของโรคสมองเสื่อม แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ
1. กลุ่มที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ เช่น โรคอัลไซเมอร์ เป็นสาเหตุหนึ่งของโรคสมองเสื่อมที่พบมากที่สุด
2. กลุ่มที่รักษาให้ดีขึ้นได้ เช่น โรคสมองเสื่อมที่เกิดจากการทำงานของต่อมไทรอยด์ผิดปกติ หรือเกิดจากการมีน้ำคั่งในโพรงสมองมากกว่าปกติ หรือเกิดจากการมีเลือดออกในเยื่อหุ้มสมอง
โรคสมองเสื่อม กับ โรคอัลไซเมอร์อาการ เหมือนกันหรือไม่?
หลาย ๆ ท่านอาจจะมีความสงสัยหรือสับสนว่า จริง ๆ แล้วโรคสมองเสื่อมและโรคอัลไซเมอร์ เป็นโรคเดียวหรือไม่ จริง ๆ แล้ว โรคสมองเสื่อมไม่ใช่โรคเดียวกับโรคอัลไซเมอร์ แต่โรคอัลไซเมอร์เป็นหนึ่งในโรคสาเหตุหลักของการเกิดโรคสมองเสื่อม โดยผู้ที่เป็นโรคสมองเสื่อมที่มีสาเหตุจากอัลไซเมอร์ จะมีการดำเนินโรคอย่างช้า ๆ ไม่เป็นที่สังเกต จนเมื่อผ่านไปราว 5-6 ปี ความผิดปกติต่าง ๆ จะแสดงออกมาชัดเจนขึ้น เช่น ไม่สามารถการอาบน้ำแต่งตัวได้เอง ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ และจะเป็นมากขึ้นตามระยะอาการ
อาการแบบไหน ควรสงสัยว่าเป็นสมองเสื่อม?
ความเข้าใจภาษาลดลง ใช้ภาษาไม่ถูกต้อง เรียกชื่อสิ่งของไม่ถูก อาจหยุดพูดกลางคันและไม่รู้ว่าจะต้องพูดอะไรต่อ หรือพูดย้ำกับตัวเอง รวมถึงอาจพูดน้อยลง
สับสนเรื่องเวลาหรือสถานที่ อาจลืมว่าตอนนี้ตนอยู่ที่ใดและเดินทางมายังสถานที่นั้นได้อย่างไร
ไม่สามารถทำกิจกรรมที่เคยทำได้มาก่อน เช่น ลืมวิธีการเปลี่ยนช่องทีวี
บกพร่องในการรับรู้หรือเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ไม่ทราบว่าของสิ่งนี้มีไว้ทำอะไร หรือไม่สามารถแยกแยะรสชาติหรือกลิ่นได้
บกพร่องในการบริหารจัดการ และตัดสินใจแก้ไขปัญหา ไม่กล้าตัดสินใจหรือตัดสินใจผิดพลาดบ่อย ๆ
บกพร่องในการทำกิจวัตรประจำวัน เช่น อาบน้ำ แต่งตัว ไม่สามารถไปไหนตามลำพังได้
บุคลิกภาพเปลี่ยนแปลง เช่น ซึมเศร้า เฉื่อยชา โมโหฉุนเฉียวง่ายโดยไม่มีสาเหตุชัดเจน เห็นภาพหลอน หวาดระแวง
ปัจจัยที่เสี่ยงมีผลต่อภาวะสมองเสื่อม
ปัจจัยเสี่ยงของภาวะสมองเสื่อมมีหลากหลาย ทั้งปัจจัยที่หลีกเลี่ยงได้ และปัจจัยที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ได้แก่
อายุเกิน 65 ปี
ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคความดัน ไขมัน เพราะดรคเหล่านี้อาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดสมองตีบ และทำให้เกิดภาวะสมองเสื่อม
ผู้ที่ชอบทำอะไรจำเจ ทานอาหารเดิม ๆ ไปสถานที่เดิม ๆ มีกิจกรรมเดิม ๆ
ผู้ป่วยที่มีภาวะซึมเศร้าเรื้อรังและไม่ได้รับการรักษา
ผู้ที่ไม่เข้าสังคม เช่น นอนดูทีวีอยู่บ้าน ชอบอยู่คนเดียวเป็นกิจวัตร
โรคสมองเสื่อม ป้องกันได้
ถ้าหากว่าไม่ใช้งานสมองเลย กล้ามเนื้อสมองก็จะเหี่ยว เล็ก และเสื่อมถอยลงไปในที่สุด เพราะฉะนั้นควรกระตุ้นสมองให้ทำงานทั้ง 6 ด้าน ด้วยการทำกิจกรรมฝึกสมองบ่อย ๆ เช่น
ไม่ควรอยู่กับบ้านเฉยๆ ควรทำกิจกรรมหรืองานอดิเรกที่ชอบ
