อีลอน มักส์ เจ้าพ่อเทคโนโลยี กับ Carbon credit

3 ธ.ค. 64 15:02 น. / ดู 12,953 ครั้ง / 2 ความเห็น / 0 ชอบจัง / แชร์
อีลอน มัสก์ ชื่อนี้ที่ใครๆก็คุ้นเคย บุคคลมากความสามารถ ในวัย 50 ปี เป็นทั้งนักธุรกิจ นักลงทุน วิศวกร และนักประดิษฐ์ ไม่ว่าจะเป็น
บริษัท สเปซ เอ็กซ์ (SpaceX) บริษัทเอกชน ด้านการขนส่งทางอวกาศ ก่อตั้งเมื่อปี 2002 จุดมุ่งหมายของการจัดตั้งเพื่อต้องการลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปยังอวกาศ นั่นเอง ล่าสุดเมื่อเดือน ก.พ.64 ที่ผ่านมาก็ได้มีการทดลองปล่อยจรวดฟอลคอนเฮฟวี (Falcon Heavy) ออกสู่วงโคจรนอกโลก
Paypal เป็นระบบการโอนเงินแบบออนไลน์ ที่ใช้กันทั่วโลก แต่เมื่อปี ค.ศ.2002 ได้ขายบริษัทให้กับ Ebay เป็นที่เรียบร้อยแล้ว และตนเองถือหุ้นของบริษัทเพียง 11.7% เท่านั้น


        แต่ยังมีอีกหนึ่งธุรกิจที่ได้รับความสนใจไม่น้อยเลยทีเดียว นั่นคือ บริษัท Tesla Motors บริษัทรถยนต์ที่มีมูลค่าสูงที่สุด ผลิตรถยนต์ที่ใช้มอเตอร์ไฟฟ้า 100%  ที่มีรูปลักษณ์โดดเด่น ประหยัดพลังงาน ใช้พลังงานไฟฟ้าเป็นหลัก ไม่ใช้เชื้อเพลิง,ไม่ต้องกังวลกับความผันผวนของราคาน้ำมัน ที่สำคัญมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ที่เห็นจะตื่นตาตื่นใจกับสาวกนั่นคือ Autopilot ระบบช่วยขับ โดยให้ AI เข้ามามีส่วนร่วมด้วย สร้างรายได้ให้เขาไม่น้อยเลยทีเดียว
    โดยเดือนมกราคมที่ผ่านมา อีลอน มัสก์ ถูกจัดอันดับให้เป็นเศรษฐีอันดับที่ 1 ของโลกโดยมีทรัพย์สินในครอบครอง 185,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 5.56 ล้านบาท และมีข้อมูลในเชิงลึกว่า นอกจากรายได้จากการขายรถไฟฟ้าเทสล่าแล้ว อีกหนึ่งรายได้ที่ได้รับเป็นก่อเป็นกำมากกว่าการขายเทสล่าก็คือ การขายคาร์บอนเครดิตเพราะบริษัทเทสล่า เป็นอุตสาหกรรมที่ผลิตรถยนต์ไฟฟ้า ไม่มีเชื้อเพลิงเข้ามาเกี่ยวข้อง เป็นการลดคาร์บอนอยู่แล้ว จึงมีฐานะเป็นผู้ผลิต
      โดยคาร์บอนเครดิต คือการซื้อขายคาร์บอน โดยเน้นย้ำกับประเทศที่พัฒนาแล้ว ให้หันมาลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ตามข้อตกลงในพิธีสารเกียวโต ปี 1997 ซึ่งวิธีการซื้อขายทำได้หลากหลายวิธี เช่น

การปลูกป่าทดแทน
การให้มันใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์โซล่าเซล
เปลี่ยนรูปแบบการใช้ดิน ให้เป็นแหล่งเก็บคาร์บอน
หากไม่สามารถกระทำได้ ก็สามารถทำการซื้อขายจากประเทศอื่นมาเป็นของตนเองได้
    ซึ่งตามพิธีสารโตเกียว จะมีรายชื่อสำหรับประเทศที่พัฒนาแล้ว ที่ต้องช่วยลดจำนวนคาร์บอนของประเทศตนเองลง เราเรียกว่าการซื้อขายภาคบังคับ และรัฐบาลของแต่ละประเทศก็จะกำหนดมาตรการแก่เอกชนในประเทศให้มีความรับผิดชิบ และช่วยกันลดคาร์บอนลง และอีกรูปแบบหนึ่งคือภาคสมัครใจ ซื้อขายเพื่อให้เกิดภาพลักษณ์ที่ดีต่อองค์กรตนเอง

-
    ส่วนประเทศไทยนั้น จัดอยู่ในประเทศที่กำลังพัฒนา จึงไม่มีการบังคับในเรื่องนี้ แต่ก็มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดูแลอยู่ คือ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก องค์การมหาชน (อบก.) Thailand Greenhouse Gas Management Organization (Public Organization) และพฤติกรรมคนไทยก็เริ่มเปลี่ยนไป เช่น การงดใช้ถุงพลาสติก, ร่วมโครงการปลูกป่า, หันมาใช้พลังงานแสงอาทิตย์โซล่าเซลล์ เชื่อว่าหากมีการบังคับใช้เรื่องการลดคาร์บอนตามพิธีสารโตเกียว ประเทศไทยจะสามารถปรับลดคาร์บอนในได้อย่างแน่นอน
เลขไอพี : ไม่แสดง | ตั้งกระทู้โดย MacOS

อ่านต่อ คุณอาจจะสนใจเนื้อหาเหล่านี้ (ความคิดเห็นกระทู้ อยู่ด้านล่าง)

ความคิดเห็น

#1 | Yvonne | 6 ธ.ค. 64 23:23 น.

ไอพี: ไม่แสดง | โดย Windows 10

#2 | Pepsiman | 8 ธ.ค. 64 22:28 น.

ขาย Ebay มาลุยอวกาศ 

ไอพี: ไม่แสดง | โดย Windows 10

แสดงความคิดเห็น

จะต้องเป็นสมาชิกจึงจะแสดงความคิดเห็นได้
เป็นสมาชิกอยู่แล้ว ลงชื่อเข้าใช้ระบบ
ยังไม่ได้เป็นสมาชิก สมัครสมาชิกใหม่
หรือจะลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google หรือ Facebook ก็ได้
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Facebook
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google