ไขข้อสงสัยว่าระบบแอร์ vrf ดียังไงทำไมถึงต้องใช้ระบบแอร์ vrf ในองค์กร

10 พ.ย. 64 15:41 น. / ดู 12,915 ครั้ง / 1 ความเห็น / 0 ชอบจัง / แชร์
hashtag: #แอร์

                เคยสงสัยกันไหมคะ ว่าแอร์ที่เขาใช้กันในองค์ใหญ่ ๆ มันแตกต่างจากการใช้แอร์ธรรมดา ๆ ยังไงบ้าง วันนี้เราไปร่วมหาคำตอบกันค่ะ แอร์ที่ใช้ในองค์กรนั้นจริง ๆ แล้วมีให้เลือกใช้งานหลายระบบมาก ซึ่งระบบแรกที่เราจะพาทุกคนไปรู้จัก คือ ระบบปรับอากาศแบบ vrf  หรือ แอร์ vrf เป็นระบบเครื่องปรับอากาศที่ลักษณะการทำงานสามารถเปลี่ยนเเปลงปริมาณสารทำความเย็นตามภาระโหลดของการทำความเย็น เเละจำนวนตัวเครื่องภายในที่ทำการติดตั้ง เป็นระบบเครื่องปรับอากาศในเชิงพาณิชย์ที่เหมาะในลักษณะการติดตั้งที่จำกัดด้วยพื้นทีติดตั้งคอยล์ร้อน (Outdoor unit) เนื่องจากคอยล์ 1 ตัว สามารถติดตั้งคอยล์เย็น (Indoor Unit) ได้หลายตัว เเละหลายชั้น ซึ่งคอยล์เย็นจะเเยกการทำงานโดยอิสระ จึงสามาถควบคุบอุณหภูมิได้เเม่นยำ ซึ่งข้อดีที่จะได้รับจากการติดตั้งระบบแอร์ vrf ในอาคารเลยก็จะมีดังนี้
                ประโยชน์ของการติดตั้งระบบแอร์ vrf
เจ้าของอาคาร
เป็นเทคโนโลยีที่ควบคุมการจ่ายปริมาณสารทำความเย็นโดยตรงโดยติดตัวควบคุมการจ่ายสารทำความเย็นไว้ที่ตัวคอยล์เย็น (Indoor Unit) ทำให้ควบคุมอุณหภูมิได้เเม่นยำ เเละประหยัดค่าไฟฟ้าได้ถึง 40% เมื่อเทียบกับระบบปรับอากาศอื่น ๆ
ผู้ใช้งาน
สามารถควบคุมอุณหภูมิให้เย็นสบายได้เเม่นยำขึ้น นอกจากนั้นยังมีระบบปรับปรุงคุณภาพของอากาศให้ดีขึ้นได้ด้วยการระบายอากาศ ลดความชื้น เเละกระบวนการอื่น ๆ

              นอกจากนี้ระบบแอร์ vrf ยังมีข้อแตกต่างจากระบบแอร์บ้านอีกหลายอย่างด้วยกัน โดยแยกออกเป็นส่วนต่าง ๆ ด้วยกัน อย่างเช่นจำนวนชุดคอยล์ร้อนน้อยกว่า เช่น ห้อง10 ห้อง แบบเดิมแยกส่วนมีจำนวนคอยล์ร้อน10 ชุดแต่แอร์ระบบvrv มีเพียงชุดเดียว , แอร์ vrf และแอร์ระบบ vrv ใช้คอมเพรสเซอร์แบบอินเวอร์เตอร์ และมีแผงระบายความร้อนที่ใหญ่มากเมื่อเปิดแอร์ไม่ครบ เช่นเปิด 5 ห้องจาก 10 ห้องค่าประหยัดพลังงานจะสูงมากกว่าแอร์แบบแยกส่วนถึง 50%-60% เลยทีเดียวเนื่องจากแผงคอยล์ร้อนที่ออกแบบไว้สำหรับ 10 ห้องแต่ใช้ระบายเพียงครึงเดียว ผนวกกับการพัฒนาชุดคอมเพรสเซอร์ให้ทำงานได้ดีมากเมื่อทำงานที่โหลดน้อย ๆ เป็นต้น

#แอร์ vrf
เลขไอพี : ไม่แสดง | ตั้งกระทู้โดย Windows 10

อ่านต่อ คุณอาจจะสนใจเนื้อหาเหล่านี้ (ความคิดเห็นกระทู้ อยู่ด้านล่าง)

ความคิดเห็น

#1 | _uwu_ | 13 พ.ย. 64 16:29 น.

ไอพี: ไม่แสดง | โดย Windows 10

แสดงความคิดเห็น

จะต้องเป็นสมาชิกจึงจะแสดงความคิดเห็นได้
เป็นสมาชิกอยู่แล้ว ลงชื่อเข้าใช้ระบบ
ยังไม่ได้เป็นสมาชิก สมัครสมาชิกใหม่
หรือจะลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google หรือ Facebook ก็ได้
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Facebook
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google