เรียนรู้ภาษาหรือสิ่งใหม่ๆ เช่น ภาษาที่สาม การทำอาหาร การเรียนศิลปะ
ร่วมกิจกรรมทางสังคมที่มีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น เช่น อาสาสมัคร ชมรมต่าง ๆ
ออกกำลังกาย แอโรบิค โยคะ เดินในที่อากาศโปร่ง
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าในตอนนี้ โรคสมองเสื่อม อาจดูเหมือนเป็นเรื่องไกลตัวสำหรับคุณ แต่เมื่อคุณอายุมากขึ้น อวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายก็จะเสื่อมสภาพอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งไม่เว้นแม้แต่สมอง ดังนั้นหากคุณไม่อยากสูญเสียความทรงจำหรือมีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ก็อาจ ป้องกันโรคสมองเสื่อมโดยการนำวิธีง่าย ๆ หากคนใกล้ตัวหรือตัวคุณเองมีอาการเข้าข่ายภาวะสมองเสือม หรือสงสัยว่าโรค อัลไซเมอร์อาการ อย่างไร สามารถเข้ามาพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ที่โรงพยาบาลนครธน ตลอดเวลาทำการ เรายินดีให้คำปรึกษาและวิธีป้องกันอย่างละเอียด
ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.nakornthon.com/article/.........ันได้

โรคสมองเสื่อม (Dementia Syndrome) หรือ ภาวะสมองเสื่อม เป็นความถดถอยในการทำงานของสมองซึ่งเกิดจากการสูญเสียเซลล์สมอง โดยเริ่มจากส่วนใดส่วนหนึ่งในการทำงานของสมองขั้นสูง 6 ด้าน คือ
1. ด้านสมาธิ
2. ด้านการคิด ตัดสินใจ และการวางแผน
3. ด้านความจำ
4. ด้านการใช้ภาษา
5. ด้านมิติสัมพันธ์
6. ด้านการเข้าสังคม
ถ้าหากการทำงานของสมอง 1 ใน 6 ด้าน อย่างใดอย่างหนึ่งสูญเสียการทำงานไปหรือเสียมากถึงระดับที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของผู้ป่วย เราเรียกภาวะนี้ว่า "ภาวะสมองเสื่อม"
โรคสมองเสื่อม มีกี่ประเภท?
ประเภทของโรคสมองเสื่อม แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ
1. กลุ่มที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ เช่น โรคอัลไซเมอร์ เป็นสาเหตุหนึ่งของโรคสมองเสื่อมที่พบมากที่สุด
2. กลุ่มที่รักษาให้ดีขึ้นได้ เช่น โรคสมองเสื่อมที่เกิดจากการทำงานของต่อมไทรอยด์ผิดปกติ หรือเกิดจากการมีน้ำคั่งในโพรงสมองมากกว่าปกติ หรือเกิดจากการมีเลือดออกในเยื่อหุ้มสมอง
โรคสมองเสื่อม กับ โรคอัลไซเมอร์อาการ เหมือนกันหรือไม่?
หลาย ๆ ท่านอาจจะมีความสงสัยหรือสับสนว่า จริง ๆ แล้วโรคสมองเสื่อมและโรคอัลไซเมอร์ เป็นโรคเดียวหรือไม่ จริง ๆ แล้ว โรคสมองเสื่อมไม่ใช่โรคเดียวกับโรคอัลไซเมอร์ แต่โรคอัลไซเมอร์เป็นหนึ่งในโรคสาเหตุหลักของการเกิดโรคสมองเสื่อม โดยผู้ที่เป็นโรคสมองเสื่อมที่มีสาเหตุจากอัลไซเมอร์ จะมีการดำเนินโรคอย่างช้า ๆ ไม่เป็นที่สังเกต จนเมื่อผ่านไปราว 5-6 ปี ความผิดปกติต่าง ๆ จะแสดงออกมาชัดเจนขึ้น เช่น ไม่สามารถการอาบน้ำแต่งตัวได้เอง ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ และจะเป็นมากขึ้นตามระยะอาการ
อาการแบบไหน ควรสงสัยว่าเป็นสมองเสื่อม?
