'ข้อเข่า'…อวัยวะที่พบการเสื่อมมากที่สุด

20 ต.ค. 64 16:40 น. / ดู 12,937 ครั้ง / 1 ความเห็น / 0 ชอบจัง / แชร์
'ข้อเข่า'…อวัยวะที่พบการเสื่อมมากที่สุด เกิดจากความเสื่อมของกระดูกอ่อน ทำให้กระดูกในข้อเสียดสีกันเอง จนเกิดการอักเสบและปวด หากไม่ดูแลหรือรักษา ความเสื่อมก็จะรุนแรงมากยิ่งขึ้นจนส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน
สาเหตุของอาการข้อเข่าเสื่อม
อายุที่มากขึ้น ช่วงอายุที่พบว่าเริ่มมีการเสื่อมของข้อ พบในวัย 40 ปีขึ้นไป

ผู้หญิงมีโอกาสข้อเข่าเสื่อมมากกว่าผู้ชาย อาจมีสาเหตุจากระบบการทำงานของต่อมไร้ท่อ

พันธุกรรม หากบุคคลในครอบครัวมีประวัติ หรือมีรูปขาที่ผิดปกติมาตั้งแต่กำเนิดก็จะมีโอกาสเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมได้

พฤติกรรมประจำวันที่ผิด เช่น การนั่งนาน ท่านั่ง ขึ้นลงบันได

การออกกำลังกายที่มีการกระแทกมาก

โรคประจำตัว โรคไขข้ออักเสบ เช่น รูมาตอยด์ เกาต์



อาการ

อาการข้อเข่าเสื่อม มักเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ บางครั้งเดินๆ อยู่ ได้ยินเสียงกรอบแกรบในเข่า หรือไม่สามารถงอเข่าได้สุด ในบางรายอาการจะแสดงตั้งแต่การเดินบนที่ราบ หรือเกิดความรู้สึกปวดมากขึ้นเวลาขึ้นหรือลงบันไดที่ต้องทิ้งน้ำหนักที่เข่ามากกว่าปกติ  อาจเพิ่มระดับความรุนแรงจนเกิดอาการปวดร้าวลงขา จนไม่สามารถทำกิจกรรมต่างๆได้ อาการที่สังเกตุได้ชัดมีดังนี้
• เข่าฝืดตึง

• เคลื่อนไหวลำบาก

• เสียงดังในข้อเวลาเคลื่อนไหว

• อาการปวดเวลาเดินหรือเคลื่อไหวร่างกาย

• ข้อเข่ามีความผิดรูป


เมื่อตรวจพบว่าเป็น 'ข้อเข่าเสื่อม'

การตรวจเช็คสุขภาพ เช็คกระดูกเป็นเรื่องที่สำคัญ เมื่อเราตรวจเช็คเป็นประจำจะทำให้สังเกตุความผิดปกติได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ และแนะนำให้รีบมาพบแพทย์เพื่อรับคำแนะนำก่อนที่จะเกิดการลุกลาม โดยมีหลากหลายวิธีที่ทำได้ด้วยตนเอง เช่น การปรับพฤติกรรมต่าง ๆ เพื่อถนอมข้อเข่า การลงน้ำหนักที่เข่า หรือหากพบแพทย์แล้ว แพทย์อาจแนะนำวัธีรักษาโดยการประเมินอาการไม่ว่าจะเป็น การรับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง การฉีดน้ำเลี้ยงข้อเข่าเพื่อทำให้ข้อเข่าไม่ติดขัด หรือการผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเทียมเพื่อแก้ไขปัญหา

ขอขอบคุณ โรงพยาบาลเปาโล สมุทรปราการ
เลขไอพี : ไม่แสดง | ตั้งกระทู้โดย Windows 10

อ่านต่อ คุณอาจจะสนใจเนื้อหาเหล่านี้ (ความคิดเห็นกระทู้ อยู่ด้านล่าง)

ความคิดเห็น

#1 | Yvonne | 21 ต.ค. 64 15:52 น.

ไอพี: ไม่แสดง | โดย Windows 10

แสดงความคิดเห็น

จะต้องเป็นสมาชิกจึงจะแสดงความคิดเห็นได้
เป็นสมาชิกอยู่แล้ว ลงชื่อเข้าใช้ระบบ
ยังไม่ได้เป็นสมาชิก สมัครสมาชิกใหม่
หรือจะลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google หรือ Facebook ก็ได้
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Facebook
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google