ความเข้าใจภาษาลดลง ใช้ภาษาไม่ถูกต้อง เรียกชื่อสิ่งของไม่ถูก อาจหยุดพูดกลางคันและไม่รู้ว่าจะต้องพูดอะไรต่อ หรือพูดย้ำกับตัวเอง รวมถึงอาจพูดน้อยลง
สับสนเรื่องเวลาหรือสถานที่ อาจลืมว่าตอนนี้ตนอยู่ที่ใดและเดินทางมายังสถานที่นั้นได้อย่างไร
ไม่สามารถทำกิจกรรมที่เคยทำได้มาก่อน เช่น ลืมวิธีการเปลี่ยนช่องทีวี
บกพร่องในการรับรู้หรือเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ไม่ทราบว่าของสิ่งนี้มีไว้ทำอะไร หรือไม่สามารถแยกแยะรสชาติหรือกลิ่นได้
บกพร่องในการบริหารจัดการ และตัดสินใจแก้ไขปัญหา ไม่กล้าตัดสินใจหรือตัดสินใจผิดพลาดบ่อย ๆ
บกพร่องในการทำกิจวัตรประจำวัน เช่น อาบน้ำ แต่งตัว ไม่สามารถไปไหนตามลำพังได้
บุคลิกภาพเปลี่ยนแปลง เช่น ซึมเศร้า เฉื่อยชา โมโหฉุนเฉียวง่ายโดยไม่มีสาเหตุชัดเจน เห็นภาพหลอน หวาดระแวง
ปัจจัยที่เสี่ยงมีผลต่อภาวะสมองเสื่อม
ปัจจัยเสี่ยงของภาวะสมองเสื่อมมีหลากหลาย ทั้งปัจจัยที่หลีกเลี่ยงได้ และปัจจัยที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ได้แก่
อายุเกิน 65 ปี
ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคความดัน ไขมัน เพราะดรคเหล่านี้อาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดสมองตีบ และทำให้เกิดภาวะสมองเสื่อม
ผู้ที่ชอบทำอะไรจำเจ ทานอาหารเดิม ๆ ไปสถานที่เดิม ๆ มีกิจกรรมเดิม ๆ
ผู้ป่วยที่มีภาวะซึมเศร้าเรื้อรังและไม่ได้รับการรักษา
ผู้ที่ไม่เข้าสังคม เช่น นอนดูทีวีอยู่บ้าน ชอบอยู่คนเดียวเป็นกิจวัตร
โรคสมองเสื่อม ป้องกันได้
ถ้าหากว่าไม่ใช้งานสมองเลย กล้ามเนื้อสมองก็จะเหี่ยว เล็ก และเสื่อมถอยลงไปในที่สุด เพราะฉะนั้นควรกระตุ้นสมองให้ทำงานทั้ง 6 ด้าน ด้วยการทำกิจกรรมฝึกสมองบ่อย ๆ เช่น
ไม่ควรอยู่กับบ้านเฉยๆ ควรทำกิจกรรมหรืองานอดิเรกที่ชอบ
เรียนรู้ภาษาหรือสิ่งใหม่ๆ เช่น ภาษาที่สาม การทำอาหาร การเรียนศิลปะ
ร่วมกิจกรรมทางสังคมที่มีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น เช่น อาสาสมัคร ชมรมต่าง ๆ
ออกกำลังกาย แอโรบิค โยคะ เดินในที่อากาศโปร่ง
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าในตอนนี้ โรคสมองเสื่อม อาจดูเหมือนเป็นเรื่องไกลตัวสำหรับคุณ แต่เมื่อคุณอายุมากขึ้น อวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายก็จะเสื่อมสภาพอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งไม่เว้นแม้แต่สมอง ดังนั้นหากคุณไม่อยากสูญเสียความทรงจำหรือมีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ก็อาจ ป้องกันโรคสมองเสื่อมโดยการนำวิธีง่าย ๆ หากคนใกล้ตัวหรือตัวคุณเองมีอาการเข้าข่ายภาวะสมองเสือม หรือสงสัยว่าโรค อัลไซเมอร์อาการ อย่างไร สามารถเข้ามาพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ที่โรงพยาบาลนครธน ตลอดเวลาทำการ เรายินดีให้คำปรึกษาและวิธีป้องกันอย่างละเอียด
ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.nakornthon.com/article/.........ันได้
เลขไอพี : ไม่แสดง
| ตั้งกระทู้โดย Windows 10
อ่านต่อ คุณอาจจะสนใจเนื้อหาเหล่านี้ (ความคิดเห็นกระทู้ อยู่ด้านล่าง)
ความคิดเห็น
จะต้องเป็นสมาชิกจึงจะแสดงความคิดเห็นได้
เป็นสมาชิกอยู่แล้ว ลงชื่อเข้าใช้ระบบ
ยังไม่ได้เป็นสมาชิก สมัครสมาชิกใหม่
หรือจะลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google หรือ Facebook ก็ได้
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Facebook
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google
เป็นสมาชิกอยู่แล้ว ลงชื่อเข้าใช้ระบบ
ยังไม่ได้เป็นสมาชิก สมัครสมาชิกใหม่
หรือจะลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google หรือ Facebook ก็ได้
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Facebook
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google